พวกเราต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เพื่อความเคารพในตัวมนุษย์และความเท่าเทียม” โซคราเตส (Socrates) นักฟุตบอลทีมชาติบราซิล
ทำไมนักฟุตบอลถึงต้องต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเท่าเทียม?
คำตอบอยู่ที่การเมืองในบราซิล
บราซิลประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่คลั่งไคล้กีฬาฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในระดับทีมชาติหรือในระดับสโมสร ฟุตบอลสามารถดึงดูดคนบราซิลจำนวนมากให้สนใจติดตามอยู่เสมอ จนทำให้ผู้นำประเทศในยุคเผด็จการทหารของบราซิลเล็งเห็นช่องทางในการใช้ฟุตบอลเป็นเครื่องมือทางการเมือง
บราซิลปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารในช่วงปีค.ศ. 1964- 1985 โดยเริ่มต้นจากการยึดอำนาจโดยกองทัพจากรัฐบาลประธานาธิบดี João Goulart ที่มาจากการเลือกตั้ง และหลังจากนั้นบราซิลก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการทหารถึง 21 ปี
ในยุคเผด็จการ กีฬายอดนิยมอย่างฟุตบอลได้ถูกแทรกแซงจากผู้นำประเทศในหลากหลายรูปแบบ โดยมีเป้าหมายคือการใช้กีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลต่อประชาชนทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นชัดเจนในยุคสมัยของประธานาธิบดี Emílio Garrastazu Médici (ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 1969–1974)
ประธานาธิบดี Emílio Garrastazu Médici
แชมป์โลกและโฆษณาชวนเชื่อ
ฟุตบอลทีมชาติบราซิลเปรียบเสมือนหน้าตาของประเทศ ทั้งในสายตาของคนบราซิลหรือคนชาติอื่น จึงทำให้ประธานาธิบดี Médici เข้ามาแทรกแซงการทำงานของผู้จัดการทีม João Saldanha ด้วยการแนะนำให้เลือกนักเตะในตำแหน่งศูนย์หน้าอย่าง Dario ลงเล่นในทีมชาติ แต่ João Saldanha กลับปฎิเสธคำแนะนำนั้นและตอกกลับไปว่า “ผมจะไม่ยุ่งกับคณะรัฐมนตรีของเขา และเขาก็ไม่ควรเข้ามายุ่งกับการทำทีมของผม”
João Saldanha ถูกไล่ออกและแทนที่ด้วย Mário Zagallo ผู้จัดการทีมคนใหม่
Mário Zagallo สามารถนำทีมชาติบราซิลคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1970 ที่เม็กซิโก ความสำเร็จดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดี Médici นำมาใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ โดยใช้คำขวัญว่า “เดินหน้า ประเทศบราซิล ( Forward, Brazil)” ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจว่าความสำเร็จของการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกเกิดจากฝีมือของรัฐบาล พร้อมทั้งเชื่อมโยงความสำเร็จของทีมฟุตบอลเข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทั้งหมดเชื่อฟังและมั่นใจในการปกครองของประธานาธิบดี Médici
ประธานาธิบดี Médici ถ่ายภาพร่วมกับนักฟุตบอลบราซิลชุดแชมป์โลกปี 1970
นักฟุตบอลและโค้ชถูกควบคุมให้เชื่อฟังและทำหน้าที่เสมือนนักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเผด็จการ
นักฟุตบอลชื่อดังอย่างเปเล่ (Pelé) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ของรัฐบาล ในเมืองใหญ่หลายแห่งมี ป้ายโฆษณาติดรูปภาพของเขาพร้อมข้อความว่า “ไม่มีใครจะมาหยุดประเทศของเราได้ (Nobody Can stop this Country Now)” “ถ้าไม่รักบราซิลก็ออกไปซะ (Brazil, Love it or Leave it)”
ในขณะที่ผู้ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการถูกจับขังคุกหรือถูกเนรเทศออกนอกประเทศ เปเล่กลับให้สัมภาษณ์สื่อว่า “ไม่มีเผด็จการในบราซิล บราซิลเป็นประเทศเสรี เป็นประเทศแห่งความสุข ผู้นำของเรารู้ดีว่าอะไรคือสิ่งที่ดีสุดสำหรับเราและปกครองเราด้วยความอดทนและความรักชาติ”
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลเผด็จการได้เข้ามาแทรกแซงวงการฟุตบอลตั้งแต่ระดับโค้ชจนถึงนักเตะ และใช้ความสำเร็จของกีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์เพื่อโน้มน้าวจิตใจประชาชน
แต่อำนาจที่ได้มาด้วยความไม่ชอบธรรมมักจะมีคนต่อต้านอยู่เสมอ
Afonsinho นักเตะกบฎและหนวดเคราแห่งเสรีภาพ
หลังจากที่ Afonsinho นักเตะกองกลางตัวรุก หลุดโผจากทีมชาติชุดแชมป์โลกในปี 1970 เขากลับมาที่สนามซ้อมด้วยการไว้ผมยาวพร้อมหนวดเครารุงรัง ซึ่งเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านเผด็จการ และการเข้ามาแทรกแซงในกีฬาฟุตบอลของรัฐบาล ทั้งการคัดเลือกผู้จัดการทีม การควบคุมนักเตะให้อยู่ในกฎระเบียบที่เข้มงวดไม่ต่างจากการฝึกทหาร
Afonsinho ในสนามซ้อม

การประท้วงของ Afonsinho ส่งผลให้เขาถูกแบนจากการเล่นทีมชาติ รวมถึงสโมสรตันสังกัด Botafongo ได้ทำโทษด้วยการออกกฎไม่ให้เขาสามารถย้ายทีมไปเล่นที่อื่นได้ ทำให้เขาต้องขึ้นศาลเพื่อต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมกลับคืนมา
การต่อสู้ในชั้นศาลของ Afonsinho ได้รับการสนับสนุนจากนักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน ที่มีอุดมการณ์ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ผมยาวและหนวดเครารุงรังของเขากลายเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพในยุคเผด็จการครองเมือง
การรวมตัวการต่อสู้และแรงกดดันจากสังคม ทำให้คดีของ Afonsinho ได้รับชัยชนะและกลายเป็นตัวอย่างคดีที่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ต่อต้านเผด็จการทหารบราซิลในยุคนั้น
ประชาธิปไตยโครินเธียนส์ (Corinthians Democracy)
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ยุคสมัยของประธานาธิบดี João Figueiredo ประธานาธิบดีคนสุดท้ายในยุคเผด็จการทหาร (ปกครองตั้งแต่ 1979–1985) มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งสำคัญในวงการฟุตบอลบราซิลที่สโมสรโครินเธียนส์ (Corinthians)
Socrates มิดฟิลด์ตัวรุกของสโมสรโครินเธียนส์ เริ่มอึดอัดกับการปกครองแบบเผด็จการทหาร เลยร่วมมือกับเพื่อนร่วมทีม Wladimir และการสนับสนุนจากประธานสโมสร Waldemar Pires เริ่มต้นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกว่า ประชาธิปไตยโครินเธียนส์ (Corinthians Democracy)
Socrates กับผ้าคาดหัวที่พิมพ์ว่า“ต้องการความยุติธรรม (Need Justice)”
ประชาธิปไตยโครินเธียนส์ เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้ประชาชนบราซิลตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มต้นภายในสโมสรโครินเธียนส์ ที่อนุญาตให้นักเตะทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นในการฝึกซ้อม รวมไปถึงแนวทางการบริหารจัดการของสโมสร
“ทุกคนในสโมสรมีสิทธิที่จะเสนอความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นทีมงานหรือประธานสโมสร ทุกเสียงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” Socrates อธิบายถึงหลักการประชาธิปไตยภายในสโมสร
นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในแล้ว โครินเธียนส์ยังสร้างการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยให้กับสังคมด้วยการแปะป้ายที่มีข้อความ “จะแพ้หรือชนะ ก็ยังเป็นประชาธิปไตยเสมอ” (“Win or lose but always democracy”) ในสนามแข่งของสโมสร และถึงแม้ว่าจะได้รับการเตือนจากสมาคมฟุตบอลบราซิลว่าไม่ให้สโมสรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่โครินเธียนส์ก็ยังไม่ลดละ และท้าท้ายเผด็จการทหารด้วยการพิมพ์ข้อความ “เลือกตั้งครั้งที่ 15 (Vote on the Fifteenth)” บนเสื้อของนักเตะทุกคน เพื่อกระตุ้นประชาชนบราซิลให้ความสนใจกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
