ทางออก ปัญหา ชายแดนใต้ รวมกับ ปัญหา คอคอดกระ ช่วยกันดูว่าเป็นไปได้ไหม

ไม่ทราบเคยมีใครเสนอขุดคอคอดกระแต่เลื่อนลงมาขุดตลอดแนวชายแดนใต้จากสตูลถึงนราธิวาสบ้างหรือยัง ถ้าทำได้น่าจะแก้ปัญหาไฟไต้ได้ในระดับหนึ่งแถมยังให้ผลประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนท้องถิ่น เป็นเม็กกะโปรเจ็กที่จะสร้างงานและรายได้ให้ทุกฝ่าย ลงทุนเยอะแต่ระยะยาวน่าจะคุ้ม ระยะทางประมาณ 290 กม เส้นทางต้องหลบเขา อาจทำให้ยาวกว่านี้ บางส่วนอาจต้องอยู่ในมาเล บางส่วนอยู่ในไทย แต่ถ้ามาเลไม่เอาด้วย ทำในไทยทั้งหมดก็ได้แต่อาจไม่เลียบเส้นเขตแดนนัก น่าจะพอรับได้ ส่วนที่อยู่ใต้คลองก็จะเป็นเขาสูงแนวชายแดนธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าไทยทำ น่าจะเป็นการสร้างสร้างสถิติคลองเชื่อมทะเลยาวยาวที่สุดคลองหนึ่งของโลก ลองดูข้อมูลของคลองสุเอช และ คลองปานามากันนะครับ

ดูคลองสุเอชยาว 183 กม ขุดด้วยมือเมื่อร้อยกว่าปียังทำได้ สมัยนี้มีเครื่องจักรทันสมัยต้องทำได้แน่นอน
"คลองสุเอซ  (Suez Canal) เป็นคลองที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ ระหว่าง Port Said (Būr Sa'īd) ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง มีความยาว 183 กิโลเมตร คลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ากับทะเลแดง ผ่านช่องแคบสุเอซ ในอียิปต์ตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมทีมันถูกขุดขึ้นด้วยมือ ปัจจุบัน สามารถรองรับเรือยาว 500 ม. กว้าง 70 ม. ลึก 70 ม. คลองสุเอซเริ่มสร้างในปี 1859 แล้วเสร็จในปี 1869 เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการค้าระดับโลกเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดระหว่างยุโรปและเอเซีย ขจัดการเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา"

คลองปานามา (อังกฤษ: Panama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร[1] ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี ค.ศ. 2008 มีระวางขับน้ำรวมทั้งสิ้น 309.6 ล้านตัน (คิดเป็นประมาณ 40 ลำต่อวัน ประมาณร้อยละ 5 ของเรือบรรทุกสินค้าทั่วโลก)[2]

แนวความคิดในการขุดคลองปานามาจะมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้ว ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 ภายใต้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ แต่ก็ล้มเหลวไป จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาดำเนินงานต่อ จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมค.ศ. 1914

เราอาจชวนมาเลร่วมทุนรับผลประโยชน์ร่วมกัน ถ้ามาเลไม่เอาด้วย ไทยก็ทำเองบนพื้นที่ของไทยทั้งหมด รับผลประโยชน์เต็มๆ สิงคโปร์คงค้านสุดตัวงานนี้ ถ้าเห็นด้วยช่วยกันเชียร์หรือคิดต่อยอดการแก้ปัญหาแนวนี้หน่อยครับ ยินดีให้แชร์ อยากให้โปรเจกเกิดในรัฐบาลนี้ ไม่งั้นคงเกิดยากเหมือนสนามบินหนองงูเห่าหรือคอคอดกระ
ถ้าเกิดหวังว่าจังหวัดแนวชายแดนจะได้โชติช่วงชัชวาล รวยๆกันทั่วหน้าทุกคนมุ่งทำธุรกิจนับเงินกันจนไม่มีเวลาคิดจะฆ่าแกงกันเสียที
ข้อสำคัญรัฐต้องทำเองและให้ประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์ อย่าให้สัมปทานบริษัทข้ามชาติมาโกยผมประโยชน์เหมือนบางธุรกิจ
แต่ถ้าความคิดนี้ดูแล้วไม่เข้าท่า ก็ขอให้ลืมๆมันไปเสีย ขออภัยล่วงหน้าครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เสียเวลาอ่านนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่