เราจะพิมพ์ตัวองศาที่เป็นกลมๆที่แป้นพิมพ์ได้อย่างไร

กระทู้คำถาม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
มันจะออกมาต่างกันนะครับ (เป็นคนละเครื่องหมาย ใช้ไม่เหมือนกัน)

ํ  เครื่องหมายนิคหิตนี้ ใช้แทนเสียง อัง ในภาษาบาลี หรือเสียงตัวสะกด ง กรณีมีสระอยู่แล้ว
และเสียง อัม ในภาษาสันสกฤต หรือ ตัวสะกด ม กรณีมีสระอยู่แล้ว

° อันนี้ใช้เครื่องหมายองศาที่ถูกต้องจริงๆ (Degree sign, ALT+0176) ใช้ในการแสดงหน่วยที่เป็นแบบ
สัมพัทธ์ (เปรียบเทียบ) เช่นหน่วยอุณหภูมิองศาเซลเซียส หรือดีกรีของสุรา หรือ มุมองศาในทางคณิตฯ

º อันนี้เครื่องหมายแสดงจำนวนที่เป็นลำดับที่ (Ordinal Indicator, ALT+0186) เพื่อบอกว่าเป้นลำดับที่ 1 2 3...
(First, second, third...) เช่น 2º-reaction = ปฏิกิริยาลำดับที่สอง (ทวิภูมิ)

˚ อันนี้ เป็น modifier สำหรับตัวอักษรในบางภาษาที่สระมีเครื่องหมายต่าง และในเครื่องหมายหน่วยวัด
ความยาว อังสตรอม (เขียนเหนือตัว A)

o อันนี้ ตัว o พิมพ์เล็ก กดตัวลอยแบบยกกำลัง (superscript) (ผิด แต่พิมพ์ได้สะดวกที่สุด)

0 อันนี้เลข 0 อารบิก กดตัวลอย (ผิด)

อันนี้เลข 0 ไทย กดตัวลอย (ผิด)

O อันนี้ตัว O พิมพ์ใหญ่กดตัวลอย (ผิด)

ํ ° º ˚ o 0 O
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่