บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย

บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย ใน วิกิพีเดีย เขียนเทียบไว้ว่าดังนี้
ข้าราชการระดับ 1 เทียบ "นาย"
ข้าราชการระดับ 2 เทียบ "พัน" หรือ "หมื่น"
ข้าราชการระดับ 3,4 เทียบ "ขุน" (เพราะระดับ 3 ถือเป็นข้าราชการสัญญาบัตร)
ข้าราชการระดับ 5,6 เทียบ "หลวง"
ข้าราชการระดับ 7,8 เทียบ "พระ"
ข้าราชการระดับ 9,10 เทียบ "พระยา"
ข้าราชการระดับ 11 เทียบ "เจ้าพระยา"
(อ้างอิง:วิกิพีเดีย)

ซึ่งจริงๆแล้วไม่สามารถที่จะเทียบกันได้แบบเป็นลำดับตายตัวอย่างที่"วิกิพีเดีย"กล่าวอ้างได้ครับ เพราะ บรรดาศักดิ์ขุนนางไทยจะต้องเทียบกันด้วย "ระบบศักดินา"

ตามหลักการปกครองสมัยอยุธยา มีบรรดาศักดิ์"เจ้าพระยา" แค่ 2 คน ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่สูงที่สุดในสมัยอยุธยา ไม่มีตำแหน่งขุนนางใดจะสูงกว่านี้อีกแล้ว (บางคนอาจแย้งว่า ยังมีบรรดาศักดิ์"สมเด็จเจ้าพระยา"ที่สูงว่า เป็นความจริงครับ แต่เป็นความจริงในสมัยรัตนโกสินทร์ครับ เพราะ ในสมัยอยุธยาไม่มีบรรดาศักดิ์ สมเด็จเจ้าพระยา ครับ)

1. "สมุหนายก" มีฐานะเป็น"เจ้าพระยาสมุหนายก" อัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ  และ กับกำดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2. "สมุหพระกลาโหม" มีฐานะเป็น"เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม" อัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ และกับกำดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบหน้าที่ความรับผิดชอบกับปัจจุบัน นั้นก็คือ ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี    
ซึ่งบางคนอาจจะแย้งว่า ตำแหน่ง"สมุหพระกลาโหม" คือ รัฐมนตรีกลาโหม และ "ตำแหน่งสมุหนายก" คือ รัฐมนตรีมหาดไทย เป็นเรื่องจริงครับ แต่มันเป็นความจริงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.2475 ครับ ไม่ใช่ในสมัยอยุธยา
โดยจะเห็นว่า เจ้าพระยาสมุหนายก และ เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยา" เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรี   ไม่ใช่ ข้าราชการระดับ 11  ตามที่ วิกิพีเดีย อ้างแต่อย่างใด

"บรรดาศักดิ์" จะวัดกันโดยระบบ "ศักดินา"

"พระยาสุริยะราชาไชยอภัยพิรียภาหะ" เจ้าเมืองเมืองพิชัย ศักดินา 5,000  /  "พระสุรินทราราชาธิบดีศรีสุริยศักดิ์" สมุหะพระคชบาลจางวางซ้าย ศักดินา 5,000  
จะเห็นว่า "พระยา" และ "พระ"  ศักดินาเท่ากัน ดังนั้นก็คือตำแหน่งเท่ากันครับ

"พระยาศรีสุริยะ ภาหะ สมุหะ พระอัศวราช พิริยภาหะ" เจ้ากรมม้าต้น ศักดินา 3,000  / "หลวงกำแพงรามภักดีสรีสุริยชาติ" สมุหะพระคชบาลขวา ศักดินา 3,000  จะเห็นว่า "พระยา" และ "หลวง"  ศักดินาเท่ากัน ดังนั้นก็คือตำแหน่งเท่ากันครับ

"พระยาแพทยพงษาวิสุทธาธิบดีอภัยรีพิริยกรมภาหุ" จางวางแพทยาโรงพระโอสถ ศักดินา 2,000  / "หลวงราชวังเมืองสุริยชาติ" สมุหะพระคชบาลซ้าย ศักดินา 3,000  จะเห็นว่า "หลวง" มีศักดินาที่สูงกว่า "พระยา"   ดังนั้นก็คือมีตำแหน่งที่สูงกว่า

อีกหนึ่งตัวอย่าง ตำแหน่ง"ผู้บัญชาการทหารบก" ( เทียบเท่า ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 11 )
ในสมัยอยุธยา ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก คือ "พระยารามจตุรงค์" จางวางกรมอาสาหกเหล่า ศักดินา 10000 (พระยานาหมื่น) ถ้าใครเคยดูละครเรื่อง ขุนศึก ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งสุดท้ายของ"เสมา"  
กรมอาสาหกเหล่า คำว่า “อาสา” แปลว่า “ทหารหน้า” กล่าวอย่างปัจจุบันก็คือกองทัพบกนั่นเอง มีหน้าที่รบพุ่งปราบปรามอริราชศัตรูทุกทิศ ในสมัยโบราณ กรมนี้มีหน้าที่วางด่านทาง ป้องกันข้าศึกศัตรูซึ่งแบ่งตามซ้ายแลขวา แต่เดิมในสมัยอยุธยา กรมนี้แบ่งออกเป็น 6 กรม คือ กรมอาสาใหญ่ กรมอาสารอง กรมเขนทองขวา กรมเขนทองซ้าย กรมทวนทองขวา และ กรมทวนทองซ้าย  จึงเป็นชื่อเรียกว่า "กรมอาสาหกเหล่า"
ซึ่งจะเห็นว่า ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก(ข้าราชการระดับ 11) ไม่ได้มีตำแหน่งเป็น"เจ้าพระยา"แต่อย่างใด เพราะ มีตำแหน่งเพียง"พระยา"เท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่เป็นความจริงตามที่ วิกิพีเดีย อ้างไว้

บรรดาศักดิ์ในละครอีกหนึ่งตำแหน่ง คือ บรรดาศักดิ์ "หมื่น"
"หมื่นศรีสหะเทพ" ปลัดบาญชีย กรมมหาดไท  ถือศักดินา 800  เทียบกับปัจจุบันคือ  กองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  มีตำแหน่งผู้อำนวยการกอง(ข้าราชการระดับ 8)เป็นหัวหน้าหน่วยงาน  
ซึ่งจะเห็นว่า บรรดาศักดิ์ "หมื่น" ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นข้าราชการระดับ 2 ตามที่วิกิพีเดียอ้างไว้

ตำแหน่งก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ต้องพิจารณา
"หลวงวาสุเทพ" เจ้ากรมมหาดไทตำรวจภูธร  ตำแหน่ง"เจ้ากรม" ปัจจุบันคือตำแหน่งอธิบดี ข้าราชการระดับ 10   แต่ในวิกิพีเดียอ้างว่า ข้าราชการระดับ 5,6 เทียบ "หลวง"  ดังนั้นจึงไม่เป็นความจริงตามที่ วิกิพีเดีย อ้างไว้

ต่อไปนี้เป็นตำแหน่งขุนนางบางส่วนของกรมมหาดไท โดยจะระบุ บรรดาศักดิ์ หน้าที่ และ ศักดินา ไว้ชัดเจน ลองดูตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นตำแหน่งขุนนางบางส่วนของกรมมหาดไท ดูแล้วลอง คิดนะครับว่ามันตรงกับที่ วิกิพีเดีย อ้างไว้รึป่าวครับ

"กรมมหาดไท"

         เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหะนายกอัคมหาเสนาธิบดีอะไภยพิรีบรากรมภาหุ ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เอกอุราชสีห
ตราพระราชสีห์ ตราจักร (สมุหะนายก)
         ขุนราชนิกุลนิตยภักดี ปลัดทูลฉลอง                                    ถือศักดินา ๑๐๐๐
         หมื่นศรีสหะเทพ ปลัดบาญชีย                                          ถือศักดินา ๘๐๐
         ขุนพินิจอักษร เสมิยรตรา                                              ถือศักดินา ๖๐๐
         ขุนราชพินิจใจ ราชปลัดถือพระธรรมนูน                                นา ๘๐๐
         ขุนอายาจักร ราชปลัดได้สำรวด                                        นา ๘๐๐
         ขุนบุรินธร ราชปลัดนั่งศาลหลวง                                        นา ๘๐๐
         ขุนเทพอาญา ราชปลัดนั่งศาลราษฎร                                   นา ๘๐๐
         หมื่นแกว่นใจแกล้ว ๑  } หัวหมื่นทลวงฟัน ๔ คน                       ถือศักดินาคล ๔๐๐
         หมื่นแก้วใจหาร ๑
         หมื่นยงพลภ่าย ๑
         หมื่นย่ายพลแสน ๑
         พันภานณุราช  } หัวพัน                                               นาคล ๔๐๐
         พันจันทณุมาท
         พันเภาณุราช
         พันพุทอณุราช
         นายแกว่นคชสาร ๑     }  นายเวรมหาดไท                          ถือศักดินาคล ๒๐๐
         นายชำนาญกระบวน ๑
         นายควรรู้อัฏ ๑
         นายรัดตรวจสรพล ๑
         ขุนราชอาญา สมุบาญชียกรมมหาดไท                                ถือศักดินา ๘๐๐
        หัวปากฉลอไกรลาด   หัวปากญอดเมืองมิ่ง  }  ๔ คน                 นาคละ ๒๐๐
        หัวปากกรุงจอมเมือง   หัวปากบุญชู
         หลวงมหาอำมาตยาธิบดีพิรียะภาหะ มหาดไทฝ่ายเหนือ                นา ๓๐๐๐
         หลวงราชเสนา ปลัดทูลฉลอง                                          นา ๘๐๐
         หมื่นชำนิคชสาร     }                                                 นาคล ๔๐๐
         หมื่นชำนาญมรรคา
         หมื่นดุรงคพิทัก
         หมื่นรักษณรา
         พันอะนาปะทาน  เวนช้าง ๑   } หัวพันมหาดไทนอก                  นาคล ๒๐๐
         พันสุกคลราช     เวนคล ๑
         พันพิศณุราช      เวนม้า ๑
         พันวิจรจักร       เวนทาง ๑
         หลวงจ่าแสนบดีศรีบริบาล เจ้ากรมมหาดไทฝ่ายภะลำภัง                นา ๒๔๐๐
         ขุนสุริยามาต ปลัดขวา                                                  นา ๖๐๐
         ขุนกะเชนทรามาตย ปลัดซ้าย                                           นา ๖๐๐
         หมื่นจันทรามาต                                                        นา ๔๐๐
         หลวงวาสุเทพ เจ้ากรมมหาดไทตำรวจภูธร                              นา ๑๐๐๐
          ขุนพิศลูแสน ปลัดขวา                                                 ถือศักดินา ๖๐๐
         ขุนเพชอินทรา ปลัดซ้าย                                                ถือศักดินา ๖๐๐
         หลวงเพชลูเทพ เจ้ากรมมหาดไทตำรวจภูบาล                           นา ๑๐๐๐
         ขุนมหาพิไชย ปลัดขวา                                                 ถือศักดินา ๖๐๐
         ขุนแผลงสท้าน ปลัดซ้าย                                               ถือศักดินา ๖๐๐
         หลวงเสนาภักดี                                                         นา ๘๐๐
         หลวงอนุชิดพิทัก                                                       นา ๘๐๐
         หลวงอนุรักผู้เบศ                                                       นา ๘๐๐
         เกนเมืองรั้ง เมืองนนทราชธานี ๑   }                                   นาคล ๔๐๐
                     เมืองอุไทยธานี ๑
                     เมืองยศสุนธร ๑
                     เมืองเทพราชธานี ๑
         หมื่นชำนาญ นายกองช่างเลื่อย                                         นา ๒๐๐
         หมื่นอิน นายกองช่างก่อ                                                นา ๒๐๐

ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ที่กล่าวนี้มีตัวตนจริง เป็นบรรดาศักดิ์ที่มีอยู่จริง

สรุป ถ้าหาก เทียบ"ระดับข้าราชการ"กับ"บรรดาศักดิ์" ที่อ้างอิงตามวิกิพีเดีย จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากมาย และ ไม่มีความชัดเจนในการวัดเปรียบเทียบตายตัว จะเห็นว่าในข้อมูลที่กล่าวมา บรรดาศักดิ์"หลวง"บางตำแหน่งถือศักดินาสูงกว่า"พระยา"บางตำแหน่ง  บรรดาศักดิ์จะมาวัดเปรียบเทียบกันตายตัวไม่ได้  บรรดาศักดิ์ต้องวัดที่การถือครอง"ศักดินา"และ ตำแหน่งหน้าที่
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่