(ร่าง) พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....
ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยให้ "ภาคประชาชน" เข้ามามีส่วนร่วม
และมีการบังคับใช้กับหน่วยงาน....
แต่พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ
(๒) การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ที่มีลักษณะเป็นการผลิตหรือจำหน่าย หรือบริการเพื่อหารายได้
(๓) การดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล
(๔) การดำเนินการโดยใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
รายละเอียด [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ หมวด 1 บททั่วไป
มาตรา ๖
เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ
ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแนวทาง ของพระราชบัญญัติกฎกระทรวง และระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเกิดความยืดหยุ่นและมีความคล่องตัว หากรัฐวิสาหกิจใดประสงค์จะจัดให้มีระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เอง ก็ให้กระทำได้ โดยต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติตามวรรคสอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ
(๒) การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ที่มีลักษณะเป็นการผลิตหรือจำหน่าย หรือบริการเพื่อหารายได้
(๓) การดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล
(๔) การดำเนินการโดยใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และ
แนวทางของพระราชบัญญัตินี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการในเรื่องของความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้
การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่การดำเนินการใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบาย
Ref: http://goo.gl/4Fhr0Q
>>>>มีข่าวที่เกี่ยวข้อง..... [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"ปชป.ห่วง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง เปิดช่องทุจริต เรียกร้อง สนช.แปรญัตติ"
นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตในภาครัฐ ว่า มีความกังวลต่อกฎหมายฉบับดังกล่าว และต้องการให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในมาตรา 7 ที่บัญญัติมิให้นำ พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล และการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาหรือการจ้างที่ปรึกษาที่ไม่สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ได้
นายราเมศ กล่าวว่า เห็นว่าการเขียนกฎหมายให้มีการยกเว้นดังกล่าว เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.นี้ ที่ต้องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ยกตัวอย่าง การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร อย่างเรือดำน้ำ ก็จะไม่สามารถตรวจสอบได้ และจะกลายเป็นการเอื้อต่อการทุจริต
ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการช่วยแปรญัตติ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว และถกเถียงในที่ประชุม เพื่อให้มีการปรับแก้ในส่วนมาตรา 7 ทั้ง 3 ประเด็นด้วย พร้อมยืนยันว่าจะตรวจสอบกฎหมายฉบับนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การป้องกันการทุจริตให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เพราะเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองในการสะท้อนสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้มีการแก้ไขต่อไป
Ref: http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?NewsID=9590000068422
ซึ่งเห็นด้วยกับเนื้อข่าวว่า....ทำไมองค์กรและ/หรือ กรณีทั้ง 4 กรณีข้างต้น ถึงได้รับการยกเว้นดังกล่าว ??
เพราะ
- สินค้านั้นๆ มีความจำเพาะ/มีความพิเศษ??
- ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ??
การจัดหายุทโธปกรณ์ทหาร...ได้รับการยกเว้นใน (ร่าง) พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง
ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยให้ "ภาคประชาชน" เข้ามามีส่วนร่วม
และมีการบังคับใช้กับหน่วยงาน....
แต่พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ
(๒) การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ที่มีลักษณะเป็นการผลิตหรือจำหน่าย หรือบริการเพื่อหารายได้
(๓) การดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล
(๔) การดำเนินการโดยใช้เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ที่สัญญาหรือข้อกำหนดในการให้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
รายละเอียด [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
>>>>มีข่าวที่เกี่ยวข้อง..... [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่งเห็นด้วยกับเนื้อข่าวว่า....ทำไมองค์กรและ/หรือ กรณีทั้ง 4 กรณีข้างต้น ถึงได้รับการยกเว้นดังกล่าว ??
เพราะ
- สินค้านั้นๆ มีความจำเพาะ/มีความพิเศษ??
- ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ??