แนวคิดการมองกฎแห่งกรรมแบบนี้ถูกต้องไหมครับ

กท.เก่า ไปเจอมา อันเก่าถูกลบไปไม่ทราบด้วยเหตุผลใด ขอคัดมาอีกที

แนวคิดการมองกฎแห่งกรรมแบบนี้ถูกต้องไหมครับ


-------------------------------------------------------


ผมไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมในศาสนาพุทธ แต่เชื่อในเรื่องกฎทางฟิสิกส์ กฎของธรรมชาติ(law of nature) ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร?


สิ่งมีชีวิตเกิดจากกระบวนการธรรมชาติที่เรียกว่า abiogenesis สิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดจาก อวิชชา หรือกินง้วนดิน หรือในที่กล่าวไว้ในอัคคัญญสูตร
แต่อธิบายง่ายว่า นี่คือกระบวนการธรรมชาติ จากสิ่งไม่มีชีวิต สารประกอบทางเคมีง่ายๆ กลายมาเป็นสิ่งมีชีวิตง่ายๆ เซลล์เดียว ค่อยๆพัฒนามาเรื่อยหลายพันล้านปี จนซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นมนุษย์ในที่สุด จะเห็นว่ากฎในธรรมชาติที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอธิบายได้ดี ถูกต้องน่าเชื่อถือกว่า ทางศาสนาพุทธมาก
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Abiogenesis





ผมไม่เชื่อกฎแห่งกรรมในศาสนาพุทธ ที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ทำบาปแล้วต้องชดใช้กรรมที่กระทำไป ในชาติหน้า หรือในชาตินี้
ตายไปแล้วไปนรก หรือสวรรค์ อะไรแบบนี้ผมไม่เชื่อ เพราะตายแล้วก็ตายไปเลย
ชีวิตตอนตายเหมือนกระจกที่แตก ไม่อาจกลับมาใหม่อีกได้
ที่บอกว่าตกปลาเยอะๆ บาปกรรมตามทัน โดนเบ็ดตกปลามาเจาะเหงือกเพราะอุบัติเหตุ
อะไรพวกนี้ผมไม่เชื่อ

แล้วการไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมจะต้องเป็นคนชั่วก็ไม่จริง เพราะผมเป็นคนดีดั่งผู้ทรงศีล

ที่นี้มาพูดเรื่องกฎทางฟิสิกส์ กฎทางธรรมชาติ
ผมเชื่อกฎพวกนี้เพราะมันอธิบายธรรมชาติได้จริง
สามารถderived สมการได้
สามารถทดลอง พิสูจน์ได้ชัดเจนแน่นอน
เช่น กฎของนิวตัน
เช่น ข้อ 3 ที่พูดกันติดปากว่าทุกการกระทำ จะมีการกระทำตรงข้ามขนาดเท่ากัน ในทิศทางสวนกันเสมอ
ที่ถูกกว่าจริงๆต้องเรียกว่าแรง คือทุกแรงที่กระทำ จะมีแรงตรงข้ามขนาดเท่ากันมากระทำเสมอๆ

เขียนเป็นสมการได้ว่า F a = - F b
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Newton%27s_laws_of_motion

ทุกคนสามารถจะทำอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ขัดกับกฎทางฟิสิกส์
แต่ไม่มีอะไรสามารถทำสิ่งที่ขัดกับกฎฟิสิกส์ได้เลย แม้นสักอย่างเดียว ไม่เคยมีและจะไม่มี

การกระทำบางอย่างอาจจะส่งผลเสียโดยรวมต่อสังคม ศาสนาเรียกว่าบาป
การกระทำบางอย่างอาจส่งผลดีต่อสังคม  ศาสนาเรียกว่าบุญ

เช่นการข่มขืน อาจจส่งผลดีต่อผู้กระทำคือ ได้ถ่ายทอดพันธุกรรม แต่ส่งผลเสียโดยรวมต่อสังคมคือความไม่ปลอดภัย
การขโมย อาจส่งผลดีต่อผู้กระทำคือ ได้ของไว้ดำรงชีพ แต่ส่งผลเสียต่อสังคมคือความไม่ปลอดภัยของคนหมู่มาก

ทีนี้ในกฎของธรรมชาติมีอีกอย่างหนึ่งคือ การวิวัฒนาการ
ในทางลึกๆแล้วมีอีกสิ่งที่เรียกว่า multi level evolution
ลองอ่าน https://en.m.wikipedia.org/wiki/Group_selection
สรุปสั้นๆคือ

" เดี่ยวๆที่เห็นแก่ตัวคือทำชั่วจะชนะเดี่ยวๆที่เห็นแก่ผู้อื่น
แต่สังคมที่เห็นแก่ผู้อื่นช่วยเหลือเกือกูลกันจะชนะสังคมที่เห็นแก่ตัว"

วิวัฒนาการไม่ได้เกิดแต่แบบเดี่ยวแต่เกิดแบบเป็นกลุ่มๆของสิ่งมีชีวิตด้วย

นั้นมนุษย์จึงมีศาสนา ให้ทำความดี ละความชั่ว เพื่อหลักประโยชน์นิยม
คือสงเคราะห์ประโยชน์แก่คนหมู่มาก



แต่ที่บอกว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วนั้นไม่จริง


คนทำชั่ว ถ้ามีอำนาจ สุดท้ายก็ไม่ต้องรับผลชั่วที่กระทำก็ได้ ในสังคมมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย
คนทำดีเช่นกันถ้าไม่ทันคน ก็โดนหลอก ชีวิตพังได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้ดี

นั้นกฎแห่งกรรมในศาสนาพุทธจึงผิด


ที่นี้มาดูกฎของธรรมชาติ กฎของฟิสิกส์บ้าง
ไม่มีใครละเมิดได้เลย

คนที่ทำดีก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลดี แต่อาจจะไม่จำเป็นก็ได้
ทำชั่วก็เช่นกัน มีแนวโน้มจะได้รับผลที่กระทำ แต่อาจไม่จำเป็นก็ได้

สรุปกฎของธรรมชาติ ทุกการกระทำที่ได้กระทำลงไปส่งผลต่ออนาคตข้างหน้า
ไม่ได้ให้ผลเรียบง่ายแบบกฎแห่งกรรมในศาสนาพุทธ แต่ซับซ้อนกว่ามาก เพราะมีหลายปัจจัยจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง

คนทำไม่ดี ถ้ามีอำนาจมากพอ ก็ไม่ต้องรับผลกรรมตอนมีชีวิตอยู่ เช่นติดคุก ขึ้นศาล หรือตายไปแล้วก็ไม่ต้องตกนรกเพราะไม่มีจริง
แต่ทุกการกระทำที่ทำลงไปมีผลต่ออนาคตข้างหน้า แต่ซับซ้อนมาก

ความดีความชั่วจึงไม่ใช่ปริมาณมูลฐาน(fundamental quantity)แบบ ความยาว เวลา อุณหภูมิ แต่คือปริมาณที่มนุษย์สมมติขึ้น
เพื่อง่ายในการใช้ภาษา


คำกล่าวที่บอกว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป จึงมีส่วนถูกอยู่บ้าง เพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวนมาก

สรุปผมเชื่อกฎทางฟิสิกส์ ทางธรรมชาติ แต่ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม และผมก็คิดดี ทำดี พูดดี มีวาจาสุภาษิต

ทำดีเพราะเห็นว่าสังคมให้อะไรผมมาก ผมก็ควรทำดีกลับคืนไป ไม่ใช่ทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ หรืองดทำชั่วเพราะกลัวตกนรก
กลัวบาปกรรมตามทัน ผมทำความดีเพราะเห็นเข้าใจ การทำงานของกฎแห่งธรรมชาติ ไม่ต้องมีนรกมาขู่ให้เกรงกลัว ละอายต่อบาป
ในหลักหิริโอตัปปะของพุทธเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่