เรื่องสัตว์หิมพานต์ ที่เล่ากันมาประกอบนิทานก็มาก ไม่ข้อเดียวกับข้อถามนั้น แต่เป็นแต่ทางพูดให้ฟังก่อน ดังนี้
หิมวันต์นั่นแนวพรต
ที่เลี้ยวลด แห่งฤๅษี
ตามทางนั้นมากมี
สัตว์สุขขีเริงสำราญ
เรื่องบอกเป็นแนวภูต
เลิศล้ำสูตรเกษมสานต์
บอกเด็กด้วยนิทาน
บอกชาวบ้านถึงแนวไพร
เรื่องหิมพานต์นั้น คงไม่ได้ประพันธ์ให้เกี่ยวด้วยสัตว์แสนรู้ตัวอย่างเท่านั้น หรือจะแสดงวรรณคดีโลกเพื่อต่อคดีสู่แนวธรรมแต่ประการเดียว คือคงจะพูดถึงทิพย์ของสัตว์นั้นๆ ไม่ใช่ว่าจะพูดถึงสัตว์นั้นๆโดยตรง ในส่วนนี้จะทำให้คิดถึงคำว่า " ภูต " ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายในทางที่จะคล้องสัตว์ไว้ด้วยกัน ทั้งหมดยังรวบรวมตลอดไปถึงธรรมชาติที่เป็นธาตุ คือ ลม น้ำ ดิน ไฟ ก็อาจแสดงด้วยคำดังกล่าวนี้ คำนี้จึงจะดูนำหน้าเขา ในทางที่จะพูดเกี่ยวกับความเร้นลับ เช่นว่า ภูต ผี ปีศาจ เป็นต้น คือถ้าแสนรู้ในทางกุศลประกอบ ก็เป็นสัตว์หิมวันต์ คือเป็นภูต แต่หากรู้ไปในทางกระทำชั่วร้าย ก็เป็นผี เป็นปิศาจ
คือคำว่า ภูต นี่มันจะพารู้สึกถึงทิพย์อย่างหนึ่ง ที่มีการแสดงความเป็นมา ว่าเรื่องเกี่ยวให้แสดงด้วยหิมพานต์นั้นๆ คือเรารู้ไปถึงความเป็นทิพย์ของสัตว์แสนรู้นั้นๆ ไม่ใช่ว่ารู้ไปถึงสัตว์นั้นเสียทีเดียว ต้องประกอบกันกะคติของนิทาน จึงจะคุ้มกันดีกะที่รู้ และให้ไปถึงวิเศษที่เราควรจะต้องมีบ้าง
เมื่อวินิจฉัยบ้างแล้ว ก็จึงยกบทที่ว่าด้วยหัวข้อ มีมาด้วยพระไตรปิฎก ดังนี้
คำว่า ธรรมกาย พรหมกาย ธรรมภูต พรหมภูต เป็นชื่อของพระตถาคต .
[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนว่าเสฏฐะและภารทวาชะ
เธอทั้งหลายแล มีชาติต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกัน ออกจาก
เรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ถูกเขาถามว่า ท่านเป็นพวกไหนดังนี้ พึงตอบ
เขาว่า พวกเราเป็นพวกพระสมณะศากยบุตรดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-
วาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น เกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่าง
มั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามารพรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้เคลื่อน
ย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์
ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็น
ทายาทของพระธรรมดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี
พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต.
(อัคคัญญสูตร) 15/150/12-21
คำว่า ธรรมกาย พรหมกาย ธรรมภูต พรหมภูต เป็นชื่อของพระตถาคต
หิมวันต์นั่นแนวพรต
ที่เลี้ยวลด แห่งฤๅษี
ตามทางนั้นมากมี
สัตว์สุขขีเริงสำราญ
เรื่องบอกเป็นแนวภูต
เลิศล้ำสูตรเกษมสานต์
บอกเด็กด้วยนิทาน
บอกชาวบ้านถึงแนวไพร
เรื่องหิมพานต์นั้น คงไม่ได้ประพันธ์ให้เกี่ยวด้วยสัตว์แสนรู้ตัวอย่างเท่านั้น หรือจะแสดงวรรณคดีโลกเพื่อต่อคดีสู่แนวธรรมแต่ประการเดียว คือคงจะพูดถึงทิพย์ของสัตว์นั้นๆ ไม่ใช่ว่าจะพูดถึงสัตว์นั้นๆโดยตรง ในส่วนนี้จะทำให้คิดถึงคำว่า " ภูต " ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายในทางที่จะคล้องสัตว์ไว้ด้วยกัน ทั้งหมดยังรวบรวมตลอดไปถึงธรรมชาติที่เป็นธาตุ คือ ลม น้ำ ดิน ไฟ ก็อาจแสดงด้วยคำดังกล่าวนี้ คำนี้จึงจะดูนำหน้าเขา ในทางที่จะพูดเกี่ยวกับความเร้นลับ เช่นว่า ภูต ผี ปีศาจ เป็นต้น คือถ้าแสนรู้ในทางกุศลประกอบ ก็เป็นสัตว์หิมวันต์ คือเป็นภูต แต่หากรู้ไปในทางกระทำชั่วร้าย ก็เป็นผี เป็นปิศาจ
คือคำว่า ภูต นี่มันจะพารู้สึกถึงทิพย์อย่างหนึ่ง ที่มีการแสดงความเป็นมา ว่าเรื่องเกี่ยวให้แสดงด้วยหิมพานต์นั้นๆ คือเรารู้ไปถึงความเป็นทิพย์ของสัตว์แสนรู้นั้นๆ ไม่ใช่ว่ารู้ไปถึงสัตว์นั้นเสียทีเดียว ต้องประกอบกันกะคติของนิทาน จึงจะคุ้มกันดีกะที่รู้ และให้ไปถึงวิเศษที่เราควรจะต้องมีบ้าง
เมื่อวินิจฉัยบ้างแล้ว ก็จึงยกบทที่ว่าด้วยหัวข้อ มีมาด้วยพระไตรปิฎก ดังนี้
คำว่า ธรรมกาย พรหมกาย ธรรมภูต พรหมภูต เป็นชื่อของพระตถาคต .
[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนว่าเสฏฐะและภารทวาชะ
เธอทั้งหลายแล มีชาติต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกัน ออกจาก
เรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ถูกเขาถามว่า ท่านเป็นพวกไหนดังนี้ พึงตอบ
เขาว่า พวกเราเป็นพวกพระสมณะศากยบุตรดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-
วาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น เกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่าง
มั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามารพรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้เคลื่อน
ย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์
ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็น
ทายาทของพระธรรมดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี
พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต.
(อัคคัญญสูตร) 15/150/12-21