### " อัยการ"สอบเพิ่ม ###

อ้างอิง
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378508949/

---


"อัยการคดีฟอกเงินเร่งสอบสวนเพิ่มประเด็นใบอนุโมทนาบัตรที่ธรรมกายออกให้กลุ่มทุนใกล้ชิด ระบบบริหารการเงินวัด ตอบโจทก์ฟอกเงิน-เลี่ยงภาษีหรือไม่. ก่อนเสนอให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษสั่งคดี "ธัมมชโย" 11 ส.ค.นี้"


"เมื่อวันที่ 12 ก.ค.59 นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะพนักงานสอบสวนคดีฟอกเงินจากการยักยอกและฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด เปิดเผยภายหลังเข้าพบอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ว่า อัยการฝ่ายคดีพิเศษได้มีคำสั่งให้คณะพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว สอบสวนเพิ่มเติมในหลายประเด็นโดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกับพระสงฆ์ลูกวัดใกล้ชิดรวม 5 รูป ที่มีตำแหน่งบริหารงานภายในวัด เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าภายในวัดได้จัดรูปแบบการบริหารจัดการเงินและจัดวางระบบงบประมาณของวัดอย่างไรบ้าง รวมทั้งสั่งให้ตรวจสอบใบอนุโมทนาบัตรกับผู้บริจาคเงินซึ่งมีทั้งกลุ่มบริษัท ห้างร้าน นิติบุคคล และบุคคลที่เกี่ยวข้องว่ามีการหลบเลี่ยงภาษีหรือไม่ เนื่องจากคดีนี้มีข้อสังเกตว่าวัดพระธรรมกายมีกลุ่มทุนเข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนมาก จึงต้องตรวจสอบให้ได้ความชัดเจนถึงยอดเงินบริจาคจริงกับยอดเงินที่แจ้งในใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งนำไปใช้ยื่นลดหย่อนภาษี นอกจากนี้จะตรวจสอบถึงระบบการออกใบอนุโมทนาบัตรว่าถูกควบคุมและบริหารจัดการอย่างไร วัดพระธรรมกายดำเนินการเพียงลำพังหรือมีการกำกับควบคุมจากสำนักพระพุทธศาสนา รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ซึ่งจะต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 11 ส.ค. นี้"


"นายขจรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ระหว่างนี้พนักงานสอบสวนได้แยกชุดสอบสวนลงพื้นที่สอบสวนเพิ่มเติมในทุกประเด็นที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษสั่งการ โดยจะส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมถึงอัยการก่อนวันที่ 11 ส.ค.นี้ เพื่ออัยการฝ่ายคดีพิเศษจะสามารถสั่งคดีได้ตามกำหนด ส่วนการตรวจสอบเส้นทางการเงินนั้น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ตรวจสอบเชิงลึกทำให้คดีมีความคืบหน้าพอสมควร แต่เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวพันถึงกลุ่มบุคคลจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งอย่างไรก็ตาม เงินบริจาคให้กับวัดพระธรรมกายมี 3 ประเภท คือ
1.เงินที่บริจาคด้วยความศรัทธา
2.เงินที่ได้จากการฟอกเงินผิดกฎหมาย เช่น เงินที่ได้รับบริจาคจากสหกรณ์คลองจั่นฯ
3.เงินที่บริจาคจากกลุ่มทุนที่เข้ามาบริจาคซึ่งอาจมีพฤติการณ์เข้าข่ายหลบเลี่ยงภาษี"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่