ละครฉายไปสองตอนแล้ว ส่วนตัวก็ชอบนะคือพระนางน่ารักอะ ดูเอาความบันเทิงสบายอารมณ์ได้เลย บทพูดมีแทรกข้อคิดที่ดีซึ่งอันนี้เราชอบ เรื่องเสื้อผ้าหน้าผม มุมกล้อง ภาพ ไม่ต้องพูดถึงสวยงามตามที่กระทู้ข้างล่างบอก แต่ในฐานะที่เป็นคนชอบนิยายพีเรียด ละครพีเรียด เราแอบขัดใจเล็กน้อยในเรื่องของบทและอยากร่วมเสวนากับเพื่อน ๆ ในเรื่องนี้ค่ะ ยินดีแลกเปลี่ยนพูดคุยทุกความคิดเห็นค่ะ
เราชอบนิยายเรื่องนี้ (ด้วยความที่ชอบนิยายประมาณปี 2495 - 2505 อยู่แล้ว เพราะเราว่ามันเป็นช่วงที่เมืองไทยกำลังเฟื่อง มีอะไรใหม่ ๆ จากยุโรปเข้ามาในสังคมไทยเยอะ) และพอเค้าบอกว่าจะมาทำเป็นละครเราก็รอนะ เพราะอยากเห็นว่าจะทำออกมายังไง เนื้อเรื่องบทพูดของพระนางก็สละสลวยนะคะ แม้ว่าจะน้อยเพราะพระนางพูดกันแค่ไม่กี่คำเอง เนื่องจากพระเอกฟอร์มเยอะ และเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกมา กับนางเอกเนี่ยก็ปั้นปึ่งเย็นชาเพราะโกรธว่านางเอกและพวกบำรุงประชากิจหลอกตัวเองเนื่องเพราะความจน แต่นางเอกก็เอาความดีเข้าสู้นะ จนเอาชนะใจพระเอกได้
ตอนแรกเราก็อ่านเรื่องย่อใน True ถึงตอนที่ 8 แล้วทนไม่ไหวต้องไปหาซื้อเรื่องย่อมาอ่าน ปรากฎว่าเนื้อหาของเรื่องเปลี่ยนไปเกือบจะห้าสิบเปอร์เซ็นต์ (ซึ่งมันอาจจะเป็นที่มาที่ทำให้บางอย่างสำหรับคนดู มันดูไม่มีเหตุผลไม่สมจริง) ตอนแรกเราก็ใครเขียนบทเนี่ย พอรู้แล้วก็ถึงบางอ้อ …. คิดในใจว่า มิน่าทำไมเราถึงนึกถึงเรื่องด้วยแรงอภินิหาร (ด้วยแรงอธิษฐาน แต่คนในเน็ทตั้งชื่อใหม่เพราะทนไม่ไหวที่คนเขียนบทเปลี่ยนบทประพันธ์ซะเละเลย) เราก็หวังว่าเรื่องนี้จะไม่เละเหมือนด้วยแรงฯ นะ เราชอบน้องเบลล่า ชอบน้องเจมส์ ไม่อยากสงสารน้องเค้าเหมือนที่เคยสงสารแพนเค้ก
เอ้ามาดูว่าเราคิดว่าส่วนไหนแปลกบ้าง
1. เราไม่ชอบที่แปลงบทให้คุณหญิงเพ็ญแขเป็นคนดีมากกก คือในเรื่องท่านก็เป็นคนมีเมตตา โอเคระดับนึง แต่เป็นแม่ที่รักลูกมากกว่าสิ่งใดและใครทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นคนโลภ เพราะความโลภของคุณหญิงทำให้รินต้องแต่งงานแทน และมันไม่ใช่แค่นี้เพราะตอนท้ายเรื่องรินเกือบไม่ได้พบกับพี่ชายก็เพราะความโลภของคุณหญิงกลัวคนจะมาแบ่งสมบัติกับว่าที่ลูกเขย (ชรัตน์) ก็เลยไม่ยอมบอกให้ทุกคนเก็บเป็นความลับ ดีที่ว่าบุรณีนอกจากเรียนเก่งแล้วยังยุติธรรม นางไม่ยอม นางบอกความจริงกับชรัตน์ นางเอกของเราก็เลยกลายเป็นนางซิน เป็นลูกคนรวย
2. ท่านเจ้าคุณลักษณะจะคล้าย ๆ กับเจ้าคุณพ่อของสุชาดา (ลุงของปริศนา) ในเรื่องเจ้าสาวของอานนท์ คือท่านมีท้วงติงภรรยาบ้าง แต่เรื่องตัดสินใจให้ลูกแต่งงาน เรื่องในบ้าน เรื่องสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ท่านเจ้าคุณยกให้เป็นหน้าที่คุณหญิงตัดสินใจและดำเนินการ เพราะท่านก็ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวแล้ว แบ่งแยกการปกครองชัดเจน
3. ในหนังสือบ้านบำรุงประชากิจไปงานแต่ง (ยกเว้นสองสาว) และมีญาติไปด้วย คือพาไปแต่งงานที่สงขลา จบงานแล้วกลับกรุงเทพฯ ก่อนกลับคุณหญิงให้แหวนทับทิมกับริน (พอตอนนี้ไม่มีฉากนี้คนก็เลยจะงงกันหน่อย)
