หมายเหตุ: มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ (Spoil) ทั้งฉบับหนังและนิยาย
สมัยก่อน ผมเป็นคนหนึ่งที่คลั่งไคล้ในโลกกำลังภายในมาก โดยเฉพาะพวกนิยายของกิมย้งและโกวเล้ง ดูจากชื่อนามแฝงที่ใช้ก็มีที่มาจากพวกนิยายกำลังภายใน เริ่มเล่น PANTIP ครั้งแรกก็กลุ่มนิยายกำลังภายใน แต่ต่อมาก็เริ่มห่างหายจากวงการนี้ไป ซึ่งมันก็สาเหตุมาจากทั้งโตขึ้น ความสนใจก็หลากหลายขึ้น และนิยายหรือหนังละครกำลังภายในยุคหลังๆ ก็ไม่น่าสนใจเหมือนเช่นเคย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เคยลืมว่ายุทธจักรคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา
“Sword Master” เป็นหนังกำลังภายในที่สร้างจากผลงานเรื่อง “ซาเสียว

” (แปลว่า คุณชายสาม) ของโกวเล้ง แม้ซาเสียว

จะไม่ใช่งานที่โด่งดังเป็นอันดับต้นๆ ของโกวเล้ง เท่าพวกชอลิ้วเฮียง ลี้คิมฮวง เล็กเซียวหงส์ หรือเซียวฮื้อยี้ แต่ก็เป็นนิยายที่แฟนกำลังภายในยกย่องกันมาก และเป็นหนึ่งในนิยายที่ถ่ายทอดความเป็นโกวเล้งได้ดีที่สุด ทั้งการสอดแทรกคำคม ปรัชญาชีวิต และคาแรกเตอร์ตัวละครที่น่าสนใจ
ซาเสียว

ในฉบับนิยายนั้น เป็นเรื่องของ “เจี่ยเฮียวฮง” คุณชายสามแห่งหมู่บ้านกระบี่เทพเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องเป็นสุดยอดมือกระบี่ของแผ่นดิน ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ยิ่งสูงยิ่งหนาว ความยิ่งใหญ่ของคุณชายสาม ดึงดูดให้ชาวยุทธต้องการท้าประลองกับเขาเพื่อขึ้นเป็นหนึ่งแทน ทุกคนล้วนพ่ายแพ้ และหลายคนไม่แม้จะมีชีวิตรอดกลับไป เจี่ยเฮียวฮงเบื่อหน่ายชีวิตแบบนี้ แล้ววันหนึ่งจู่ๆ เขาก็หายไปจากยุทธภพ ปล่อยข่าวว่าตาย และหนีไปใช้ชีวิตเป็น “อากิก” ที่ใช้ไม่ได้ คนงานชั้นต่ำผู้มีบุคลิกตรงข้ามกับคุณชายสามแทบทุกอย่าง แต่กระนั้นยุทธภพก็ยังร้องเรียกคุณชายสาม โดยเฉพาะ “อี้จับซา” อีกหนึ่งสุดยอดมือกระบี่ที่ต้องการพิสูจน์ฝีมือความเป็นหนึ่งกับเจี่ยเฮียวฮง
แก่นหลักของซาเสียว

ฉบับนิยาย คือ การปล่อยวาง เพื่อแสวงหาความสงบสุขอย่างแท้จริง แต่นั่นก็ไม่ง่ายเลย เจี่ยเฮียวฮงอยากปล่อยวาง แต่ยุทธภพไม่ต้องการปล่อยเขา นี่ยังไม่รวมว่า การทิ้งชีวิตคุณชายสามมาเป็นอากิกที่ใช้ไม่ได้นั้น แท้จริงคือการปล่อยวางจากชื่อเสียง หรือเป็นเพียงการหลีกหนีจากภาวะแวดล้อมเดิมๆ เท่านั้น และในขณะที่เจี่ยเฮียวคือตัวแทนของปล่อยวาง อี้จับซาก็คือตัวแทนของการ “ยึดติด” เขาใช้ทั้งชีวิตเพื่อพิสูจน์ว่าเขาคือมือกระบี่อันดับหนึ่งของแผ่นดิน ความลุ่มหลงในกระบี่ของเขาผลักให้เพลงกระบี่ของอี้จับซาก้าวข้ามขอบเขตเพลงกระบี่ที่เคยมีมา แต่นั่นใช่ความสงบสุขที่แท้จริงหรือเปล่า??? การต่อสู้ระหว่างเจี่ยเฮียวฮงกับอี้จับซา จึงยังมีความหมายเป็นการปะทะกันระหว่าง “ปล่อยวาง” กับ “ยึดติด”
พอถึงจุดนี้ “Sword Master” จึงถือว่าน่าผิดหวังหน่อยๆ ตรงที่ฉบับหนังนั้นเลือกละทิ้งแก่นสำคัญของซาเสียว

ไป ประเด็นการปล่อยวางถือว่าเบาบางมากลงมาก เพราะมีการเน้นประเด็นเรื่องความรัก-ความแค้นระหว่างเจี่ยเฮียวฮงกับอดีตคู่หมั้น “ม่อย้งซิวตี๋” (ในนิยายคือม่อย้งชิวชิว) ให้โดดเด่นขึ้นกว่าฉบับนิยาย ขณะที่อี้จับซาก็ลดความเป็นตัวแทนของการยึดติดลง ซึ่งนั่นส่งผลต่อเนื่องให้ฉากไคล์แมกซ์ของเรื่องอย่าง “กระบี่ที่ 15 ของอี้จับซา” หรือกระทั่งกระบี่ที่ 14 หายไปจากฉบับหนังด้วย
อี้จับซาในนิยายนั้นท่องยุทธภพด้วย 13 กระบี่คร่าวิญญาณ แต่เจี่ยเฮียวฮงนั้นมองออกว่านอกเหนือจาก 13 กระบี่แล้ว อี้จับซายังมีท่าพลิกแพลงเป็นกระบี่ที่ 14 แต่นั่นก็ยังไม่ถือว่าร้ายกาจสุด เพราะส่วนที่ร้ายสุดคือกระบี่ที่ 15 อันเป็นเพลงกระบี่ที่แม้แต่อี้จับซาก็ไม่คิดว่าจะค้นพบ เขาเปรียบเทียบว่าเหมือนเขาเลี้ยงอสรพิษไว้ใกล้ตัว แล้ววันหนึ่งอสรพิษนั้นเติบโตเป็นมังกรพิษที่เขาก็อาจไม่สามารถควบคุมได้ ความลุ่มหลงและยึดติดในกระบี่ทำให้อี้จับซาก้าวเข้าสู่มรรคาสูงสุดในวิถีกระบี่ แต่เมื่อกระบี่ที่ 15 ปรากฏออกมา อี้จับซาก็ตระหนักว่า มันน่ากลัวเกินไป รุนแรงเกินไป เมื่อกระบี่ออกไปย่อมต้องมีคนตาย นี่ทำให้เกิดฉากสุดคลาสสิคฉากหนึ่งในนิยายของโกวเล้ง เมื่อแทนที่อี้จับซาจะใช้กระบี่ที่ 15 คร่าชีวิตเจี่ยเฮียวฮง เขากลับเลือกปลิดชีวิตตัวเอง เพื่อไม่ให้เพลงกระบี่ที่ร้ายกาจเช่นนี้มีอยู่ในโลกอีกต่อไป ซึ่งมันค่อนข้างน่าผิดหวังที่ Sword Master เลือกตัดส่วนนี้ทิ้งไปทั้งหมด
แต่ก็เอาเถอะ คิดว่าใครที่เป็นแฟนกำลังภายในโดยเฉพาะโกวเล้ง คงชินชาแล้ว เพราะทุกครั้งที่มีการนำนิยายของโกวเล้งไปสร้างใหม่ไม่ว่าจะในรูปแบบหนัง ละคร การ์ตูน กระทั่งเกม มันโดนดัดแปลงและยำบททั้งสิ้น
สิ่งที่ Sword Master ใส่เข้ามาแทนประเด็นปล่อยวาง-ยึดติด คือการตั้งคำถามว่า “หน้าที่ของชาวยุทธคืออะไรกันแน่” ในขณะที่ชาวยุทธส่วนใหญ่มุ่งแต่เรื่องการต่อสู้ เพื่อประกาศความเป็นใหญ่ แต่ละทิ้งที่จะช่วยเหลือชาวบ้านในการต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหง หนังถ่ายทอดเรื่องนี้ผ่านอี้จับซา ที่ถูกปรับบทให้กำลังป่วยใกล้ตาย และต้องตัดสินใจว่าจะใช้ช่วงชีวิตสุดท้ายของตนอย่างไร จบชีวิตลงไปอย่างเงียบๆ หรือใช้มันเพื่อช่วยเหลือผู้คน เช่นเดียวกันกับเจี่ยเฮียวฮงที่ในหนังพยายามให้เหตุผลการกลับมาจับกระบี่อีกครั้ง เพื่อใช้มัน “ปกป้อง” คนอื่น ว่าไปประเด็นที่ใส่มาใหม่ก็น่าสนใจอยู่นะ เพียงแต่เรายังเสียดายกับประเด็นต้นฉบับที่ถูกละทิ้งไปอยู่
กระนั้น หากมองข้ามการตัดส่วนสำคัญในนิยายออกไป Sword Master ก็เป็นหนังดูสนุก เพลินๆ อยู่นะ หลายอย่างให้ความรู้สึกของหนังกำลังภายในสมัยก่อน โดยเฉพาะฉากบู๊ในครึ่งหลัก ที่เราได้เห็นเพลงกระบี่ปะทะกับอาวุธประเภทต่างๆ เด็กที่โตมาในยุคหนังจีนเฟื่องฟู เชื่อว่าในอดีตคงเคยหยิบไม้บรรทัดหรือกระบี่กระบองที่ใช้เรียนมาร่ายรำกระบี่มั่วๆ บ้างแน่นอน ยิ่ง Sword Master ยังมี “ฉีเส้าเฉียน” มาร่วมด้วย ยิ่งทำให้ได้ฟีลวันวานเข้าไปอีก กระทั่งหลายๆ ฉากที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการเซ็ทฉากในสตูดิโอ ก็ชอบนะ เพราะเราก็เติบโตมากับ TVB ที่ถ่ายในสตูดิโอเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม Sword Master ก็ยังติดความเป็นหนังบ้า CG อยู่ หลายฉากไม่จำเป็นต้องใช้ ก็ดันใช้ รวมถึงการพยายามทำให้ตัวหนังสวยงามแทบทุกฉาก ก็ทำให้ขาดความดิบ ความสมจริงตามแบบหนังกำลังภายในสมัยก่อนไปพอควร
จุดเปลี่ยนของหนังกำลังภายในระหว่างยุคก่อนกับยุคปัจจุบัน น่าจะอยู่ช่วงปี 2000 การเกิดขึ้นของหนังอย่าง ฟงอวิ๋น ขี่พายุทะลุฟ้า ที่เน้นขาย CG, Hero ที่เน้นความเนี๊ยบและยิ่งใหญ่ของฉาก และ The Martix ที่ทำให้ฉาก Slow Motion ได้รับความนิยม กลายเป็นหนังที่มีอิทธิพลสำคัญซึ่งทำให้หนังกำลังภายในยุคหลังจากนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
โดยสรุปแล้ว แม้ Sword Master จะไม่ถึงกับการเป็นการกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิของวงการกำลังภายใน และออกจะสร้างความผิดหวังให้กับแฟนนิยายซาเสียว

อยู่บ้าง แต่มันก็เป็นหนังที่ทำให้เราได้ย้อนความทรงจำวันวานได้เป็นอย่างดี เด็กสมัยนี้อาจโตมากับ Ironman, Captain America, Batman, Flash ฯลฯ แต่เด็กรุ่นเรานั้นโตมากับเอี้ยก้วย ก๊วยเจ๋ง เล้งฮู้ชง เซียวฮื้อยี้ ลี้คิมฮวง และจอมยุทธอีกมากมายในยุทธภพอันกว้างใหญ่แห่งนี้
