

ธรรมะจากพระผู้รู้ โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ 


จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 49 ค่ะ
ถาม: ขอคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาที่ควรทราบเมื่อไปปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ
ถ้าพวกเราสังเกตสักนิดก็จะเห็นว่า
ผมจะพิถีพิถันในการเลือกสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่างมาก
ก่อนจะนำมาแนะนำกับพวกเรา
ทั้งนี้เพราะการไปปฏิบัติธรรมตามสำนักต่างๆ กระทั่งวัดป่า
ก็มีอันตรายแฝงเร้นอยู่เหมือนกัน
สุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปปฏิบัติ อาจจะเดือดร้อนในภายหลัง
โดยเฉพาะสุภาพสตรีทั้งหลาย ซึ่งมีภัยติดตัวมาตั้งแต่เกิด
เรื่องปัญหาของการออกปฏิบัติธรรมนั้นมีหลายรูปแบบ
จำเป็นที่พวกเราจะต้องเรียนรู้กันไว้บ้าง
จะได้หาทางหลบหลีกเอา เมื่อเวลาเจอกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
ผมจะขอเล่าเท่าที่นึกได้ในขณะนี้ก็แล้วกัน
ปัญหาอย่างแรกของการไปปฏิบัติธรรมตามสำนักที่เราไม่คุ้นเคย
เริ่มตั้งแต่การขออนุญาต ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่นัก เป็นเรื่องของมารยาทมากกว่า
เดี๋ยวนี้ก็ทำได้ง่าย ด้วยการเขียนจดหมาย หรือโทรศัพท์เอา
ปัญหาต่อมาเป็นเรื่องของการเดินทาง
อันนี้ใครมีรถส่วนตัวและขับไปได้ก็สะดวกหน่อย
แต่บางพื้นที่ รถเก๋งก็เข้าไปไม่ได้ ต้องไปอาศัยรถกระบะชนิดที่ต้องเอาโซ่พันล้อ ก็มี
หรืออย่างสมัยที่ผมกับพุทธินันท์ออกศึกษาธรรมกันนั้น
ส่วนมากก็อาศัยรถไฟ รถทัวร์ ไปถึงตัวจังหวัด
แล้วหารถต่อไปวัดป่า บางแห่งก็ต้องเดินเอาเป็นสิบๆ กิโลเมตร
ก่อนจะไปจึงควรศึกษาเส้นทางเสียก่อน แล้วบวกเวลาเพิ่มไว้ให้มากๆ
ผมเคยเจอปัญหาเรื่องการเดินทางอยู่บ่อยๆ
เช่น คราวหนึ่งถามพระมหาเถระรูปหนึ่งถึงวัดป่าแห่งหนึ่งในกาฬสินธุ์
ท่านก็แนะเส้นทางให้เสร็จ บอกด้วยว่าจากถนนใหญ่มีทางแยกเข้าวัดป่า ใกล้นิดเดียว
คำว่าใกล้นิดเดียวนี่แหละครับ เดินกันเป็นวันเลย
กลับมาต่อว่าท่าน ท่านก็ว่า เอ ไม่น่าจะไกลขนาดนั้นนะ
ตอนท่านนั่งรถตู้เข้าไป พอขึ้นรถก็กำหนดจิต
ปุ๊บเดียว พอจิตถอนก็ถึงวัดแล้ว
บางพื้นที่จะมีรถเข้าออกหมู่บ้านเพียงวันละเที่ยว
คือตอนเช้ามืด รถสองแถวจากหมู่บ้านจะรับคนไปตลาดในตัวอำเภอ
ตอนเที่ยงหรือบ่าย ก็จะรับคนกลับเข้าหมู่บ้าน
เวลาเราไปถึงชุมชน ถ้าจะหารถเข้าหมู่บ้าน ก็ให้ไปหาเอาตามตลาด
และต้องกะเวลาเดินทางให้ดี เพราะบางกรณีไม่มีรถเช่า ต้องไปรถของหมู่บ้านให้ทัน
ความลำบากก็อยู่ตรงที่เราลงจากรถไฟหรือรถทัวร์ตอนเช้าๆ
กว่าจะได้รถเข้าหมู่บ้านก็เป็นเวลาเที่ยงหรือบ่าย
เวลาช่วงนี้แหละครับที่ทรมานพอสมควร
แค่จะเข้าห้องน้ำก็ลำบากแล้ว เพราะกระเป๋าอาจจะหายเมื่อไรก็ได้