4. ในหนังสือ รินจะไม่ถึงกับทำตัวเป็นคนใช้ติดดินมาก คือก็ยังให้ทุกคนในบ้านเคารพยำเกรง (ขนาดอิตาปลัดยังเกรงใจ) แต่ก็ทำงานบ้านดูแลบ้านเรือนอาหารการกินได้เรียบร้อยไม่มีที่ติ และเมื่อตอนที่อยู่บ้านบำรุงฯ คนใช้ในบ้านก็เกรงใจริน
5. ในหนังสือ ตัวบารณีเป็นตัวละครที่เอาแต่ใจ ลูกคุณหนูของแท้ อยากได้อะไรต้องได้ (ซึ่งอันนี้มันสำคัญที่จะคงคาแรคเตอร์นี้ไว้ เพราะต่อมานางจะไปเข้าพวกกับดวงสวาทเพื่อแกล้งริน โดยลืมคิดว่าจะกระทบกับตัวเองและพ่อแม่ และนางคือคนที่ทำให้ความลับเปิดเผยว่ารินไม่ใช่บราลี ด้วยลักษณะนิสัยเอาแต่ใจชอบคนแค่ฉากหน้าตอนท้ายเรื่องบราลีจะเสียใจเพราะตอนที่แต่งงานแล้วมาสงขลาแล้วพบว่าพณิชมีเมียใหญ่อยู่แล้วในบ้าน ซึ่งจากชีวิตที่เคยสั่งชี้นิ้ว มันก็เปลี่ยนไป (แต่ในละครแก้เป็นให้พณิชไปมีเมียน้อยเป็นหญิงชาวบ้านมาแทน) และความที่บารณีคิดถึงแต่ตัวเอง คิดว่ารินเป็นเบี้ยล่างต้องคอยรับใช้นาง พอรินปฏิเสธที่จะพูดกับศรัณย์ให้เซ็นต์เอกสารส่งออกข้าวให้พณิชนางเลยโกรธมาก จนแฉว่ารินไม่ใช่ลูกบ้านบำรุงประชากิจ (ในสมัยก่อนช่วงนั้นรัฐบาลสั่งห้ามส่งออกข้าว มีความผิดร้ายแรงเลยหละ) แต่ในละครกลับเป็นว่าบารณีช่วยให้คนอื่นเข้าใจนางเอกถูกต้องว่าเป็นเมียปลัดและตัวเองก็ไม่ใช่คนที่แฉ แต่ในละครเพิ่มตัวละครตัวอื่นมาแทนให้เม้ากับดวงสวาทแล้วดวงสวาทมาแฉนางเอกแทนในงานเลี้ยงสมโภช
6. ศรัณย์เคยเห็นบารณีตอนที่บารณีกับบุรณีไปเที่ยวปีนังพร้อมอรุณฤกษ์ และเขมกร (ในละครตัดตัวละครนี้ออก) และจากการเดินทางครั้งนี้บารณีก็เจอกับพณิช จนพณิชก็ตามมาจีบถึงพระนคร และคุณหญิงเพ็ญแขก็ชอบพณิชมากเนื่องจากฐานะดี ในตอนแรกมีการสอบถามเรื่องงานการแต่พณิชก็ไม่ยอมบอกว่าตัวเองทำงานค้าขายของผิดกฎหมายถึงได้รวย (หมายถึงการส่งออกข้าวและของต้องห้ามบางอย่าง) แต่คุณหญิงก็ไม่สนใจเพราะชอบคนที่ฐานะ จนบารณีต้องเสียใจเพราะพณิชต้องหนีการจับกุมตัวเนื่องจากทำเรื่องผิดกฎหมาย
7. เปลี่ยนให้ดวงสวาทเป็นลูกผู้ดีในกรุงเทพ แทนลูกเศรษฐีที่เห็นแก่ฐานะและเป็นคนสงขลา เนื่องจากเนื้อเรื่องมันเกิดที่สงขลา พอดวงสวาทต้องอยู่ก่อกวนนางเอกเลยเหมือนกับว่าต้องย้ายบ้าน แล้วสมัยนั้นผู้หญิงปรกติไม่มีใครหนีออกจากบ้านแบบที่ดวงสวาทในละครจะทำแน่นอน เราว่าเหตุผลมันอ่อนมาก คืออาจจะดูธรรมดาสำหรับคนสมัยนี้ แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องนี้คือเกิดขึ้นเมื่อหกสิบกว่าปีก่อน แถมตอนจบดวงสวาทยังไปบวชชีอุทิศส่วนกุศลให้คุณชายนริศด้วย ซึ่งมันออกทะเลไปไกลมากกกกกกกกกกกกกก
8. เราไม่ค่อยชอบที่ในละครเขียนบทให้อรุณฤกษ์ตามนางเอกไปสงขลาแล้วเปิดร้านทอง ตามง้อทั้ง ๆ ที่นางเอกแต่งงานไปแล้ว เราว่ามันดูเป็นมุมมองของคนสมัยใหม่ ต้องอย่าลืมว่าหนังสือเล่มนี้รวมเล่มเมื่อปี 2496 ดังนั้นคนสมัยนั้นเค้าไม่น่าจะอยากแย่งเมียชาวบ้านแบบโจ้งครึ่ม โดยเฉพาะอรุณฤกษ์ที่เป็นลูกผู้ดีมีฐานะ หาสาวในพระนครคนไหนก็คงไม่ยาก คงไม่แย่งคนใช้กับปลัดจน ๆ อะ มันดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล ยิ่งคนสมัยก่อนเค้าไม่ค่อยทำอะไรตามอารมณ์รักด้วยนะ และจริง ๆ อรุณฤกษ์รักทุกคนในบ้านบำรุงฯ เหมือนน้องสาว
9. ส่วนชรัตน์ในละครเขียนว่าชรัตน์เป็นคนเจ้าชู้ ทั้ง ๆ ที่ชรัตน์นะเป็นคนเอาการเอางาน คือเรียนจบปริญญาปีเดียวกับปลัดและทำงานให้ที่บ้านพร้อมกับมีหน้าที่ต้องตามหาน้องสาวที่เกิดจากภรรยาน้อยของพ่อ ในหนังสือจะเห็นว่าชรัตน์จะหอบเอาหนังสือมาฝากบุรณีประจำซึ่งนั่นทำให้บุรณีชอบ ชรัตน์เป็นเพื่อนของอรุณฤกษ์และเป็นเพื่อนของศรัณย์ อรุณฤกษ์เป็นคนชวนชรัตน์เข้าบ้านบำรุงประชากิจ (ก็หวังเป็นพ่อสื่อให้บุรณีและก็สมหวังจริง ๆ) แต่ในเรื่องกลายเป็นว่าชรัตน์ไปเองซึ่งเราว่ามีแต่ปัจจุบันนั่นแหละที่ผู้ชายจะทำแบบนั้น คนสมัยโน้นผู้ชายไม่สุ่มสี่สุ่มห้าเอาของไปให้บ้านผู้หญิงแบบที่ไม่เคยรู้จักกันแล้วจะเข้าบ้านฝ่ายหญิงโดยที่ไม่มีคนพาเข้าหรอก
10. จริง ๆ ชรัตน์ไม่เคยรู้ว่าศรัณย์แต่งงาน จนกระทั่งคิดถึงเพื่อนประจวบกับต้องไปสืบเรื่องน้องสาว เลยไปหาศรัณย์ที่สงขลาก่อนจะลงใต้ต่อไปสตูล แล้วทำให้เจอนางเอกกับดวงสวาทที่นั่น โดยตอนแรกชรัตน์ก็ยังคิดว่าดวงสวาทเป็นเมียศรัณย์เพราะท่าทางการแสดงออกของดวงสวาท จนศรัณย์ต้องเตือนรินและถามรินว่าทำไมใจเย็นจัง และในระหว่างที่ศรัณย์มาพักที่สงขลาเค้าก็สนิทสนมกับรินอย่างรวดเร็ว ทั้งสองคนคุยกันถูกคอ โดยที่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร แต่ชรัตน์ก็เคยเอ่ยปากว่า น้องสาวก็น่าจะหน้าตาอายุประมาณริน มันทำให้เค้าเอ็นดูริน จนบางทีศรัณย์ก็แอบหึง
11. ตอนที่นางเอกรู้ว่าตัวเองเป็นลูกใคร ในละครทำให้รู้โดยการที่ชรัตน์ช่วยนางเอกไว้ หลังจากที่ดวงสวาทแฉว่านางเอกเป็นแค่คนใช้ แต่ในหนังสือนางเอกรู้ว่าตัวเองเป็นใครก็โน่นหลังจากหนีพระเอกกลับมากรุงเทพระหว่างที่พระเอกมาราชการกรุงเทพฯ และยังกลับไม่ถึงบ้าน โดยบุรณีเป็นคนไขปริศนาให้ชรัตน์และเค้าก็ตื่นเต้นมาก พอรินมาถึงบุรณีและชรัตน์ไปรับและเล่าความจริงให้ฟัง แล้วพอความจริงเปิดเผยชรัตน์กับบุรณีก็ช่วยกันปิดศรัณย์ว่านางเอกอยู่ไหน พระเอกมาตามหาที่กรุงเทพก็หาไม่เจอ แล้วพอชรัตน์แกล้งพระเอกจนพอใจก็พาไปพบน้องตัวเองในงานเลี้ยงเปิดตัวลูกสาวของคุณพระพิจารณ์
12. คุณพระพิจารณ์พ่อของรินก็ยังแข็งแรงทำงานคล่อง แต่ในละครเขียนว่าเป็นอัมพาต (คือไม่รู้จะทำให้เรื่องมันรันทดไปทำไม) เพราะในนิยายพอรู้ว่ารินเป็นลูกตอนที่ไปติดต่อค้าขายต่างประเทศก็พารินไปเที่ยวด้วย ซึ่งชรัตน์เห็นชอบด้วยเพราะต้องการให้ศรัณย์ทรมานใจ
13. ในหนังสือไม่ได้มีการพูดถึงอภินิหารของเสือขาว เสือบาง และเราก็ไม่ค่อยชอบให้ละครเอามาทำ มันเหมือนแบบงมงายยังไงไม่รู้ นอกจากนี้ก็ไม่มีเรื่องที่นางเอกไปนอนที่หมู่บ้านพร้อมปลัด (แต่อันนี้เราว่าไม่เป็นไรนะ โอเคอยู่มันดูสมกับเป็นคุณนายปลัดที่สนับสนุนงานของสามีดี)
14. เราไม่ชอบด้วยที่ในละครผูกเรื่องว่าพ่อพระเอกเป็นลูกหนี้พ่อนางเอกแล้วถูกแม่ชรัตน์ทวงหนี้จนฆ่าตัวตาย จริง ๆ เค้าไม่เกี่ยวกันเลยเพราะพ่อของชรัตน์อยู่ทางเหนือกับทางใต้เป็นส่วนใหญ่ เราว่าอันนี้จินตนาการเกิ้นไม่ได้เข้ากับเรื่องราวเลยค่ะ มันไม่เห็นจะต้องมีความจำเป็นขนาดนั้นเลย คือพระเอกนะรักนางเอกไปแล้วถึงได้รู้ พอรู้ก็ไม่อยากไปง้อนางเอกกลัวคนอื่นจะกล่าวหาว่าเป็นอยากเป็นหนูตกถังข้าวสาร
ส่วนเรื่องที่เราชอบในการปรับบทคือ
1. มีการเข้าพระนางมากขึ้นซึ่งดีค่ะ มันดูสมกับเป็นละครโรแมนติก แต่ว่าโคทคำพูดดีๆ หรือฉากหวาน ๆ แต่ไม่เลี่ยนในนิยายไม่เห็นมีเลย จริง ๆ น่าจะเอามานะคะ อย่างเช่น ตอนที่พระเอกหายป่วยอยากคุยกับนางเอก แต่นางเอกไว้ตัว พระเอกก็ชวนนางเอกนั่งลงบอกมีเรื่องจะคุย (คือแกคิดว่านางเอกจะนั่งที่เตียงเหมือนดวงสวาท แต่เปล่าค่ะ นางไปเอาเก้าอี้มานั่งข้างเตียง จนพระเอกอารมณ์เสียต้องอ้างว่าให้มาใกล้ ๆ ขี้เกียจพูดเสียงดัง)
2. บทพูดของแม่ ๆ เราชอบนะคะ ให้ข้อคิดดี และมีบทพูดที่ทำให้เรารู้ว่าคุณหญิงแก้วเนี่ยรักและเอ็นดูลูกสะใภ้มาก ขนาดตอนหลังรู้ว่ารินเป็นคนใช้จากดวงสวาทก็ยังรัก และยังรู้สึกขอบคุณคุณหญิงเพ็ญแขที่ส่งคนใช้มาให้แทนลูกสาวเพราะท่านไม่ค่อยปลื้มบารณีเนื่องจากทำอะไรไม่เป็นเลย
การปรับบทที่เราว่าไม่มีผลกับเนื้อหาโดยรวม
1. เปลี่ยนคุณหญิงแก้วเป็นคนกรุงเทพฯ (จริง ๆ คุณหญิงแก้วเป็นคนสงขลา) ย้ายกลับบ้านหลังพ่อพระเอกตายเพราะจน
2. เพิ่มตัวละครคุณชายนริศ (ในหนังสือไม่มีตัวตน)
3. ตัดตัวละครเขมกร
เราว่าเรื่องนี้มันชื่อ ปดิวรัดาได้ เพราะมีผู้หญิงสองสามคนมาให้เปรียบเทียบว่า ภรรยาที่ดีนะคือแบบไหน เพราะอย่างคุณหญิงแก้วเนี่ยจะปลื้มกับลูกสะใภ้ตัวเองมาก และไม่ชอบบารณีหรือบราลี (ภรรยาน้อยของพณิช) หรือดวงสวาท เพราะทั้งสองนางไม่สามารถดูแลบ้านช่อง ข้าวปลาอาหาร หรือช่วยเหลืองานอันใดของสามีได้ นอกจากนี้ทั้งสองยังเจ้าอารมณ์ไม่เก็บอาการ ไม่ดูแลแขกหรือเอื้อเฟื้อกับญาติพี่น้องของสามีหรือลูกน้องในปกครอง ขนาดพระเอกเฉยชากับนางเอกพอพระเอกโดนยิง (ในละครไม่มี) นางเอกก็ดูแลทำอาหารให้ เตรียมของ เตรียมยา เปลี่ยนดอกไม้ โดยให้เด็กเสริมยกมาให้ เพราะคุณดวงสวาทนางจองเป็นพยาบาล 24 ชั่วโมง ขนาดนางเอกว่าเหน็บดวงสวาทยังเพราะเลยค่ะ แบบประมาณว่าคุณศรัณย์ได้พยาบาลดีเลยหายไว น่าจะต้องตบรางวัลให้พยาบาลแต่สีหน้าและน้ำเสียงราบเรียบ ทำเอาพระเอกหมั่นไส้มาก (อิอิอิ แต่เราแอบสมน้ำหน้าพระเอก)
แต่ถึงจะวิจารณ์นะคะ เราก็ยังคงดูเรื่องนี้ต่อเพื่อความบันเทิง แค่เสียดายว่าจริง ๆ เรื่องนี้น่าจะทำให้มันเป็นละครพีเรียดขึ้นหิ้งได้แบบ มาลัยสามชาย หรือรัตนาวดี หากใครมีโอกาสอยากให้ลองไปซื้อนิยายมาอ่านค่ะ คำพูดเฉือดเชือนพระเอกของนางเอกเนี่ย สมกับคำพูดที่ว่าผู้ดีด่าเจ็บมาก และนางจะเป็นคนนิ่ง ๆ ด้วย มีครั้งเดียวที่นางเอกแอบแสดงอารมณ์โกรธมากตอนที่ดวงสวาทมาตัดดอกกุหลาบไปทัดหูแล้วไม่ขอนางเอกแถมมาพูด-ดัน นางเอกโมโหมากทำขวดน้ำหอมพระเอกแตกเลยค่ะ จนพระเอกก็เอาเหตุการณ์นี้มาล้อนางเอก
เพื่อน ๆ ใครที่อ่านหนังสือและ (หรือ) เรื่องย่อแล้ว มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ค่ะ
จากใจคนชอบนิยายและละครพีเรียด
ปดิวรัดาเป็นละครที่สนุกนะ แต่ในฐานะคนอ่านนิยายแอบขัดใจบางตอน (มีสปอยล์เนื้อเรื่องนะคะ)
เราชอบนิยายเรื่องนี้ (ด้วยความที่ชอบนิยายประมาณปี 2495 - 2505 อยู่แล้ว เพราะเราว่ามันเป็นช่วงที่เมืองไทยกำลังเฟื่อง มีอะไรใหม่ ๆ จากยุโรปเข้ามาในสังคมไทยเยอะ) และพอเค้าบอกว่าจะมาทำเป็นละครเราก็รอนะ เพราะอยากเห็นว่าจะทำออกมายังไง เนื้อเรื่องบทพูดของพระนางก็สละสลวยนะคะ แม้ว่าจะน้อยเพราะพระนางพูดกันแค่ไม่กี่คำเอง เนื่องจากพระเอกฟอร์มเยอะ และเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกมา กับนางเอกเนี่ยก็ปั้นปึ่งเย็นชาเพราะโกรธว่านางเอกและพวกบำรุงประชากิจหลอกตัวเองเนื่องเพราะความจน แต่นางเอกก็เอาความดีเข้าสู้นะ จนเอาชนะใจพระเอกได้
ตอนแรกเราก็อ่านเรื่องย่อใน True ถึงตอนที่ 8 แล้วทนไม่ไหวต้องไปหาซื้อเรื่องย่อมาอ่าน ปรากฎว่าเนื้อหาของเรื่องเปลี่ยนไปเกือบจะห้าสิบเปอร์เซ็นต์ (ซึ่งมันอาจจะเป็นที่มาที่ทำให้บางอย่างสำหรับคนดู มันดูไม่มีเหตุผลไม่สมจริง) ตอนแรกเราก็ใครเขียนบทเนี่ย พอรู้แล้วก็ถึงบางอ้อ …. คิดในใจว่า มิน่าทำไมเราถึงนึกถึงเรื่องด้วยแรงอภินิหาร (ด้วยแรงอธิษฐาน แต่คนในเน็ทตั้งชื่อใหม่เพราะทนไม่ไหวที่คนเขียนบทเปลี่ยนบทประพันธ์ซะเละเลย) เราก็หวังว่าเรื่องนี้จะไม่เละเหมือนด้วยแรงฯ นะ เราชอบน้องเบลล่า ชอบน้องเจมส์ ไม่อยากสงสารน้องเค้าเหมือนที่เคยสงสารแพนเค้ก
เอ้ามาดูว่าเราคิดว่าส่วนไหนแปลกบ้าง
1. เราไม่ชอบที่แปลงบทให้คุณหญิงเพ็ญแขเป็นคนดีมากกก คือในเรื่องท่านก็เป็นคนมีเมตตา โอเคระดับนึง แต่เป็นแม่ที่รักลูกมากกว่าสิ่งใดและใครทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นคนโลภ เพราะความโลภของคุณหญิงทำให้รินต้องแต่งงานแทน และมันไม่ใช่แค่นี้เพราะตอนท้ายเรื่องรินเกือบไม่ได้พบกับพี่ชายก็เพราะความโลภของคุณหญิงกลัวคนจะมาแบ่งสมบัติกับว่าที่ลูกเขย (ชรัตน์) ก็เลยไม่ยอมบอกให้ทุกคนเก็บเป็นความลับ ดีที่ว่าบุรณีนอกจากเรียนเก่งแล้วยังยุติธรรม นางไม่ยอม นางบอกความจริงกับชรัตน์ นางเอกของเราก็เลยกลายเป็นนางซิน เป็นลูกคนรวย
2. ท่านเจ้าคุณลักษณะจะคล้าย ๆ กับเจ้าคุณพ่อของสุชาดา (ลุงของปริศนา) ในเรื่องเจ้าสาวของอานนท์ คือท่านมีท้วงติงภรรยาบ้าง แต่เรื่องตัดสินใจให้ลูกแต่งงาน เรื่องในบ้าน เรื่องสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ท่านเจ้าคุณยกให้เป็นหน้าที่คุณหญิงตัดสินใจและดำเนินการ เพราะท่านก็ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวแล้ว แบ่งแยกการปกครองชัดเจน
3. ในหนังสือบ้านบำรุงประชากิจไปงานแต่ง (ยกเว้นสองสาว) และมีญาติไปด้วย คือพาไปแต่งงานที่สงขลา จบงานแล้วกลับกรุงเทพฯ ก่อนกลับคุณหญิงให้แหวนทับทิมกับริน (พอตอนนี้ไม่มีฉากนี้คนก็เลยจะงงกันหน่อย)
