เทอมนี้อาจารย์เจเจ ให้มาทำรายงานเรื่อง องค์กรใหญ่กินรวบ ผูกขาด จริงหรือ เพราะอาจารย์แกย้ำมาว่า ก่อนเสพสื่อ ต้องรู้จริง
พอพูดถึงองค์กรใหญ่ ก็คิดอยู่ว่า จะไปถามซีพี หรือว่า ช้างดี สรุปแล้ว คงต้องเลือก เลยเลือกไปคุยกับซีพีมา
พยายามติดต่อผ่านพ่อเพื่อน เพื่อขอสัมภาษย์ เลยได้เจอกับ ผู้ใหญ่ซีพี ที่ให้เวลาคุยครึ่งชั่วโมง เพราะพ่อเพื่อนก็เส้นใหญ่ไม่เบา อิอิ
เลยถามแบบตรงๆเลยว่า ซีพีกินรวบ ผูกขาดรึป่าว ครับ (แค่คำถามแรก ก็ชวนตีแล้วเรา)
คุณลุง แกเรียกตัวเองว่า พี่ เราก็เลยเรียกแกว่า พี่ด้วย สรุปว่า พี่ผูกขาด กินรวบมั้ยพี่
"พี่ว่า คำถามน้องนี่ พี่ไม่น่าเลี้ยงกาแฟเลย" 555 พี่เค้าก็กวนนะเนี่ย " พี่ถามน้องก่อนละกัน น้องว่า องค์กรที่มันไม่ดีเนี่ย มันจะอยู่มาได้กว่า 100 ปีมั้ย?"
อยากบอกพี่เค้าว่า มันก็ไม่น่าจะอยู่มาได้นะ ถ้าคดโกง คงไม่มีคนซื้อมั้งครับ แต่ก็ตอบกวนไปก่อนละกัน ว่า " ไม่รู้ครับ เกิดไม่ทันครับ อิอิ"
งั้นพี่ถามคำถามใหม่ละกัน " ถ้าองค์กรที่ไม่ดี จะมีคนมาทำงาน 300,000 กว่า คนมั้ย ทำไมคนพวกนี้อยากอยู่กับองค์กรที่ไม่ดี คนพวกนี้ไม่ดีเหรอ??"
เราเลยตอบว่า " ผมไม่ได้ว่าพี่นะ หมายถึงรวมๆหน่ะ" พี่เค้าตอบว่า องค์กรก็เหมือนคน จะอยู่รอดได้นั้น ต้องมีคุณธรรม น้องเคยได้ยินคำว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นานมั้ย การที่ซีพีอยู่มาได้เนี่ย เพราะคำว่า คุณธรรม (เราเริ่มจดก่อน เดี๋ยวไม่มีใส่ในรายงาน) ไงต่อครับพี่ (จดต่อ คำต่อคำ)
วันนี้เครือซีพี บริษัทไทย ต้องแข่งกับต่างชาติ ที่มีกฏเกณฑ์ต่างๆมากมาย ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และยังต้องแข่งด้านต้นทุน หากคุณภาพไม่ถึง เค้าไม่ยอมให้ส่งออกไปหรอก และหากใครถูกแบนเนี่ย บางทีเค้าแบนการนำเข้าจากประเทศนั้นๆทั้งประเทศ (ตอบจริงจังมาก....ชักกดดัน) พี่เค้าถามว่า ถ้ากลัวว่าซีพี จะผูกขาด ให้ลองนึกสินค้าบริการว่า มียี่ห้ออะไรบ้าง เราก็ลองนึก ไล่ให้เค้าฟัง พอเค้าถามว่า ยี่ห้ออะไรของคนไทยบ้าง เออ..หว่ะ นึกไม่ออก นึกออกพวก มาม่า ไรเงี้ย น้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นึกไม่ออกจริงๆ (แล้วไงต่อพี่)
การจะแข่งขันได้นั้น ต้องมีคุณภาพทุกขั้นตอน แม้กระทั่งวัตถุดิบของ Supplier ต้องรู้ว่า มาจากไหน มีคุณภาพหรือไม่ มีแรงงานทาสมั้ย ทำลายสิ่งแวดล้อมมั้ย
เราเลยถามว่า " แล้วจะคุมยังไง ก็คนขาย เค้าขายเรา เราจะรู้ได้ยังไงว่า เค้าคุมคุณภาพ ไม่มีสารเจือปน ไม่มีแรงงานเถื่อน?
