สงครามมีมาเนิ่นนาน แต่ก่อนหน้านั้นมนุษย์อยู่กันด้วยความสงบสุข มนุษย์เริ่มหยุดเร่ร่อนจากการหาของป่าล่าสัตว์ หันมาเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ มีชีวิตอยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องรอนแรมเสี่ยงอันตรายตามเพิงผาป่าถ้ำอีกต่อไป รวมกลุ่มอยู่กันเป็นชุมชน เริ่มสร้างวัฒนธรรม มีประเพณี มีการปกครองแบบง่าย มีความสุขตามอัตถภาพ ลงแรงทำไร่นาเกษตรกรรม เก็บดอกออกผลเมื่อพืชพันธุ์เบ่งบาน มีแต่ความรักให้กันในพวกพ้อง ยามกลางคืนอากาศหนาวก็ก่อไฟล้อมวงกันใต้แสงดาว เด็ก ๆ นั่งฟังนิทานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง หนุ่มสาวพูดจาหยอกล้อกัน เป็นชีวิตที่แท้ของมนุษย์

ขอบคุณภาพจาก
http://www.haaretz.com/
บางครั้งถึงแม้จะมีการทะเลาะเบาะแว้งเข่นฆ่ากันบ้างก็เพียงแต่เล็กน้อย และเป็นไปเพื่อความอยู่รอด แต่หลังจากนั้นมนุษย์ก็เกิดกิเลสและอวิชชาเข้าครอบงำ เริ่มเบื่อกับความสงบและสันติสุข มนุษย์เริ่มหาความท้าทายใหม่ ๆ เริ่มอยากผจญภัย ท่องไปในดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป และเมื่อเห็นดินแดนใหม่มีความสวยงาม มีทรัพยากรที่ดินแดนตัวเองไม่มี ก็มีความอยากได้ดินแดนนั้น ๆ ซึ่งบางแห่งก็มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว จึงเกิดสงครามเข่นฆ่าแย่งชิง เกิดการรบราฆ่าฟันขยายดินแดนอยู่เรื่อย ๆ มนุษย์เวียนวนอยู่ในอำนาจ เกิดเป็นสงครามซ้ำรอยประวัติศาสตร์ไม่รู้จักจบสิ้น
ตั้งแต่วันนั้นมา มนุษย์ก็ย้ายตัวเองออกออกจากดินแดนแห่งความสงบสุข เข้าไปสู่ดินแดนแห่งไฟบรรลัยกัลป์ของสงคราม ซึ่งบทสรุปของทุกสงครามในท้ายที่สุดแล้วนั้น จะมีอยู่เพียงสองสิ่งเท่านั้นคือ “เลือด” และ “น้ำตา”

ขอบคุณภาพจาก
https://a2ua.com/
จากโบราณกาลมาถึงยุคสมัยใหม่ เราผ่านสงครามใหญ่ ๆ มานับครั้งไม่ถ้วน สงครามเข่นฆ่ากันเองในเผ่าพันธุ์ ต่างเผ่าพันธุ์ สงครามในอาณาจักรเดียวกัน สงครามแย่งชิงขยายดินแดนไปสู่อาณาจักรใกล้เคียง และข้ามไปถึงอีกฟากอันห่างไกลของโลก มนุษยชาติผ่านสงครามใหญ่ ๆ มาแล้วถึงสองครั้งคือสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มีการสูญเสียจำนวนมาก มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ทารุณโหดร้ายอย่างไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะกระทำต่อมนุษย์ด้วยกันได้ สงครามโลกครั้งที่ 2 เหมือนบทเรียนอันเจ็บปวด ดินแดนทั่วโลกบอบช้ำ หลังสงครามมนุษย์หันมาทบทวนบทเรียน เกิดการตั้งองค์กรระหว่างประเทศมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามลักษณะนั้นขึ้นอีก
แต่มนุษย์เหมือนติดกับดักแห่งสงคราม ในยุคสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยังคงเกิดสงครามใหญ่ขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร สงครามเวียดนามที่อมริกันเข้าไปมะรุมมะตุ้มด้วย สงครามในอัฟกันนิสถาน สงครามอ่าวอิรักคูเวต สงครามในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา สงครามแบ่งแยกดินแดนในยูโกสลาเวียที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอิสลามในบอสเนียอย่าโหดร้ายทารุณ และล่าสุดที่เป็นวาระของโลก คือมหาสงครามในซีเรีย

ขอบคุณภาพจาก
http://realitynews.international/
สงครามในซีเรียนั้น ถ้ามองภาพแต่เพียงผิวเผิน ก็จะเข้าใจว่าเป็นสงครามที่อเมริกาและชาติพันธมิตรเข้าไปปลดปล่อยซีเรียจากการคุกคามของกบฏไอซิส โดยอเมริกาเป็นพระเอก ไอซิสเป็นแต่ตัวร้าย มองเห็นภาพแต่เพียงสงครามระหว่างสองฝ่าย เห็นแต่การฆ่าฟัน การอพยพหนีตายของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่กลายเป็นปัญหาไปทั่วยุโรปแต่เพียงเท่านั้น
แท้จริงแล้วสงครามในซีเรียมี่ความซับซ้อนกว่านั้นมาก ๆ ประกอบด้วยหลายฝ่ายทั้งรัสเซีย อเมริกา อิหร่าน ตุรกี กองกำลังโค่นล้มรัฐบาล กองกำล้าวเคิร์ด กลุ่มไอซิส

ขอบคุณภาพจาก
http://static.seattletimes.com/
ในซีเรียสมรภูมิเดียวแบ่งย่อยสงครามออกเป็นหลายฝ่าย
- ฝ่ายรัฐบาลของประธานาธิบดีอัสซาดรบกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม FSA (Free Syrian Army)
กลุ่มนายอัสซาดมีรัสเซียและอิหร่านให้การสนับสนุน โดยเฉพาะรัสเซียนั้นสู้หมดหน้าตัก ส่งกำลังทหารเข้าไปนับแสนนาย เพราะซีเรียเป็นขุมทรัพย์ของพญาหมีขาว เป็นทางออกทะเลทางเดียวสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ซีเรียอยู่ไม่ไกลจากรัสเซียตอนใต้นัก และรัสเซียได้เข้าตั้งฐานทัพและท่าเรือน้ำลึกอยู่นานแล้ว คือเป็นทั้งเมืองท่าและสมรภูมิในการยันกับอเมริการที่สำคัญของรัสเซีย) ส่วนอเมริกาก็ต้องการโค่นล้มรัฐบาลนายอัสซาดเพื่อลดทอนอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคอาหรับ เพื่อที่อเมริกาจะคุมได้หมด (นอกจากมีซาอุดิอาระเบียเป็นบริวาร และควบคุมสถานการณ์ในสมรภูมิอัฟกานิสถานได้) อเมริกาจึงให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม FSA เต็มที่
- รัฐบาลประธานาธิบดีอัสซาดรบกับ ISIS
ไอซิสเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่แตกตัวออกมาจากอัลไกดาห์ และถือโอกาสในสมรภูมิซีเรียในการสร้างรัฐใหม่ของตัวเองในดินแดนนี้
- อเมริการบกับ ISIS (ทั้งที่เคยสนับสนุน ISIS)
เพื่อชำระแค้นและต่อต้านอิทธิพลกลุ่มก่อการร้ายอัลไกดาห์ ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนก็เคยสนับสนุนให้ ISIS ในการทำสงครามวุ่นวายและปั่นป่วนในซีเรียและอิรัก เห็นไหมครับว่ามันมะรุมมะตุ้มวุ่นวายขนาดไหน อเมริกาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายอัสซาด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยนายอัสซาดรบกับ ISIS ที่ไม่ถูกกับอเมริกาเอง เป็นสงครามที่มีความซับซ้อนสงครามซ้อนสงคราม วุ่นวายและเป็นวาระสำคัญของโลกน่าดู
- กลุ่มชาติเคิร์ดที่รบกับฝ่าย ISIS และฝ่ายตุรกี
ชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่ไร้ดินแดน ดินแดนที่ชาวเคิร์ดเคยครอบครองนั้น อยู่ทั้งในซีเรีย อิหร่าน อิรัก และตุกรี แต่ส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี โดยมีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในซีเรีย ชาวเคิร์ดจึงอาศัยโอกาสทองนี้ ลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ด้วย โดยสนับสนุนซีเรีย และหวังจะยึดครองดินแดนต่าง ๆ ที่ตนเคยครอบครอง จึงไปขัดผลประโยชน์กับตุรกี และ ISIS ที่โดดเข้าวงไพบูลย์ครั้งนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่าในทั้งหมดนั้นไม่มีใครเป็นพระเอก ไม่มีใครเป็นผู้ร้าย มีแต่ฝ่ายที่หวังจะกอบโกยผลประโยชน์ หรือมีวาระซ่อนเร้นด้วยกันทั้งนั้น
