โลกของวัยรุ่นหญิงไร้บ้านที่อุโมงค์ใต้ดินโรมาเนีย


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Catalina: One Girl’s Tunnel Life Under the Streets of Bucharest



ในปี 2013
Massimo Branca ช่างภาพ/นักมานุษยวิทยา
เจอ Catalina ครั้งแรก ตอนเธออายุ 17 ปี

“ ดวงตาโตสีดำดูเหมือนมีความลึกลับแฝงเร้น
ยิ่งเวลาผมจัองมองเธอเป็นเวลานาน ๆ
ทำให้ผมอยากเข้าใจชีวิตของเธอมากขึ้น
ว่าเธอใช้ชีวิตช่วงที่ผ่านมาอย่างไร ”




Catalina วัย 17 ปี ใน Romania
เธอถูกทอดทิ้งตอนแรกเกิด
ทำให้เธอเติบโตในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า
และเริ่มเร่ร่อนบนท้องถนนใน Bucharest
กับอยู่ในอุโมงค์ตอนวัย 12 ปี



Catalina ถูกทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลตอนแรกเกิด
และเติบโตในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า
จนกระทั่งได้ 6 ขวบจึงได้กลับไปอยู่กับครอบครัว
แต่ตอนเธอวัย 12 ขวบเธอก็หนีออกจากบ้าน
ออกมาก็เร่ร่อนไปตามท้องถนน
และเริ่มฉีดยาเสพติดเข้าทางหลอดเลือดดำ
Catalina อยู่กับพวกคนไร้บ้านแถวละแวก
ชุมทางรถไฟ Gara de Nord
และในอุโมงค์ข้างใต้ถนนใน Bucharest

Branca ได้เริ่มถ่ายภาพชีวิตของ Catalina
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Under the Surface
สารคดีเกี่ยวกับคนที่อยู่ในอุโมงค์ใต้เมือง Bucharest
ภายในอุโมงค์ที่อากาศร้อน ชื้น และคับแคบ
อุโมงค์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงาน
เผด็จการโรมาเนีย Nicolae Ceausescu
ที่วางผังให้เป็นทางเดินท่อจ่ายความร้อนใจกลางเมือง(ในฤดูหนาว)
ทุกวันนี้ กลายเป็นที่พักของคนหลายวัย
ตั้งแต่เด็กเร่ร่อนและผู้ใหญ่ที่ไร้บ้าน
ที่มุดเข้ามาอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินแห่งนี้



ในช่วงฤดูหนาว
มีคนมากกว่า 40 คนที่หนีอากาศหนาวเย็น
มาแออัดยัดเยียดอยู่ในอุโมงค์แห่งนี้
ภายในพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร



Branca กับเพื่อนร่วมงาน Igor Marchesan
ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอุโมงค์เดือนกรกฏาคม 2013
จาก Bruce Lee ผู้นำโดยพฤตินัยในโลกใต้ดิน
มีอาชีพหลักคือ ค้ายาเสพติดกับนายหน้าจัดหามือปืน
เป็นผู้รู้เรื่องตื้นลึกหนาบาง/การใช้ชีวิตของคนในอุโมงค์ทั้งหมด
รวมทั้งการให้อาหารการกินและให้ไฟฟ้าใช้ในอุโมงค์

Branca ต้องโน้มน้าว Lee ให้ยอมรับ/อนุญาต
ให้เขาเข้ามาสังเกตการณ์ครั้งนี้ภายในอุโมงค์
และเขาสัญญาว่าจะทำอย่างจริง ๆ จัง ๆ ไม่ทำแบบลวก ๆ
เพราะต้องการศึกษาความสัมพันธุ์ของกลุ่มคน
ในมุมมองของนักมานุษยวิทยา
ในรูปแบบวิทยาศาสตร์สังคม/สังคมวิทยา

“ ผมต้องการให้ผู้คนได้เข้าใจว่า
เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของคนเร่ร่อน
และอยากให้ทำใจกว้างกับยอมรับคนพวกนี้
ในตอนที่พบกับคนพวกนี้โดยบังเอิญ
หรือพบเจอคนไร้บ้านได้ที่ทุกหนทุกแห่ง