นักเตะโครินเธียนส์กับเสื้อ Vote on the Fifteenth

การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาธิปไตยโครินเธียนส์ นับเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงท้ายของการปกครองแบบเผด็จการทหารที่สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1985 การต่อสู้ของ Socrates และเพื่อนพ้องได้รับการ ยกย่องให้เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์บราซิล และสร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนบราซิลในรุ่นต่อมา
ในยุคเผด็จการทหาร ผู้นำประเทศได้ใช้กีฬาฟุตบอลในการโน้มน้าวจิตใจประชาชน ด้วยวิธีการเข้าแทรกแซงวงการฟุตบอลทุกรูปแบบ แต่ในทางกลับกันคนในวงการฟุตบอลอย่าง Afonsinho และ เหล่านักเตะโครินเธียนส์ ก็ใช้ฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการต่อต้านกับอำนาจเผด็จการเช่นกัน ฟุตบอลในยุคเผด็จการบราซิลจึงกลายเป็นเวทีต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำและประชาชน
ชนชั้นนำต้องการรักษาอำนาจของตนเอง ส่วนประชาชนต้องการสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม
ปัญหาความขัดแย้งที่ไม่เคยจางหายไปจากโลกใบนี้
ข้อมูลอ้างอิง
https://rhythmandball.wordpress.com/2015/05/13/%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5_%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A5/
---------------------
ถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจ บทความเกี่ยวกับกีฬาบาสเก็ตบอลและฟุตบอล ในมุมมองทางสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ สามารถติดตามได้ที่เพจ
https://www.facebook.com/rhythmball/ ได้เลยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ฟุตบอลในยุคเผด็จการบราซิล
พวกเราต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เพื่อความเคารพในตัวมนุษย์และความเท่าเทียม” โซคราเตส (Socrates) นักฟุตบอลทีมชาติบราซิล
ทำไมนักฟุตบอลถึงต้องต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเท่าเทียม?
คำตอบอยู่ที่การเมืองในบราซิล
บราซิลประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่คลั่งไคล้กีฬาฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในระดับทีมชาติหรือในระดับสโมสร ฟุตบอลสามารถดึงดูดคนบราซิลจำนวนมากให้สนใจติดตามอยู่เสมอ จนทำให้ผู้นำประเทศในยุคเผด็จการทหารของบราซิลเล็งเห็นช่องทางในการใช้ฟุตบอลเป็นเครื่องมือทางการเมือง
บราซิลปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารในช่วงปีค.ศ. 1964- 1985 โดยเริ่มต้นจากการยึดอำนาจโดยกองทัพจากรัฐบาลประธานาธิบดี João Goulart ที่มาจากการเลือกตั้ง และหลังจากนั้นบราซิลก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการทหารถึง 21 ปี
ในยุคเผด็จการ กีฬายอดนิยมอย่างฟุตบอลได้ถูกแทรกแซงจากผู้นำประเทศในหลากหลายรูปแบบ โดยมีเป้าหมายคือการใช้กีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลต่อประชาชนทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นชัดเจนในยุคสมัยของประธานาธิบดี Emílio Garrastazu Médici (ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 1969–1974)
ประธานาธิบดี Emílio Garrastazu Médici
แชมป์โลกและโฆษณาชวนเชื่อ
ฟุตบอลทีมชาติบราซิลเปรียบเสมือนหน้าตาของประเทศ ทั้งในสายตาของคนบราซิลหรือคนชาติอื่น จึงทำให้ประธานาธิบดี Médici เข้ามาแทรกแซงการทำงานของผู้จัดการทีม João Saldanha ด้วยการแนะนำให้เลือกนักเตะในตำแหน่งศูนย์หน้าอย่าง Dario ลงเล่นในทีมชาติ แต่ João Saldanha กลับปฎิเสธคำแนะนำนั้นและตอกกลับไปว่า “ผมจะไม่ยุ่งกับคณะรัฐมนตรีของเขา และเขาก็ไม่ควรเข้ามายุ่งกับการทำทีมของผม”
