ลาออก...นอกจากเงินเดือนแล้ว มันมีอะไรที่เสียไปอีกบ้าง มาดูกัน

เชื่อว่าหลานคนมีความฝัน ที่อยากจะลาออกจากงานประจำอันน่าเบื่อหน่าย และไปเป็นเจ้านายตัวเอง
มีชีวิตอิสระ ที่จะสโลว์ไลฟ์ ชิลไลฟ์หรือมายสไตล์ไลฟ์อะไรก็ตามที่ออกแบบได้กันอยู่แล้วใช่มั๊ยคะ

เราก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ เบื่องานประจำ เบื่อระบบ เบื่อคน (ข้อนี้มากที่สุด) ฝันถึงวันที่จะยื่นใบลาออกอยู่หลายปี
สุดท้ายเราก็ตัดสินใจได้ค่ะ วันที่ออกมาเหมือนได้ปลดแอก เหมือนได้ชีวิตคืนมาค่ะ

แต่ๆๆๆๆ ชีวิตมันไม่ได้มีแต่ด้านดีหรือด้านแย่เนอะ งานประจำก็เช่นกันค่ะ
หลายคนอาจจะเคยอ่านมาแล้วว่า งานส่วนตัว นายตัวเองหรืออะไรก็ตาม มันมีอุปสรรคอะไรยังไงบ้าง
อันนั้นเราจะไม่พูดถึงนะคะ เพราะเราถือว่าเรายังด้อยประสบการณ์ค่ะ แต่เราจะขอมาแชร์ ในสิ่งที่เราพบ
และสรุปได้จากการลาออกในช่วงแรกๆ ว่าเราเสียอะไรไปบ้างจากงานประจำ ที่นอกจาก "เงินเดือน" ค่ะ

นี่คือบทความที่เราเขียนไว้ในเพจค่ะ เราทำไว้เพื่ออัพเดทเรื่องราวเรื่อยๆ ว่าหลังจากลาออกจากงานประจำมาแล้วนั้น
เราทำอะไร พบเจออะไรบ้าง ชีวิตมันไม่ง่ายนะคะ สำหรับคนที่เดินตรงๆ ทางเดียวมาสิบกว่าปี เรายังตอบไม่ได้ค่ะ
ว่าเราจะประสบความสำเร็จอะไรมั๊ย แต่เราจะไม่ยอมแพ้ค่ะ ^^

แวะเข้าไปทักทายกันได้นะคะ (งานโฆษณาก็มา 55)  
https://www.facebook.com/thinkoutofcomfortzone/

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

นอกจากเงินเดือนแล้ว มันมีอะไรที่เสียไปอีกบ้าง...

เวลาที่เราทำงานประจำอยู่นั้น เราก็อาจจะคิดรายได้ของเรามีแค่เงินเดือนที่รับประจำทุกเดือนใช่มั๊ยคะ
แต่จริงๆ แล้วทำงานบริษัทก็มีรายได้แฝงอย่างอื่นอีกหลายอย่างที่เรามองไม่เห็น แต่ใช้มันจนชินอีกด้วยนะคะ

1. ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน
อย่างแรกเลยเรื่องค่ารักษาพยาบาลค่ะ เมื่อตอนเราทำงานนั้น เราก็มีสวัสดิการที่ใช้ของบริษัทเป็นประกันภัยกลุ่มค่ะ
ซึ่งมีประโยชน์มาก (แต่บางบริษัทก็ไม่มีให้นะคะ แต่ถ้าบริษัทไหนมีต้องชั่งใจดีๆ นะคะ เวลาจะลาออก ^^)
เวลาที่เราเจ็บป่วย เราก็สามารถนอนโรงพยาบาลได้ โดยแทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเลยค่ะ
ซึ่งตัวนี้คนอาจจะมองไม่ค่อยเห็นประโยชน์ เพราะช่วงปีแรกๆ ที่เราทำงาน เราก็คิดว่าไม่เคยได้ใช้เลยด้วยซ้ำ
แต่ถ้าลองได้เข้าโรงพยาบาลแล้วต้องจ่ายเองซักทีนึงเนี่ย จะรู้ซึ้งเลยค่ะ หลักหมื่นเดี๋ยวนี้แทบจะเอาไม่อยู่แล้วนะคะ
กับการแอดมิทซักครั้งนึงค่ะ


=> วิธีเตรียมตัวก็คือ เราต้องยอมรับให้ได้ก่อนนะคะ ว่าจะมีค่าใช้จ่ายตรงนี้เพิ่มขึ้นมาแน่ๆ
เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าตัวเอง ต้องใช้บริการโรงพยาบาลบ่อยๆ สุขภาพเริ่มไม่ดีหรือมีโรคประจำตัว
รีบหาประกันสุขภาพทำซะนะคะ พวกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในอะไรแบบนี้ หาให้ครอบๆ ทุกโรคไว้ค่ะ
จะได้ไม่ต้องปาดเหงื่อตอนจ่ายบิลค่ารักษาพยาบาลแต่ละที

แต่ก็ต้องยอมรับด้วยนะคะ ว่าการจ่ายเบี้ยประกันพวกนี้ด้วยตัวเอง จะแพงกว่าที่เราจ่ายประกันภัยกลุ่มกับบริษัทเยอะมากๆ
ปกติถ้าหักกับบริษัทก็จะแค่หลักสิบหลักร้อยต่อเดือน แต่ถ้าทำประกันเอง ก็คงจะเป็นหลักพันหรือหมื่นขึ้นต่อปีเลยล่ะค่ะ
เพราะฉะนั้นเตรียมเงินเตรียมใจและวางแผนไว้ให้พร้อมก่อนจะออกจากงานประจำกันด้วยนะคะ


2. การตรวจสุขภาพประจำปี
อีกอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพ ที่จะแฝงมาเป็นผลประโยชน์ของการทำงานประจำก็คือการตรวจสุขภาพประจำปีค่ะ
ถึงแม้บางบริษัทจะตรวจห่วยๆ แค่พื้นๆ เบๆ หรืออะไรก็ตาม แต่อย่างน้อยเราก็ยังได้ตรวจเป็นประจำทุกปี (ตามกฎหมายอ่ะเนอะ)
ซึ่งก็เสี่ยงน้อยที่เราไม่มีการตรวจเช็คสุขภาพอะไรเลย เพราะอาจจะไปเจอโรคตอนสายไปเสียแล้วก็ได้นะคะ ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้
ดูไม่มากไม่น้อย แต่จ่ายทีก็เสียดายเหมือนกันนะคะ แถมมาตรวจเองแพงกว่าที่บริษัทเหมาจ่ายเยอะด้วยค่ะ

=> เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะออกจากบริษัท เราก็ควรจะตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยสองปีก็ยังดี
สำหรับคนที่ยังไม่มีประวัติเจ็บป่วยนะคะ วิธีก็คือหาโปรโมชั่นค่ะ ทางโรงพยาบาลส่วนมากจะมีโปรโมชั่นต่างๆ อยู่แล้ว
เช่นหนึ่งแถมหนึ่ง (จับคู่กับเพื่อนที่ตกงานด้วยกัน) หรือลด แลก แจก แถมอะไร เลือกเอาตามสะดวกเลยค่ะ
เราต้องไม่ละเลยเรื่องสุขภาพของเรานะคะ ^^

3. ประกันสังคม (อันนี้แถมเพิ่มให้จากที่พิมพ์ไว้ในเพจนะคะ)
เรื่องประกันสังคม จริงๆ เหมือนว่าจะไม่น่ามีปัญหาอะไรใช่มั๊ยคะ เพราะผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำ สามารถเข้ามาตรา 39
และยื่นประกันตัวเองได้ แถมจ่ายน้อยกว่าที่ทำงานประจำซะอีก อ๊ะๆๆ มันมีเรื่องอื่นแฝงเข้ามาค่ะ
ประเด็นแรกคือมาตรา 39 จะไม่มีการหักส่งเบี้ยชราภาพแล้ว ซึ่งตามปกติคนที่ทำงานประจำและส่งประกันสังคม
มามากกว่า 15 ปี จะมีสิทธิ์รับเบี้ยชราภาพได้คิดจาก 20% ของอัตราเฉลี่ยเงิน 60 เดือนสุดท้ายค่ะ มองเห็นอะไรมั๊ยคะ

ถ้าใครที่ทำงานมาครบ 15 ปีแล้ว ตีว่าเงินเดือน 5 ปีสุดท้ายเท่ากับ 15,000 บาท คุณก็จะได้รับ 3000 บาทต่อเดือน
เป็นบำนาญตอนอายุ 55 ปีตลอดชีวิต แต่ถ้าใครคนนั้นลาออกหลังทำงานครบ 15 ปี และคุณไปเข้ามาตรา 39
ปัญหาเกิดแล้วค่ะ เพราะตอนคุณอายุ 55 คุณจะได้เงินบำนาญในอัตรา 20 จากฐานเงินเดือน 4800 บาท เท่ากับ
ได้เดือนละ 960 บาทเท่านั้น คำถามคือแล้วที่ส่งมา 15 ปีด้วยเงินเดือน 15,000 นั้นหายไปไหน ทั้งๆ ที่เราส่งครบเงื่อนไขแล้ว
ประกันสังคมตอบเราไม่ได้นะคะ

=> วิธีแก้ไขตอนนี้เราทำได้แค่ออกจากกองทุนประกันสังคมไปเลย และไปเข้า 30 บาทรักษาทุกโรคหรือจ่ายรักษาพยาบาลเอง
เพื่อจะคงสิทธิ์รับบำนาญเดือนละ 3000++ ไว้ตอนอายุ 55 ค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพิจารณาเอาเองนะคะ
ว่าเราสะดวกแบบไหนมากกว่ากัน เพราะแต่ละวิธีมีข้อเสียทั้งนั้นค่ะ

ข้อนี้เราได้แต่หวังว่าประกันสังคมจะเปลี่ยนกฎใหม่ เพราะคนไม่ได้ทำงานที่จ่ายมาตรา 39 จะเอามาคิดรวมกับเบี้ยบำนาญไม่น่าจะได้
เพราะตอนที่ส่งมาตรา 39 ไม่มีการหักเข้ากองทุนบำนาญแล้ว เพราะฉะนั้นส่วนนี้ ควรจะคิดแค่ถึงตอนที่ผู้ประกันตนปกติเท่านั้นค่ะ

ต่อข้างล่างนะคะ ^^
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่