ผมต้องการให้ผู้ชมผู้ฟังเรื่องนี้
ไม่ต้องจินตนาการถึงชีวิตใต้ดินว่าเป็นเช่นใด
ไม่ใช่มองพวกเขาด้วยสายตาที่เวทนา
ตัดสินพวกเขาไปล่วงหน้า
หรือมองพวกเขาด้วยความหวาดกลัว ”




ความเซ็งเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตในอุโมงค์
มีกิจกรรมข้างในน้อยมากที่ไม่มียาเสพติดมาเกี่ยวข้อง

แม้ว่าเธอจะฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำตั้งแต่อายุ 13 ปี
แต่ Catalina ก็ยังชอบจดบันทึกและเขียน


กองจานชามภายในอุโมงค์ใต้ดิน
ที่ล้างจานชามและภาพพิมพ์โหลงานของ Leonardo da Vinci
ชื่อ The Last Supper ที่แขวนอยู่ภายในอุโมงค์
คนที่พักอาศัยในอุโมงค์จะใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า
ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับ แสงสว่าง พัดลม
เครื่องเสียงสเตอริโอ ตู้เย็น และทีวี




ตามความเห็นส่วนตัวของ Branca
คนที่อยู่ภายในอุโมงค์นี้หลายคน
ต้องทนทุกข์ทรมานจากวัณโรค ตับอักเสบ HIV
หรือเสี้ยนยาเสพติด
เช่น Heroin  Mephedrone และ Aurolac สีเงิน
ที่พวกเขาชอบสูดดมจากถุงพลาสติค






พวกเขาส่วนมากจบชีวิตลงในอุโมงค์แห่งนี้
เพราะบางคนมีชีวิตที่ล้มเหลว
บางคนครอบครัวล่มสลาย
บางคนเป็นเด็กกำพร้ามาก่อน
บางคนถูกขับไล่ออกจากบ้านหลังเป็น HIV
บางคนหนีความยากจนมาหางานทำในเมือง
บางคนเคยถูกทารุณกรรมมาก่อน




Catalina กับ Bruce Lee (คนกลาง) ถ่ายภาพพร้อมเทียนไข  ตอนช่วงไฟดับ
ก่อนที่ Bruce Lee ผู้นำโลกใต้ดินจะมาอยู่ที่นี่
คนในอุโมงค์ต้องใช้แสงสว่างจากเทียนไขเพียงอย่างเดียว



Branca บอกว่าสภาพแวดล้อมทั่วไปที่ให้เห็น
อาจจะทำให้คนที่เห็นภาพเหล่านี้ตกอกตกใจได้
แต่เขาต้องการให้คนที่เห็นภาพเหล่านี้
ช่วยเห็นอกเห็นใจและเข้าใจคนไร้บ้านเหล่านี้
ให้เข้าใจถึงสาเหตุที่พวกเขาต้องมาอยู่ที่นี่
เหมือนกับ Catalina ที่น่าเวทนา
ต้องการความเห็นอกเห็นใจและโหยหาความรัก

“ ผมคิดว่าภาพเหล่านี้ที่สร้างความตกอกตกใจให้กับผู้ชม
ทำให้รู้สึกแปลกแยกทำตัวออกห่างจากคนพวกนี้
แต่วัตถุประสงค์ของผมนั้นกลับคิดในทางตรงกันข้าม

ผมต้องการให้ผู้คนมีความเข้าอกเข้าใจว่า
พวกเขาอาจจะอยู่ในสถานะการณ์แบบนี้ได้
และอยากให้คนที่เห็นภาพของผมได้เปลี่ยนทัศนคติ
มุมมองด้านต่าง ๆ กับประเด็นปัญหาพวกนี้ ”




Branca เล่าว่า Catalina ยิ้มแบบระมัดระวัง
และเอียงอายเล็กน้อย เพราะ 2-3 ปีก่อน
เธอเพิ่งจะสูญเสียฟันหน้าของเธอไป



มีช่วงหนึ่งที่ Catalina พยายามจะเลิกยาเสพติด
ในช่วงนั้นเธอเอาแต่กินเอาแต่นอนเกือบทั้งวัน
เพื่อพยายามพักฟื้นให้หายจากอาการเสี้ยนยา