João Saldanha ถูกไล่ออกและแทนที่ด้วย Mário Zagallo ผู้จัดการทีมคนใหม่
Mário Zagallo สามารถนำทีมชาติบราซิลคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1970 ที่เม็กซิโก ความสำเร็จดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดี Médici นำมาใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ โดยใช้คำขวัญว่า “เดินหน้า ประเทศบราซิล ( Forward, Brazil)” ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจว่าความสำเร็จของการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกเกิดจากฝีมือของรัฐบาล พร้อมทั้งเชื่อมโยงความสำเร็จของทีมฟุตบอลเข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทั้งหมดเชื่อฟังและมั่นใจในการปกครองของประธานาธิบดี Médici
ประธานาธิบดี Médici ถ่ายภาพร่วมกับนักฟุตบอลบราซิลชุดแชมป์โลกปี 1970
นักฟุตบอลและโค้ชถูกควบคุมให้เชื่อฟังและทำหน้าที่เสมือนนักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเผด็จการ
นักฟุตบอลชื่อดังอย่างเปเล่ (Pelé) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ของรัฐบาล ในเมืองใหญ่หลายแห่งมี ป้ายโฆษณาติดรูปภาพของเขาพร้อมข้อความว่า “ไม่มีใครจะมาหยุดประเทศของเราได้ (Nobody Can stop this Country Now)” “ถ้าไม่รักบราซิลก็ออกไปซะ (Brazil, Love it or Leave it)”
ในขณะที่ผู้ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการถูกจับขังคุกหรือถูกเนรเทศออกนอกประเทศ เปเล่กลับให้สัมภาษณ์สื่อว่า “ไม่มีเผด็จการในบราซิล บราซิลเป็นประเทศเสรี เป็นประเทศแห่งความสุข ผู้นำของเรารู้ดีว่าอะไรคือสิ่งที่ดีสุดสำหรับเราและปกครองเราด้วยความอดทนและความรักชาติ”
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลเผด็จการได้เข้ามาแทรกแซงวงการฟุตบอลตั้งแต่ระดับโค้ชจนถึงนักเตะ และใช้ความสำเร็จของกีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์เพื่อโน้มน้าวจิตใจประชาชน
แต่อำนาจที่ได้มาด้วยความไม่ชอบธรรมมักจะมีคนต่อต้านอยู่เสมอ
Afonsinho นักเตะกบฎและหนวดเคราแห่งเสรีภาพ
หลังจากที่ Afonsinho นักเตะกองกลางตัวรุก หลุดโผจากทีมชาติชุดแชมป์โลกในปี 1970 เขากลับมาที่สนามซ้อมด้วยการไว้ผมยาวพร้อมหนวดเครารุงรัง ซึ่งเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านเผด็จการ และการเข้ามาแทรกแซงในกีฬาฟุตบอลของรัฐบาล ทั้งการคัดเลือกผู้จัดการทีม การควบคุมนักเตะให้อยู่ในกฎระเบียบที่เข้มงวดไม่ต่างจากการฝึกทหาร
Afonsinho ในสนามซ้อม
การประท้วงของ Afonsinho ส่งผลให้เขาถูกแบนจากการเล่นทีมชาติ รวมถึงสโมสรตันสังกัด Botafongo ได้ทำโทษด้วยการออกกฎไม่ให้เขาสามารถย้ายทีมไปเล่นที่อื่นได้ ทำให้เขาต้องขึ้นศาลเพื่อต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมกลับคืนมา
การต่อสู้ในชั้นศาลของ Afonsinho ได้รับการสนับสนุนจากนักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน ที่มีอุดมการณ์ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ผมยาวและหนวดเครารุงรังของเขากลายเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพในยุคเผด็จการครองเมือง
การรวมตัวการต่อสู้และแรงกดดันจากสังคม ทำให้คดีของ Afonsinho ได้รับชัยชนะและกลายเป็นตัวอย่างคดีที่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ต่อต้านเผด็จการทหารบราซิลในยุคนั้น
ประชาธิปไตยโครินเธียนส์ (Corinthians Democracy)