4. ในหนังสือ รินจะไม่ถึงกับทำตัวเป็นคนใช้ติดดินมาก คือก็ยังให้ทุกคนในบ้านเคารพยำเกรง (ขนาดอิตาปลัดยังเกรงใจ) แต่ก็ทำงานบ้านดูแลบ้านเรือนอาหารการกินได้เรียบร้อยไม่มีที่ติ และเมื่อตอนที่อยู่บ้านบำรุงฯ คนใช้ในบ้านก็เกรงใจริน
5. ในหนังสือ ตัวบารณีเป็นตัวละครที่เอาแต่ใจ ลูกคุณหนูของแท้ อยากได้อะไรต้องได้ (ซึ่งอันนี้มันสำคัญที่จะคงคาแรคเตอร์นี้ไว้ เพราะต่อมานางจะไปเข้าพวกกับดวงสวาทเพื่อแกล้งริน โดยลืมคิดว่าจะกระทบกับตัวเองและพ่อแม่ และนางคือคนที่ทำให้ความลับเปิดเผยว่ารินไม่ใช่บราลี ด้วยลักษณะนิสัยเอาแต่ใจชอบคนแค่ฉากหน้าตอนท้ายเรื่องบราลีจะเสียใจเพราะตอนที่แต่งงานแล้วมาสงขลาแล้วพบว่าพณิชมีเมียใหญ่อยู่แล้วในบ้าน ซึ่งจากชีวิตที่เคยสั่งชี้นิ้ว มันก็เปลี่ยนไป (แต่ในละครแก้เป็นให้พณิชไปมีเมียน้อยเป็นหญิงชาวบ้านมาแทน) และความที่บารณีคิดถึงแต่ตัวเอง คิดว่ารินเป็นเบี้ยล่างต้องคอยรับใช้นาง พอรินปฏิเสธที่จะพูดกับศรัณย์ให้เซ็นต์เอกสารส่งออกข้าวให้พณิชนางเลยโกรธมาก จนแฉว่ารินไม่ใช่ลูกบ้านบำรุงประชากิจ (ในสมัยก่อนช่วงนั้นรัฐบาลสั่งห้ามส่งออกข้าว มีความผิดร้ายแรงเลยหละ) แต่ในละครกลับเป็นว่าบารณีช่วยให้คนอื่นเข้าใจนางเอกถูกต้องว่าเป็นเมียปลัดและตัวเองก็ไม่ใช่คนที่แฉ แต่ในละครเพิ่มตัวละครตัวอื่นมาแทนให้เม้ากับดวงสวาทแล้วดวงสวาทมาแฉนางเอกแทนในงานเลี้ยงสมโภช
6. ศรัณย์เคยเห็นบารณีตอนที่บารณีกับบุรณีไปเที่ยวปีนังพร้อมอรุณฤกษ์ และเขมกร (ในละครตัดตัวละครนี้ออก) และจากการเดินทางครั้งนี้บารณีก็เจอกับพณิช จนพณิชก็ตามมาจีบถึงพระนคร และคุณหญิงเพ็ญแขก็ชอบพณิชมากเนื่องจากฐานะดี ในตอนแรกมีการสอบถามเรื่องงานการแต่พณิชก็ไม่ยอมบอกว่าตัวเองทำงานค้าขายของผิดกฎหมายถึงได้รวย (หมายถึงการส่งออกข้าวและของต้องห้ามบางอย่าง) แต่คุณหญิงก็ไม่สนใจเพราะชอบคนที่ฐานะ จนบารณีต้องเสียใจเพราะพณิชต้องหนีการจับกุมตัวเนื่องจากทำเรื่องผิดกฎหมาย
7. เปลี่ยนให้ดวงสวาทเป็นลูกผู้ดีในกรุงเทพ แทนลูกเศรษฐีที่เห็นแก่ฐานะและเป็นคนสงขลา เนื่องจากเนื้อเรื่องมันเกิดที่สงขลา พอดวงสวาทต้องอยู่ก่อกวนนางเอกเลยเหมือนกับว่าต้องย้ายบ้าน แล้วสมัยนั้นผู้หญิงปรกติไม่มีใครหนีออกจากบ้านแบบที่ดวงสวาทในละครจะทำแน่นอน เราว่าเหตุผลมันอ่อนมาก คืออาจจะดูธรรมดาสำหรับคนสมัยนี้ แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องนี้คือเกิดขึ้นเมื่อหกสิบกว่าปีก่อน แถมตอนจบดวงสวาทยังไปบวชชีอุทิศส่วนกุศลให้คุณชายนริศด้วย ซึ่งมันออกทะเลไปไกลมากกกกกกกกกกกกกก
8. เราไม่ค่อยชอบที่ในละครเขียนบทให้อรุณฤกษ์ตามนางเอกไปสงขลาแล้วเปิดร้านทอง ตามง้อทั้ง ๆ ที่นางเอกแต่งงานไปแล้ว เราว่ามันดูเป็นมุมมองของคนสมัยใหม่ ต้องอย่าลืมว่าหนังสือเล่มนี้รวมเล่มเมื่อปี 2496 ดังนั้นคนสมัยนั้นเค้าไม่น่าจะอยากแย่งเมียชาวบ้านแบบโจ้งครึ่ม โดยเฉพาะอรุณฤกษ์ที่เป็นลูกผู้ดีมีฐานะ หาสาวในพระนครคนไหนก็คงไม่ยาก คงไม่แย่งคนใช้กับปลัดจน ๆ อะ มันดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล ยิ่งคนสมัยก่อนเค้าไม่ค่อยทำอะไรตามอารมณ์รักด้วยนะ และจริง ๆ อรุณฤกษ์รักทุกคนในบ้านบำรุงฯ เหมือนน้องสาว
