ปี พ.ศ.๒๕๒๙ นั้นมีความหมายกับวงวรรณกรรมปัจจุบันของไทยอยู่ ๒ เรื่องด้วยกัน ถือเป็นการครบรอบหนึ่งร้อยปีของพระนิพนธ์เรื่อง สนุกนึก ของ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการนำแบบแผนการแต่งวรรณกรรมประเภทใหม่เข้ามาในเมืองไทย คือ นวนิยาย (หรืออาจจะเป็นเรื่องสั้น เพราะว่าเรื่องนี้แต่งไม่จบ)
ส่วนหนังสือที่ครบหนึ่งร้อยปีอีกเล่มหนึ่ง ที่น้อยคนจะรู้ คือการครบรอบหนึ่งร้อยปีของ ความพยายาม-ความพยาบาท เรื่องเดียวกับที่ แม่วัน หรือพระยาสุรินทราชาเป็นผู้แปล และผู้ศึกษาประวัตินวนิยายไทยหรือวรรณกรรมปัจจุบันย่อมจะรู้จักดี ในฐานะนวนิยายที่จบสมบูรณ์เรื่องแรกของไทย และนวนิยายแปลเรื่องแรกของไทยด้วย
ต่างจาก ความพยาบาท ของแม่วันอยู่นิดหน่อยที่ว่า ความพยาบาท ที่มีอายุครบหนึ่งร้อยปีนี้คือ ความพยาบาท ฉบับภาษาอังกฤษหรือที่มีชื่อเต็มว่า Vendetta! Or the Story of One Forgotten (โปรดสังเกตว่า นักประพันธ์ได้ใส่เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ไว้หลังชื่อด้วย) นวนิยายที่แต่งโดยนักประพันธ์สตรีชื่อ มารี คอเรลลีนี้ วางตลาดในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นนวนิยายเรื่องที่สองของเธอ และส่งชื่อเสียงของเธอให้โด่งดังขึ้น หลังจากนวนิยายเรื่องแรกคือ A Romance in Two Worlds ประสบผลสำเร็จในฐานะนวนิยายของนักเขียนหน้าใหม่มาแล้ว
สิบสี่ปีหลังจาก Vendetta! ออกวางตลาดเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนหนึ่งซึ่งเคยไปเรียนที่อังกฤษ และมีความรู้ทางภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน ก็นำเรื่องนี้มาแปลเป็นไทยเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนนั้นคือ พระยาสุรินทราชา หรือ แม่วัน
แม่วัน แปลเรื่องนี้ด้วยภาษาสมัยใหม่ ไพเราะ ได้อรรถรส ได้อารมณ์สะเทือนใจอย่างดีเยี่ยม แต่ว่าท่านไม่ได้แปลหมดทั้งเรื่อง คงแปลเฉพาะเนื้อเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญ การตัดรายละเอียดที่ท่านอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็น หรือไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในสมัยนั้นออกเสีย
ส่วนที่ท่านตัดออก คือเนื้อหาการสะท้อนสังคม และการวิจารณ์สังคมอังกฤษ-อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้
ถูกแล้ว สังคมอังกฤษ ไม่ใช่สังคมอิตาเลียน
เนื้อเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเกิดในเมืองเนเปิลล์ ประเทศอิตาลี คอเรลลีได้อ้างเป็นคำนำ (ซึ่งไม่มีในฉบับแปล) ว่าเรื่องนี้ที่มาจากเหตุการณ์จริง สมัยเกิดโรคระบาดในเมืองเนเปิลล์เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ แต่ว่าเมื่ออ่านแล้ว จะเห็นว่าเนื้อเรื่องเป็นเรื่องชิงรักหักสวาทของชาวอิตาเลียนเลือดร้อนก็จริง หากแต่ส่วนประกอบคือบทวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่แทรกอยู่เป็นระยะๆนั้นคือทรรศนะที่คอเรลลีมีต่อสังคมชั้นสูงของอังกฤษนั่นเอง ไม่ใช่สังคมอิตาเลียน
เมื่อเขียนนวนิยายเรื่องนี้ คอเรลลีเขียนขึ้นโดยไม่เคยไปประเทศอิตาลีมาก่อน หรือพูดให้ถูกคือเธอไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศอังกฤษไปที่ไหนเลย ฉากในเมืองเนเปิลล์ที่ปรากฏในเรื่องนี้ก็ดี ฉากพระอาทิตย์เที่ยงคืนของประเทศนอรเวย์ ที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง เต็ลมา ก็ดี ล้วนแต่เป็นจินตนาการของหญิงสาวชาวอังกฤษ ผู้มีชีวิตอยู่อย่างแคบๆในบ้านชนบท รับการศึกษาจากคอนแวนต์ของแม่ชี ก่อนจะเริ่มอาชีพนักเขียนนวนิยายและกลายเป็นนักเขียนยอดนิยมตั้งแต่เรื่อง ความพยาบาท นี้เอง
ถ้าจะดูว่าทำไมคอเรลลีวิพากษ์วิจารณ์สังคมอังกฤษในนวนิยายที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับอังกฤษที่ตรงไหน คำตอบอยู่ในพื้นฐานทางสังคมในยุคนั้นนั่นเอง เพราะผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของยุควิคตอเรียนตอนกลางและตอนปลาย คงจะจำกันได้ว่าพระราชินีนาถวิคตอเรียพระองค์นี้ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ยังเป็นสาวน้อยและกลายเป็นแม่ม่ายเมื่อพระชนม์เพียง ๔๔ พรรษา หลังจากเจ้าชายพระสวามีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระราชินีก็ทรงเป็นสตรีผู้ใหญ่ที่เคร่งครัดเข้มงวดทางด้านศีลธรรมจรรยาทำให้สังคมอังกฤษโดยเฉพาะสังคมชนชั้นกลาง ซึ่งค่อนข้างจะเคร่งครัดทางศีลธรรมมาก่อนหน้านี้แล้ว ยิ่งเจริญรอยตามพระราชนิยม เพิ่มความเคร่งครัดกันมากขึ้น คอเรลลีเองในฐานะชนชั้นกลาง ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านนี้อย่างเต็มตัวเมื่อเขียนนวนิยาย เธอจึงสะท้อนความรู้สึกนึกคิดไม่พอใจความเสื่อมศีลธรรมของบุคคลบางกลุ่มที่มีอยู่ในฐานะสูงเด่นจนเป็นเป้าหมายการเพ่งเล็งได้ง่าย
บุคคลกลุ่มนี้ไม่ใช่ใครอื่น คือกลุ่มผู้ดีชั้นสูง พวกขุนน้ำขุนนางหรือเจ้านายบางองค์ที่ค่อนข้างจะใช้ชีวิตกันอย่างเสรี
บุคคลที่เป็นผู้นำของกลุ่มหนุ่มสาวทันสมัยนี้คือ พระโอรสพระองค์ใหญ่ของพระราชินีนาถวิคตอเรียหรือ ปรินซ์ออฟเวลส์ เป็นบุคคลเดียวที่พระราชินีทรงปรามเอาไว้ไม่อยู่ เรื่องที่ทรงโปรดความสนุกสนานหรูหราต่างๆ มีพระสหายและข้าราชการบริพารประเภทค่อนไปทาง เพลย์บอย และเรื่องที่ขาดไม่ได้ คือพระสหายสาวๆหลายคน บางคนก็เป็นผู้ดีมีตระกูล แต่ว่าบางคนก็เป็นนางละครเช่นนางละครคนสวยที่ชื่อ ลิลี่ เจอร์ซี่ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเจ้าชายเข้าเฝ้าพระมารดาทีไรก็มีเรื่องให้พระราชินีกริ้วเกือบจะทุกทีใครที่เคยอ่านเรื่อง พระราชินีนาถวิคตอเรีย ของ ว.ณประมวญมารค คงจะจำได้ดี
ปรินซ์ออฟเวลส์องค์นี้ ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ สวรรคตปีเดียวกับสมเด็จพระปิยมหาราชของเรา เมื่อดาวหางฮัลเลย์มาเยือนโลกครั้งนั้น
ดวงหางที่คุณเปรมปลุกแม่พลอยขึ้นมาดูดวงนั้นแหละ แล้วพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดองค์นี้อีกเหมือนกันที่คุณเปรม เก็บความมาบอกแม่พลอยว่า พระเจ้ากรุงอังกฤษสวรรคต... (ยังไม่จบ)
.........................................................................................
เข้าใจว่าเป็นจากบันทึกชื่อ
"ได้ฟังคุณเทาชมพูเล่าถึง เรื่องนวนิยาย เรื่องความพยาบาท ซึ่งเมื่อครั้งครบรอบ ๑๐๐ ปี"
ของ " ดร.แพรมน และ นายตะวัน (Guest)"
ที่เว็บ
http://www.vcharkarn.com/vcafe/5423
พ.ศ. ๒๕๕๙ / ๑๓๐ ปี ความพยาบาท ฉบับภาษาอังกฤษ ( Vendetta! Or the Story of One Forgotten)
ส่วนหนังสือที่ครบหนึ่งร้อยปีอีกเล่มหนึ่ง ที่น้อยคนจะรู้ คือการครบรอบหนึ่งร้อยปีของ ความพยายาม-ความพยาบาท เรื่องเดียวกับที่ แม่วัน หรือพระยาสุรินทราชาเป็นผู้แปล และผู้ศึกษาประวัตินวนิยายไทยหรือวรรณกรรมปัจจุบันย่อมจะรู้จักดี ในฐานะนวนิยายที่จบสมบูรณ์เรื่องแรกของไทย และนวนิยายแปลเรื่องแรกของไทยด้วย
ต่างจาก ความพยาบาท ของแม่วันอยู่นิดหน่อยที่ว่า ความพยาบาท ที่มีอายุครบหนึ่งร้อยปีนี้คือ ความพยาบาท ฉบับภาษาอังกฤษหรือที่มีชื่อเต็มว่า Vendetta! Or the Story of One Forgotten (โปรดสังเกตว่า นักประพันธ์ได้ใส่เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ไว้หลังชื่อด้วย) นวนิยายที่แต่งโดยนักประพันธ์สตรีชื่อ มารี คอเรลลีนี้ วางตลาดในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นนวนิยายเรื่องที่สองของเธอ และส่งชื่อเสียงของเธอให้โด่งดังขึ้น หลังจากนวนิยายเรื่องแรกคือ A Romance in Two Worlds ประสบผลสำเร็จในฐานะนวนิยายของนักเขียนหน้าใหม่มาแล้ว
สิบสี่ปีหลังจาก Vendetta! ออกวางตลาดเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนหนึ่งซึ่งเคยไปเรียนที่อังกฤษ และมีความรู้ทางภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน ก็นำเรื่องนี้มาแปลเป็นไทยเป็นครั้งแรก นักเรียนไทยคนนั้นคือ พระยาสุรินทราชา หรือ แม่วัน
แม่วัน แปลเรื่องนี้ด้วยภาษาสมัยใหม่ ไพเราะ ได้อรรถรส ได้อารมณ์สะเทือนใจอย่างดีเยี่ยม แต่ว่าท่านไม่ได้แปลหมดทั้งเรื่อง คงแปลเฉพาะเนื้อเรื่องอันเป็นหัวใจสำคัญ การตัดรายละเอียดที่ท่านอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็น หรือไม่เป็นที่เข้าใจของคนไทยในสมัยนั้นออกเสีย
ส่วนที่ท่านตัดออก คือเนื้อหาการสะท้อนสังคม และการวิจารณ์สังคมอังกฤษ-อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งของนวนิยายเรื่องนี้
ถูกแล้ว สังคมอังกฤษ ไม่ใช่สังคมอิตาเลียน
เนื้อเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเกิดในเมืองเนเปิลล์ ประเทศอิตาลี คอเรลลีได้อ้างเป็นคำนำ (ซึ่งไม่มีในฉบับแปล) ว่าเรื่องนี้ที่มาจากเหตุการณ์จริง สมัยเกิดโรคระบาดในเมืองเนเปิลล์เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ แต่ว่าเมื่ออ่านแล้ว จะเห็นว่าเนื้อเรื่องเป็นเรื่องชิงรักหักสวาทของชาวอิตาเลียนเลือดร้อนก็จริง หากแต่ส่วนประกอบคือบทวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่แทรกอยู่เป็นระยะๆนั้นคือทรรศนะที่คอเรลลีมีต่อสังคมชั้นสูงของอังกฤษนั่นเอง ไม่ใช่สังคมอิตาเลียน