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ยุคสมัยของประธานาธิบดี João Figueiredo ประธานาธิบดีคนสุดท้ายในยุคเผด็จการทหาร (ปกครองตั้งแต่ 1979–1985) มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งสำคัญในวงการฟุตบอลบราซิลที่สโมสรโครินเธียนส์ (Corinthians)
Socrates มิดฟิลด์ตัวรุกของสโมสรโครินเธียนส์ เริ่มอึดอัดกับการปกครองแบบเผด็จการทหาร เลยร่วมมือกับเพื่อนร่วมทีม Wladimir และการสนับสนุนจากประธานสโมสร Waldemar Pires เริ่มต้นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกว่า ประชาธิปไตยโครินเธียนส์ (Corinthians Democracy)
Socrates กับผ้าคาดหัวที่พิมพ์ว่า“ต้องการความยุติธรรม (Need Justice)”
ประชาธิปไตยโครินเธียนส์ เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้ประชาชนบราซิลตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มต้นภายในสโมสรโครินเธียนส์ ที่อนุญาตให้นักเตะทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นในการฝึกซ้อม รวมไปถึงแนวทางการบริหารจัดการของสโมสร
“ทุกคนในสโมสรมีสิทธิที่จะเสนอความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นทีมงานหรือประธานสโมสร ทุกเสียงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” Socrates อธิบายถึงหลักการประชาธิปไตยภายในสโมสร
นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในแล้ว โครินเธียนส์ยังสร้างการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยให้กับสังคมด้วยการแปะป้ายที่มีข้อความ “จะแพ้หรือชนะ ก็ยังเป็นประชาธิปไตยเสมอ” (“Win or lose but always democracy”) ในสนามแข่งของสโมสร และถึงแม้ว่าจะได้รับการเตือนจากสมาคมฟุตบอลบราซิลว่าไม่ให้สโมสรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่โครินเธียนส์ก็ยังไม่ลดละ และท้าท้ายเผด็จการทหารด้วยการพิมพ์ข้อความ “เลือกตั้งครั้งที่ 15 (Vote on the Fifteenth)” บนเสื้อของนักเตะทุกคน เพื่อกระตุ้นประชาชนบราซิลให้ความสนใจกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
นักเตะโครินเธียนส์กับเสื้อ Vote on the Fifteenth
การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาธิปไตยโครินเธียนส์ นับเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงท้ายของการปกครองแบบเผด็จการทหารที่สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1985 การต่อสู้ของ Socrates และเพื่อนพ้องได้รับการ ยกย่องให้เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์บราซิล และสร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนบราซิลในรุ่นต่อมา
ในยุคเผด็จการทหาร ผู้นำประเทศได้ใช้กีฬาฟุตบอลในการโน้มน้าวจิตใจประชาชน ด้วยวิธีการเข้าแทรกแซงวงการฟุตบอลทุกรูปแบบ แต่ในทางกลับกันคนในวงการฟุตบอลอย่าง Afonsinho และ เหล่านักเตะโครินเธียนส์ ก็ใช้ฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการต่อต้านกับอำนาจเผด็จการเช่นกัน ฟุตบอลในยุคเผด็จการบราซิลจึงกลายเป็นเวทีต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำและประชาชน
ชนชั้นนำต้องการรักษาอำนาจของตนเอง ส่วนประชาชนต้องการสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม
ปัญหาความขัดแย้งที่ไม่เคยจางหายไปจากโลกใบนี้
ข้อมูลอ้างอิง https://rhythmandball.wordpress.com/2015/05/13/%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5_%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A5/
---------------------
ถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจ บทความเกี่ยวกับกีฬาบาสเก็ตบอลและฟุตบอล ในมุมมองทางสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ สามารถติดตามได้ที่เพจ https://www.facebook.com/rhythmball/ ได้เลยนะครับ ขอบคุณมากครับ