แล้วก็ตกเป็นเป้าสายตาผู้คน ซึ่งอาจจะมีอันธพาลท้องถิ่นปนอยู่ด้วย
สำหรับเวลาจะออกจากวัด ก็ต้องวางแผนให้ดี โดยมีแผนสำรองฉุกเฉินด้วย
คราวหนึ่งผมไปอยู่ในดงกระเหรี่ยง นัดรถมารับไปสนามบิน
พระท่านต้องออกไปตระเวนในหมู่บ้าน หารถคันใหม่ให้ เพราะคันที่นัดไว้ไม่มา
ส่วนรถคันใหม่ก็เอ้อระเหยลอยชาย ขนาดเราบอกว่าจ้างเหมา
เขากลับแวะรับส่งคนไปเรื่อยๆ บางทีก็เลี้ยวออกนอกเส้นทาง
ไปขนข้าวของของคนจากหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อไปแวะส่งอีกหมู่บ้านหนึ่ง
(ที่เคยเจอแล้วยุ่งที่สุดคือ ไปแวะขนวัว ซึ่งเตะเก่งมาก)
เรื่องเหล่านี้อาจจะดูว่าเล็กน้อย แต่มันหมายถึงความปลอดภัย
และการพลาดกำหนดการเดินทาง ซึ่งอันตรายมากกับผู้หญิง
เพราะอาจจะไปตกค้างอยู่ตามป่าระหว่างหมู่บ้านได้ง่ายๆ
เมื่อเดินทางไปถึงวัดป่าแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือการเข้าไปกราบรายงานตัว
พระท่านจะกำหนดให้เองว่า ให้เราไปพักที่ไหน
บางวัดจะให้เสื่อ หมอน และผ้าห่มด้วย
เป็นธรรมเนียมวัดป่า ที่ผู้หญิงกับผู้ชายจะต้องแยกกันพัก
บางวัด ผมจะไม่แนะนำให้ผู้หญิงไปเลย เช่น วัดวชิราลงกรณ์ ที่ปากช่อง
เพราะเขตที่ผู้หญิงอยู่ ห่างจากเขตพระ และไปหลบอยู่หลังเขา
ซึ่งอันธพาลตามหมู่บ้านจะเข้าไปปล้นและปล้ำเอาได้ง่ายๆ
ส่วนมากผู้หญิงจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มกุฏิผู้หญิง หรือแถวๆ โรงครัว
ซึ่งบริเวณนั้น มักจะมีเจ้าที่เจ้าทางที่เฮี้ยนๆ อยู่แทบทุกแห่ง
กระทั่งในวัดป่าบ้านตาด ก็มีคนพยายามไปตั้งตัวเป็นเจ้าแม่ในโรงครัว
คอยกีดกันผู้หญิงอื่นๆ ทั้งเรื่องที่กินที่นอน
หรือกำหนดกะเกณฑ์ให้น้องใหม่ต้องทำนั่นทำนี่ เช่น ทำครัว
(ลืมบอกว่า เจ้าแม่ที่บ้านตาดแอบแสดงอิทธิพลลับหลังหลวงตา
แต่ตอนเช้าขึ้นมา หลวงตาด่าเจ้าแม่ออกไมโครโฟนลั่นวัดเลย
แล้วบอกว่า อย่ามาทำใหญ่ที่วัดนี้นะ ทุกคนไม่ว่าคนเก่าคนใหม่
หรือยากดีมีจนอะไรก็ตาม เมื่อมาที่นี่ต้องเท่าเทียมกันหมด
เพราะมาด้วยหัวใจของผู้ใฝ่ธรรม)
ที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ บางวัดจะมีชีหรือผู้ปฏิบัติหญิงที่เพี้ยนๆ
ประเภทบ้าไปแล้วก็มี ประเภทวิปลาสที่ดูยากก็มี
คอยดักรับนักปฏิบัติหญิงหน้าใหม่ที่หลงเข้าไป
ชักชวนให้เป็นพวก ให้อยู่กุฏิของตน เพื่อจะอบรมกรรมฐานให้
ไปอีสานรอบนี้ ผมเจอ "พระอรหันต์หญิง" และ "หญิงเพี้ยน" ชนิดนี้หลายวัดด้วยกัน
พวกสาวๆ ที่จะเข้าไปติดต่อที่วัดเพื่อเข้าพักในวัด
ขอให้ดูให้ดีว่า คนที่ไปติดต่อขอพักวัดนั้น
เป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจริงหรือเปล่า
สนามรบของผู้หญิงเวลาอยู่วัดป่า ก็ได้แก่กลุ่มผู้หญิงด้วยกันเองนี่แหละ
ถ้าเป็นสำนักใหญ่ ก็จะมีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่า แบ่งหน้าที่การงานกัน
