มือเขียนรัฐธรรมนูญอาชีพเก่าคราวกรุงศรี
รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ผู้บันทึก เรียกว่าเจ้าหน้าที่ลิขิต อยู่ในสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
สังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งอยู่ ณ ทำเนียบรัฐบาล
ความเป็นมาของ “อาลักษณ์” นายสมชาย พฤฒิกัลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสด้านงานพระราชพิธีและอาลักษณ์
สำนักเลขาธิการ ครม.บอกว่า ไทยเรามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คุณสมบัติของอาลักษณ์ คือ
1.ลายมือสวย 2.จับประเด็นได้ดี 3.ท่วงท่ากิริยาวาจางดงาม และ 4.เก็บความลับได้ดี
การจดจาร “สมัยก่อนเราใช้สมุดไทย ทำเป็นพับๆแล้วเขียนต่อมาแม้จะมีวิวัฒนาการสิ่งพิมพ์เข้ามา แต่อาลักษณ์ก็ยังคงความสำคัญต่อราชการไทยเสมอมา” การเขียนรัฐธรรมนูญ “เราเรียกว่าจุ่ม”
เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 สยามเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาลักษณ์เป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ สมัยนั้น
ใช้พู่กันจุ่มหมึกเขียน ต่อมาแม้จะใช้ปากกาคอแร้ง และปากกาทันสมัย เราก็ยังเรียกว่า “จุ่ม” เหมือนเดิม
คน “จุ่ม” รัฐธรรมนูญเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ลิขิต” ปัจจุบันมีอยู่ 9 คนคือ นายสุวรรณชัย โนนทะเสน
นางปณิตา สบายวงษ์ นายสุชิน มีทรัพย์ นายบรรดาศักดิ์ สีหาราช นายเชษฐพงษ์ เมี่ยงพันธุ์ นาย
บุญเพ็ง แก้วยอด นายสุชาติ สุขศรี นายรัตนะ จันทร์ทอง และนายวโรทัย เรียนหัตถกรรม โดยมี
นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ เป็นผู้อำนวยการ
การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ “ลิขิต” ผู้ทรงคุณวุฒิฯบอกว่า นอกจากคุณสมบัติ 4 ประการแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้มีสมาธิดี คัดเลือกโดยการสอบเข้ามาเหมือนข้าราชการพลเรือนทั่วไป “เข้ามาแล้ว กว่าจะเขียนได้มันยาก ก.พ.เอาวุฒิการศึกษา
ปวช. ปวส.เข้ามา ทำให้ได้รับเงินเดือนต่ำ แต่งานหนัก ต้องทำด้วยใจรักถึงจะอยู่ได้ ถ้าใจไม่รักจริง เมื่อมีค่าตอบแทน
อื่นมากกว่าเขาก็ไป”
การหากำลังสำรอง “เรื่องนี้ผมสู้มาตลอด ตามหลักการจะกำหนดอัตราขึ้นมาได้ต้องมีปริมาณงานเพียงพอ
เรามีความห่วงใยว่า คนเหล่านี้สายตา มือ มันอยู่ได้ไม่นาน ต้องเสื่อมถอยไปตามร่างกาย จึงเปรยๆกับเจ้าหน้าที่
ก.พ.ให้กำหนดอัตราขึ้นมา เมื่อมีอยู่ 9 คนก็ขอสำรองอีก 9 คน เพื่อให้มาเรียนรู้งาน คนมาใหม่กว่าจะเขียนได้
ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี บางคนผ่านไป 8 ปีแล้วยังเขียนไม่ได้ เป็นต้น”
เจ้าหน้าที่ลิขิต “เหมือนศิลปิน อารมณ์ต้องเบิกบาน ถึงจะเขียนออกมางดงาม อย่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา
เขียนท่ามกลางภาวะกดดัน บางคนวันหนึ่งเขียนไม่ได้เลย ถ้าใจไม่นิ่ง มือไม่นิ่งพอก็เขียนออกมาไม่ได้” และ
“ผมเป็นห่วงว่า บุคคลเหล่านี้ ถ้าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 กันขึ้นมา แล้วทยอยกันออกไป เราจะเอาบุคลากร
ที่ไหนมาทำงาน”
รัฐธรรมนูญทุกฉบับ เมื่อเขียนเสร็จแล้วต้องตรวจอย่างละเอียด ผิดไม่ได้แม้แต่อักษรเดียว วรรคตอน การตัดคำ
ปลายบรรทัดต้องผ่านนักกฎหมาย “เราต้องทานสามครั้ง โดยมีผู้อ่าน ผู้ตรวจ และผู้ฟังการอ่าน ปกติไม่มีผิดพลาด สมมติว่าถ้าผิดพลาดแม้อักษรเดียวก็ต้องตัดทิ้งไป แล้วเขียนใหม่”
พร้อมยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ “ทุกแผ่นต้องสมบูรณ์ เรียบร้อยสวยงาม เราทำพร้อมกัน 3 ฉบับ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่
รัฐสภา เก็บไว้ที่สำนักราชเลขาธิการ และเก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการ ครม. ทั้งสามฉบับเหมือนกันทุกตัวอักษร”
เจ้าหน้าที่ลิขิตเขียนรัฐธรรมนูญต้องมีพื้นฐานอย่างไร นายบรรดาศักดิ์ สีหาราช บอกว่า เริ่มสนใจลายมือเขียนมา
ตั้งแต่เรียนชั้นประถม “ครูเขียนบนกระดานดำ ผมก็เขียนเลียนแบบ เมื่อจบ ป.6 ก็บวชเรียนหนังสือ เวลาทำรายงาน
แม้จะมีพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ แต่ผมชอบเขียนด้วยลายมือ เพื่อให้ลายมือพัฒนาขึ้น เมื่อเรียนจบ ม.6 ก็สึกออกไป
เรียนรัฐศาสตร์ราม”
พอดีมีสมัครสอบเจ้าหน้าที่ลิขิตจึงเข้ามาสมัคร “ผมสอบได้ อันดับ 1”
ผ่านด่านสอบมาแล้ว ลายมือสวยแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำงานทันที เพราะต้องปรับลายมือให้เข้ากับ “ลายมือแบบอาลักษณ์” ก่อน
ประสบการณ์กว่า 20 ปี ทำให้ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญมาแล้ว 2 ฉบับ ฉบับที่ค้างคาอยู่นี้เป็นฉบับที่ 3 มองดูแล้ว
ชีวิตของคนคนหนึ่งเขียนรัฐธรรมนูญถึง 3 ฉบับ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย “ฉบับแรกของผมคือ รัฐธรรมนูญปี 2540
ผมเป็นน้องใหม่เขียนไม่ออกเลย รุ่นพี่เห็นก็มาให้กำลังใจ บอกว่าไม่ต้องตื่นเต้น ค่อยๆฝึกกระดาษอื่นก่อนค่อยมา
ลงกระดาษจริง แต่ผมก็ทำช้าอยู่ดี ทั้งๆที่ปกติผมเขียนหนังสือเร็ว”
แล้วฉบับต่อมา “รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เราค่อยชินหน่อย”
