การลดหย่อนภาษีโดยการทำประกันชีวิต อันนี้ไม่ขอพูดถึงแบบประกันชีวิต แสนแรกนะครับ ขอพูดในส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ให้นำมาลดหย่อนได้อีก ไม่เกินสองแสนบาทครับ ประกันชีวิตแบบบำนาญก็คือ การส่งเงินจำนวนหนึ่ง ไปจนครบกำหนดอายุ 55 หรือ 60 แล้วจึงได้รับบำนาญรายปี ไปจนอายุ 80-90 ปี แล้วแต่แบบประกันที่จะทำ
ขอยกตัวอย่าง ชายอายุ 45 ปี (รายได้ของคนอายุประมาณนี้ น่าจะมีฐานภาษีสูงพอที่จะมาคิดเลือกประกันชีวิตแบบบำนาญ) สมมุติ ฐานภาษี อยู่ที่ 20 % และสนใจที่จะทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษี และไปรับบำนาญที่อายุ 60 ปี โดยต้องการที่จะชำระเบี้ยปีละประมาณ 50,000 บาท ขอยกตัวแบบจากแบบประกันจริง ของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง (ตัวเลขจริง) ขออธิบายโดยใช้ตาราง Excel ครับ
https://drive.google.com/file/d/0B4dqyIpxa8MsMWZBbzRSX3dMSjA/view?usp=sharing
ตัวแปรที่สำคัญคือ ความสามารถในการนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของแต่ละคน
ถ้าตัดสินใจทำประกันแบบบำนาญเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี ลองไปดูเราได้อะไรจากการทำประกันบ้าง
ชำระเบี้ยปีละ 51,600 บาท นำมาลดหย่อนภาษีได้ 20 % คือ 10,320 บาท เป็นเวลา 15 ปี จนถึงอายุ 60 ปี จึงหยุดชำระเบี้ย และรับเงินบำนาญปีละ 50,000 บาท จนถึงอายุ 90 ปี (31 ครั้ง)
กรณีเสียชีวิต
1.เสียชีวิตระหว่างชำระเบี้ย (ก่อนอายุ 60 ปี) รับเงินตามทุนประกัน 500,000 บาท หรือตามมูลค่ากรมธรรม์ จ่ายส่วนที่มากกว่า (ดูตารางมูลค่าได้ในไฟล์ Excel) โดยมูลค่ากรมธรรม์จะมากกว่าทุนประกันในปีกรมธรรม์ที่ 11 หรืออายุ 55 ปี
2.เสียชีวิตระหว่างรับเงินบำนาญ การันตีจ่ายเงินบำนาญ 15 ปี หรืออายุ 74 ปี ลบด้วยจำนวนปีที่รับไปแล้ว
3.เสียชีวิตหลังจากรับบำนาญไปแล้ว 15 ปี จะไม่ได้รับเงินใดๆแล้ว
กรณีเวนคืนกรมธรรม์ ก่อนที่จะรับบำนาญ คือชำระเบี้ย จนถึงอายุ 60 ปีแล้ว แต่ประสงค์จะเวนคืนกรมธรรม์ก่อนที่จะรับบำนาญ ซึ่งมูลค่ากรมธรรม์จะมีมูลค่ามากกว่าจำนวนเบี้ยที่ชำระไปทั้งหมด ซึ่งคุ้มค่าที่จะเวนคืน ในส่วนนี้ยังไม่แน่ชัดว่าจะมีผลต่อการลดหย่อนภาษี ว่าจะมีการเรียกคืนย้อนหลังหรือเปล่า แต่ดูข้อมูลจากกรมสรรพากร ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี จะต้องมีการเรียกคืนภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับ อันนี้ต้องรอผู้รู้มายืนยันครับ
กรณีอยู่ครบสัญญาและนำเงินที่ได้คืนจากการลดหย่อนภาษี มาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยผลตอบทุนขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ขอยกตัวอย่างที่ 5% ต่อปี (สามารถปรับตัวเลขได้ในตาราง Excel ในช่องสีแดง)
โดยจะเปรียบเทียบกับการเลือกที่จะไม่ทำประกันแบบบำนาญ ยอมจ่ายภาษีให้รัฐและนำเงินที่เหลือไปลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยคิดที่ผลตอบแทนเดียวกัน (เงินที่นำมาลงทุนคือ 51,600 – 10,320 = 41,280 บาท)
แล้วรันการลงทุนต่อเนื่องควบคู่ไปกับการทำประกัน (สามารถดูรายละเอียดได้จากไฟล์ Excel ที่แนบมา สามารถแก้ไขผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสมได้ครับ)
สรุปผลการลงทุนต่อเนื่องระหว่างการทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีกับการเสียภาษีแล้วนำเงินที่เหลือมาลงทุนเอง
ช่วงที่ 1 ชำระเบี้ยประกันครบ 15 ปี (อายุ 60 ปี ก่อนเริ่มรับบำนาญ)
ถ้าเลือกทำประกัน จะมีเงินทุนตั้งต้น 233,825 บาท แล้วปีต่อมาจะมีเงินบำนาญมาเติมในการลงทุนอีกปีละ 50,000 บาท
ถ้าเลือกเสียภาษีแล้วนำเงินที่เหลือมาลงทุนต่อเนื่อง 15 ปี จะมีเงินตั้งต้น 935,301 บาท แล้วลงทุนต่อเนื่องไปอีกโดยไม่ลงเงินเพิ่มอีก จะเห็นว่าเมื่ออายุ 62 ปี จะมีผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปีประมาณ 51,558 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับเงินบำนาญจากการทำประกัน
ช่วงที่ 2 เริ่มรับบำนาญ
ถ้าเลือกทำประกัน จะมีเงินมาเติมในการลงทุนปีละ 50,000 บาท จนถึงอายุ 90 ปี ที่อายุ 90 ปี จะมีเงินทั้งสิ้น 4,776,050 บาท ซึ่งจำนวนเงินจะมากกว่าวิธีไม่ทำประกันตอนอายุ 82 ปี ซึ่งก็คือจุดคุ้มค่าของการทำประกัน(จุดคุ้มค่าจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนการลงทุน)
ถ้าเลือกเสียภาษีแล้วนำเงินที่เหลือมาลงทุนเอง ช่วงหลังอายุ 60 ปี จะไม่มีเงินมาเติมในการลงทุน จะใช้เงินตั้งต้นในการลงทุนต่อเนื่องไป จนอายุ 90 ปี ที่อายุ 90 ปี จะมีเงิน 4,244,434 บาท
จากข้อมูลและตัวเลขเป็นการเปรียบเทียบการเลือกทำประกันกับการลงทุน โดยการหาความคุ้มก็อยู่ที่ตัวบุคคล ทั้งในเรื่องฐานภาษี ความสามารถและทางเลือกในการลงทุน ความเสี่ยงของแต่ละคน การเลือกแบบประกันของแต่ละบริษัท
ที่จัดทำขึ้นมาทั้งหมดเพื่อลองเสนอแนะวิธีการเปรียบเทียบและหาความความค่าของแต่ละทางเลือก เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ผิดพลาดตรงส่วนไหน โปรดชี้แนะด้วยครับ
การซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ (เพื่อลดหย่อนภาษี) คิดเยอะๆ ครับ
ขอยกตัวอย่าง ชายอายุ 45 ปี (รายได้ของคนอายุประมาณนี้ น่าจะมีฐานภาษีสูงพอที่จะมาคิดเลือกประกันชีวิตแบบบำนาญ) สมมุติ ฐานภาษี อยู่ที่ 20 % และสนใจที่จะทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษี และไปรับบำนาญที่อายุ 60 ปี โดยต้องการที่จะชำระเบี้ยปีละประมาณ 50,000 บาท ขอยกตัวแบบจากแบบประกันจริง ของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง (ตัวเลขจริง) ขออธิบายโดยใช้ตาราง Excel ครับ
https://drive.google.com/file/d/0B4dqyIpxa8MsMWZBbzRSX3dMSjA/view?usp=sharing
ตัวแปรที่สำคัญคือ ความสามารถในการนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของแต่ละคน
ถ้าตัดสินใจทำประกันแบบบำนาญเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี ลองไปดูเราได้อะไรจากการทำประกันบ้าง
ชำระเบี้ยปีละ 51,600 บาท นำมาลดหย่อนภาษีได้ 20 % คือ 10,320 บาท เป็นเวลา 15 ปี จนถึงอายุ 60 ปี จึงหยุดชำระเบี้ย และรับเงินบำนาญปีละ 50,000 บาท จนถึงอายุ 90 ปี (31 ครั้ง)
กรณีเสียชีวิต
1.เสียชีวิตระหว่างชำระเบี้ย (ก่อนอายุ 60 ปี) รับเงินตามทุนประกัน 500,000 บาท หรือตามมูลค่ากรมธรรม์ จ่ายส่วนที่มากกว่า (ดูตารางมูลค่าได้ในไฟล์ Excel) โดยมูลค่ากรมธรรม์จะมากกว่าทุนประกันในปีกรมธรรม์ที่ 11 หรืออายุ 55 ปี
2.เสียชีวิตระหว่างรับเงินบำนาญ การันตีจ่ายเงินบำนาญ 15 ปี หรืออายุ 74 ปี ลบด้วยจำนวนปีที่รับไปแล้ว
3.เสียชีวิตหลังจากรับบำนาญไปแล้ว 15 ปี จะไม่ได้รับเงินใดๆแล้ว
กรณีเวนคืนกรมธรรม์ ก่อนที่จะรับบำนาญ คือชำระเบี้ย จนถึงอายุ 60 ปีแล้ว แต่ประสงค์จะเวนคืนกรมธรรม์ก่อนที่จะรับบำนาญ ซึ่งมูลค่ากรมธรรม์จะมีมูลค่ามากกว่าจำนวนเบี้ยที่ชำระไปทั้งหมด ซึ่งคุ้มค่าที่จะเวนคืน ในส่วนนี้ยังไม่แน่ชัดว่าจะมีผลต่อการลดหย่อนภาษี ว่าจะมีการเรียกคืนย้อนหลังหรือเปล่า แต่ดูข้อมูลจากกรมสรรพากร ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี จะต้องมีการเรียกคืนภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับ อันนี้ต้องรอผู้รู้มายืนยันครับ
กรณีอยู่ครบสัญญาและนำเงินที่ได้คืนจากการลดหย่อนภาษี มาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยผลตอบทุนขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ขอยกตัวอย่างที่ 5% ต่อปี (สามารถปรับตัวเลขได้ในตาราง Excel ในช่องสีแดง)
โดยจะเปรียบเทียบกับการเลือกที่จะไม่ทำประกันแบบบำนาญ ยอมจ่ายภาษีให้รัฐและนำเงินที่เหลือไปลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยคิดที่ผลตอบแทนเดียวกัน (เงินที่นำมาลงทุนคือ 51,600 – 10,320 = 41,280 บาท)
แล้วรันการลงทุนต่อเนื่องควบคู่ไปกับการทำประกัน (สามารถดูรายละเอียดได้จากไฟล์ Excel ที่แนบมา สามารถแก้ไขผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสมได้ครับ)
สรุปผลการลงทุนต่อเนื่องระหว่างการทำประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีกับการเสียภาษีแล้วนำเงินที่เหลือมาลงทุนเอง
ช่วงที่ 1 ชำระเบี้ยประกันครบ 15 ปี (อายุ 60 ปี ก่อนเริ่มรับบำนาญ)
ถ้าเลือกทำประกัน จะมีเงินทุนตั้งต้น 233,825 บาท แล้วปีต่อมาจะมีเงินบำนาญมาเติมในการลงทุนอีกปีละ 50,000 บาท
ถ้าเลือกเสียภาษีแล้วนำเงินที่เหลือมาลงทุนต่อเนื่อง 15 ปี จะมีเงินตั้งต้น 935,301 บาท แล้วลงทุนต่อเนื่องไปอีกโดยไม่ลงเงินเพิ่มอีก จะเห็นว่าเมื่ออายุ 62 ปี จะมีผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปีประมาณ 51,558 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับเงินบำนาญจากการทำประกัน
ช่วงที่ 2 เริ่มรับบำนาญ
ถ้าเลือกทำประกัน จะมีเงินมาเติมในการลงทุนปีละ 50,000 บาท จนถึงอายุ 90 ปี ที่อายุ 90 ปี จะมีเงินทั้งสิ้น 4,776,050 บาท ซึ่งจำนวนเงินจะมากกว่าวิธีไม่ทำประกันตอนอายุ 82 ปี ซึ่งก็คือจุดคุ้มค่าของการทำประกัน(จุดคุ้มค่าจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนการลงทุน)
ถ้าเลือกเสียภาษีแล้วนำเงินที่เหลือมาลงทุนเอง ช่วงหลังอายุ 60 ปี จะไม่มีเงินมาเติมในการลงทุน จะใช้เงินตั้งต้นในการลงทุนต่อเนื่องไป จนอายุ 90 ปี ที่อายุ 90 ปี จะมีเงิน 4,244,434 บาท
จากข้อมูลและตัวเลขเป็นการเปรียบเทียบการเลือกทำประกันกับการลงทุน โดยการหาความคุ้มก็อยู่ที่ตัวบุคคล ทั้งในเรื่องฐานภาษี ความสามารถและทางเลือกในการลงทุน ความเสี่ยงของแต่ละคน การเลือกแบบประกันของแต่ละบริษัท
ที่จัดทำขึ้นมาทั้งหมดเพื่อลองเสนอแนะวิธีการเปรียบเทียบและหาความความค่าของแต่ละทางเลือก เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ผิดพลาดตรงส่วนไหน โปรดชี้แนะด้วยครับ