ทฤษฎี ณ พัทลุง เป็นนักประพันธ์ดนตรี และวาทยกรที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทยที่และมีชื่อเสียงในระดับโลก
ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยเพลงของวงบางกอกโอเปร่า นับเป็นคนไทยคนแรกที่บรรเลงผลงานของบาคได้ครบถ้วน
ปัจจุบันได้ก่อตั้งวง Bangkok Baroque Ensembleนับเป็นนักดนตรีกลุ่มแรกในภูมิภาคนี้
ที่มีความเชี่ยวชาญดนตรีสไตล์บาโรกเป็นอย่างดี
ความสามารถทางด้านดนตรี
ทฤษฎีมีโอกาสประพันธ์เพลง Eternity (นิรันดร์) คีตาลัยถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร ซึ่งเพลงดังกล่าวได้นำไปบรรเลงในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง และถูกบันทึกลงแผ่นซีดีในชุด "ประโคมเพลง ประเลงถวาย" เพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้มาร่วมในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จัดขึ้น ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ ทฤษฎีได้ประพันธ์เพลง "พระหน่อนาถ" เฉลิมพระขวัญ โดยนำบทกล่อมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาบรรจุทำนองสากลออกอากาศทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
ในฐานะผู้อำนวยเพลง ทฤษฎีได้ก้าวไปขั้นสูงสุดคือการอำนวยเพลงที่ Concertgebouw ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหอแสดงดนตรีที่สำคัญที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ที่ศิลปินอมตะ เช่น Gustav mahler และ Richard Strauss ได้อำนวยเพลง และจัดเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้[ต้องการอ้างอิง]ช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 ทฤษฎีได้รับเชิญจาก Nationale Reisopera (Dutch National Touring Opera) ไปอำนวยเพลงในมหาอุปรากรของ Rossini เรื่อง La Cenerentola (ซินเดอเรลลา) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังได้รับเชิญกลับไปอำนวยเพลงในเทศกาล Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลีในปี 2552 และ 2553 จึงถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา 2 ปีซ้อน[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ เขาได้มีโอกาสให้อำนวยการเพลงให้กับวงออเคสตราอีกหลายวง เช่น yal Scottish Nation Orchestra, Orchestra Sanfonica Nazionale della RAI (วงออเคสตร้าแห่งชาติอิตาลี)[8]
ผลงานด้านการอำนวยเพลงของทฤษฎียังได้รับชื่นชมจากนักวิจารณ์ที่ได้เห็นผลงานการอำนวยเพลงของเขาในการแสดงชุด The Magic Flute ของ Mozart เมื่อปี พ.ศ. 2549 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยได้เขียนลงในนิตยสารโอเปร่า (OPERA) แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตอนหนึ่งว่า "หากคำว่า “อัจฉริยะ” ยังเหลือความหมายใด ๆ อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคำกล่าวอ้างเกินจริงนี้ “ทฤษฎี” นับเป็นตัวอย่างที่แท้จริงแห่งยุคปัจจุบัน
ผลงาน
2548 - Symphony No. 2 - ประเทศเนเธอร์แลนด์ - ผลงานชิ้นใหญ่ล่าสุดของเขา คือ "Symphony No. 2" (Gli Scherzi) นำออกแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 โดยวงดนตรี Siam Philharmonic Orchestra (วงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิก) ปัจจุบันทฤษฎีทำงานกับ Hans Nieuwenhuis แห่ง Opera Studio Nederland
2549 - The Magic Flute
2551 - Eternity - แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเพลงดังกล่าวถูกนำไปบันทึกเสียงในชุด "ประโคมเพลง ประเลงถวาย" เพื่อเป็นของที่ระลึก และบรรเลงในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง
2552 - พระหน่อนาถ - เมื่อ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ ทฤษฎี ได้อัญเชิญบทกล่อมซึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อเตรียมการไว้สำหรับการสมโภชรับพระหน่อ หรือ พระราชโอรส ที่ใกล้ประสูติ มาแต่งเป็นเพลง โดยประพันธ์ทำนอง ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยและสากล ขึ้นมา และร่วมกับคณะทำงาน อัญเชิญวรรคแรกของบทกล่อม มาตั้งเป็นชื่อเพลงว่า “พระหน่อนาถ”
2554 - Mae Naak - ที่กรุงลอนดอน
เรื่องนี้สังเกตได้เลยว่า ทางกันตนา เขาตั้งใจมากๆนะ เราให้กำลังใจเลยค่ะ คุณตุ๊กตา สู้ๆนะคะ 