เจ้าหน้าที่ลิขิตไม่ได้เขียนเฉพาะรัฐธรรมนูญอย่างเดียว แต่เขียนพระราชสาส์น ตราตั้ง ถอน บัตรยศทหาร ตำรวจ อีกทั้ง “จาร” สมณศักดิ์พระสงฆ์ลงในแผ่นเงินและแผ่นทองด้วย แผ่นทองเป็นทองจริงๆ ปัจจุบัน 1 แผ่นราคาราว 100,000 บาท
หันไปทางเจ้าหน้าที่ลิขิตหญิงบ้าง นางปณิตาบอกว่า แรกเข้ามาฝึกเขียนอยู่ประมาณ 3 เดือนแล้วก็สอบเข้ามาได้
เขียนรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ ฉบับ พ.ศ.2534 เธอเล่าว่าเขียนกันอยู่ 4 คน แต่เนื้อหาฉบับนั้นไม่มากนัก เลยทำได้
ตามกำหนดเวลา
พลางเล่าประสบการณ์เขียนรัฐธรรมนูญว่า “ไม่ตื่นเต้นมาก เพราะเคยเขียนงานอื่นมานานแล้ว การเขียน ตัวอักษรต้องได้
ช่องไฟต้องได้ เราแบ่งกันเขียนเป็นรายมาตรา คำนวณแบ่งกันไป เมื่อได้เนื้อหามาแล้ว ต้องลองนำมาวางในหน้ากระดาษ
1 หน้ามี 4 บรรทัด กระดาษนั้นเรียกว่าพับ ใน 1 พับมี 2 หน้า หรือ 8 บรรทัด ถ้าเขียนอักษรใดพลาด หรือบิดเบี้ยวแม้แต่
เล็กน้อยก็ต้องทิ้ง แล้วเริ่มเขียนใหม่”
นายบรรดาศักดิ์เสริมว่า “การจัดวรรคตอน ต้องขยายตัวหนังสือดูก่อน ว่าจะลงตัวอักษรตามต้องการได้หรือไม่ ถ้าลงไม่ได้
ก็ต้องเลื่อนตัวอักษรไป แต่สำคัญตรงท้ายบรรทัด ต้องให้นักกฎหมายดูก่อนว่า ถ้าตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่แล้วเสียความหรือไม่”
เครื่องมือเขียน “เราใช้ปากกา หมึกกับปากกาต้องสัมพันธ์กัน เราต้องหาวิธีทำให้หมึกข้นเหมือนกับเนื้อความที่เขียนไปแล้ว
ถ้ากฎหมายเขาเปลี่ยน เราก็ต้องตัดทิ้งเลย แล้วมาเริ่มใหม่”
เกี่ยวกับอาชีพที่ทำอยู่นางปณิตาบอกว่า “เราได้เขียนหนังสือ เมื่อเขียนออกมาสวยก็มีความภูมิใจ แม้จะเป็นข้าราชการเงินเดือน
ไม่มาก แต่ก็มีความมั่นคงและมีความสุข”
นายบรรดาศักดิ์บอกว่า “ผมชอบการเขียนตัวอักษรอยู่แล้ว เลือกอาชีพถูกกับความชอบและความถนัดของเราพอดี”
ถามว่า คิดอย่างไรเมื่อต้องมีรัฐธรรมนูญให้เขียนบ่อยๆ “ผมว่าเป็นอาชีพของผม อย่างไรก็ปฏิเสธไม่ได้ เรามีหน้าที่
เตรียมตัวให้พร้อม เพราะเป็นหน้าที่ที่สำคัญของเรา เราต้องทำให้ดีที่สุด”
เรื่องอัตรากำลังที่เกรงว่า จะหาคนแทนไม่ได้ หรือฝึกไม่ทันนั้น ผอ.ภูมินทรบอกว่า ได้คุยกับ ก.พ.เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าให้เจ้าหน้าที่แล้ว ส่วนการ “จุ่ม” รัฐธรรมนูญ แม้เครื่องมือระบบการพิมพ์
ทันสมัยอย่างไร ผอ.ยืนยันว่าจะคงเอกลักษณ์ไว้ด้วยลายมือแบบอาลักษณ์ เพราะ “เป็นเอกสารสำคัญ เป็นเรื่องของการ
อนุรักษ์ เป็นมรดกของชาติ การพิมพ์แม้จะสะดวก แต่ก็ออกมาตรงๆ ทื่อๆ”
แต่การเขียนด้วยลายมือ “มีความอ่อนไหว มีเสน่ห์ และที่สำคัญเป็นงานถวายต้องดีที่สุด”
คนเขียนรัฐธรรมนูญตัวจริง ..... ไทยรัฐออนไลน์ ... /sao..เหลือ..noi
รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ผู้บันทึก เรียกว่าเจ้าหน้าที่ลิขิต อยู่ในสำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
สังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งอยู่ ณ ทำเนียบรัฐบาล
ความเป็นมาของ “อาลักษณ์” นายสมชาย พฤฒิกัลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสด้านงานพระราชพิธีและอาลักษณ์
สำนักเลขาธิการ ครม.บอกว่า ไทยเรามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คุณสมบัติของอาลักษณ์ คือ
1.ลายมือสวย 2.จับประเด็นได้ดี 3.ท่วงท่ากิริยาวาจางดงาม และ 4.เก็บความลับได้ดี
การจดจาร “สมัยก่อนเราใช้สมุดไทย ทำเป็นพับๆแล้วเขียนต่อมาแม้จะมีวิวัฒนาการสิ่งพิมพ์เข้ามา แต่อาลักษณ์ก็ยังคงความสำคัญต่อราชการไทยเสมอมา” การเขียนรัฐธรรมนูญ “เราเรียกว่าจุ่ม”
เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 สยามเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาลักษณ์เป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ สมัยนั้น
ใช้พู่กันจุ่มหมึกเขียน ต่อมาแม้จะใช้ปากกาคอแร้ง และปากกาทันสมัย เราก็ยังเรียกว่า “จุ่ม” เหมือนเดิม
คน “จุ่ม” รัฐธรรมนูญเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ลิขิต” ปัจจุบันมีอยู่ 9 คนคือ นายสุวรรณชัย โนนทะเสน
นางปณิตา สบายวงษ์ นายสุชิน มีทรัพย์ นายบรรดาศักดิ์ สีหาราช นายเชษฐพงษ์ เมี่ยงพันธุ์ นาย
บุญเพ็ง แก้วยอด นายสุชาติ สุขศรี นายรัตนะ จันทร์ทอง และนายวโรทัย เรียนหัตถกรรม โดยมี
นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ เป็นผู้อำนวยการ
การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ “ลิขิต” ผู้ทรงคุณวุฒิฯบอกว่า นอกจากคุณสมบัติ 4 ประการแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้มีสมาธิดี คัดเลือกโดยการสอบเข้ามาเหมือนข้าราชการพลเรือนทั่วไป “เข้ามาแล้ว กว่าจะเขียนได้มันยาก ก.พ.เอาวุฒิการศึกษา
ปวช. ปวส.เข้ามา ทำให้ได้รับเงินเดือนต่ำ แต่งานหนัก ต้องทำด้วยใจรักถึงจะอยู่ได้ ถ้าใจไม่รักจริง เมื่อมีค่าตอบแทน
อื่นมากกว่าเขาก็ไป”
การหากำลังสำรอง “เรื่องนี้ผมสู้มาตลอด ตามหลักการจะกำหนดอัตราขึ้นมาได้ต้องมีปริมาณงานเพียงพอ
เรามีความห่วงใยว่า คนเหล่านี้สายตา มือ มันอยู่ได้ไม่นาน ต้องเสื่อมถอยไปตามร่างกาย จึงเปรยๆกับเจ้าหน้าที่
ก.พ.ให้กำหนดอัตราขึ้นมา เมื่อมีอยู่ 9 คนก็ขอสำรองอีก 9 คน เพื่อให้มาเรียนรู้งาน คนมาใหม่กว่าจะเขียนได้
ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี บางคนผ่านไป 8 ปีแล้วยังเขียนไม่ได้ เป็นต้น”
เจ้าหน้าที่ลิขิต “เหมือนศิลปิน อารมณ์ต้องเบิกบาน ถึงจะเขียนออกมางดงาม อย่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา
เขียนท่ามกลางภาวะกดดัน บางคนวันหนึ่งเขียนไม่ได้เลย ถ้าใจไม่นิ่ง มือไม่นิ่งพอก็เขียนออกมาไม่ได้” และ
“ผมเป็นห่วงว่า บุคคลเหล่านี้ ถ้าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 กันขึ้นมา แล้วทยอยกันออกไป เราจะเอาบุคลากร
ที่ไหนมาทำงาน”
รัฐธรรมนูญทุกฉบับ เมื่อเขียนเสร็จแล้วต้องตรวจอย่างละเอียด ผิดไม่ได้แม้แต่อักษรเดียว วรรคตอน การตัดคำ
ปลายบรรทัดต้องผ่านนักกฎหมาย “เราต้องทานสามครั้ง โดยมีผู้อ่าน ผู้ตรวจ และผู้ฟังการอ่าน ปกติไม่มีผิดพลาด สมมติว่าถ้าผิดพลาดแม้อักษรเดียวก็ต้องตัดทิ้งไป แล้วเขียนใหม่”
พร้อมยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ “ทุกแผ่นต้องสมบูรณ์ เรียบร้อยสวยงาม เราทำพร้อมกัน 3 ฉบับ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่
รัฐสภา เก็บไว้ที่สำนักราชเลขาธิการ และเก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการ ครม. ทั้งสามฉบับเหมือนกันทุกตัวอักษร”
เจ้าหน้าที่ลิขิตเขียนรัฐธรรมนูญต้องมีพื้นฐานอย่างไร นายบรรดาศักดิ์ สีหาราช บอกว่า เริ่มสนใจลายมือเขียนมา
ตั้งแต่เรียนชั้นประถม “ครูเขียนบนกระดานดำ ผมก็เขียนเลียนแบบ เมื่อจบ ป.6 ก็บวชเรียนหนังสือ เวลาทำรายงาน
แม้จะมีพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ แต่ผมชอบเขียนด้วยลายมือ เพื่อให้ลายมือพัฒนาขึ้น เมื่อเรียนจบ ม.6 ก็สึกออกไป
เรียนรัฐศาสตร์ราม”
พอดีมีสมัครสอบเจ้าหน้าที่ลิขิตจึงเข้ามาสมัคร “ผมสอบได้ อันดับ 1”
ผ่านด่านสอบมาแล้ว ลายมือสวยแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำงานทันที เพราะต้องปรับลายมือให้เข้ากับ “ลายมือแบบอาลักษณ์” ก่อน
ประสบการณ์กว่า 20 ปี ทำให้ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญมาแล้ว 2 ฉบับ ฉบับที่ค้างคาอยู่นี้เป็นฉบับที่ 3 มองดูแล้ว
ชีวิตของคนคนหนึ่งเขียนรัฐธรรมนูญถึง 3 ฉบับ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย “ฉบับแรกของผมคือ รัฐธรรมนูญปี 2540
ผมเป็นน้องใหม่เขียนไม่ออกเลย รุ่นพี่เห็นก็มาให้กำลังใจ บอกว่าไม่ต้องตื่นเต้น ค่อยๆฝึกกระดาษอื่นก่อนค่อยมา
ลงกระดาษจริง แต่ผมก็ทำช้าอยู่ดี ทั้งๆที่ปกติผมเขียนหนังสือเร็ว”
แล้วฉบับต่อมา “รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เราค่อยชินหน่อย”