พี่เค้าบอกว่า มันมีกระบวนการที่เรียกว่า ห่วงโซ่คุณค่า เราจึงต้องควบคุม เช่น อาหารสัตว์ การทำโรงเลี้ยงสัตว์ ต้องมีคุณภาพ ต้องคุมหมด ไม่งั้นน้ำหนักไมได้ คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน และถ้าบริหารไม่ได้ ต้นทุนไม่มีทางแข่งกับต่างประเทศได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเองทั้งหมด จึงได้มีรูปแบบ Contract Farming บ้าง สหกรณ์บ้าง ซึ่งซีพี มีการปรับปรุงสัญญาเป็นมาตรฐานระดับสากล ไม่เอาเปรียบ (ว่าแล้วพี่แกก็โชว์ Case ที่ประสบความสำเร็จกับซีพีให้หลายอัน) เราเลยบอกว่า ครับๆๆ
แล้วทำไมซีพี ต้องทำสินค้าออกมาแข่งเยอะแยะ ชาวบ้านจะสู้ได้ยังไง (ต่อเลย)
พี่แกเล่าว่า " ธุรกิจ มันมีเล็ก กลาง ใหญ่ เกื้อกูลกันไป" ที่เห็นซีพีทำธุรกิจเยอะแยะนั้น มี SME อยู่ในระบบมากมาย กว่า 500,000 ราย จ้างงานกว่า 300, 000 ตำแหน่ง จ่ายภาษีให้ประเทศสูงเป็นอันดับต้นๆ เราเกื้อกูลกัน เป็น ECOSYSTEM (เปิดดิกแล้วแปลว่า ระบบนิเวศ) ไม่ได้หมายความว่า มีซีพีเจ้าเดียว
แต่สิ่งที่สำคัญ แม้เป็นรายเล็ก ก็ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ไม่งั้นอยู่ไม่ได้จริงๆ นะ ไม่ต้องกลัวซีพี จะกินรวบ แต่โลกมันไม่มีขอบเขต สมัยนี้ ปลาเร็ว กินปลาช้า ดังนั้น ปลาใหญ่ใช่ว่าจะอยู่รอด หากไม่พัฒนา ปลาเล็กก็เช่นกัน
อยู่แบบไม่พัฒนาก็รอดนะพี่ ถ้าไม่ถูกรายใหญ่กินรวบ (กินดีหมีมา)
"พี่อธิบายอย่างนี้นะ โลกมันหมุนเร็วมาก ธุรกิจใหม่ๆ Startup ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และมันฆ่าธุรกิจเก่าๆ ทุกวัน น้องเลือกได้ว่า จะร้องให้คนมาช่วย หรือ น้องจะปรับตัวเอง ยืนบนขาตัวเอง หรือ อัตตาหิ อัตโนนาโถ ดังนั้น ไม่ว่าธุรกิจเล็ก กลาง หรือ ใหญ่ ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา อย่างร้านค้าเล็กๆในญี่ปุ่นก็ปรับรูปแบบสินค้า มีนวัตกรรมตลอดเวลา อย่างที่บอกแหละว่า ปลาเร็วกินปลาช้า"
เราเลยถามว่า Startup อย่าง แอพอูเบอร์ ขับรถ มาฆ่าแทคซี่รึป่าว พี่เค้าตอบว่า มันไม่ใช่แค่อุเบอร์ แต่มันมีธุรกิจใหม่ๆ หลายพัน ต่อวัน และขยายทั่วโลก เราจะอยู่กันในบ้านอย่างเดียวไม่ได้ ปัจจุบัน แข่งกันไม่จำกัดรุ่น ดังนั้น พวกเรา ต้องช่วยกัน อยู่กันเป็นระบบ เล็ก กลาง ใหญ่ เอื้อกัน เกื้อกูลกัน
โอเคครับพี่ ขอบพระคุณพี่เป็นอย่างสูงเลยครับ ผมสรุปอย่างนี้ละกันนะครับว่า
กินรวบ ผูกขาด นั้น มันเป็นวิถีที่เรียกว่า "ปลาเร็ว กินปลาช้า" ขนาดไม่ได้บอกว่า ใครจะกินรวบใคร แต่ในยุคนี้ คนที่เร็วไมพอ ปรับตัวไม่ได้ คือ คนที่ไม่มีที่ยืน เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า ห่วงโซ่การส่งมอบคุณค่าสั้นลง ใครกะจะกินส่วนต่าง ก็จะทำยากขึ้น เทคโนโลยี ทำให้คนถึงกันมากขึ้น คู่แข่งทั่วโลกเข้ามาง่ายขึ้น ถ้าเรามัวแต่กลัวคนไทยกันเอง ขัดขากันเอง เราก็อยู่แบบเดิมไม่ได้อยู่ดี สุดท้าย ทางออกคือ การพัฒนาตัวเองตลอดเวลา รับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เพราะใหญ่แค่ไหน พัฒนาตลอดเวลาไม่ได้ และเร็วไม่พอ ก็ตายเหมือนกัน
กินรวบ ผูกขาด จริงๆแล้ว มันคืออะไรกันแน่ ?????
พอพูดถึงองค์กรใหญ่ ก็คิดอยู่ว่า จะไปถามซีพี หรือว่า ช้างดี สรุปแล้ว คงต้องเลือก เลยเลือกไปคุยกับซีพีมา
พยายามติดต่อผ่านพ่อเพื่อน เพื่อขอสัมภาษย์ เลยได้เจอกับ ผู้ใหญ่ซีพี ที่ให้เวลาคุยครึ่งชั่วโมง เพราะพ่อเพื่อนก็เส้นใหญ่ไม่เบา อิอิ
เลยถามแบบตรงๆเลยว่า ซีพีกินรวบ ผูกขาดรึป่าว ครับ (แค่คำถามแรก ก็ชวนตีแล้วเรา)
คุณลุง แกเรียกตัวเองว่า พี่ เราก็เลยเรียกแกว่า พี่ด้วย สรุปว่า พี่ผูกขาด กินรวบมั้ยพี่
"พี่ว่า คำถามน้องนี่ พี่ไม่น่าเลี้ยงกาแฟเลย" 555 พี่เค้าก็กวนนะเนี่ย " พี่ถามน้องก่อนละกัน น้องว่า องค์กรที่มันไม่ดีเนี่ย มันจะอยู่มาได้กว่า 100 ปีมั้ย?"
อยากบอกพี่เค้าว่า มันก็ไม่น่าจะอยู่มาได้นะ ถ้าคดโกง คงไม่มีคนซื้อมั้งครับ แต่ก็ตอบกวนไปก่อนละกัน ว่า " ไม่รู้ครับ เกิดไม่ทันครับ อิอิ"
งั้นพี่ถามคำถามใหม่ละกัน " ถ้าองค์กรที่ไม่ดี จะมีคนมาทำงาน 300,000 กว่า คนมั้ย ทำไมคนพวกนี้อยากอยู่กับองค์กรที่ไม่ดี คนพวกนี้ไม่ดีเหรอ??"
เราเลยตอบว่า " ผมไม่ได้ว่าพี่นะ หมายถึงรวมๆหน่ะ" พี่เค้าตอบว่า องค์กรก็เหมือนคน จะอยู่รอดได้นั้น ต้องมีคุณธรรม น้องเคยได้ยินคำว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นานมั้ย การที่ซีพีอยู่มาได้เนี่ย เพราะคำว่า คุณธรรม (เราเริ่มจดก่อน เดี๋ยวไม่มีใส่ในรายงาน) ไงต่อครับพี่ (จดต่อ คำต่อคำ)
วันนี้เครือซีพี บริษัทไทย ต้องแข่งกับต่างชาติ ที่มีกฏเกณฑ์ต่างๆมากมาย ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และยังต้องแข่งด้านต้นทุน หากคุณภาพไม่ถึง เค้าไม่ยอมให้ส่งออกไปหรอก และหากใครถูกแบนเนี่ย บางทีเค้าแบนการนำเข้าจากประเทศนั้นๆทั้งประเทศ (ตอบจริงจังมาก....ชักกดดัน) พี่เค้าถามว่า ถ้ากลัวว่าซีพี จะผูกขาด ให้ลองนึกสินค้าบริการว่า มียี่ห้ออะไรบ้าง เราก็ลองนึก ไล่ให้เค้าฟัง พอเค้าถามว่า ยี่ห้ออะไรของคนไทยบ้าง เออ..หว่ะ นึกไม่ออก นึกออกพวก มาม่า ไรเงี้ย น้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นึกไม่ออกจริงๆ (แล้วไงต่อพี่)
การจะแข่งขันได้นั้น ต้องมีคุณภาพทุกขั้นตอน แม้กระทั่งวัตถุดิบของ Supplier ต้องรู้ว่า มาจากไหน มีคุณภาพหรือไม่ มีแรงงานทาสมั้ย ทำลายสิ่งแวดล้อมมั้ย
เราเลยถามว่า " แล้วจะคุมยังไง ก็คนขาย เค้าขายเรา เราจะรู้ได้ยังไงว่า เค้าคุมคุณภาพ ไม่มีสารเจือปน ไม่มีแรงงานเถื่อน?
พี่เค้าบอกว่า มันมีกระบวนการที่เรียกว่า ห่วงโซ่คุณค่า เราจึงต้องควบคุม เช่น อาหารสัตว์ การทำโรงเลี้ยงสัตว์ ต้องมีคุณภาพ ต้องคุมหมด ไม่งั้นน้ำหนักไมได้ คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน และถ้าบริหารไม่ได้ ต้นทุนไม่มีทางแข่งกับต่างประเทศได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำเองทั้งหมด จึงได้มีรูปแบบ Contract Farming บ้าง สหกรณ์บ้าง ซึ่งซีพี มีการปรับปรุงสัญญาเป็นมาตรฐานระดับสากล ไม่เอาเปรียบ (ว่าแล้วพี่แกก็โชว์ Case ที่ประสบความสำเร็จกับซีพีให้หลายอัน) เราเลยบอกว่า ครับๆๆ
แล้วทำไมซีพี ต้องทำสินค้าออกมาแข่งเยอะแยะ ชาวบ้านจะสู้ได้ยังไง (ต่อเลย)
พี่แกเล่าว่า " ธุรกิจ มันมีเล็ก กลาง ใหญ่ เกื้อกูลกันไป" ที่เห็นซีพีทำธุรกิจเยอะแยะนั้น มี SME อยู่ในระบบมากมาย กว่า 500,000 ราย จ้างงานกว่า 300, 000 ตำแหน่ง จ่ายภาษีให้ประเทศสูงเป็นอันดับต้นๆ เราเกื้อกูลกัน เป็น ECOSYSTEM (เปิดดิกแล้วแปลว่า ระบบนิเวศ) ไม่ได้หมายความว่า มีซีพีเจ้าเดียว
แต่สิ่งที่สำคัญ แม้เป็นรายเล็ก ก็ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ไม่งั้นอยู่ไม่ได้จริงๆ นะ ไม่ต้องกลัวซีพี จะกินรวบ แต่โลกมันไม่มีขอบเขต สมัยนี้ ปลาเร็ว กินปลาช้า ดังนั้น ปลาใหญ่ใช่ว่าจะอยู่รอด หากไม่พัฒนา ปลาเล็กก็เช่นกัน
อยู่แบบไม่พัฒนาก็รอดนะพี่ ถ้าไม่ถูกรายใหญ่กินรวบ (กินดีหมีมา)
"พี่อธิบายอย่างนี้นะ โลกมันหมุนเร็วมาก ธุรกิจใหม่ๆ Startup ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และมันฆ่าธุรกิจเก่าๆ ทุกวัน น้องเลือกได้ว่า จะร้องให้คนมาช่วย หรือ น้องจะปรับตัวเอง ยืนบนขาตัวเอง หรือ อัตตาหิ อัตโนนาโถ ดังนั้น ไม่ว่าธุรกิจเล็ก กลาง หรือ ใหญ่ ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา อย่างร้านค้าเล็กๆในญี่ปุ่นก็ปรับรูปแบบสินค้า มีนวัตกรรมตลอดเวลา อย่างที่บอกแหละว่า ปลาเร็วกินปลาช้า"
เราเลยถามว่า Startup อย่าง แอพอูเบอร์ ขับรถ มาฆ่าแทคซี่รึป่าว พี่เค้าตอบว่า มันไม่ใช่แค่อุเบอร์ แต่มันมีธุรกิจใหม่ๆ หลายพัน ต่อวัน และขยายทั่วโลก เราจะอยู่กันในบ้านอย่างเดียวไม่ได้ ปัจจุบัน แข่งกันไม่จำกัดรุ่น ดังนั้น พวกเรา ต้องช่วยกัน อยู่กันเป็นระบบ เล็ก กลาง ใหญ่ เอื้อกัน เกื้อกูลกัน
โอเคครับพี่ ขอบพระคุณพี่เป็นอย่างสูงเลยครับ ผมสรุปอย่างนี้ละกันนะครับว่า
กินรวบ ผูกขาด นั้น มันเป็นวิถีที่เรียกว่า "ปลาเร็ว กินปลาช้า" ขนาดไม่ได้บอกว่า ใครจะกินรวบใคร แต่ในยุคนี้ คนที่เร็วไมพอ ปรับตัวไม่ได้ คือ คนที่ไม่มีที่ยืน เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า ห่วงโซ่การส่งมอบคุณค่าสั้นลง ใครกะจะกินส่วนต่าง ก็จะทำยากขึ้น เทคโนโลยี ทำให้คนถึงกันมากขึ้น คู่แข่งทั่วโลกเข้ามาง่ายขึ้น ถ้าเรามัวแต่กลัวคนไทยกันเอง ขัดขากันเอง เราก็อยู่แบบเดิมไม่ได้อยู่ดี สุดท้าย ทางออกคือ การพัฒนาตัวเองตลอดเวลา รับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ เพราะใหญ่แค่ไหน พัฒนาตลอดเวลาไม่ได้ และเร็วไม่พอ ก็ตายเหมือนกัน