Amit Goswami, Ph.D ''เราสร้างความจริงของเราขึ้นมา''

กระทู้สนทนา
Amit Goswami, Ph.D. Former Professor of Physics on Quantum Physics and Consciousness

อมิต: ความหมายของคอวนตัมฟิสิกส์ โดยแท้จริงแล้วอยู่ในเทอมของ NEW WORLD VIEW ซึ่ง นั่นมันแน่ชัดว่า จิตวิญญาณสามารถจะเป็น และเป็น พื้นฐานของความเป็นเราทั้งหมด consciousness is the ground of being หรือพูดอีกอย่างนึงคือ ควอนตัมฟิสิกส์นั้นคือการมองเห็นว่าเราสามารถจะสัมผัสกับโลกได้ก็ต่อเมื่อเราวางฐานของโลกไว้บนจิตวิญญาณ โลกถูกสร้างขึ้นมาจากจิตวิญญาณ โลกคือจิตวิญญาณ จิตวิญญาณเป็นฐานของความเป็นทุกอย่าง ควอนตัมฟิสิกส์ทำให้เรื่องนี้กระจ่างชัด

ถาม: ควอนตัมฟิสิกส์ทำให้กระจ่างได้อย่างไร?

อมิต: เพราะควอนตัมฟิสิกส์แสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในความเชื่อของเรา พื้นฐานที่สุดของคณิตศาสตร์เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบการคำนวนที่ใช้อธิบายธรรมชาติ ที่เราได้ค้นพบนั้น ต้นกำเนิดของคณิตศาสตร์เหล่านี้ทำให้เราเห็นชัดเจนว่า การเคลื่อนไหวของวัตถุ (movement of objects) ถูกอธิบายเพียงในเทอมของความเป็นไปได้ possibility ไม่ใช่ actual event ตัวเหตุการณ์จริง ซึ่งเกิดขึ้นในประสบการณ์ของเรา ควอนตัมฟิสิกส์คำนวนเพียงเฉพาะความเป็นไปได้ แต่ถ้าเรายอมรับตรงนี้ แล้วคำถามซึ่งเราถามหา ใครคือผู้เลือกความเป็นไปได้เหล่านี้เพื่อให้มานำมาซึ่งเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับประสบการณ์ เพราะฉะนั้น โดยตรงและในทันทีทันใด จะเห็นว่า จิตวิญญาณจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น เมินเรื่อง “ผู้สังเกต” ไปไม่ได้ ผู้สังเกต (observer) คือส่วนประกอบของคำอธิบายโลก หากผู้สังเกตไม่ได้ถูกรวมเข้ามาในควอนตัมฟิสิกส์ เราก็จะถือนั่นเป็นคำอธิบายถึงวัตถุ ไม่ใช่ subject หรือตัวสาระ ดังนั้นเราจึงได้แนวคิดว่า subject ตัวสาระนี่แหละจะต้องเป็นตัวที่เป็นฐานรากมากกว่าวัตถุ (object) จิตวิญญาณเป็นพื้นรากฐานมากกว่า จิตวิญญาณจะต้องเป็น ground of being (พื้นฐานความ “เป็น” ) ของวัตถุซึ่งก็เป็นส่วนประกอบของเราอยู่ด้วย แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แล้ววัตถุทั้งหลายก็สามารถจะถูกอธิบายได้ด้วยคลื่นแห่งความเป็นไปได้ (wave of possibility) ควอนตัมฟิสิกส์ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการให้คำอธิบายเรื่องนี้ แล้วก็ยังให้โอกาสด้วย ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถศึกษาศาสตร์บนฐานนี้ ไม่ว่าวัตถุมันจะมีจำนวนมากมายใหญ่โตแค่ไหน เหตุการณ์ต่างๆ จะเกิดขึ้นมากมายเพียงใด แต่เมื่อมันกลายเป็น individual objects, individual even (วัตถุ, เหตุการณ์ส่วนบุคคล) แล้วสร้างปรากฏการณ์ทางเลือก ตัวเลือกของจิตวิญญาณ เราเลือกโดยจิตวิญญาณที่อยู่ภายนอกขอบเขตของเหตุการณ์ หรือนอกขอบของ actual even of experience ตัวประสบการณ์จริง ดังนั้น ก็เลยจะเป็นศาสตร์ซึ่งให้ free will เจตจำนงค์เสรี อิสระในอันที่จะเลือก จิตวิญญาณเป็นอิสระเพราะมันไม่มีคำอธิบายทางคณิตศาสตร์จะมาอธิบาย subject (สาระ, ความหมาย) ในศาสตร์เดิมของเรา มีเพียงแต่วัตถุ object เท่านั้นที่สามารถอธิบายได้ และก็เป็นเพียงเพื่อที่จะเข้าสู่ essence แก่นแท้ของสาระ ซึ่งมันมีความเป็นไปได้ดำรงอยู่ ด้วยมันยังมีการตระหนักขึ้นมาว่า “ใครคือผู้เลือก” แล้วเมื่อมองเห็นว่าใครคือผู้เลือก ผู้เลือกก็เป็นอิสระ นั่นคือ freedom of chioces อิสระในการที่จะเลือก แล้วอิสระจากการเลือกนั้นได้กลายมาเป็นประสบการณ์จริงของเรา เหล่านั้นคือการ discontinue ประสบการณ์ของเรา คือสิ่งที่ผมกำลังบอกคุณตอนนี้ แน่นอนว่าเรามีเงื่อนไข ซึ่งเป็นเงื่อนไขบนความสืบเนื่อง และนั่นมันนำเราไป แล้วมันก็ทำให้เราสับสน

ถาม: condition เงื่อนไขมันนำพาเรา?

อมิต: เงื่อนไขนำพาเราไปบนทางแห่งความสืบเนื่องของประสบการณ์ของเรา

ถาม: จะแปลความให้เข้าใจได้ยังไง ไอ้เรื่องผู้สังเกต observer เรื่องจิตวิญญาณ อะไรในควอนตัมฟิสิกส์ซึ่งเป็นเรื่องความเข้าใจว่าโลกเป็นไปยังไง? จะแปลเรื่องพวกนี้ให้ (ผู้หญิงธรรมดาอย่างชั้นคนนี้) เข้าใจได้

อมิต: นั่นล่ะ นั่นล่ะใช่เลย นั่นคือที่สุดของประเด็น ผู้สังเกตไปล้มคลื่นความเป็นไปได้ อย่างที่พวกนักฟิสิกส์เค้าพูดกัน ให้ไปสู่ประสบการณ์จริง นั่นแหละ คือมันเป็นอย่างนั้น แล้วมันเกิดกับฉันได้ยังไง!! “me” หรือ ฉัน อันมันเต็มไปด้วยเงื่อนไข ดังนั้นในแนวคิดเรื่องประสบการณ์ต่างๆ เราได้ กิ่งก้านรวมของการตอบสนอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เพราะความทรงจำของเรา ใน quantum measurement ผู้สังเกตทุกคนสามารถดูที่ การตรวจวัดทางควอนตัมซึ่งมันสร้างความทรงจำทางสมองขึ้นมา brain memory นี้จะกระตุ้นตลอดเวลา ที่เราเข้าไปประสบกับประสบการณ์ (เข้าไปพบประสบการณ์) แล้วมันจะทำการกระตุ้นซ้ำๆ มันทำอยู่ตลอด ไม่เพียงแต่ตอน original impression เท่านั้น แต่ repartition of memories การแบ่งปันของความทรงจำนี้ ความทรงจำประทับเข้ามา และการในทำงานของความทรงจำ.. บางทีจะพูดว่า เราทั้งหลายต่างก็รับบางอย่างหลังเกิดการสะท้อน reflection ในภาพสะท้อนความทรงจำ การสะท้อนนั้น ได้ให้ sense of I ness (สัมผัสของความเป็นฉัน) ฉันเป็นใคร เรียกมันตามแบบแผนอันคุ้นเคย แบบแผนของความทรงจำ แบบแผนของอดีต นั่นคือ ไอ ฉัน ได้เข้าไปสู่ภาพของความหมายว่าฉันคือใคร นี่มาจากการสะท้อนกับกระจกความทรงจำ ดังนั้นมันเป็นการ emit ส่องฉายของ quantum discontinuity แล้วก็เพราะว่ามันส่อง หรือฉายออกมา มันเลยทำให้รู้สึกว่า นั่นไม่ใช่ฉัน! และควอนตัมก็พูดถึงความไม่สืบเนื่องนี้ใน quantum leap ซึ่ง possibitly กับ probability freewill แต่.. เราพบภายใน ด้วยความธรรมดาของเราว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นมายา มายาการนั้นมันชัดแจ้งต่อเราเฉพาะตอนที่เราเตรียมพร้อมจะเดินต่อ เราต้องเดินกลับมายังอิสระภาพอันนี้ กลับมายังจิตวิญญาณ มาเป็นผู้ถือครองอิสรภาพในการเลือก คุณเห็นไหม อะไรที่เรียกว่า way back! แล้วคำถามที่คุณถาม.. มันจะมาสู่ “ฉัน” ยังไง? จะเป็นความชัดเจน มากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่