ขืนก้าวก่ายหน้าที่กัน ก็มีเรื่องได้ง่ายๆ





...ธรรมะจากพระผู้รู้... โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ ^^ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 49 - 50 ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 49 ค่ะ
ถ้าพวกเราสังเกตสักนิดก็จะเห็นว่า
ผมจะพิถีพิถันในการเลือกสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่างมาก
ก่อนจะนำมาแนะนำกับพวกเรา
ทั้งนี้เพราะการไปปฏิบัติธรรมตามสำนักต่างๆ กระทั่งวัดป่า
ก็มีอันตรายแฝงเร้นอยู่เหมือนกัน
สุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปปฏิบัติ อาจจะเดือดร้อนในภายหลัง
โดยเฉพาะสุภาพสตรีทั้งหลาย ซึ่งมีภัยติดตัวมาตั้งแต่เกิด
เรื่องปัญหาของการออกปฏิบัติธรรมนั้นมีหลายรูปแบบ
จำเป็นที่พวกเราจะต้องเรียนรู้กันไว้บ้าง
จะได้หาทางหลบหลีกเอา เมื่อเวลาเจอกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้น
ผมจะขอเล่าเท่าที่นึกได้ในขณะนี้ก็แล้วกัน
ปัญหาอย่างแรกของการไปปฏิบัติธรรมตามสำนักที่เราไม่คุ้นเคย
เริ่มตั้งแต่การขออนุญาต ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่นัก เป็นเรื่องของมารยาทมากกว่า
เดี๋ยวนี้ก็ทำได้ง่าย ด้วยการเขียนจดหมาย หรือโทรศัพท์เอา
ปัญหาต่อมาเป็นเรื่องของการเดินทาง
อันนี้ใครมีรถส่วนตัวและขับไปได้ก็สะดวกหน่อย
แต่บางพื้นที่ รถเก๋งก็เข้าไปไม่ได้ ต้องไปอาศัยรถกระบะชนิดที่ต้องเอาโซ่พันล้อ ก็มี
หรืออย่างสมัยที่ผมกับพุทธินันท์ออกศึกษาธรรมกันนั้น
ส่วนมากก็อาศัยรถไฟ รถทัวร์ ไปถึงตัวจังหวัด
แล้วหารถต่อไปวัดป่า บางแห่งก็ต้องเดินเอาเป็นสิบๆ กิโลเมตร
ก่อนจะไปจึงควรศึกษาเส้นทางเสียก่อน แล้วบวกเวลาเพิ่มไว้ให้มากๆ
ผมเคยเจอปัญหาเรื่องการเดินทางอยู่บ่อยๆ
เช่น คราวหนึ่งถามพระมหาเถระรูปหนึ่งถึงวัดป่าแห่งหนึ่งในกาฬสินธุ์
ท่านก็แนะเส้นทางให้เสร็จ บอกด้วยว่าจากถนนใหญ่มีทางแยกเข้าวัดป่า ใกล้นิดเดียว
คำว่าใกล้นิดเดียวนี่แหละครับ เดินกันเป็นวันเลย
กลับมาต่อว่าท่าน ท่านก็ว่า เอ ไม่น่าจะไกลขนาดนั้นนะ
ตอนท่านนั่งรถตู้เข้าไป พอขึ้นรถก็กำหนดจิต
ปุ๊บเดียว พอจิตถอนก็ถึงวัดแล้ว
บางพื้นที่จะมีรถเข้าออกหมู่บ้านเพียงวันละเที่ยว
คือตอนเช้ามืด รถสองแถวจากหมู่บ้านจะรับคนไปตลาดในตัวอำเภอ
ตอนเที่ยงหรือบ่าย ก็จะรับคนกลับเข้าหมู่บ้าน
เวลาเราไปถึงชุมชน ถ้าจะหารถเข้าหมู่บ้าน ก็ให้ไปหาเอาตามตลาด
และต้องกะเวลาเดินทางให้ดี เพราะบางกรณีไม่มีรถเช่า ต้องไปรถของหมู่บ้านให้ทัน
ความลำบากก็อยู่ตรงที่เราลงจากรถไฟหรือรถทัวร์ตอนเช้าๆ
กว่าจะได้รถเข้าหมู่บ้านก็เป็นเวลาเที่ยงหรือบ่าย
เวลาช่วงนี้แหละครับที่ทรมานพอสมควร
แค่จะเข้าห้องน้ำก็ลำบากแล้ว เพราะกระเป๋าอาจจะหายเมื่อไรก็ได้
แล้วก็ตกเป็นเป้าสายตาผู้คน ซึ่งอาจจะมีอันธพาลท้องถิ่นปนอยู่ด้วย
สำหรับเวลาจะออกจากวัด ก็ต้องวางแผนให้ดี โดยมีแผนสำรองฉุกเฉินด้วย
คราวหนึ่งผมไปอยู่ในดงกระเหรี่ยง นัดรถมารับไปสนามบิน
พระท่านต้องออกไปตระเวนในหมู่บ้าน หารถคันใหม่ให้ เพราะคันที่นัดไว้ไม่มา
ส่วนรถคันใหม่ก็เอ้อระเหยลอยชาย ขนาดเราบอกว่าจ้างเหมา
เขากลับแวะรับส่งคนไปเรื่อยๆ บางทีก็เลี้ยวออกนอกเส้นทาง
ไปขนข้าวของของคนจากหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อไปแวะส่งอีกหมู่บ้านหนึ่ง
(ที่เคยเจอแล้วยุ่งที่สุดคือ ไปแวะขนวัว ซึ่งเตะเก่งมาก)
เรื่องเหล่านี้อาจจะดูว่าเล็กน้อย แต่มันหมายถึงความปลอดภัย
และการพลาดกำหนดการเดินทาง ซึ่งอันตรายมากกับผู้หญิง
เพราะอาจจะไปตกค้างอยู่ตามป่าระหว่างหมู่บ้านได้ง่ายๆ
เมื่อเดินทางไปถึงวัดป่าแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือการเข้าไปกราบรายงานตัว
พระท่านจะกำหนดให้เองว่า ให้เราไปพักที่ไหน
บางวัดจะให้เสื่อ หมอน และผ้าห่มด้วย
เป็นธรรมเนียมวัดป่า ที่ผู้หญิงกับผู้ชายจะต้องแยกกันพัก
บางวัด ผมจะไม่แนะนำให้ผู้หญิงไปเลย เช่น วัดวชิราลงกรณ์ ที่ปากช่อง
เพราะเขตที่ผู้หญิงอยู่ ห่างจากเขตพระ และไปหลบอยู่หลังเขา
ซึ่งอันธพาลตามหมู่บ้านจะเข้าไปปล้นและปล้ำเอาได้ง่ายๆ
ส่วนมากผู้หญิงจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มกุฏิผู้หญิง หรือแถวๆ โรงครัว
ซึ่งบริเวณนั้น มักจะมีเจ้าที่เจ้าทางที่เฮี้ยนๆ อยู่แทบทุกแห่ง
กระทั่งในวัดป่าบ้านตาด ก็มีคนพยายามไปตั้งตัวเป็นเจ้าแม่ในโรงครัว
คอยกีดกันผู้หญิงอื่นๆ ทั้งเรื่องที่กินที่นอน
หรือกำหนดกะเกณฑ์ให้น้องใหม่ต้องทำนั่นทำนี่ เช่น ทำครัว
(ลืมบอกว่า เจ้าแม่ที่บ้านตาดแอบแสดงอิทธิพลลับหลังหลวงตา
แต่ตอนเช้าขึ้นมา หลวงตาด่าเจ้าแม่ออกไมโครโฟนลั่นวัดเลย
แล้วบอกว่า อย่ามาทำใหญ่ที่วัดนี้นะ ทุกคนไม่ว่าคนเก่าคนใหม่
หรือยากดีมีจนอะไรก็ตาม เมื่อมาที่นี่ต้องเท่าเทียมกันหมด
เพราะมาด้วยหัวใจของผู้ใฝ่ธรรม)
ที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ บางวัดจะมีชีหรือผู้ปฏิบัติหญิงที่เพี้ยนๆ
ประเภทบ้าไปแล้วก็มี ประเภทวิปลาสที่ดูยากก็มี
คอยดักรับนักปฏิบัติหญิงหน้าใหม่ที่หลงเข้าไป
ชักชวนให้เป็นพวก ให้อยู่กุฏิของตน เพื่อจะอบรมกรรมฐานให้
ไปอีสานรอบนี้ ผมเจอ "พระอรหันต์หญิง" และ "หญิงเพี้ยน" ชนิดนี้หลายวัดด้วยกัน
พวกสาวๆ ที่จะเข้าไปติดต่อที่วัดเพื่อเข้าพักในวัด
ขอให้ดูให้ดีว่า คนที่ไปติดต่อขอพักวัดนั้น
เป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจริงหรือเปล่า
สนามรบของผู้หญิงเวลาอยู่วัดป่า ก็ได้แก่กลุ่มผู้หญิงด้วยกันเองนี่แหละ
ถ้าเป็นสำนักใหญ่ ก็จะมีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่า แบ่งหน้าที่การงานกัน
ขืนก้าวก่ายหน้าที่กัน ก็มีเรื่องได้ง่ายๆ