เมื่อเขียนนวนิยายเรื่องนี้ คอเรลลีเขียนขึ้นโดยไม่เคยไปประเทศอิตาลีมาก่อน หรือพูดให้ถูกคือเธอไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศอังกฤษไปที่ไหนเลย ฉากในเมืองเนเปิลล์ที่ปรากฏในเรื่องนี้ก็ดี ฉากพระอาทิตย์เที่ยงคืนของประเทศนอรเวย์ ที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง เต็ลมา ก็ดี ล้วนแต่เป็นจินตนาการของหญิงสาวชาวอังกฤษ ผู้มีชีวิตอยู่อย่างแคบๆในบ้านชนบท รับการศึกษาจากคอนแวนต์ของแม่ชี ก่อนจะเริ่มอาชีพนักเขียนนวนิยายและกลายเป็นนักเขียนยอดนิยมตั้งแต่เรื่อง ความพยาบาท นี้เอง
ถ้าจะดูว่าทำไมคอเรลลีวิพากษ์วิจารณ์สังคมอังกฤษในนวนิยายที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับอังกฤษที่ตรงไหน คำตอบอยู่ในพื้นฐานทางสังคมในยุคนั้นนั่นเอง เพราะผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของยุควิคตอเรียนตอนกลางและตอนปลาย คงจะจำกันได้ว่าพระราชินีนาถวิคตอเรียพระองค์นี้ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ยังเป็นสาวน้อยและกลายเป็นแม่ม่ายเมื่อพระชนม์เพียง ๔๔ พรรษา หลังจากเจ้าชายพระสวามีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระราชินีก็ทรงเป็นสตรีผู้ใหญ่ที่เคร่งครัดเข้มงวดทางด้านศีลธรรมจรรยาทำให้สังคมอังกฤษโดยเฉพาะสังคมชนชั้นกลาง ซึ่งค่อนข้างจะเคร่งครัดทางศีลธรรมมาก่อนหน้านี้แล้ว ยิ่งเจริญรอยตามพระราชนิยม เพิ่มความเคร่งครัดกันมากขึ้น คอเรลลีเองในฐานะชนชั้นกลาง ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านนี้อย่างเต็มตัวเมื่อเขียนนวนิยาย เธอจึงสะท้อนความรู้สึกนึกคิดไม่พอใจความเสื่อมศีลธรรมของบุคคลบางกลุ่มที่มีอยู่ในฐานะสูงเด่นจนเป็นเป้าหมายการเพ่งเล็งได้ง่าย
บุคคลกลุ่มนี้ไม่ใช่ใครอื่น คือกลุ่มผู้ดีชั้นสูง พวกขุนน้ำขุนนางหรือเจ้านายบางองค์ที่ค่อนข้างจะใช้ชีวิตกันอย่างเสรี
บุคคลที่เป็นผู้นำของกลุ่มหนุ่มสาวทันสมัยนี้คือ พระโอรสพระองค์ใหญ่ของพระราชินีนาถวิคตอเรียหรือ ปรินซ์ออฟเวลส์ เป็นบุคคลเดียวที่พระราชินีทรงปรามเอาไว้ไม่อยู่ เรื่องที่ทรงโปรดความสนุกสนานหรูหราต่างๆ มีพระสหายและข้าราชการบริพารประเภทค่อนไปทาง เพลย์บอย และเรื่องที่ขาดไม่ได้ คือพระสหายสาวๆหลายคน บางคนก็เป็นผู้ดีมีตระกูล แต่ว่าบางคนก็เป็นนางละครเช่นนางละครคนสวยที่ชื่อ ลิลี่ เจอร์ซี่ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเจ้าชายเข้าเฝ้าพระมารดาทีไรก็มีเรื่องให้พระราชินีกริ้วเกือบจะทุกทีใครที่เคยอ่านเรื่อง พระราชินีนาถวิคตอเรีย ของ ว.ณประมวญมารค คงจะจำได้ดี
ปรินซ์ออฟเวลส์องค์นี้ ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ สวรรคตปีเดียวกับสมเด็จพระปิยมหาราชของเรา เมื่อดาวหางฮัลเลย์มาเยือนโลกครั้งนั้น
ดวงหางที่คุณเปรมปลุกแม่พลอยขึ้นมาดูดวงนั้นแหละ แล้วพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดองค์นี้อีกเหมือนกันที่คุณเปรม เก็บความมาบอกแม่พลอยว่า พระเจ้ากรุงอังกฤษสวรรคต... (ยังไม่จบ)
.........................................................................................
เข้าใจว่าเป็นจากบันทึกชื่อ
"ได้ฟังคุณเทาชมพูเล่าถึง เรื่องนวนิยาย เรื่องความพยาบาท ซึ่งเมื่อครั้งครบรอบ ๑๐๐ ปี"
ของ " ดร.แพรมน และ นายตะวัน (Guest)"
ที่เว็บ http://www.vcharkarn.com/vcafe/5423