9. ส่วนชรัตน์ในละครเขียนว่าชรัตน์เป็นคนเจ้าชู้ ทั้ง ๆ ที่ชรัตน์นะเป็นคนเอาการเอางาน คือเรียนจบปริญญาปีเดียวกับปลัดและทำงานให้ที่บ้านพร้อมกับมีหน้าที่ต้องตามหาน้องสาวที่เกิดจากภรรยาน้อยของพ่อ ในหนังสือจะเห็นว่าชรัตน์จะหอบเอาหนังสือมาฝากบุรณีประจำซึ่งนั่นทำให้บุรณีชอบ ชรัตน์เป็นเพื่อนของอรุณฤกษ์และเป็นเพื่อนของศรัณย์ อรุณฤกษ์เป็นคนชวนชรัตน์เข้าบ้านบำรุงประชากิจ (ก็หวังเป็นพ่อสื่อให้บุรณีและก็สมหวังจริง ๆ) แต่ในเรื่องกลายเป็นว่าชรัตน์ไปเองซึ่งเราว่ามีแต่ปัจจุบันนั่นแหละที่ผู้ชายจะทำแบบนั้น คนสมัยโน้นผู้ชายไม่สุ่มสี่สุ่มห้าเอาของไปให้บ้านผู้หญิงแบบที่ไม่เคยรู้จักกันแล้วจะเข้าบ้านฝ่ายหญิงโดยที่ไม่มีคนพาเข้าหรอก
10. จริง ๆ ชรัตน์ไม่เคยรู้ว่าศรัณย์แต่งงาน จนกระทั่งคิดถึงเพื่อนประจวบกับต้องไปสืบเรื่องน้องสาว เลยไปหาศรัณย์ที่สงขลาก่อนจะลงใต้ต่อไปสตูล แล้วทำให้เจอนางเอกกับดวงสวาทที่นั่น โดยตอนแรกชรัตน์ก็ยังคิดว่าดวงสวาทเป็นเมียศรัณย์เพราะท่าทางการแสดงออกของดวงสวาท จนศรัณย์ต้องเตือนรินและถามรินว่าทำไมใจเย็นจัง และในระหว่างที่ศรัณย์มาพักที่สงขลาเค้าก็สนิทสนมกับรินอย่างรวดเร็ว ทั้งสองคนคุยกันถูกคอ โดยที่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร แต่ชรัตน์ก็เคยเอ่ยปากว่า น้องสาวก็น่าจะหน้าตาอายุประมาณริน มันทำให้เค้าเอ็นดูริน จนบางทีศรัณย์ก็แอบหึง
11. ตอนที่นางเอกรู้ว่าตัวเองเป็นลูกใคร ในละครทำให้รู้โดยการที่ชรัตน์ช่วยนางเอกไว้ หลังจากที่ดวงสวาทแฉว่านางเอกเป็นแค่คนใช้ แต่ในหนังสือนางเอกรู้ว่าตัวเองเป็นใครก็โน่นหลังจากหนีพระเอกกลับมากรุงเทพระหว่างที่พระเอกมาราชการกรุงเทพฯ และยังกลับไม่ถึงบ้าน โดยบุรณีเป็นคนไขปริศนาให้ชรัตน์และเค้าก็ตื่นเต้นมาก พอรินมาถึงบุรณีและชรัตน์ไปรับและเล่าความจริงให้ฟัง แล้วพอความจริงเปิดเผยชรัตน์กับบุรณีก็ช่วยกันปิดศรัณย์ว่านางเอกอยู่ไหน พระเอกมาตามหาที่กรุงเทพก็หาไม่เจอ แล้วพอชรัตน์แกล้งพระเอกจนพอใจก็พาไปพบน้องตัวเองในงานเลี้ยงเปิดตัวลูกสาวของคุณพระพิจารณ์
12. คุณพระพิจารณ์พ่อของรินก็ยังแข็งแรงทำงานคล่อง แต่ในละครเขียนว่าเป็นอัมพาต (คือไม่รู้จะทำให้เรื่องมันรันทดไปทำไม) เพราะในนิยายพอรู้ว่ารินเป็นลูกตอนที่ไปติดต่อค้าขายต่างประเทศก็พารินไปเที่ยวด้วย ซึ่งชรัตน์เห็นชอบด้วยเพราะต้องการให้ศรัณย์ทรมานใจ
13. ในหนังสือไม่ได้มีการพูดถึงอภินิหารของเสือขาว เสือบาง และเราก็ไม่ค่อยชอบให้ละครเอามาทำ มันเหมือนแบบงมงายยังไงไม่รู้ นอกจากนี้ก็ไม่มีเรื่องที่นางเอกไปนอนที่หมู่บ้านพร้อมปลัด (แต่อันนี้เราว่าไม่เป็นไรนะ โอเคอยู่มันดูสมกับเป็นคุณนายปลัดที่สนับสนุนงานของสามีดี)
