ไม่รู้ “ความลับ” ของอินทรีย์หก๒
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ คือ อินทรีย์คือตา, อินทรีย์คือหู, อินทรีย์คือจมูก,
อินทรีย์คือลิ้น, อินทรีย์คือกาย, อินทรีย์คือใจ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จักความดับไป ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ
และไม่รู้จักอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น ในอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง ;
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม,
ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม, ก็หาเป็น
๑. บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๙/๔๑๖.
๒. บาลี พระพุทธภาษิต. มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๓/๙๐๙.
สมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่. หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
ไม่รู้ “ความลับ” ของอินทรีย์ห้า๑
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ คือ อินทรีย์คือศรัทธา,
อินทรีย์คือวิริยะ, อินทรีย์คือสติ, อินทรีย์คือสมาธิ, อินทรีย์คือปัญญา.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จักความดับไป
ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ (เมื่อยึดถือ) และไม่รู้จักอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น
ในอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง ;
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม,
ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม,
ก็หาเป็นสมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่, หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ๒
ว่าด้วยความไม่ได้เป็นสมณะ๒
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ คือ อินทรีย์คือตา, อินทรีย์คือหู, อินทรีย์คือจมูก,
อินทรีย์คือลิ้น, อินทรีย์คือกาย, อินทรีย์คือใจ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จักความดับไป ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ
และไม่รู้จักอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น ในอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง ;
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม,
ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม, ก็หาเป็น
๑. บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๙/๔๑๖.
๒. บาลี พระพุทธภาษิต. มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๓/๙๐๙.
สมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่. หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.
ไม่รู้ “ความลับ” ของอินทรีย์ห้า๑
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ คือ อินทรีย์คือศรัทธา,
อินทรีย์คือวิริยะ, อินทรีย์คือสติ, อินทรีย์คือสมาธิ, อินทรีย์คือปัญญา.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักความเกิดขึ้น ไม่รู้จักความดับไป
ไม่รู้จักรสอร่อย ไม่รู้จักโทษ (เมื่อยึดถือ) และไม่รู้จักอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น
ในอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง ;
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม,
ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม,
ก็หาเป็นสมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่, หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้
เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ๒