แม้ว่าการทำหน้าที่นักมานุษยวิทยา
ที่ตามหลักการวิทยาศาสตร์สังคม
ต้องคอยสังเกตเพียงอย่างเดียว
ห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใด
ที่ทำให้ตัวบุคคลที่ศึกษา มีพฤติกรรมการกระทำ
อย่างหนึ่งอย่างใดผิดจากวิสัยปกติที่เคยทำมา
แต่ Branca ยอมรับว่าเขาก็พยายามจะช่วยเหลือ Catalina เช่นกัน
แม้ว่าจะคอยจดบันทึกเกี่ยวกับชีวิตและเรื่องราวของเธอก็ตาม

มกราคม 2014
ระหว่างที่เธอเดินฝ่ากลุ่มควันของเครื่องปั่นไฟฟ้า
ขาของเธอข้างหนึ่งถูกท่อไอเสียลวกจนบาดเจ็บอย่างมาก
Branca พาเธอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

แล้วต่อมาพาเธอไปอยู่บ้านพักพึ่งพิงคนยากไร้
ในที่นี้เธออยู่ได้โดยไม่ต้องเสพยาเป็นเวลาหลายสัปดาห์
และสาบานว่าเธอจะเลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

ก่อนที่จะขอร้องให้เขาช่วยพาเธอกลับไปที่อุโมงค์อีกครั้ง
หลังจากนั้นไม่นานนัก  เธอก็กลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง

ผมเป็นมนุษย์
ผมพยายามจะคิดหาหนทางช่วยเหลือเธอ
เพราะผมรู้สึกใกล้ชิดกับเธอมาก
เธอเปรียบเสมือนน้องสาวหรือลูกสาวของผม

ผมรู้ดีว่า  เธอมีสุขภาพไม่ค่อยดี
เพราะคนส่วนมากที่อยู่ในอุโมงค์
ต่างต้องอาศัยอยู่ในสภาพที่เลวร้ายอย่างมาก

แต่เธอรู้สึกว่ามีอิสระมากกว่าในที่นั้น
และผมไม่เคยคาดคิดว่าเธอกำลังจะตาย ”




การที่เธอเลิกเสพยาหลายสัปดาห์ก่อน
แต่ Catalina หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก
เธอเขียนว่า
" มันสายไปเสียแล้ว ฉันคือผู้ติดยา
และ(ชีวิต) ไม่เหลืออะไรเลย "



วันที่ 28 พฤษภาคม 2014
หนึ่งเดือนหลังจากที่เธอมีอายุครบ 18 ปี
Catalina ตาย เจ้าหน้าที่รัฐระบุในใบมรณะบัตรว่าตายเพราะหัวใจล้มเหลว
แต่สาเหตุการตายอย่างไม่เป็นทางการคือ
เธอตายเพราะ AIDS ติดเชื้อในกระแสเลือด
ที่สมองจากการฉีดยาเสพติด

Branca อยู่ที่อิตาลีในตอนนั้น
แต่เมื่อทราบข่าวนี้ ก็รีบกลับไปโรมาเนียทันที
เพื่อไปร่วมงานศพของเธอและช่วยเหลือ
ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ให้กับครอบครัวของเธอ



เพื่อนชายของเธอ Santo (ด้านขวา) เป็น HIV
ขอร้องว่าให้ฝังศพเคียงข้างเธอในวันหลังด้วย

เธอสั่งเสียก่อนตายว่าขอตายในอุโมงค์
Bruce Lee มอบชุดแต่งงานให้กับเธอ
ผู้ไม่มีโอกาสได้ใช้ในชีวิตนี้แล้ว



“ หลายคนอาจพูดว่า
คนพวกนี้ควรจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้
ถ้าพวกเขาหางานทำ  ทำงานที่มั่นคง
แต่หลายคนไม่เคยคิดเลยว่า

หลังจากหลายเดือนหลายปีที่ผ่านไป
การที่พวกเขาอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด
พวกเขาต่างคิดเหมือนกันว่า
พวกเขาต่างเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน "

Massimo Branca สรุป

เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/HhDgfJ







Massimo Branca เป็นนักมานุษยวิทยา/ช่างภาพ
ที่ทำงานทั้งในอิตาลีและโรมาเนีย
ทั้งยังเป็นสมาชิกของ Collettivo Fotosocial
สมาคมช่างภาพสารคดีอิตาลี ที่เล่าเรื่องด้วยภาพ
เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงบวก
โครงการ Under the Surface
สารคดีเรื่องนี้ได้รับรางวัล Magnum 30 Under 30
ตอนนี้กำลังทำงานในโครงการตามหา
ครอบครัวเกิดของ Catalina เพื่อค้นหาความจริง
ความยากลำบากที่พวกเขาเผชิญหน้ากับโชคชะตาและชีวิต
ติดตามผลงานได้ที่ Massimo Branca




โลกของคนไร้บ้าน


" เราพยายามชี้ให้เห็นว่า
คนไร้บ้านไม่ได้หมายความเพียงเพราะ
ไร้ปัจจัยในทางกายภาพเท่านั้น
นัยสำคัญคือความเป็นคนไร้ราก
การที่พวกเขาถูกถอนรากออกมาจากชุมชน เครือญาติ
แล้วทำให้อยู่ประจำที่ได้น้อย
มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันน้อย
ความไว้วางใจกันต่ำ
และพร้อมจะจากไปเมื่อไรก็ได้ "




โลกของคนไร้บ้าน บุญเลิศ  วิเศษปรีชา
จัดพิมพ์โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ปรับปรุงจาก วิทยานิพนธ์ดีเด่น
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2546
หนังสือรางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พ.ศ.2550

ความโดดเด่นของวิทยานิพนธ์นี้
อยู่ที่การใช้กระบวนการศึกษาทางมานุษยวิทยา
บุกเบิกทำความเข้าใจโลกของคนกลุ่มหนึ่ง
ที่ปรากฏกายใกล้ตัวเราเข้ามาทุกขณะ

นั่นคือ ผู้ที่อาศัยหลับนอนตามที่สาธารณะ
ไม่ว่าจะเป็นตามป้ายรถเมล์ หน้าชายคาบ้านเรือน
หรือตามท้องสนามหลวง ซึ่งมักถูกเรียกขานกันว่า
คนเร่ร่อน คนจรจัด อันเป็นคำที่มีนัยยะเชิงลบ
สื่อถึงความเป็นสิ่งแปลกปลอมที่น่าหวาดระแวงของเมือง

แต่ด้วยเจตนาที่จะทำความ เข้าใจ ชีวิตของคนกลุ่มนี้
และขจัดอคติเชิงลบที่ผูกติดอยู่กับคำว่า คนเร่ร่อน คนจรจัด
ผู้เขียนจึงเรียกพวกเขาเสียใหม่ว่า คนไร้บ้าน

งานศึกษาชิ้นนี้ต้องการค้นหาคำตอบว่า

คนไร้บ้านเหล่านี้เป็นใครมาจากไหน

ทำไมต้องมานอนข้างถนน

พวกเขาใช้ชีวิตรอดกันอย่างไร

เป็นคนน่าหวาดระแวงกันเสียทุกคนหรือไม่

ไปจนถึงคำถามที่ซับซ้อนขึ้นว่า
อนาคตของพวกเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์
ร่วมสังคมเมืองกับเราจะเป็นอย่างไร

ผู้เขียนใช้เวลาปีเศษไปกับการเรียนรู้ชีวิตของคนไร้บ้าน
ใช้ชีวิตคลุกคลี ร่วมทำงาน ร่วมเดิน เที่ยว กินนอน
และสนทนาพูดคุยกับพวกเขาอย่างเป็นธรรมชาติ
เพื่อที่จะทำความเข้าใจวิถีชีวิตของคนไร้บ้านอย่างที่พวกเขา เป็น
บนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ผู้อ่านจะได้สามารถสัมผัสกับชีวิตของคนไร้บ้าน
ในฐานะปัจเจกบุคคลที่มีบุคลิกส่วนตัว
มีความทุกข์ยาก ความหวัง ความใฝ่ฝัน
ไม่ต่างจากผู้คนฐานะอื่นๆ ที่มีชีวิตโลดแล่นอยู่ในสังคม

ทั้งยังจะได้เห็นว่า การกลายเป็นคนไร้บ้านนั้น
มิได้เกิดจากความบกพร่องส่วนบุคคล
แต่เกิดจากเหตุการณ์ที่เชื่อมต่อกันอย่างเป็นลูกโซ่
และเป็นปัญหาในระดับโครงสร้าง
ที่อาจอยู่นอกเหนือการจัดการของปัจเจกบุคคล

ที่มา/ข้อมูลเพิ่มเติม

http://goo.gl/ctfvww
http://goo.gl/L7oEwi
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่