ในกระทู้นี้ผมอยากจะโฟกัสไปที่ชนชาติเคิร์ดที่มาเข้าร่วมในสงครามนี้ ว่าเป็นใคร มาจากไหน เป็นฝรั่งที่มาอยู่ในวงล้อมดินแดนอาหรับได้อย่างไร ไปไงมาไงถึงต้องเสียดินแดนทั้ง ๆ ที่มีประชากรนับสิบล้านคน มีสถานะในสงครามซีเรียอย่างไร และอนาคตต่อจากนี้ของชาวเคิร์ดจะเป็นอย่างไรต่อไป
ชนชาติเคิร์ดกับสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อกอบกู้ดินแดน
ขอบคุณภาพจาก http://www.haaretz.com/
บางครั้งถึงแม้จะมีการทะเลาะเบาะแว้งเข่นฆ่ากันบ้างก็เพียงแต่เล็กน้อย และเป็นไปเพื่อความอยู่รอด แต่หลังจากนั้นมนุษย์ก็เกิดกิเลสและอวิชชาเข้าครอบงำ เริ่มเบื่อกับความสงบและสันติสุข มนุษย์เริ่มหาความท้าทายใหม่ ๆ เริ่มอยากผจญภัย ท่องไปในดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป และเมื่อเห็นดินแดนใหม่มีความสวยงาม มีทรัพยากรที่ดินแดนตัวเองไม่มี ก็มีความอยากได้ดินแดนนั้น ๆ ซึ่งบางแห่งก็มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว จึงเกิดสงครามเข่นฆ่าแย่งชิง เกิดการรบราฆ่าฟันขยายดินแดนอยู่เรื่อย ๆ มนุษย์เวียนวนอยู่ในอำนาจ เกิดเป็นสงครามซ้ำรอยประวัติศาสตร์ไม่รู้จักจบสิ้น
ตั้งแต่วันนั้นมา มนุษย์ก็ย้ายตัวเองออกออกจากดินแดนแห่งความสงบสุข เข้าไปสู่ดินแดนแห่งไฟบรรลัยกัลป์ของสงคราม ซึ่งบทสรุปของทุกสงครามในท้ายที่สุดแล้วนั้น จะมีอยู่เพียงสองสิ่งเท่านั้นคือ “เลือด” และ “น้ำตา”
ขอบคุณภาพจาก https://a2ua.com/
จากโบราณกาลมาถึงยุคสมัยใหม่ เราผ่านสงครามใหญ่ ๆ มานับครั้งไม่ถ้วน สงครามเข่นฆ่ากันเองในเผ่าพันธุ์ ต่างเผ่าพันธุ์ สงครามในอาณาจักรเดียวกัน สงครามแย่งชิงขยายดินแดนไปสู่อาณาจักรใกล้เคียง และข้ามไปถึงอีกฟากอันห่างไกลของโลก มนุษยชาติผ่านสงครามใหญ่ ๆ มาแล้วถึงสองครั้งคือสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มีการสูญเสียจำนวนมาก มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ทารุณโหดร้ายอย่างไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะกระทำต่อมนุษย์ด้วยกันได้ สงครามโลกครั้งที่ 2 เหมือนบทเรียนอันเจ็บปวด ดินแดนทั่วโลกบอบช้ำ หลังสงครามมนุษย์หันมาทบทวนบทเรียน เกิดการตั้งองค์กรระหว่างประเทศมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามลักษณะนั้นขึ้นอีก
แต่มนุษย์เหมือนติดกับดักแห่งสงคราม ในยุคสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยังคงเกิดสงครามใหญ่ขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร สงครามเวียดนามที่อมริกันเข้าไปมะรุมมะตุ้มด้วย สงครามในอัฟกันนิสถาน สงครามอ่าวอิรักคูเวต สงครามในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา สงครามแบ่งแยกดินแดนในยูโกสลาเวียที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอิสลามในบอสเนียอย่าโหดร้ายทารุณ และล่าสุดที่เป็นวาระของโลก คือมหาสงครามในซีเรีย
ขอบคุณภาพจาก http://realitynews.international/
สงครามในซีเรียนั้น ถ้ามองภาพแต่เพียงผิวเผิน ก็จะเข้าใจว่าเป็นสงครามที่อเมริกาและชาติพันธมิตรเข้าไปปลดปล่อยซีเรียจากการคุกคามของกบฏไอซิส โดยอเมริกาเป็นพระเอก ไอซิสเป็นแต่ตัวร้าย มองเห็นภาพแต่เพียงสงครามระหว่างสองฝ่าย เห็นแต่การฆ่าฟัน การอพยพหนีตายของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่กลายเป็นปัญหาไปทั่วยุโรปแต่เพียงเท่านั้น
แท้จริงแล้วสงครามในซีเรียมี่ความซับซ้อนกว่านั้นมาก ๆ ประกอบด้วยหลายฝ่ายทั้งรัสเซีย อเมริกา อิหร่าน ตุรกี กองกำลังโค่นล้มรัฐบาล กองกำล้าวเคิร์ด กลุ่มไอซิส
ขอบคุณภาพจาก http://static.seattletimes.com/
ในซีเรียสมรภูมิเดียวแบ่งย่อยสงครามออกเป็นหลายฝ่าย
- ฝ่ายรัฐบาลของประธานาธิบดีอัสซาดรบกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม FSA (Free Syrian Army)
กลุ่มนายอัสซาดมีรัสเซียและอิหร่านให้การสนับสนุน โดยเฉพาะรัสเซียนั้นสู้หมดหน้าตัก ส่งกำลังทหารเข้าไปนับแสนนาย เพราะซีเรียเป็นขุมทรัพย์ของพญาหมีขาว เป็นทางออกทะเลทางเดียวสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ซีเรียอยู่ไม่ไกลจากรัสเซียตอนใต้นัก และรัสเซียได้เข้าตั้งฐานทัพและท่าเรือน้ำลึกอยู่นานแล้ว คือเป็นทั้งเมืองท่าและสมรภูมิในการยันกับอเมริการที่สำคัญของรัสเซีย) ส่วนอเมริกาก็ต้องการโค่นล้มรัฐบาลนายอัสซาดเพื่อลดทอนอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคอาหรับ เพื่อที่อเมริกาจะคุมได้หมด (นอกจากมีซาอุดิอาระเบียเป็นบริวาร และควบคุมสถานการณ์ในสมรภูมิอัฟกานิสถานได้) อเมริกาจึงให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม FSA เต็มที่
- รัฐบาลประธานาธิบดีอัสซาดรบกับ ISIS
ไอซิสเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่แตกตัวออกมาจากอัลไกดาห์ และถือโอกาสในสมรภูมิซีเรียในการสร้างรัฐใหม่ของตัวเองในดินแดนนี้
- อเมริการบกับ ISIS (ทั้งที่เคยสนับสนุน ISIS)
เพื่อชำระแค้นและต่อต้านอิทธิพลกลุ่มก่อการร้ายอัลไกดาห์ ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนก็เคยสนับสนุนให้ ISIS ในการทำสงครามวุ่นวายและปั่นป่วนในซีเรียและอิรัก เห็นไหมครับว่ามันมะรุมมะตุ้มวุ่นวายขนาดไหน อเมริกาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายอัสซาด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยนายอัสซาดรบกับ ISIS ที่ไม่ถูกกับอเมริกาเอง เป็นสงครามที่มีความซับซ้อนสงครามซ้อนสงคราม วุ่นวายและเป็นวาระสำคัญของโลกน่าดู
- กลุ่มชาติเคิร์ดที่รบกับฝ่าย ISIS และฝ่ายตุรกี
ชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่ไร้ดินแดน ดินแดนที่ชาวเคิร์ดเคยครอบครองนั้น อยู่ทั้งในซีเรีย อิหร่าน อิรัก และตุกรี แต่ส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี โดยมีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในซีเรีย ชาวเคิร์ดจึงอาศัยโอกาสทองนี้ ลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ด้วย โดยสนับสนุนซีเรีย และหวังจะยึดครองดินแดนต่าง ๆ ที่ตนเคยครอบครอง จึงไปขัดผลประโยชน์กับตุรกี และ ISIS ที่โดดเข้าวงไพบูลย์ครั้งนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่าในทั้งหมดนั้นไม่มีใครเป็นพระเอก ไม่มีใครเป็นผู้ร้าย มีแต่ฝ่ายที่หวังจะกอบโกยผลประโยชน์ หรือมีวาระซ่อนเร้นด้วยกันทั้งนั้น
ในกระทู้นี้ผมอยากจะโฟกัสไปที่ชนชาติเคิร์ดที่มาเข้าร่วมในสงครามนี้ ว่าเป็นใคร มาจากไหน เป็นฝรั่งที่มาอยู่ในวงล้อมดินแดนอาหรับได้อย่างไร ไปไงมาไงถึงต้องเสียดินแดนทั้ง ๆ ที่มีประชากรนับสิบล้านคน มีสถานะในสงครามซีเรียอย่างไร และอนาคตต่อจากนี้ของชาวเคิร์ดจะเป็นอย่างไรต่อไป