อัปสร หรือ นางอัปสรา (สันสกฤต: अप्सराः อปฺสราห์, พหูพจน์ अप्सरसः อปฺสรสห์) ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า นางฟ้า ก็ได้ แต่ไม่ใช่เทวดา มีฐานะเป็นอมนุษย์ บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อเอาน้ำอมฤตขึ้นมา ดังความปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะ ของอินเดีย
คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์
ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ
ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา
นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ
นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย
ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป
https://th.wikipedia.org/wiki/อัปสร
บทความจาก เว็บเมเนเจอร์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คงไม่มีใครที่เข้าไปเดินในนครวัดแล้วไม่เห็น“นางอัปสรา”เพราะในนครวัดมีรูปสลักนางอัปสราประดับอยู่ทุกซอกทุกมุม ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรร่วมกันใช้ความพยายาม(อย่างสูง)นับนางอัปสรา(อย่างเป็นทางการ)ในนครวัดได้ถึงประมาณ 1,800 องค์!!!
ความเชื่อนี้เชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถาน ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายกับความเชื่อของชาวเขมรที่พวกเขาต่างยกย่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานและเป็นเทพธิดาแห่งความดีงาม ที่หากใครได้ไปเที่ยวชมนางอัปสราตามปราสาทขอมต่างๆในเขมร ไม่ว่าจะเป็นนครวัด ปราสาทบันทายสรี ปราสาทบายน ฯลฯ ก็ไม่ควรที่จะนำความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นนางบำเรอกามไปพูดคุยกับคนเขมร เพราะว่าดีไม่ดีอาจมีการต่อยตีกันได้
กลับมาที่ความเชื่อเรื่องนางอัปสราเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานกันต่อ เรื่องนี้ถือว่ามีเค้าต่อการสร้างรูปสลักนางอัปสราจำนวนมากมายในนครวัด เพราะพื้นที่ของนครวัดนั้นออกจะใหญ่โต ซึ่งก็ทำให้เหล่าเทพธิดาผู้ดูแลย่อมมีจำนวนมากมายตามไปด้วย
อนึ่งเหล่านางอัปสราที่มีอยู่มากมายและถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการเดินชมนครวัดนั้น แต่ละนางถือเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซของช่างชาวขอมโบราณที่ไม่มีการสลักหินซ้ำแบบกันแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทางที่เป็นอากัปกริยาเฉพาะตัวที่มีการถอดแบบมาเป็น“รำอัปสรา”หรือเรื่องของทรงผมที่มีมากมายหลายทรง ทั้งแสก แหวก เสย เกล้ามวย ผมทรงห่วง 1 ห่วง 2 ห่วง 3 ห่วง ผมชี้ ผมตั้งเด่ ผมทรงเซลล่ามูน และอีกสารพัดทรงจนหลายๆคนยกให้เหล่านางอัปสรานครวัดเป็นเจ้าแห่งแฟชั่นทรงผมนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเพราะสารพัดทรงผมอันหลากหลายนี้หรือเปล่า ที่ทำให้ร้านเสริมสวยหลายๆร้านในเสียมเรียบนิยมประดับรูปนางอัปสราเอาไว้
จากลักษณะท่าทางการแต่งองค์ทรงเครื่องและทรงผมอันเป็นเอกลักษณ์ ช่วยเสริมส่งให้นางอัปสราในนครวัดมีความโดดเด่นและน่าชมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนางอัปสราที่เด่นๆในนครวัดเท่าที่ผมจำได้ก็มี
นางอัปสรายิ้มแฉ่ง อยู่แถวซุ้มประตูชั้นแรกก่อนถึงตัวปราสาท ที่ถือเป็น 1 ใน 2 ของนางอัปสราทั้งหมดที่บนใบหน้ามีรอยยิ้ม(แฉ่ง)มองเห็นฟัน ซึ่งช่างที่สลักหินอัปสรานางนี้คงอารมณ์ดีมากสลักหินไปยิ้มไป สุดท้ายเลยใส่รอยยิ้มไปบนใบหน้านางอัปสราด้วย
นางอัปสราผ้าหลุด มีอยู่หลายนางแต่ต้องสังเกตกันหน่อย ว่ากันว่าบางทีช่างขอมโบราณอาจตอกหินแรงไปหน่อย หรือไม่ก็เป็นอารมณ์อีโรติกแบบขำขำของช่างขอมโบราณเพราะอัปสราบางนางได้เอามือปิดของสงวนเอาไว้ด้วย
นางอัปสราตะปุ่มตะป่ำ มีอยู่ในบางซอกบางมุม เข้าใจว่าไม่ใช่นางอัปสราเป็นโรคเรื้อนอย่างที่ลานพระเจ้าขี้เรื้อนในนครธม แต่น่าจะมาจากช่างขอมโบราณเพิ่งสลักหินเสร็จยังไม่ได้มีการขัดแต่งให้เนื้อตัวนางอัปสราเกลี้ยงเกลาแต่อย่างใด
นางอัปสราลิ้น 2 แฉก อยู่ที่องค์ปรางค์ประธาน ไม่รู้ว่าช่างขอมโบราณพลั้งมือสลักพลาดไป หรือว่าช่างคนนี้โดนสาวคนรักลวงหลอกจึงหาทางมาระบายออกที่รูปสลักนางอัปสราแทน
แด่...“อัปสรา”เทพธิดาผู้ต้องชะตากรรมและชะตากาม/ปิ่น บุตรี
อัปสรามหาชนที่ปรางค์ประธานถูกจับจนตัวมันเลื่อม
นางอัปสราสุดอึ๋ม เมื่อขึ้นไปบนปรางค์ประธานฝั่งขวา ค่อยๆใช้สายตาแหงนมองไล่ขึ้นไป หากใครเห็นอัปสรานางหนึ่งมีถันกลมกลึงอึ๋มอั๋นกว่าใครเพื่อนนั่นแหละใช่เลย นางอัปสราสุดอึ๋มที่แม้แต่น้องตั๊กยังต้องชิดซ้าย และด้วยความที่อัปสรานางนี้อยู่สูงจึงทำให้ถันของอยู่รอดปลอดภัยจากการถูกสัมผัสมาจนถึงบัดนี้
ส่วนนางอัปสราที่สวยที่สุด จริงๆแล้วก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวว่าใครรักแบบไหน ชอบแบบไหน แต่ที่หลายๆคนยกให้ว่าเป็นนางอัปสราที่มีความสวยสง่าและมีองค์ประกอบแห่งความงามมากที่สุดก็คือ อัปสรานางหนึ่งที่แอบอยู่ในหลืบข้างช่องประตูใจกลางปรางค์ประธานที่มีใบหน้าอมยิ้มยกสองมือมือประคองถือดอกไม้ ที่ผมดูแล้วก็ให้รู้สึกเพลินตาเพลินใจดี
แต่ว่าอัปสรานางนี้ไม่ใช่นางอัปสราที่ฮอตฮิตที่สุด เพราะนางอัปสรา(ขวัญใจ)มหาชนนั้นอยู่ที่ใกล้กับใจกลางปรางค์ประธานอีกเหมือนกัน
อัปสรามหาชนนางนี้ คนเขมรที่นับถือนางอัปสราต่างเชื่อว่าใครที่อยากมีลูกหรือมีลูกยาก หากไปลูบจับถันของอัปสรานางนี้ก็จะได้ลูกสมดังปรารถนา แต่ว่ากับนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะไปจับถันนางอัปสราแบบเอามันหรือไม่ก็จับตามคนอื่น จนทำให้เนื้อตัวท่อนบนของอัปสรานางนี้ถูกคนจับจนมันเลื่อม โดยเฉพาะที่ปทุมถัน 2 ข้างนี่ถูกลูบจับจนมันวับเหมือนลงแว็กซ์ยังไงยังงั้น ซึ่งผมถือว่ารูปสลักอัปสรามหาชนนางนี้มีชะตากรรมน่าสงสารที่สุดในนครวัด...
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000131974
ถ้าหากมองเทียบจากนางอัปสร ของทางเขมรแล้วหน้าตาของรูปปั้นจะมีความใกล้เคียงลักษณะโครงหน้าของคนเขมรอยู่พอสมควร
ความสวยตามมายาคติของแต่ละยุคถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน บางยุคตาโตถือว่าสวย บางยุคตาตี่ถือว่าสวย อะไรเช่นนี้
แต่หากมองในช่วงนั้น ค่านิยมความสวยตามแบบของนางอัปสรของเขมรและคนในอุษาคเนย์น่าจะออกไปในทางเดียวกัน
อันนี้ศิลปะบายน
อันนี้หน้าตาของคนอินโด ก็มีความคล้ายกับรูปปั้นนางอัปสรเหมือนกัน
The Balinese Legong(lecon,ละโขน,ละคร) dance depict celestial maidens, Bali, Indonesia.(ระบำนางอัปสรของบาหลี)

The Apsara of Borobudur, the flying celestial maiden depicted in a bas-relief of the 9th-century Borobudur temple, Java, Indonesia.(นางอัปสรแกะสลักในบุโรพุทโธ)
เรซิ่น นางอัปสรในแบบฉบับของอินโดนีเซีย
A 12th-century sandstone statue of an Apsara from Uttar Pradesh, India(อัปสรในแบบอินเดีย)
https://en.wikipedia.org/wiki/Apsara
ตั๊ก บงกช ของไทย ก็ถอดแบบรูปปั้นนางอัปสร มาเลยทีเดียว

แล้วพวกท่านว่า นางอัปสร ในมายาคติของพวกท่าน นั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรครับ
นางอัปสร(า) นี้สวยขนาดไหนครับ
คำว่า "อัปสร" นั้น มาจากคำว่า "อัป" (หมายถึง น้ำ) และ "สร" (หมายถึง การเคลื่อนไป) อัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนาง ทว่าโดยทั่วไป ถือว่านางเป็นชาวสวรรค์
ในเรื่องเล่าของอินเดียมีการกล่าวถึงนางอัปสรไว้มากมาย นับว่าเป็นตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งในตำนานของอินเดีย ไม่น้อยไปกว่าเทพเจ้าและชาวสวรรค์อื่นๆ
ตามตำนานของฮินดู กล่าวว่าพระพรหมทรงสร้างนางอัปสรขึ้น และเป็นนางบำเรออยู่ในราชสำนักของพระอินทร์ ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวถึงนางอัปสรที่สำคัญไว้หลายตนด้วยกัน เช่น มัญชุเกศี, สุเกศี, มิสรเกศี, สุโลจนะ, เสาทมิณี, เทวทัตตะ, เทวเสนะ, มโนรม, สุทาติ, สุนทรี, วิคัคธะ, วิวิธ, พุธ, สุมล, สันตติ, สุนันทา, สุมุขี, มาคธี, อรชุนี, สรลา, เกระลา, ธฤติ, นันทา, สุปุษกลา, สุปุษปมาลา และ กาลภา
นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถในเชิงศิลปะต่างๆ กัน เทียบได้กับตำนานมูเซ (muse) ของกรีกโบราณ
นอกจากนี้ยังมีตำนานกล่าวต่อไปว่า นางอัปสรนั้นเป็นชายาของคนธรรพ์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในสวรรค์ โดยนางจะเต้นรำไปตามจังหวะดนตรีที่สามีของตนบรรเลง โดยทั่วไปมีความเชื่อว่านางอัปสรเป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงาม แต่บางถิ่นก็เชื่อว่าอัปสรมีอำนาจแห่งความชั่วร้ายอยู่ด้วย
ในปราสาทนครวัดของกัมพูชา มีการสลักภาพนางอัปสรไว้มากมาย โดยที่แต่ละรูปมีใบหน้า ท่าทาง และการแต่งกายที่แตกต่างกันไป
https://th.wikipedia.org/wiki/อัปสร
บทความจาก เว็บเมเนเจอร์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถ้าหากมองเทียบจากนางอัปสร ของทางเขมรแล้วหน้าตาของรูปปั้นจะมีความใกล้เคียงลักษณะโครงหน้าของคนเขมรอยู่พอสมควร
ความสวยตามมายาคติของแต่ละยุคถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน บางยุคตาโตถือว่าสวย บางยุคตาตี่ถือว่าสวย อะไรเช่นนี้
แต่หากมองในช่วงนั้น ค่านิยมความสวยตามแบบของนางอัปสรของเขมรและคนในอุษาคเนย์น่าจะออกไปในทางเดียวกัน
อันนี้ศิลปะบายน
อันนี้หน้าตาของคนอินโด ก็มีความคล้ายกับรูปปั้นนางอัปสรเหมือนกัน
The Balinese Legong(lecon,ละโขน,ละคร) dance depict celestial maidens, Bali, Indonesia.(ระบำนางอัปสรของบาหลี)
The Apsara of Borobudur, the flying celestial maiden depicted in a bas-relief of the 9th-century Borobudur temple, Java, Indonesia.(นางอัปสรแกะสลักในบุโรพุทโธ)
เรซิ่น นางอัปสรในแบบฉบับของอินโดนีเซีย
A 12th-century sandstone statue of an Apsara from Uttar Pradesh, India(อัปสรในแบบอินเดีย)
https://en.wikipedia.org/wiki/Apsara
ตั๊ก บงกช ของไทย ก็ถอดแบบรูปปั้นนางอัปสร มาเลยทีเดียว
แล้วพวกท่านว่า นางอัปสร ในมายาคติของพวกท่าน นั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรครับ