อุณหภูมิร่างกายปกติอยู่ที่ 37 องศา แต่ทำไมพออากาศข้างนอก 37 องศา เราถึงรู้สึกร้อนมาก?

คือถ้าอากาศข้างนอกอยู่ที่ 37 องศา มันก็เท่ากับอุณหภูมิร่างกายคนเรา
แต่ทำไมเราถึงรู้สึกว่า 37 องศา มันช่างร้อนเหลือเกินอะครับ???
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
อุณหภูมิร่างกายปกติอยู่ที่ 37 องศา แต่บริเวณที่มีประสาทรับความรู้สึก ร้อน เย็น นั้นอยู่ที่ผิว
และที่ผิวนี้มีอุณหภูมิต่ำกว่า 37 องศา เมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงกว่าอุณหภูมิที่ผิว เราจึงรู้สึกร้อน
ในช่วงที่อากาศภายนอกไม่ร้อนไปกว่าอุณหภูมิที่ผิว ความร้อนของร่างกายสามารถถ่ายเทไปยังสิ่งแวดล้อมได้
แต่ถ้าอากาศภายนอกร้อนกว่าอุณหภูมิที่ผิว ความร้อนของร่างกายไม่สามารถถ่ายเทไปยังสิ่งแวดล้อมได้ จึงรู้สึกร้อน
ทั้งนี้ัทั้งนั้น ความชื้นในอากาศมีผลต่อความรู้สึกว่าอากาศร้อนมากหรือร้อนน้อย
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 23

ภาพ - การระบายความร้อนออกจากร่างกาย (สมมติให้ร่างกาย = 37C/องศาเซลเซียส)


        เมื่ออากาศร้อนถึง 37C การระบายความร้อนจะทำได้หลักๆ ทางเดียว คือ
        การระเหยน้ำ ออกจาก ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ
.....
การระบายความร้อนออกจากร่างกาย ทำได้ 4 วิธี

(1). การระเหยน้ำ - เกิดได้ตลอดเวลา จนกว่า ความชื้นสัมพัทธ์จะถึง 100% และเพิ่มได้ตาม
      (ก). ความเร็วลม ที่ผ่านผิวหนัง - ยิ่งแรง ยิ่งดี
      (ข). พื้นที่ผิว - ยิ่งมาก ยิ่งดี
            พื้นที่ผิวคนเรา - แปรตาม ความสูง น้ำหนัก
            (เพิ่มได้เฉพาะ เมื่อสูงขึ้น อ้วนขึ้น แต่เมื่ออ้วนขึ้น จะมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่เป็นฉนวนความร้อน เพิ่มขึ้น ทำให้ การระบายความร้อนช้าลง)

           คนไทยส่วนใหญ่ประมาณ 1.62 ตารางเมตร
           ถ้าสวมเสื้อผ้าน้อย จะทำให้พื้นที่ผิว เพิ่มขึ้น, ถ้าสวมเสื้อผ้ามาก พื้นที่ระเหยน้ำ จะลดลง

(2). การพา เช่น ลมพัด - เกิดเฉพาะ เมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นกว่า ร่างกาย (น้อยกว่า 37C)
(3). การแผ่รังสีความร้อน (infrared) - เกิดเฉพาะ เมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นกว่า ร่างกาย (น้อยกว่า 37C)
(4). การนำความร้อน เช่น ผิวหนังสัมผัสโลหะ - เกิดเฉพาะ เมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นกว่า ร่างกาย (น้อยกว่า 37C)
.....
การเปิดพัดลมที่ 37C ไม่ทำให้การพาความร้อน เพิ่มขึ้น
แต่ ทำให้ การระเหยน้ำจากผิวหนัง เพิ่มขึ้น (ระบายความร้อนได้ ดีขึ้น)
จึง ควรเปิดพัดลม ครับ
.....
- คำนวณพื้นที่ผิวร่างกายว่า ท่านมีพื้นที่ผิวหนังกี่ตารางเมตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.....

ภาพ - พื้นที่ผิวปอด ลำไส้เล็ก ผิวหนัง (ตารางเมตร)
         โรคติดต่อในคนที่รุนแรง มักจะแพร่ผ่านทางเดินอาหาร หรือ ทางเดินหายใจ
         เนื่องจาก 2 ระบบนี้ มี พื้นที่ผิวสูงมาก

นพ.วัลลภ
ที่มา - [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่