สมัยเรียนมัธยม เคยเรียนวิชาพุทธศาสนา ในเเบบเรียนมีการกล่าวถึงคำว่า บุคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน เคยอ่านหนังสือของท่านพุทธทาส ท่านใช้คำว่า ภาษาคน ภาษาธรรม จึงอยากทราบว่า ในพระไตรปิฎก อรรถกฐา ฎีกา อนุฎีกา ฯลฯ ซึ่งเป็นคำภีร์หลักหลักที่ชาวพุทธมักใช้ศึกษากันนั้น ตลอดจนในหลักสูตรธรรมศึกษา หลักสูตรบาลี เปรียญธรรม ฯลฯ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้หรือไม่ เเละใจความหลักโดยสรุปได้กล่าวไว้ว่าอย่างไร เเละถ้ามี เราจะทราบได้อย่างไรว่า กรณีไหน เป็นบุคลาธิษฐาน กรณีไหนเป็นธรรมาธิษฐาน เเละเท่าที่เคยทราบมา ในการตีความหมาย บางท่านเเจ้งว่า บางกรณี สามารถตีความได้ทั้งสองเเบบ เพราะสามารถเป็นได้ทั้งสองทาง เเละบางครั้งธรรมาธิษฐาน ก็เเปลได้หลายทาง มีการฟันธงเรื่องเหล่านี้ไว้หรือไม่ ว่าบางกรณีสามารถฟันธงได้เลยว่า เป็นธรรมาธิษฐานเเบบใด เพื่อที่ผู้ศึกษาจะไม่ไขว้เขว ตัวอย่าง กรณีพระพุทธเจ้าประสูติ เเละเสด็จเจ็ดก้าว หมายถึงการเผยเเผ่พระพุทธศาสนาไปเจ็ดเเคว้น เเต่ก็มีการยกตัวอย่างคนที่เป็นอัจฉริยะในโลกมากมาย เเละกล่าวว่า พระองค์อาจเสด็จเจ็ดก้าวจริงในความหมายของภาษาชาวบ้านทั่วไป โดยส่วนตัว รับได้ทั้งบุคลาธิษฐาน เเละธรรมาธิษฐาน เเละเคารพให้เกียรติทั้งสองเเนวทาง เเละเห็นด้วยกับท่านที่เน้นการนำธรรมะหลักจริงไปปฎิบัติ เเต่ในส่วนของศรัทธาก็ไม่ปฎิเสธ เพราะสิ่งที่เหนือความคาดหมายของวิทยาศาสตร์เเละความรู้ของมนุษย์ในปัจจุบันก็มีอยู่มาก ขอเน้นธรรมเป็นหลักไปก่อน เพียงเเต่สงสัยว่า ในพระไตรปิฎก อรรถกฐา ฎีกา อนุฎีกา ฯลฯ ซึ่งเป็นคำภีร์หลักหลักที่ชาวพุทธมักใช้ศึกษากันนั้น ตลอดจนในหลักสูตรธรรมศึกษา หลักสูตรบาลี เปรียญธรรม ฯลฯ ได้กล่าวถึงถึงเรื่องบุคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน นี้หรือไม่ เเละใจความหลักโดยสรุปได้กล่าวไว้ว่าอย่างไร จุดเริ่มต้นของการสอนอธิบายเรื่องบุคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน นี้เริ่มสมัยไหนตอนไหน ใครเป็นผู้ริเริ่มไว้ เเละในส่วนของลังกา พม่า ฯลฯ ซึ่งเป็นเถรวาทเช่นกัน ได้กล่าวถึงเรื่องบุคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน เหมือนในประเทศไทยหรือไม่ ขอท่านผู้รู้ที่มีความรู้ได้เข้ามาเเสดงความเห็นกัน โดยเคารพความเห็นซึ่งกันเเละกัน ไม่ต้องการการโจมตีกัน เเต่เพื่อส่งเสริมความรู้ทางพุทธศาสนาเเก่ผู้สนใจต่อไป
ภาษาคน ภาษาธรรม บุคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน