โบรกฯชี้บรรดาเจ้าสัวกลุ่มทุนขนาดใหญ่แห่ฮุบกิจการสื่อทีวีดิจิทัล เหตุธุรกิจแข่งขันสูง-รายได้โฆษณาหด เจ้าของเดิมแบกภาระไม่ไหวจำเป็นต้องยอมเพิ่มทุนให้กลุ่มใหม่ที่มีทุนหนาเข้ามาช่วยพยุงกิจการ ขณะที่บรรดาเจ้าสัวทุนหนาก็ต้องการมีสื่อในมือเพื่อเป็นช่องทางทำตลาดโฆษณาสินค้าในเครือ ชี้ 9 เดือนกลุ่มมีเดียในตลาดหุ้นกำไรหด 53%
นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสื่อหรือมีเดียโดยเฉพาะทีวีดิจิทัลปิดกิจการหรือถูกซื้อถูกเทกโอเวอร์จากบรรดาเจ้าสัวหรือกลุ่มทุนรายใหญ่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในการหารายได้หรือโฆษณา เพราะมีจำนวนผู้เล่นหรือคู่แข่งจำนวนมาก ขณะที่มีรายจ่ายในการดำเนินธุรกิจสูงเช่นกัน โดยเฉพาะการจ่ายค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่สูง ทำให้บริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก ทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดงบ ประมาณด้านการตลาด โดยเฉพาะเม็ดเงินโฆษณาในการซื้อสื่อ ส่งผลให้รายได้หรือกำไรของธุรกิจสื่อที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก โดย 9 เดือนแรกของปี ธุรกิจกลุ่มสื่อและการจัดงานอีเวนต์ 13 บริษัทยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์ มีกำไร 1,201 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 53% ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ขาดทุนถึง 5 บริษัท “แนวโน้มธุรกิจมีเดียประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนเพิ่มขึ้น เห็นได้จากผลประกอบการของกลุ่มบริษัทในหมวดมีเดียรายใหญ่ เช่น บีอีซี, อสมท, แกรมมี่, อาร์เอส และอมรินทร์พริ้นติ้ง และกลุ่มจัดงานอีเวนต์ ต่างมีรายได้และกำไรลดลงจนขาดทุน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่สูง และมีผู้ประกอบการจำนวนมากมาแย่งเม็ดเงินโฆษณา”
นายมงคลกล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์การเข้ามาเทกโอเวอร์ธุรกิจสื่อของบรรดาเจ้าสัวเจ้าของกลุ่มทุนขนาดใหญ่มี 4 ปัจจัยหลักๆ คือ ผู้ประกอบการต้องการลดภาระต้นทุนด้วยการขายหุ้นส่วนหนึ่งให้กลุ่มทุนที่มีเงินทุนหนาสายป่านยาว ขณะที่ผู้ที่เข้ามาเทกโอเวอร์ก็ต้องการมีสื่อในมือเพื่อใช้สื่อในมือเป็นช่องทางในการทำตลาดให้กับสินค้าในเครือบริษัทตนเอง และมองว่าเป็นการลงทุนในอนาคตเพราะธุรกิจใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจทีวีดิจิทัลช่องวันได้เพิ่มทุน 1,905 ล้านบาท โดยขายหุ้นเพิ่มทุนให้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งมีนางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ทายาทของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ส่งผลให้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 50% ในช่องวัน และก่อนหน้านี้ บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ก็ได้แจ้งเพิ่มทุนขายหุ้นให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจในเครือไทยเบฟเวอเรจ มูลค่า 850 ล้านบาททำให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 47.62% หลังอมรินทร์พริ้นติ้งฯยอมรับว่าประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ปัจจุบันกลุ่มซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจสื่อและทีวีดิจิทัล “ทรูฟอร์ยู”.
JJNY : เศรษฐกิจดี๊ดี....เศรษฐกิจซบโฆษณาหด เจ้าสัวได้ทีแห่ฮุบสื่อหาช่องพีอาร์สินค้า!
นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสื่อหรือมีเดียโดยเฉพาะทีวีดิจิทัลปิดกิจการหรือถูกซื้อถูกเทกโอเวอร์จากบรรดาเจ้าสัวหรือกลุ่มทุนรายใหญ่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในการหารายได้หรือโฆษณา เพราะมีจำนวนผู้เล่นหรือคู่แข่งจำนวนมาก ขณะที่มีรายจ่ายในการดำเนินธุรกิจสูงเช่นกัน โดยเฉพาะการจ่ายค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่สูง ทำให้บริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก ทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดงบ ประมาณด้านการตลาด โดยเฉพาะเม็ดเงินโฆษณาในการซื้อสื่อ ส่งผลให้รายได้หรือกำไรของธุรกิจสื่อที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก โดย 9 เดือนแรกของปี ธุรกิจกลุ่มสื่อและการจัดงานอีเวนต์ 13 บริษัทยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์ มีกำไร 1,201 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 53% ในจำนวนนี้มีบริษัทที่ขาดทุนถึง 5 บริษัท “แนวโน้มธุรกิจมีเดียประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนเพิ่มขึ้น เห็นได้จากผลประกอบการของกลุ่มบริษัทในหมวดมีเดียรายใหญ่ เช่น บีอีซี, อสมท, แกรมมี่, อาร์เอส และอมรินทร์พริ้นติ้ง และกลุ่มจัดงานอีเวนต์ ต่างมีรายได้และกำไรลดลงจนขาดทุน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่สูง และมีผู้ประกอบการจำนวนมากมาแย่งเม็ดเงินโฆษณา”
นายมงคลกล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์การเข้ามาเทกโอเวอร์ธุรกิจสื่อของบรรดาเจ้าสัวเจ้าของกลุ่มทุนขนาดใหญ่มี 4 ปัจจัยหลักๆ คือ ผู้ประกอบการต้องการลดภาระต้นทุนด้วยการขายหุ้นส่วนหนึ่งให้กลุ่มทุนที่มีเงินทุนหนาสายป่านยาว ขณะที่ผู้ที่เข้ามาเทกโอเวอร์ก็ต้องการมีสื่อในมือเพื่อใช้สื่อในมือเป็นช่องทางในการทำตลาดให้กับสินค้าในเครือบริษัทตนเอง และมองว่าเป็นการลงทุนในอนาคตเพราะธุรกิจใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจทีวีดิจิทัลช่องวันได้เพิ่มทุน 1,905 ล้านบาท โดยขายหุ้นเพิ่มทุนให้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งมีนางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ทายาทของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ส่งผลให้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 50% ในช่องวัน และก่อนหน้านี้ บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ก็ได้แจ้งเพิ่มทุนขายหุ้นให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจในเครือไทยเบฟเวอเรจ มูลค่า 850 ล้านบาททำให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 47.62% หลังอมรินทร์พริ้นติ้งฯยอมรับว่าประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ปัจจุบันกลุ่มซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจสื่อและทีวีดิจิทัล “ทรูฟอร์ยู”.