พิธีงานบวชเสร็จในวันเดียว การจัดงานบวชและความเชื่อตามประเพณีงานบวช

กระทู้สนทนา
จะขอเล่าโดยภาษาของเราเองนะค่ะ......
เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา น้องชาย มาปรึกษากับแม่และเรา(พี่สาวแสนสวย)ว่าต้องการบวช
สมาชิกในครอบครัวก็ตื่นเต้น สอบถามจากหลายที่เลยว่าต้องทำยังไงบ้าง  เสิชทุกที่อ่านทุกอย่างจากหลายเวปมาก
ก็เลยจะมาเล่าจากประสบการณ์อย่างคร่าวนะค่ะ
พ่อจขกท.เป็นคนใต้ไทยเชื้อสายจีน อยู่ทุ่งลุง จ.สงขลา แม่เป็นคนเหนือ จ.เชียงใหม่ พ่อเลี้ยง เป็นคนภาคอีสาน
งานนี้ก็เลยมีความเชื่อ มีประเพณีจากหลายที่รวมกัน(แต่..ไม่มีใครรู้ที่มาจริงแท้แน่นอนสักคน)

เริ่มแรกเลย เข้าไปหาพระที่วัดที่เราจะบวช เข้าไปหาเจ้าอาวาส หรือพระอาจารย์สอบถามเรื่องบวช เราสอบถามพระอาจารย์
กำหนดวันได้คือ 12 มีนาคม 2559 ณ.วัดในจ.สุราษฏร์ธานี ระหว่างนี้ก็จะให้บทกลับมาสวดที่บ้าน

จากนั้นก็จะนัดประมาณ หนึ่งอาทิตย์ก่อนหน้าจะบวช ให้เข้ามาฝึกท่องกับพระอาจารย์ทุกวัน วันละครึ่ง ชม.
(บางวัดอาจจะต้องเข้าไปนอนวัดล่วงหน้าก่อนบวช)

ก่อนวันบวชเข้าทำความสะอาดกุฏิที่จะพักและซ้อมท่องจริงจังและได้รับฉายาจากเจ้าอาวาส

ถึงวันบวชของที่ต้องเตรียมมา 6 โมงเช้า มี ใบบัว ดอกบัว 3ดอก ธูป3ดอก เทียน2เล่ม จะต้องไปให้เจ้าอาวาสตัดผมให้ก่อน
จากนั้นญาติตัดจนครบแล้วพระอาจารย์จะทำการโกนที่เหลือ เสร็จจึงใส่ชุดนาค
@@@ ตรงนี้มีคนบอกว่า หากเอาดอกบัวที่นาคใช้ตอนแห่และวางที่แท่นบูชากลับมาบูชาที่บ้านจะเป็นสิริมงคล @@@

จากนั้นก็จะเป็นพิธีแห่ แม่ถือพานผ้าไตร  พ่ออุ้มบาตรและถือตาลปัตร พานอื่นก็แบ่งกันถือ จะมีวงกลองยาวหรือไม่มีก็ได้
แห่รอบโบสถ์ 3 รอบก่อนเข้าโบสถ์เจ้านาคต้องเอื้อมแตะบนประตูโบสถ์3ที แล้วโปรยเหรียญโปรยทาน
@@@ ตรงนี้จากที่เห็นและฟังมา
1)คนที่แบกนาคขี่คอจะได้บุญมาก งานนี้ได้บุญกันหลายคนเลยเพราะเจ้านาคหนักมากกกก
2)ช่วงที่เดินแห่ มักจะเห็นคนร่วมงานมาจับด้านหลังจับชายผ้าอันนี้ไม่รู้ว่าความเชื่อและที่มาอย่างไร
3)แม่ให้เจ้านาคอมเหรียญโปรยทานไว้ตอนที่เดินแห่และเก็บมาไว้เป็นของขลังในกระเป๋าตัง
4) ทุกคนแอบเอาสร้อยพระ เครื่องรางของขลังต่างมาใส่ในบาตรพระที่พ่อเป็นคนอุ้มแห่อาจจะเพื่อให้เกิดความขลัง
ประเพณีของทางภาคอีสานจะโปรยทานหรือดอกไม้ตอนระหว่างแห่
แต่ภาคอื่นจะโปรยตอนแห่เสร็จแล้ว ซึ่งได้ความรู้ใหม่มาอีกในงานนี้ @@@@