14. เราไม่ชอบด้วยที่ในละครผูกเรื่องว่าพ่อพระเอกเป็นลูกหนี้พ่อนางเอกแล้วถูกแม่ชรัตน์ทวงหนี้จนฆ่าตัวตาย จริง ๆ เค้าไม่เกี่ยวกันเลยเพราะพ่อของชรัตน์อยู่ทางเหนือกับทางใต้เป็นส่วนใหญ่ เราว่าอันนี้จินตนาการเกิ้นไม่ได้เข้ากับเรื่องราวเลยค่ะ มันไม่เห็นจะต้องมีความจำเป็นขนาดนั้นเลย คือพระเอกนะรักนางเอกไปแล้วถึงได้รู้ พอรู้ก็ไม่อยากไปง้อนางเอกกลัวคนอื่นจะกล่าวหาว่าเป็นอยากเป็นหนูตกถังข้าวสาร
ส่วนเรื่องที่เราชอบในการปรับบทคือ
1. มีการเข้าพระนางมากขึ้นซึ่งดีค่ะ มันดูสมกับเป็นละครโรแมนติก แต่ว่าโคทคำพูดดีๆ หรือฉากหวาน ๆ แต่ไม่เลี่ยนในนิยายไม่เห็นมีเลย จริง ๆ น่าจะเอามานะคะ อย่างเช่น ตอนที่พระเอกหายป่วยอยากคุยกับนางเอก แต่นางเอกไว้ตัว พระเอกก็ชวนนางเอกนั่งลงบอกมีเรื่องจะคุย (คือแกคิดว่านางเอกจะนั่งที่เตียงเหมือนดวงสวาท แต่เปล่าค่ะ นางไปเอาเก้าอี้มานั่งข้างเตียง จนพระเอกอารมณ์เสียต้องอ้างว่าให้มาใกล้ ๆ ขี้เกียจพูดเสียงดัง)
2. บทพูดของแม่ ๆ เราชอบนะคะ ให้ข้อคิดดี และมีบทพูดที่ทำให้เรารู้ว่าคุณหญิงแก้วเนี่ยรักและเอ็นดูลูกสะใภ้มาก ขนาดตอนหลังรู้ว่ารินเป็นคนใช้จากดวงสวาทก็ยังรัก และยังรู้สึกขอบคุณคุณหญิงเพ็ญแขที่ส่งคนใช้มาให้แทนลูกสาวเพราะท่านไม่ค่อยปลื้มบารณีเนื่องจากทำอะไรไม่เป็นเลย
การปรับบทที่เราว่าไม่มีผลกับเนื้อหาโดยรวม
1. เปลี่ยนคุณหญิงแก้วเป็นคนกรุงเทพฯ (จริง ๆ คุณหญิงแก้วเป็นคนสงขลา) ย้ายกลับบ้านหลังพ่อพระเอกตายเพราะจน
2. เพิ่มตัวละครคุณชายนริศ (ในหนังสือไม่มีตัวตน)
3. ตัดตัวละครเขมกร
เราว่าเรื่องนี้มันชื่อ ปดิวรัดาได้ เพราะมีผู้หญิงสองสามคนมาให้เปรียบเทียบว่า ภรรยาที่ดีนะคือแบบไหน เพราะอย่างคุณหญิงแก้วเนี่ยจะปลื้มกับลูกสะใภ้ตัวเองมาก และไม่ชอบบารณีหรือบราลี (ภรรยาน้อยของพณิช) หรือดวงสวาท เพราะทั้งสองนางไม่สามารถดูแลบ้านช่อง ข้าวปลาอาหาร หรือช่วยเหลืองานอันใดของสามีได้ นอกจากนี้ทั้งสองยังเจ้าอารมณ์ไม่เก็บอาการ ไม่ดูแลแขกหรือเอื้อเฟื้อกับญาติพี่น้องของสามีหรือลูกน้องในปกครอง ขนาดพระเอกเฉยชากับนางเอกพอพระเอกโดนยิง (ในละครไม่มี) นางเอกก็ดูแลทำอาหารให้ เตรียมของ เตรียมยา เปลี่ยนดอกไม้ โดยให้เด็กเสริมยกมาให้ เพราะคุณดวงสวาทนางจองเป็นพยาบาล 24 ชั่วโมง ขนาดนางเอกว่าเหน็บดวงสวาทยังเพราะเลยค่ะ แบบประมาณว่าคุณศรัณย์ได้พยาบาลดีเลยหายไว น่าจะต้องตบรางวัลให้พยาบาลแต่สีหน้าและน้ำเสียงราบเรียบ ทำเอาพระเอกหมั่นไส้มาก (อิอิอิ แต่เราแอบสมน้ำหน้าพระเอก)
แต่ถึงจะวิจารณ์นะคะ เราก็ยังคงดูเรื่องนี้ต่อเพื่อความบันเทิง แค่เสียดายว่าจริง ๆ เรื่องนี้น่าจะทำให้มันเป็นละครพีเรียดขึ้นหิ้งได้แบบ มาลัยสามชาย หรือรัตนาวดี หากใครมีโอกาสอยากให้ลองไปซื้อนิยายมาอ่านค่ะ คำพูดเฉือดเชือนพระเอกของนางเอกเนี่ย สมกับคำพูดที่ว่าผู้ดีด่าเจ็บมาก และนางจะเป็นคนนิ่ง ๆ ด้วย มีครั้งเดียวที่นางเอกแอบแสดงอารมณ์โกรธมากตอนที่ดวงสวาทมาตัดดอกกุหลาบไปทัดหูแล้วไม่ขอนางเอกแถมมาพูด-ดัน นางเอกโมโหมากทำขวดน้ำหอมพระเอกแตกเลยค่ะ จนพระเอกก็เอาเหตุการณ์นี้มาล้อนางเอก
เพื่อน ๆ ใครที่อ่านหนังสือและ (หรือ) เรื่องย่อแล้ว มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ค่ะ
จากใจคนชอบนิยายและละครพีเรียด