เจ้าหน้าที่ลิขิตไม่ได้เขียนเฉพาะรัฐธรรมนูญอย่างเดียว แต่เขียนพระราชสาส์น ตราตั้ง ถอน บัตรยศทหาร ตำรวจ อีกทั้ง “จาร” สมณศักดิ์พระสงฆ์ลงในแผ่นเงินและแผ่นทองด้วย แผ่นทองเป็นทองจริงๆ ปัจจุบัน 1 แผ่นราคาราว 100,000 บาท
หันไปทางเจ้าหน้าที่ลิขิตหญิงบ้าง นางปณิตาบอกว่า แรกเข้ามาฝึกเขียนอยู่ประมาณ 3 เดือนแล้วก็สอบเข้ามาได้
เขียนรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ ฉบับ พ.ศ.2534 เธอเล่าว่าเขียนกันอยู่ 4 คน แต่เนื้อหาฉบับนั้นไม่มากนัก เลยทำได้
ตามกำหนดเวลา
พลางเล่าประสบการณ์เขียนรัฐธรรมนูญว่า “ไม่ตื่นเต้นมาก เพราะเคยเขียนงานอื่นมานานแล้ว การเขียน ตัวอักษรต้องได้
ช่องไฟต้องได้ เราแบ่งกันเขียนเป็นรายมาตรา คำนวณแบ่งกันไป เมื่อได้เนื้อหามาแล้ว ต้องลองนำมาวางในหน้ากระดาษ
1 หน้ามี 4 บรรทัด กระดาษนั้นเรียกว่าพับ ใน 1 พับมี 2 หน้า หรือ 8 บรรทัด ถ้าเขียนอักษรใดพลาด หรือบิดเบี้ยวแม้แต่
เล็กน้อยก็ต้องทิ้ง แล้วเริ่มเขียนใหม่”
นายบรรดาศักดิ์เสริมว่า “การจัดวรรคตอน ต้องขยายตัวหนังสือดูก่อน ว่าจะลงตัวอักษรตามต้องการได้หรือไม่ ถ้าลงไม่ได้
ก็ต้องเลื่อนตัวอักษรไป แต่สำคัญตรงท้ายบรรทัด ต้องให้นักกฎหมายดูก่อนว่า ถ้าตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่แล้วเสียความหรือไม่”
เครื่องมือเขียน “เราใช้ปากกา หมึกกับปากกาต้องสัมพันธ์กัน เราต้องหาวิธีทำให้หมึกข้นเหมือนกับเนื้อความที่เขียนไปแล้ว
ถ้ากฎหมายเขาเปลี่ยน เราก็ต้องตัดทิ้งเลย แล้วมาเริ่มใหม่”
เกี่ยวกับอาชีพที่ทำอยู่นางปณิตาบอกว่า “เราได้เขียนหนังสือ เมื่อเขียนออกมาสวยก็มีความภูมิใจ แม้จะเป็นข้าราชการเงินเดือน
ไม่มาก แต่ก็มีความมั่นคงและมีความสุข”
นายบรรดาศักดิ์บอกว่า “ผมชอบการเขียนตัวอักษรอยู่แล้ว เลือกอาชีพถูกกับความชอบและความถนัดของเราพอดี”
ถามว่า คิดอย่างไรเมื่อต้องมีรัฐธรรมนูญให้เขียนบ่อยๆ “ผมว่าเป็นอาชีพของผม อย่างไรก็ปฏิเสธไม่ได้ เรามีหน้าที่
เตรียมตัวให้พร้อม เพราะเป็นหน้าที่ที่สำคัญของเรา เราต้องทำให้ดีที่สุด”
เรื่องอัตรากำลังที่เกรงว่า จะหาคนแทนไม่ได้ หรือฝึกไม่ทันนั้น ผอ.ภูมินทรบอกว่า ได้คุยกับ ก.พ.เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าให้เจ้าหน้าที่แล้ว ส่วนการ “จุ่ม” รัฐธรรมนูญ แม้เครื่องมือระบบการพิมพ์
ทันสมัยอย่างไร ผอ.ยืนยันว่าจะคงเอกลักษณ์ไว้ด้วยลายมือแบบอาลักษณ์ เพราะ “เป็นเอกสารสำคัญ เป็นเรื่องของการ
อนุรักษ์ เป็นมรดกของชาติ การพิมพ์แม้จะสะดวก แต่ก็ออกมาตรงๆ ทื่อๆ”
แต่การเขียนด้วยลายมือ “มีความอ่อนไหว มีเสน่ห์ และที่สำคัญเป็นงานถวายต้องดีที่สุด”