พิธีในโบสถ์จะเป็นไปตามที่ซ้อมมา แต่จากที่เห็นพระน้องชายซ้อมมาได้เต็มที่ พอเอาเข้าจริง ก็มีแอบประหม่า

หลังจากนุ่งห่มผ้าเหลืองเสร็จพิธีในโบสถ์แล้ว จะเป็นการตักบาตรพระใหม่
@@@ ตรงนี้คนที่ฝากซองทำบุญมามักจะขอให้ใส่ซองลงไปในบาตรพระใหม่ @@@

เช้าแรกของการเป็นพระ ต้องออกบิณฑบาตร แม่ต้องไปตักบาตรทุกวันเป็นเวลา3วัน
วันแรกได้รับการติดต่อจากพระน้อง(เรียกผิดขออภัย)ว่าต้องการของใช้ส่วนตัวและยาทาแก้เท้าพอง

หลังจากบวชได้9วัน ที่บ้านก็นิมนต์พระน้อง  พระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง มาฉันอาหารที่บ้าน พี่ธีก็ไม่มีอะไรมาก แค่ทำเหมือนตอน
ที่ไปถวายสังฆทานที่วัด กรวดน้ำปรกติ

ขอฤกษ์สึก ต้องไปขอกับเจ้าอาวาส ตามฤกษ์ของน้องชายคือก่อนเวลา 8.24 น. ก็เตรียมเสื้อผ้าชุดใหม่สีสดใสไปให้
แม่ถือว่าทางบ้านแม่เค้าให้พระสึกเดินออกจากวัดเองแล้วไปรอรับหน้าวัด  แต่พระอาจารย์ก็บอกว่าตามสะดวกได้เลยเดี๋ยวนี้เค้าไม่ถือกันแล้ว

วัดที่ไปติดต่อนี้ จัดเตรียมอัฎฐบริขารเครื่องใช้ให้ครบทุกอย่างเราเพียงแค่ถวายปัจจัยตามกำลังสมควร
ค่าใช้จ่ายที่ถวายวัดมีค่า
-จีวรตัดใหม่ 3000 บาท (ถวายให้พระจัดการสั่งตัดให้)
-ค่าบำรุงวัด ตามสมควร
-อันนี้เราเรียกไม่ถูกว่าค่าอะไร คือค่าพระที่มาทำพิธีบวชให้เป็นลำดับสมควร พระอุปชา,พระคู่สวด2รูป,พระร่วมพิธีอีก12รูป
(จำนวนรูปตรงนี้น่าจะไม่กำหนดตายตัวเพราะแม่เราบอกว่าต้องการพระทั้งวัดไป)
-เราจัดเลี้ยงอาหารแขกที่มาวัดด้วย จึงถวายซองปัจจัยค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้สถานที่ด้วยตามสมควรและกำลัง
-ค่ากรรมการวัดคือคนที่คอยบอกลำดับพิธี การนำสวด เพราะที่บ้านไม่มีผู้รู้เรื่องสักคน
รายจ่ายนอกเหนือของเรา(จะมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น วงกลองยาว ค่าอาหารจัดเลี่ยงแขกและพระ จิปาถะฯลฯ

อาจจะมีขาดตกบกพร่องไปเนื่องจากพึ่งเคยตั้งกระทู้ ต้องขออภัย หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังหาคำแนะนำเรื่องการจัดงานบวชอยู่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่