สุดท้ายลืมไม่ได้ “เสี่ยวลี่” ขาวมาก
[CR] [Review] Sword Master – ซาเสียวเอีย ศึกล้างยุทธจักร (Spoil)
สมัยก่อน ผมเป็นคนหนึ่งที่คลั่งไคล้ในโลกกำลังภายในมาก โดยเฉพาะพวกนิยายของกิมย้งและโกวเล้ง ดูจากชื่อนามแฝงที่ใช้ก็มีที่มาจากพวกนิยายกำลังภายใน เริ่มเล่น PANTIP ครั้งแรกก็กลุ่มนิยายกำลังภายใน แต่ต่อมาก็เริ่มห่างหายจากวงการนี้ไป ซึ่งมันก็สาเหตุมาจากทั้งโตขึ้น ความสนใจก็หลากหลายขึ้น และนิยายหรือหนังละครกำลังภายในยุคหลังๆ ก็ไม่น่าสนใจเหมือนเช่นเคย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เคยลืมว่ายุทธจักรคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา
“Sword Master” เป็นหนังกำลังภายในที่สร้างจากผลงานเรื่อง “ซาเสียว
ซาเสียว
แก่นหลักของซาเสียว
พอถึงจุดนี้ “Sword Master” จึงถือว่าน่าผิดหวังหน่อยๆ ตรงที่ฉบับหนังนั้นเลือกละทิ้งแก่นสำคัญของซาเสียว
อี้จับซาในนิยายนั้นท่องยุทธภพด้วย 13 กระบี่คร่าวิญญาณ แต่เจี่ยเฮียวฮงนั้นมองออกว่านอกเหนือจาก 13 กระบี่แล้ว อี้จับซายังมีท่าพลิกแพลงเป็นกระบี่ที่ 14 แต่นั่นก็ยังไม่ถือว่าร้ายกาจสุด เพราะส่วนที่ร้ายสุดคือกระบี่ที่ 15 อันเป็นเพลงกระบี่ที่แม้แต่อี้จับซาก็ไม่คิดว่าจะค้นพบ เขาเปรียบเทียบว่าเหมือนเขาเลี้ยงอสรพิษไว้ใกล้ตัว แล้ววันหนึ่งอสรพิษนั้นเติบโตเป็นมังกรพิษที่เขาก็อาจไม่สามารถควบคุมได้ ความลุ่มหลงและยึดติดในกระบี่ทำให้อี้จับซาก้าวเข้าสู่มรรคาสูงสุดในวิถีกระบี่ แต่เมื่อกระบี่ที่ 15 ปรากฏออกมา อี้จับซาก็ตระหนักว่า มันน่ากลัวเกินไป รุนแรงเกินไป เมื่อกระบี่ออกไปย่อมต้องมีคนตาย นี่ทำให้เกิดฉากสุดคลาสสิคฉากหนึ่งในนิยายของโกวเล้ง เมื่อแทนที่อี้จับซาจะใช้กระบี่ที่ 15 คร่าชีวิตเจี่ยเฮียวฮง เขากลับเลือกปลิดชีวิตตัวเอง เพื่อไม่ให้เพลงกระบี่ที่ร้ายกาจเช่นนี้มีอยู่ในโลกอีกต่อไป ซึ่งมันค่อนข้างน่าผิดหวังที่ Sword Master เลือกตัดส่วนนี้ทิ้งไปทั้งหมด
แต่ก็เอาเถอะ คิดว่าใครที่เป็นแฟนกำลังภายในโดยเฉพาะโกวเล้ง คงชินชาแล้ว เพราะทุกครั้งที่มีการนำนิยายของโกวเล้งไปสร้างใหม่ไม่ว่าจะในรูปแบบหนัง ละคร การ์ตูน กระทั่งเกม มันโดนดัดแปลงและยำบททั้งสิ้น
สิ่งที่ Sword Master ใส่เข้ามาแทนประเด็นปล่อยวาง-ยึดติด คือการตั้งคำถามว่า “หน้าที่ของชาวยุทธคืออะไรกันแน่” ในขณะที่ชาวยุทธส่วนใหญ่มุ่งแต่เรื่องการต่อสู้ เพื่อประกาศความเป็นใหญ่ แต่ละทิ้งที่จะช่วยเหลือชาวบ้านในการต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหง หนังถ่ายทอดเรื่องนี้ผ่านอี้จับซา ที่ถูกปรับบทให้กำลังป่วยใกล้ตาย และต้องตัดสินใจว่าจะใช้ช่วงชีวิตสุดท้ายของตนอย่างไร จบชีวิตลงไปอย่างเงียบๆ หรือใช้มันเพื่อช่วยเหลือผู้คน เช่นเดียวกันกับเจี่ยเฮียวฮงที่ในหนังพยายามให้เหตุผลการกลับมาจับกระบี่อีกครั้ง เพื่อใช้มัน “ปกป้อง” คนอื่น ว่าไปประเด็นที่ใส่มาใหม่ก็น่าสนใจอยู่นะ เพียงแต่เรายังเสียดายกับประเด็นต้นฉบับที่ถูกละทิ้งไปอยู่
กระนั้น หากมองข้ามการตัดส่วนสำคัญในนิยายออกไป Sword Master ก็เป็นหนังดูสนุก เพลินๆ อยู่นะ หลายอย่างให้ความรู้สึกของหนังกำลังภายในสมัยก่อน โดยเฉพาะฉากบู๊ในครึ่งหลัก ที่เราได้เห็นเพลงกระบี่ปะทะกับอาวุธประเภทต่างๆ เด็กที่โตมาในยุคหนังจีนเฟื่องฟู เชื่อว่าในอดีตคงเคยหยิบไม้บรรทัดหรือกระบี่กระบองที่ใช้เรียนมาร่ายรำกระบี่มั่วๆ บ้างแน่นอน ยิ่ง Sword Master ยังมี “ฉีเส้าเฉียน” มาร่วมด้วย ยิ่งทำให้ได้ฟีลวันวานเข้าไปอีก กระทั่งหลายๆ ฉากที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการเซ็ทฉากในสตูดิโอ ก็ชอบนะ เพราะเราก็เติบโตมากับ TVB ที่ถ่ายในสตูดิโอเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม Sword Master ก็ยังติดความเป็นหนังบ้า CG อยู่ หลายฉากไม่จำเป็นต้องใช้ ก็ดันใช้ รวมถึงการพยายามทำให้ตัวหนังสวยงามแทบทุกฉาก ก็ทำให้ขาดความดิบ ความสมจริงตามแบบหนังกำลังภายในสมัยก่อนไปพอควร
จุดเปลี่ยนของหนังกำลังภายในระหว่างยุคก่อนกับยุคปัจจุบัน น่าจะอยู่ช่วงปี 2000 การเกิดขึ้นของหนังอย่าง ฟงอวิ๋น ขี่พายุทะลุฟ้า ที่เน้นขาย CG, Hero ที่เน้นความเนี๊ยบและยิ่งใหญ่ของฉาก และ The Martix ที่ทำให้ฉาก Slow Motion ได้รับความนิยม กลายเป็นหนังที่มีอิทธิพลสำคัญซึ่งทำให้หนังกำลังภายในยุคหลังจากนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
โดยสรุปแล้ว แม้ Sword Master จะไม่ถึงกับการเป็นการกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิของวงการกำลังภายใน และออกจะสร้างความผิดหวังให้กับแฟนนิยายซาเสียว
สุดท้ายลืมไม่ได้ “เสี่ยวลี่” ขาวมาก
http://www.zeawleng.in.th/
https://www.facebook.com/iamzeawleng/