เพลง เพลิงพระนาง ได้คุณ ทฤษฎี ณ พัทลุง นักประพันธ์ดนตรี วาทยกรที่ได้รับการยอมรับในประเทศและมีชื่อเสียงระดับโลก มาแต่งให้
ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยเพลงของวงบางกอกโอเปร่า นับเป็นคนไทยคนแรกที่บรรเลงผลงานของบาคได้ครบถ้วน
ปัจจุบันได้ก่อตั้งวง Bangkok Baroque Ensembleนับเป็นนักดนตรีกลุ่มแรกในภูมิภาคนี้
ที่มีความเชี่ยวชาญดนตรีสไตล์บาโรกเป็นอย่างดี
ความสามารถทางด้านดนตรี
ทฤษฎีมีโอกาสประพันธ์เพลง Eternity (นิรันดร์) คีตาลัยถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร ซึ่งเพลงดังกล่าวได้นำไปบรรเลงในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง และถูกบันทึกลงแผ่นซีดีในชุด "ประโคมเพลง ประเลงถวาย" เพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้มาร่วมในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จัดขึ้น ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ ทฤษฎีได้ประพันธ์เพลง "พระหน่อนาถ" เฉลิมพระขวัญ โดยนำบทกล่อมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาบรรจุทำนองสากลออกอากาศทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
ในฐานะผู้อำนวยเพลง ทฤษฎีได้ก้าวไปขั้นสูงสุดคือการอำนวยเพลงที่ Concertgebouw ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหอแสดงดนตรีที่สำคัญที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ที่ศิลปินอมตะ เช่น Gustav mahler และ Richard Strauss ได้อำนวยเพลง และจัดเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้[ต้องการอ้างอิง]ช่วงปี พ.ศ. 2552-2554 ทฤษฎีได้รับเชิญจาก Nationale Reisopera (Dutch National Touring Opera) ไปอำนวยเพลงในมหาอุปรากรของ Rossini เรื่อง La Cenerentola (ซินเดอเรลลา) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังได้รับเชิญกลับไปอำนวยเพลงในเทศกาล Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลีในปี 2552 และ 2553 จึงถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา 2 ปีซ้อน[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ เขาได้มีโอกาสให้อำนวยการเพลงให้กับวงออเคสตราอีกหลายวง เช่น yal Scottish Nation Orchestra, Orchestra Sanfonica Nazionale della RAI (วงออเคสตร้าแห่งชาติอิตาลี)[8]
ผลงานด้านการอำนวยเพลงของทฤษฎียังได้รับชื่นชมจากนักวิจารณ์ที่ได้เห็นผลงานการอำนวยเพลงของเขาในการแสดงชุด The Magic Flute ของ Mozart เมื่อปี พ.ศ. 2549 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยได้เขียนลงในนิตยสารโอเปร่า (OPERA) แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตอนหนึ่งว่า "หากคำว่า “อัจฉริยะ” ยังเหลือความหมายใด ๆ อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยคำกล่าวอ้างเกินจริงนี้ “ทฤษฎี” นับเป็นตัวอย่างที่แท้จริงแห่งยุคปัจจุบัน
ผลงาน
2548 - Symphony No. 2 - ประเทศเนเธอร์แลนด์ - ผลงานชิ้นใหญ่ล่าสุดของเขา คือ "Symphony No. 2" (Gli Scherzi) นำออกแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 โดยวงดนตรี Siam Philharmonic Orchestra (วงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิก) ปัจจุบันทฤษฎีทำงานกับ Hans Nieuwenhuis แห่ง Opera Studio Nederland
2549 - The Magic Flute
2551 - Eternity - แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเพลงดังกล่าวถูกนำไปบันทึกเสียงในชุด "ประโคมเพลง ประเลงถวาย" เพื่อเป็นของที่ระลึก และบรรเลงในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง
2552 - พระหน่อนาถ - เมื่อ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ ทฤษฎี ได้อัญเชิญบทกล่อมซึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อเตรียมการไว้สำหรับการสมโภชรับพระหน่อ หรือ พระราชโอรส ที่ใกล้ประสูติ มาแต่งเป็นเพลง โดยประพันธ์ทำนอง ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยและสากล ขึ้นมา และร่วมกับคณะทำงาน อัญเชิญวรรคแรกของบทกล่อม มาตั้งเป็นชื่อเพลงว่า “พระหน่อนาถ”
2554 - Mae Naak - ที่กรุงลอนดอน
เรื่องนี้สังเกตได้เลยว่า ทางกันตนา เขาตั้งใจมากๆนะ เราให้กำลังใจเลยค่ะ คุณตุ๊กตา สู้ๆนะคะ