
The power of humans, people move entire house with the strength of workers
ข่าวตอนนี้มีแต่เรื่องการเมืองการก่อการร้าย
นาน ๆ จึงจะมีข่าวดีเกี่ยวกับข่าวชาวบ้าน
ข่าวชาวบ้านที่สร้างเรื่องราวแรงบันดาลใจ
กับความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในชุมชน
ภาพการย้ายบ้านด้วยการยกบ้านขึ้นพร้อมกัน
แล้วหามไปตั้งอีกด้านหนึ่งของหมู่บ้าน
เป็นผลงานความร่วมมือกันของชาวบ้านที่อินโดนีเซีย
แสดงถึงพลังเข้มแข็งของชาวบ้านในชุมขน
ชาวบ้านต่างร่วมมือร่วมใจกันยกบ้านไม้ แล้วภายในเพียงไม่กี่นาที
ก็หามบ้านทั้งหลังข้ามทุ่งนาไปตั้งอีกฝั่งหนึ่ง
จะเห็นว่ามีผู้หญิงที่ค่อนข้างแข็งแรง โพกผ้าบนศีรษะร่วมอยู่ในขบวนหามบ้าน
จิตวิญญาณของชุมชน มีมาอย่างยาวนานหลายร้อยปีแล้ว ก่อนยุคของเงินตรา คือ พระเจ้า
ในภาษาอินโดนีเซียกับมาเลย์ จะเรียกว่า gotong-royong
การร่วมมือ ทำงานด้วยกันโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

การหามเริน (หามบ้าน).. บาลาย (สถานที่ประกอบศาสนากิจขนาดเล็กกว่ามัสยิด ทางศาสนาอิสลาม)
บาลายท้ายส้อน ม.5 ต.โพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
การย้ายบ้านด้วยการหามไปพร้อม ๆ กัน
ปักษ์ใต้จะเรียกว่า การหามเริน หรือ หามเรือน
มีทั้งบ้านพักอาศัย หรือ บาลาย มักจะทำกันในฤดูแล้ง
เพราะดินแข็งแรงไม่เหลว ไม่นุ่ม เหมือนฤดูฝน
กอปรกับว่างเว้นจากการทำนาแล้ว และมีเวลาว่างกัน
ภาพอดีต "หามเริน" ที่ ต.ป่าระกำ อ.ปากพนัง เมืองคอน
รูปถ่ายจากโพสต์ของ อนุวัฒน์ พุทธรอด
บ้านเรือนในปักษ์ใต้สมัยก่อนมักปลูกวางบนตีนเสา
เพื่อให้ย้ายบ้านได้เวลาพื้นที่ตั้งบ้านน้ำท่วมมาก
หรือย้ายไปในอีกที่แห่งหนึ่งที่ดีกว่าเดิม
ตามทิศทางที่หมอดูหรือพระสงฆ์บอกว่าดี
ปราชญ์ชาวบ้านลุงลัพธ์ หนูประดิษฐ์
ตำบลคลองหวะ อำเภอหาดใหญ่ ท่านสรุปว่า
ที่ภาคใต้พายุ/ลมไม่แรงเหมือนเขตภาคเหนือ ภาคอีสาน
จึงนิยมปลูกบ้านบนตีนเสา เพื่อขนย้ายวันหลังได้
แต่ถ้าทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ปลูกแบบภาคใต้
ไม่นานก็คงปลิวหายไปทั้งบ้านทั้งหลังคา
ข้อมูลเพิ่มเติม หามเริน
http://goo.gl/WV3D63
http://goo.gl/G4QKgO
http://goo.gl/gWzWCS
ส่วนประเพณีลงแขก เกี่ยวข้าวของไทย
ก็สูญหายไปนานมากแล้วเช่นกัน
จากอิทธิพลของเวลา/เงิน
ทั้งถ้อยคำที่มีคุณค่าทางภาษา
ก็กลายเป็นภาษาสแลงที่มีนัยลามก
จากการพาดหัวข่าวของสื่อมวลชนหัวเขียว
ที่เริ่มต้นขึ้นก่อนในอดีตหลายปีก่อน
เรื่องเล่าไร้สาระ
ปักษ์ใต้ แต่เดิมตั้งแต่ประจวบคีรีขันธุ์ลงมาถึงปัตตานี
จะนับรวมกันได้ 15 หัวเมืองปักษ์ใต้
ปักษ์ หมายถึง ปีก(นก) หรือ สิบห้า
ส่วนภาคใต้ในปัจจุบันคือ เขตการปกครองส่วนภูมิภาค
ไม่นับรวมประจวบคีรีขันธ์ เพราะอยู่ในภาคกลาง
ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 ยังเรียกว่าหัวเมืองปักษ์ใต้
ส่วนประชากรที่อยู่แถวปักษ์ใต้เรียกว่า
พวกคนนอก มักหัวแข็ง ปกครองยาก
(น่าจะหมายถึง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี
ที่มักจะก่อการกบฏและไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นเมืองหลวง)
มีอ้างถึงในหนังสือกรมพระยาดำรงราชนุภาพ
เขียนโต้ตอบกับกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
อดีตมณฑลอุปราชมณฑลปักษ์ใต้
เทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
แต่จวนปกครองมณฑลปักษ์ใต้อยู่ที่จังหวัดสงขลา
เพราะช่วงน้นสยามกำลังมีปัญหากับอังกฤษ
เจ้าอาณานิคมมาลายาที่ติดกับสยามประเทศ
การเดินทางติดต่ออังกฤษมักจะผ่านทางปีนัง
การเดินทางเข้ามาสงขลาจะสะดวกมากกว่า
การเดินทางไปแจ้งราชการที่นคร ฯ
1. Barn Raising

80 Amish people pick up house and move it
ในสหรัฐอเมริการจะมี barn raising
ที่ชาว Amish กับชุมชน Old Order Mennonite
ต่างช่วยกันสร้างบ้าน/ย้ายบ้าน
และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
2. Meitheal
ในไอร์แลน จะเรียกว่า meitheal
ทีมงานจะช่วยกันทำงานในฐานะเพื่อนบ้าน
ช่วยกันเก็บเกี่ยว/ปลูกพืชผลเกษตร
3. Harambee
harambee มาจากภาษา Swahili
ทำเรื่องทั่วไปที่เป็นเรื่องดี
ไม่ใช่คติพจน์ของราชการใน Kenya
แต่เป็นประเพณีของชุมชน
ที่มีกิจกรรมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ของหลายชาติในแอฟริกาตะวันออก
4. Naffir
Naffir มีในบางเขตของซูดาน
ภาษา Arabic คือ ความเป็นกลุ่มชน
ผ่านทางเครือญาติครอบครัว
ที่ช่วยเหลืองานของชุมชน
5. Gadugi
Gadugi มาจากภาษาเผ่าอินเดียนแดง Cherokee
การทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกัน
ตามประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมืองอเมริกันทั้งชายและหญิง
จะช่วยเหลือคนชราในเผ่าเก็บเกี่ยวพืชผล
ปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมค่านิยมนี้
ในถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า Cherokee
6. Talkoot
ชุมชนขนาดย่อมชาวฟินแลนด์
มักจะร่วมกันทำ talkoot (งานอาสา)
ด้วยการซ่อมแซมบ้านเรือน งานรักษาสิ่งแวดล้อม
หรือช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่สูงอายุ
7. Bayanihan
Bayanihan ภาษา Filipino
bayan หมายถึง ชาติ ท้องถิ่น ชุมชน เมือง
การร่วมมือร่วมใจของชุมชนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
8. Imece
Imece ประเพณีของชาวชนบท Turkish
การร่วมมือกันทำงานในงานแต่งงาน
ทั้งการทำอาหาร การปลูกบ้านใหม่ให้คู่สมรส
จนกว่าจะเสร็จสิ้นงานแต่งงาน
โดยการร่วมมือร่วมใจไม่ใช่เพราะคำสั่งของทางการ
9. Moba
Moba (Serbian: моба) ประเพณีเก่าแก่ของ Serbian
ชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่บ้าน
เมื่อต้องการความช่วยเหลือเช่น เก็บเกี่ยวพืชผล ข้าวสาลี
สร้าง/ซ่อมแซมโบสถ์วิหาร ถนนหนทาง
เป็นงานอาสาสมัครไม่มีค่าตอบแทน
แต่ทุกคนคาดหวังว่าต้องมีมื้อกลางวันเลี้ยงตอบแทน
10. Mink'a
Mink'a หรือ minka คือ ประเพณีของชุมชนทำงานร่วมกัน
ด้วยความสมัครใจและมีจิตอาสา
ยังมีในชุมชนชาวพื้นเมืองที่ Peru Ecuador Bolivia และ Chile
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่า Quechua กับ Aymara
11. Dugnad
Dugnad เป็นของชาว Norwegian
หมายถึงการทำงานร่วมกันเพื่อชุมชน
โดยมีอาหารกลางวันจากกองกลาง
ในเขตชุมชนมักจะเป็นกิจกรรมในฤดูใบไม้ผลิ
ด้วยการช่วยกันทำความสะอาด/ทำให้เรียบร้อยงามตา
พื้นที่สวนหลังบ้านภายในชุมชน โรงเรียนท้องถิ่น
สาธารณประโยชน์ของชุมชน
แต่ในเขตชนบทที่กันดาร
เพื่อนบ้านจะช่วยกันซ่อมแซม/สร้าง
บ้าน/โรงนา โรงเรียนท้องถิ่น สาธารณสถาน
โดยการนัดหมายล่วงหน้าประจำปี
ถือว่าเป็นหน้าที่และภาระกิจที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ
เรียบเรียงที่มา
https://goo.gl/wRpUz3
https://goo.gl/pHHw6N
หามเริน
The power of humans, people move entire house with the strength of workers
ข่าวตอนนี้มีแต่เรื่องการเมืองการก่อการร้าย
นาน ๆ จึงจะมีข่าวดีเกี่ยวกับข่าวชาวบ้าน
ข่าวชาวบ้านที่สร้างเรื่องราวแรงบันดาลใจ
กับความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในชุมชน
ภาพการย้ายบ้านด้วยการยกบ้านขึ้นพร้อมกัน
แล้วหามไปตั้งอีกด้านหนึ่งของหมู่บ้าน
เป็นผลงานความร่วมมือกันของชาวบ้านที่อินโดนีเซีย
แสดงถึงพลังเข้มแข็งของชาวบ้านในชุมขน
ชาวบ้านต่างร่วมมือร่วมใจกันยกบ้านไม้ แล้วภายในเพียงไม่กี่นาที
ก็หามบ้านทั้งหลังข้ามทุ่งนาไปตั้งอีกฝั่งหนึ่ง
จะเห็นว่ามีผู้หญิงที่ค่อนข้างแข็งแรง โพกผ้าบนศีรษะร่วมอยู่ในขบวนหามบ้าน
จิตวิญญาณของชุมชน มีมาอย่างยาวนานหลายร้อยปีแล้ว ก่อนยุคของเงินตรา คือ พระเจ้า
ในภาษาอินโดนีเซียกับมาเลย์ จะเรียกว่า gotong-royong
การร่วมมือ ทำงานด้วยกันโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
ที่มา https://goo.gl/pHHw6N
การหามเริน (หามบ้าน).. บาลาย (สถานที่ประกอบศาสนากิจขนาดเล็กกว่ามัสยิด ทางศาสนาอิสลาม)
บาลายท้ายส้อน ม.5 ต.โพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
การย้ายบ้านด้วยการหามไปพร้อม ๆ กัน
ปักษ์ใต้จะเรียกว่า การหามเริน หรือ หามเรือน
มีทั้งบ้านพักอาศัย หรือ บาลาย มักจะทำกันในฤดูแล้ง
เพราะดินแข็งแรงไม่เหลว ไม่นุ่ม เหมือนฤดูฝน
กอปรกับว่างเว้นจากการทำนาแล้ว และมีเวลาว่างกัน
ภาพอดีต "หามเริน" ที่ ต.ป่าระกำ อ.ปากพนัง เมืองคอน
รูปถ่ายจากโพสต์ของ อนุวัฒน์ พุทธรอด
บ้านเรือนในปักษ์ใต้สมัยก่อนมักปลูกวางบนตีนเสา
เพื่อให้ย้ายบ้านได้เวลาพื้นที่ตั้งบ้านน้ำท่วมมาก
หรือย้ายไปในอีกที่แห่งหนึ่งที่ดีกว่าเดิม
ตามทิศทางที่หมอดูหรือพระสงฆ์บอกว่าดี
ที่มา http://goo.gl/xEmn53
ปราชญ์ชาวบ้านลุงลัพธ์ หนูประดิษฐ์
ตำบลคลองหวะ อำเภอหาดใหญ่ ท่านสรุปว่า
ที่ภาคใต้พายุ/ลมไม่แรงเหมือนเขตภาคเหนือ ภาคอีสาน
จึงนิยมปลูกบ้านบนตีนเสา เพื่อขนย้ายวันหลังได้
แต่ถ้าทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ปลูกแบบภาคใต้
ไม่นานก็คงปลิวหายไปทั้งบ้านทั้งหลังคา
ข้อมูลเพิ่มเติม หามเริน
http://goo.gl/WV3D63
http://goo.gl/G4QKgO
http://goo.gl/gWzWCS
ส่วนประเพณีลงแขก เกี่ยวข้าวของไทย
ก็สูญหายไปนานมากแล้วเช่นกัน
จากอิทธิพลของเวลา/เงิน
ทั้งถ้อยคำที่มีคุณค่าทางภาษา
ก็กลายเป็นภาษาสแลงที่มีนัยลามก
จากการพาดหัวข่าวของสื่อมวลชนหัวเขียว
ที่เริ่มต้นขึ้นก่อนในอดีตหลายปีก่อน
เรื่องเล่าไร้สาระ
ปักษ์ใต้ แต่เดิมตั้งแต่ประจวบคีรีขันธุ์ลงมาถึงปัตตานี
จะนับรวมกันได้ 15 หัวเมืองปักษ์ใต้
ปักษ์ หมายถึง ปีก(นก) หรือ สิบห้า
ส่วนภาคใต้ในปัจจุบันคือ เขตการปกครองส่วนภูมิภาค
ไม่นับรวมประจวบคีรีขันธ์ เพราะอยู่ในภาคกลาง
ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 ยังเรียกว่าหัวเมืองปักษ์ใต้
ส่วนประชากรที่อยู่แถวปักษ์ใต้เรียกว่า
พวกคนนอก มักหัวแข็ง ปกครองยาก
(น่าจะหมายถึง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี
ที่มักจะก่อการกบฏและไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นเมืองหลวง)
มีอ้างถึงในหนังสือกรมพระยาดำรงราชนุภาพ
เขียนโต้ตอบกับกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
อดีตมณฑลอุปราชมณฑลปักษ์ใต้
เทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
แต่จวนปกครองมณฑลปักษ์ใต้อยู่ที่จังหวัดสงขลา
เพราะช่วงน้นสยามกำลังมีปัญหากับอังกฤษ
เจ้าอาณานิคมมาลายาที่ติดกับสยามประเทศ
การเดินทางติดต่ออังกฤษมักจะผ่านทางปีนัง
การเดินทางเข้ามาสงขลาจะสะดวกมากกว่า
การเดินทางไปแจ้งราชการที่นคร ฯ
1. Barn Raising
80 Amish people pick up house and move it
ในสหรัฐอเมริการจะมี barn raising
ที่ชาว Amish กับชุมชน Old Order Mennonite
ต่างช่วยกันสร้างบ้าน/ย้ายบ้าน
และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
2. Meitheal
ในไอร์แลน จะเรียกว่า meitheal
ทีมงานจะช่วยกันทำงานในฐานะเพื่อนบ้าน
ช่วยกันเก็บเกี่ยว/ปลูกพืชผลเกษตร
3. Harambee
harambee มาจากภาษา Swahili
ทำเรื่องทั่วไปที่เป็นเรื่องดี
ไม่ใช่คติพจน์ของราชการใน Kenya
แต่เป็นประเพณีของชุมชน
ที่มีกิจกรรมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ของหลายชาติในแอฟริกาตะวันออก
4. Naffir
Naffir มีในบางเขตของซูดาน
ภาษา Arabic คือ ความเป็นกลุ่มชน
ผ่านทางเครือญาติครอบครัว
ที่ช่วยเหลืองานของชุมชน
5. Gadugi
Gadugi มาจากภาษาเผ่าอินเดียนแดง Cherokee
การทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกัน
ตามประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมืองอเมริกันทั้งชายและหญิง
จะช่วยเหลือคนชราในเผ่าเก็บเกี่ยวพืชผล
ปัจจุบันเริ่มมีการส่งเสริมค่านิยมนี้
ในถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า Cherokee
6. Talkoot
ชุมชนขนาดย่อมชาวฟินแลนด์
มักจะร่วมกันทำ talkoot (งานอาสา)
ด้วยการซ่อมแซมบ้านเรือน งานรักษาสิ่งแวดล้อม
หรือช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่สูงอายุ
7. Bayanihan
Bayanihan ภาษา Filipino
bayan หมายถึง ชาติ ท้องถิ่น ชุมชน เมือง
การร่วมมือร่วมใจของชุมชนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
8. Imece
Imece ประเพณีของชาวชนบท Turkish
การร่วมมือกันทำงานในงานแต่งงาน
ทั้งการทำอาหาร การปลูกบ้านใหม่ให้คู่สมรส
จนกว่าจะเสร็จสิ้นงานแต่งงาน
โดยการร่วมมือร่วมใจไม่ใช่เพราะคำสั่งของทางการ
9. Moba
Moba (Serbian: моба) ประเพณีเก่าแก่ของ Serbian
ชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่บ้าน
เมื่อต้องการความช่วยเหลือเช่น เก็บเกี่ยวพืชผล ข้าวสาลี
สร้าง/ซ่อมแซมโบสถ์วิหาร ถนนหนทาง
เป็นงานอาสาสมัครไม่มีค่าตอบแทน
แต่ทุกคนคาดหวังว่าต้องมีมื้อกลางวันเลี้ยงตอบแทน
10. Mink'a
Mink'a หรือ minka คือ ประเพณีของชุมชนทำงานร่วมกัน
ด้วยความสมัครใจและมีจิตอาสา
ยังมีในชุมชนชาวพื้นเมืองที่ Peru Ecuador Bolivia และ Chile
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่า Quechua กับ Aymara
11. Dugnad
Dugnad เป็นของชาว Norwegian
หมายถึงการทำงานร่วมกันเพื่อชุมชน
โดยมีอาหารกลางวันจากกองกลาง
ในเขตชุมชนมักจะเป็นกิจกรรมในฤดูใบไม้ผลิ
ด้วยการช่วยกันทำความสะอาด/ทำให้เรียบร้อยงามตา
พื้นที่สวนหลังบ้านภายในชุมชน โรงเรียนท้องถิ่น
สาธารณประโยชน์ของชุมชน
แต่ในเขตชนบทที่กันดาร
เพื่อนบ้านจะช่วยกันซ่อมแซม/สร้าง
บ้าน/โรงนา โรงเรียนท้องถิ่น สาธารณสถาน
โดยการนัดหมายล่วงหน้าประจำปี
ถือว่าเป็นหน้าที่และภาระกิจที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ
เรียบเรียงที่มา
https://goo.gl/wRpUz3
https://goo.gl/pHHw6N