ถึงอาชีพแพทย์จะเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย หนักหนา และดูจะไม่ค่อยมีเวลาเป็นส่วนตัวสักเท่าไร แต่สำหรับแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเอกชัย "นพ. พลกฤษณ์ จันทรโสภาคย์" คนนี้ กลับได้สละเวลาว่างส่วนตัวอันน้อยนิด ออกเดินทางพร้อม 'บิ๊กไบค์' คู่ใจ ไปช่วยเหลือ และตรวจรักษาโรคต่างๆ ให้กับผู้ยากไร้ในถิ่นห่างไกล เพียงมุ่งหมายจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น …
หลายคนอาจคุ้นชินกับชื่อ "หมอหลุยส์" ที่เมื่อถูกเอ่ยขึ้นทีไร เป็นต้องนึกถึงคุณหมอหน้าละอ่อนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารที่ต่างๆ ไม่ว่าจะบุกน้ำลุยไฟ ขึ้นดอยหรือเข้าป่าลึกไปไกล ลำบากสักแค่ไหน เขาก็จะไปให้ได้ ซึ่งตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ เขาออกเดินทางช่วยเหลือชาวบ้านมาเป็นเวลา 4 ปี ด้วยอุดมการณ์แรงกล้า และเป้าหมายที่ชัดเจนไม่แปรเปลี่ยน
ไทยรัฐออนไลน์บุกบ้านจับเข่านั่งคุยถึงเรื่องราวการเดินทางที่แสนประทับใจนี้ทำให้รู้ว่า 'ความสุข' ไม่ได้อยู่แค่การเดินทางไปที่ต่างๆ ด้วยสองล้อบิ๊กไบค์ และชิลกับบรรยากาศรอบๆ เท่านั้น ทว่ายังรวมถึงการช่วยเหลือ ตรวจรักษาชาวบ้านด้วยวิชาชีพแพทย์ที่ได้ร่ำเรียนมา และสานความหวังของทุกคนให้เป็นจริง
"การเห็นใบหน้าของชาวบ้านที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มเป็นประกาย มันเป็นความสุขที่หาไม่ได้จากที่ไหนอีกแล้ว" หมอขี่บิ๊กไบค์เป็นร้อยกิโลฯ เพื่ออุทิศตนช่วยคนยากไร้ ที่เชื่อว่าไม่ต้องรู้จักก็หลงรักได้ รับประกัน
Q : จุดเริ่มต้น และแรงบันดาลใจกับการเป็นหมอเกิดขึ้นตอนไหน ?
จุดเริ่มต้นจริงๆ น่าจะมาจากคุณแม่ และครอบครัวที่ปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความที่คุณตาเป็นคุณหมออยู่แล้ว จึงทำให้ผมซึมซับ เรียนรู้มาเรื่อยๆ จนเริ่มชอบ เลยอยากเป็นหมอตั้งแต่เด็กๆ ตามคุณตา เด็กๆ จำได้ว่าชอบเห็นคุณตาขี่บิ๊กไบค์ไปตรวจคนไข้ (คุณตาเป็นคนชอบขี่บิ๊กไบค์มากๆ) เลยเป็นภาพจำติดตามาจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้มีใครวางแผนหรือบังคับอะไร การขี่บิ๊กไบค์ไปช่วยเหลือคนอื่นพูดได้ว่าแรงบันดาลใจทั้งหมดมาจากคุณตา บวกความชอบส่วนตัวที่ได้เห็นจากภาพยนตร์ในทีวี หรือเอ็มวีเพลง ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็น ฮาร์เล่ย์-เดวิดสัน หรือจะเป็น อินเดียน มอเตอร์ไซเคิล
ที่จริงผมชอบบิ๊กไบค์มาตั้งแต่เด็กๆ เสิร์ชหาข้อมูล หาหนังสืออ่านมาเรื่อยๆ แต่ตอนแรกที่บ้านไม่ให้ขี่เลย ให้คุณตาขี่ได้ แต่พอมาถึงรุ่นผม คุณพ่อคุณแม่จะกลัวเรื่องอุบัติเหตุ กลัวรถล้ม เป็นแผลอะไรแบบนี้ แต่ก็ห้ามไม่ค่อยได้ (หัวเราะ)
Q : จุดเริ่มต้นในการขี่บิ๊กไบค์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ถิ่นห่างไกล เริ่มจากตรงไหน ยังไงบ้าง ?
จริงๆ จุดเริ่มต้น คือ ผมขี่มอเตอร์ไซค์อยู่แล้ว แล้วมันก็มีหลายสังคม หรือกลุ่มคนที่ส่วนใหญ่จะขี่บิ๊กไบค์ไปทำบุญ ไปบริจาคของเล็กๆ น้อยๆ ช่วยเหลือผู้ยากไร้กัน แต่ผมเห็นว่าหมอที่ขี่บิ๊กไบค์ไปช่วยเหลือคนจริงๆ มันยังไม่มี ทีนี้มีอยู่ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสได้เดินทางไปเข้าป่า เป็นป่าลึก ทุ่งใหญ่นเรศวร เข้าไปตรวจคนไข้ ไปกับกลุ่มมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ด้วย พอเข้าไปในครั้งนั้นมันเกิดความรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก ถึงทางเข้าไปจะยากลำบาก แต่พอนึกถึงชาวบ้าน-ชาวเขาแล้ว ผมก็หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง ผมย้อนคิดดู พวกเขาจะต้องเข้า-ออกกันลำบากมากแค่ไหน ยิ่งเวลาใครเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยแล้ว เพราะขนาดผมเองยังว่าลำบากมากเลย ฉะนั้นทางการแพทย์ หรือยารักษาโรคต่างๆ มันต้องขาดแคลนอยู่แล้ว ตอนนั้นเมื่อผมได้ไปตรวจคนอย่างใกล้ชิดจริงๆ ได้เข้าไปช่วยเหลือคน ผมรู้สึกดีมากเลย และชอบมากอย่างอธิบายไม่ถูก ปกติคนเขาแค่เอาของไปบริจาคกัน แต่วันนั้นผมเอาเครื่องมือตรวจต่างๆ ติดไปด้วย เพื่อไปตรวจ และได้พูดคุยกับชาวบ้าน ผมรู้สึกประทับใจกับสิ่งที่พวกเขา (ชาวบ้าน) ตอบรับกลับมาอย่างเกินคาด
Q : ทริปแรกที่ได้ไปเยือน ?
จำได้ว่าเป็นทุ่งใหญ่นเรศวร ที่หมู่บ้านสะแก ติดชายแดนพม่าเข้าไปลึกสุดเลย ถ้าฝนฟ้าเป็นใจอากาศดีหน่อย ก็ใช้เวลาเดินทางเข้าไป 2-3 วัน ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรได้ แต่การเดินทางค่อนข้างลำบากมาก ต้องไปนอนกลางทางก่อน (กลางเต็นท์นอน) แล้วก็เดินทางต่ออีกประมาณหนึ่งวัน ซึ่งจากตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า การแพทย์เขาขาดแคลนมาก ทั้งเส้นทางที่ไกลและยากลำบาก รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนคาดเดาไม่ได้ พอผมไปถึงได้ไปตรวจชาวบ้าน ผมวางแผนต่อได้เลยว่าครั้งหน้าที่ผมจะเข้ามา ผมต้องเอายาตัวไหนมารักษา หรือช่วยเหลือพวกเขาบ้าง เพราะบางทีผมไปตรวจแล้วเจอโรคที่ยังไม่มีหมอมารักษา หรือยายังเข้าไม่ถึง
ผมจะวางแผนสเต็ปที่ 2 คือ ถ้าครั้งหน้ากลับมาผมจะต้องทำอะไร ต้องเตรียมอะไร หรือยาตัวไหนมาให้พวกชาวบ้านอีกบ้าง เวลาออกทริปแต่ละครั้ง มันก็เลยกลับมาเป็นการบ้านว่า ผมจะกลับไปต่อยอดให้การรักษาสมบูรณ์ขึ้น มันเป็นโจทย์ที่สำคัญเลย จะรักษาชาวบ้านอย่างไรให้ต่อเนื่องมากที่สุด
Q : ได้ออกทริปช่วยเหลือชาวบ้านบ่อยไหม ?
ไปปีละ 1 หนนะ แต่อย่างทุ่งใหญ่นเรศวรที่ผมไป มันค่อนข้างลึกพอสมควร ทำให้บางที 1 วันถึงบ้าง หรือบางทีก็กินเวลา 2-3 วันเลย ทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นอะไรที่เข้ายาก และดูจะลำบากที่สุดแล้ว ไป-กลับ ตกประมาณ 3-4 วันเห็นจะได้ ยิ่งถ้าอยู่ๆ เกิดฝนตกระหว่างทางแน่นอนเลยว่าเกิน 5 วันและมันจะคาดไม่ได้ว่าจะกลับออกมาได้รึเปล่าด้วย
Q : อุดมการณ์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการออกเดินทางแต่ละครั้ง ?
ผมตั้งเป้าไว้แค่ว่า พอเข้าไปถึงแล้วสามารถบริจาคยาเวชภัณฑ์ต่างๆ และตรวจรักษาคนไข้ได้ในระดับหนึ่งเบื้องต้น จากนั้นจะเริ่มเสต็ป 2 วางแพลนต่อว่า คราวหน้าผมจะต้องกลับมาอีกทีหนึ่งเพื่อเอาอะไรๆ มาให้พวกเขาบ้าง มันจะไม่มีทริปครั้งเดียวจบ มันจะต้องมีเรื่อยๆ ครั้งที่ 2 ที่ 3 เพราะกว่าจะเข้าไปถึงครั้งแรกครั้งเดียว มันก็ยากลำบากมากอยู่แล้ว ทั้งไม่ชินทาง แถมยังไม่รู้ว่าที่นั่นเขาขาดแคลนอะไรบ้าง ฉะนั้นครั้งแรกมันไม่ได้พร้อมไปซะทุกอย่าง มันจะต้องขาดตกบกพร่องอะไรสักอย่างหนึ่งแน่นอน ยิ่งการรักษาที่ไม่รู้ว่าชาวบ้านป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง มันจึงต้องมีครั้งที่ 2 เพื่อกลับมาเก็บงานซ้ำอีกที เจออะไรเพิ่มเติมก็จะได้จัดเตรียมมาให้พวกเขาพร้อมในครั้งหน้า ตลอดจนของใช้จำเป็นให้กับชาวบ้าน และเด็กๆ ด้วย
Q : ออกทริปรักษาชาวบ้านแต่ละครั้ง มีเลือกสถานที่ไหม หรือไปได้ทุกที่ที่ขาดแคลนจริงๆ ?
สถานที่ส่วนใหญ่จะเป็นการทราบข่าว หรือส่งข่าวต่อกันมามากกว่า อย่างมีข่าวชุมชนถิ่นห่างไกลตามหน้าหนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ว่ามีที่ไหนเดือดร้อนบ้าง ถ้าพวกเขาเดินทางลำบาก ต้องการแพทย์จริงๆ และความช่วยเหลือดูแลต่างๆ (โดยเฉพาะทางการแพทย์) ผมก็ยินดีจะไป และวางแผนติดต่อประสานงานไปในพื้นที่ทางนั้นให้เดินทางเข้าไปถึงได้ ช่วยในเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้กันและกัน ทุกครั้งที่ไปจะไปกับแฟนผม 2 คนเป็นหลัก แต่บางทีก็จะมีเพื่อน หรือน้องผมที่เป็นหมอเหมือนกันไปด้วย ถ้ามีเวลาก็จะเข้ามาช่วยกัน
มีทริปที่ผมไปใกล้ๆ เหมือนกัน อยู่แค่นครปฐมเอง เป็นบ้านพักหญิงคนชรา ตอนนั้นมีกลุ่มน้องๆ ใจบุญที่ขี่มอเตอร์ไซค์เหมือนกัน เขาจัดกิจกรรมที่นั่น ก็เลยมาชวนให้ผมไปช่วยตรวจคุณยาย ถึงมันจะอยู่แค่นครปฐม แต่ผมก็แฮปปี้มาก และพวกเขาเองก็มีความสุขมากเช่นกัน เพราะปกติจะมีแต่คนเอาของไปบริจาค แต่ไม่เคยมีใครเข้าไปนั่งคุย นั่งตรวจอย่างจริงจัง รวมไปถึงเรือนพักของคุณยายบางท่านที่ไม่สามารถเดินออกมาตรวจกับผมได้ ด้วยเพราะเขาอาจจะป่วย เรื่องของความพิการอะไรต่างๆ เดินไม่ไหว ผมก็เข้าไปเยี่ยมตรวจถึงเตียงเลย เหมือนทำงานโรงพยาบาลเลย เข้าไปดูคุณยายทีละเตียงๆ แล้วเอาของไปให้ ผมมีความสุขมากนะ ถึงแม้มันจะเป็นสถานที่ใกล้ๆ ก็ตาม เรื่องการเดินทางไม่ใช่ปัญหาว่า ผมจะต้องเดินทางไกลแล้วถึงจะมีความสุข มันไม่เกี่ยวเลย แค่ได้ไปตรวจ ได้ช่วยเหลือคนอื่น มันก็ทำให้ผมมีความสุขมากแล้ว
Q : มีอะไรบ้างทางการแพทย์ที่ชาวบ้านยังขาดแคลน ?
หลักๆ เลยคือยา และบุคลากร นอกจากขาดแคลนเวชภัณฑ์แล้ว ชาวบ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้อง บางอย่างผมเอายาไปให้พวกเขาแต่พวกเขาใช้ไม่เป็น บางคนก็พูด-เขียนภาษาไทยไม่ได้ อ่านไม่ออก ยิ่งยาบางตัวเป็นภาษาอังกฤษยิ่งแล้วใหญ่ ผมก็อาจจะต้องเอายาไปฝากไว้จุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน ไว้กับผู้ใหญ่บ้าน ใครเป็นอะไรเจ็บป่วยก็ให้มารับยาจากผู้ใหญ่บ้านแทน โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนอธิบายการใช้ บางทีผมให้กับคนไข้เลยไม่ได้ เพราะพวกเขาจะไม่เข้าใจวิธีการใช้ยา ผมก็ต้องอธิบายให้ผู้ใหญ่บ้านฟังอีกทีหนึ่ง
Q : ความประทับใจ และผลตอบรับจากชาวบ้านเป็นอย่างไร ?
ผมประทับใจ 'รอยยิ้ม' นะ ทุกครั้งทุกที่จะเหมือนกันหมด รอยยิ้มที่มีความสุข และเต็มไปด้วยความหวัง ถามว่าผมขี่บิ๊กไบค์เข้าไปเหนื่อยไหม เหนื่อย เตรียมของเตรียมทุกอย่างเหนื่อยไหม เหนื่อย บางทีพอเข้าไปถึงก็ไม่มีแรงจะตรวจ รู้สึกอยากพักผ่อน แต่พอเห็นชาวบ้านมายืนรอกันเต็มด้วยความหวัง หลังได้พูดคุยกับชาวบ้าน เห็นพวกเขาเฮฮาตื่นเต้น รอยยิ้มที่เป็นมิตร และต้อนรับ นั่นก็ทำให้ผมหายเหนื่อย ผมประสานงานให้ชาวบ้านมารับยา มาตรวจ พวกเขาก็ยิ้มแย้มสนุกสนาน มันทำให้ผมมีแรงฮึดทำต่อได้ทันที พวกผมตั้งโต๊ะยา จัดหน่วย แล้วก็คุยกับชาวบ้านไปเรื่อยๆ มันเป็นบรรยากาศที่สนุกสนานมาก และเป็นอีกหนึ่งความประทับใจแสนวิเศษ ผมเห็นพวกเขาตื่นเต้น ทุกคนมีแววตาเป็นประกายที่เต็มไปด้วยความหวัง
Q : คุณสมบัติของคุณหมอที่ดีต้องมีอะไรบ้าง ?
ในฐานะที่ผมเป็นหมอ ผมคิดว่าลึกๆ ของหมอจะต้องเป็นคนมีน้ำใจ เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ คอยให้ผู้อื่นเสมอๆ ไม่งั้นจะทำอาชีพนี้ไม่ได้ อาชีพนี้จริงๆ ต้องเป็นผู้ให้นะ รู้จักให้ หลายๆ อย่างมันก็ปิดทองหลังพระ อย่างที่ผมไปช่วยเหลือชาวบ้านในที่ต่างๆ ผมทำไม่ได้คิดว่าจะต้องมีเสียงตอบรับหรืออะไร ผมแค่ลงเฟซบุ๊ก สื่อโซเชียลนิดหน่อย แต่คือคนเขาแชร์กัน เห็นจากในพันทิปบ้าง บล็อกบ้าง และชื่นชมในสิ่งที่ผมทำ ซึ่งผมก็ขอขอบคุณมากในตรงนั้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ครับ
http://www.thairath.co.th/content/513929
http://bit.ly/เพจข่าวดี
'คุณหมอบิ๊กไบค์' ขี่มอเตอร์ไซค์อุทิศตัวช่วยคนยากไร้ ไกลกันดาร
ถึงอาชีพแพทย์จะเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย หนักหนา และดูจะไม่ค่อยมีเวลาเป็นส่วนตัวสักเท่าไร แต่สำหรับแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเอกชัย "นพ. พลกฤษณ์ จันทรโสภาคย์" คนนี้ กลับได้สละเวลาว่างส่วนตัวอันน้อยนิด ออกเดินทางพร้อม 'บิ๊กไบค์' คู่ใจ ไปช่วยเหลือ และตรวจรักษาโรคต่างๆ ให้กับผู้ยากไร้ในถิ่นห่างไกล เพียงมุ่งหมายจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น …
หลายคนอาจคุ้นชินกับชื่อ "หมอหลุยส์" ที่เมื่อถูกเอ่ยขึ้นทีไร เป็นต้องนึกถึงคุณหมอหน้าละอ่อนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารที่ต่างๆ ไม่ว่าจะบุกน้ำลุยไฟ ขึ้นดอยหรือเข้าป่าลึกไปไกล ลำบากสักแค่ไหน เขาก็จะไปให้ได้ ซึ่งตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ เขาออกเดินทางช่วยเหลือชาวบ้านมาเป็นเวลา 4 ปี ด้วยอุดมการณ์แรงกล้า และเป้าหมายที่ชัดเจนไม่แปรเปลี่ยน
ไทยรัฐออนไลน์บุกบ้านจับเข่านั่งคุยถึงเรื่องราวการเดินทางที่แสนประทับใจนี้ทำให้รู้ว่า 'ความสุข' ไม่ได้อยู่แค่การเดินทางไปที่ต่างๆ ด้วยสองล้อบิ๊กไบค์ และชิลกับบรรยากาศรอบๆ เท่านั้น ทว่ายังรวมถึงการช่วยเหลือ ตรวจรักษาชาวบ้านด้วยวิชาชีพแพทย์ที่ได้ร่ำเรียนมา และสานความหวังของทุกคนให้เป็นจริง
"การเห็นใบหน้าของชาวบ้านที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มเป็นประกาย มันเป็นความสุขที่หาไม่ได้จากที่ไหนอีกแล้ว" หมอขี่บิ๊กไบค์เป็นร้อยกิโลฯ เพื่ออุทิศตนช่วยคนยากไร้ ที่เชื่อว่าไม่ต้องรู้จักก็หลงรักได้ รับประกัน
Q : จุดเริ่มต้น และแรงบันดาลใจกับการเป็นหมอเกิดขึ้นตอนไหน ?
จุดเริ่มต้นจริงๆ น่าจะมาจากคุณแม่ และครอบครัวที่ปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความที่คุณตาเป็นคุณหมออยู่แล้ว จึงทำให้ผมซึมซับ เรียนรู้มาเรื่อยๆ จนเริ่มชอบ เลยอยากเป็นหมอตั้งแต่เด็กๆ ตามคุณตา เด็กๆ จำได้ว่าชอบเห็นคุณตาขี่บิ๊กไบค์ไปตรวจคนไข้ (คุณตาเป็นคนชอบขี่บิ๊กไบค์มากๆ) เลยเป็นภาพจำติดตามาจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้มีใครวางแผนหรือบังคับอะไร การขี่บิ๊กไบค์ไปช่วยเหลือคนอื่นพูดได้ว่าแรงบันดาลใจทั้งหมดมาจากคุณตา บวกความชอบส่วนตัวที่ได้เห็นจากภาพยนตร์ในทีวี หรือเอ็มวีเพลง ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็น ฮาร์เล่ย์-เดวิดสัน หรือจะเป็น อินเดียน มอเตอร์ไซเคิล
ที่จริงผมชอบบิ๊กไบค์มาตั้งแต่เด็กๆ เสิร์ชหาข้อมูล หาหนังสืออ่านมาเรื่อยๆ แต่ตอนแรกที่บ้านไม่ให้ขี่เลย ให้คุณตาขี่ได้ แต่พอมาถึงรุ่นผม คุณพ่อคุณแม่จะกลัวเรื่องอุบัติเหตุ กลัวรถล้ม เป็นแผลอะไรแบบนี้ แต่ก็ห้ามไม่ค่อยได้ (หัวเราะ)
Q : จุดเริ่มต้นในการขี่บิ๊กไบค์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ถิ่นห่างไกล เริ่มจากตรงไหน ยังไงบ้าง ?
จริงๆ จุดเริ่มต้น คือ ผมขี่มอเตอร์ไซค์อยู่แล้ว แล้วมันก็มีหลายสังคม หรือกลุ่มคนที่ส่วนใหญ่จะขี่บิ๊กไบค์ไปทำบุญ ไปบริจาคของเล็กๆ น้อยๆ ช่วยเหลือผู้ยากไร้กัน แต่ผมเห็นว่าหมอที่ขี่บิ๊กไบค์ไปช่วยเหลือคนจริงๆ มันยังไม่มี ทีนี้มีอยู่ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสได้เดินทางไปเข้าป่า เป็นป่าลึก ทุ่งใหญ่นเรศวร เข้าไปตรวจคนไข้ ไปกับกลุ่มมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ด้วย พอเข้าไปในครั้งนั้นมันเกิดความรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก ถึงทางเข้าไปจะยากลำบาก แต่พอนึกถึงชาวบ้าน-ชาวเขาแล้ว ผมก็หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง ผมย้อนคิดดู พวกเขาจะต้องเข้า-ออกกันลำบากมากแค่ไหน ยิ่งเวลาใครเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยแล้ว เพราะขนาดผมเองยังว่าลำบากมากเลย ฉะนั้นทางการแพทย์ หรือยารักษาโรคต่างๆ มันต้องขาดแคลนอยู่แล้ว ตอนนั้นเมื่อผมได้ไปตรวจคนอย่างใกล้ชิดจริงๆ ได้เข้าไปช่วยเหลือคน ผมรู้สึกดีมากเลย และชอบมากอย่างอธิบายไม่ถูก ปกติคนเขาแค่เอาของไปบริจาคกัน แต่วันนั้นผมเอาเครื่องมือตรวจต่างๆ ติดไปด้วย เพื่อไปตรวจ และได้พูดคุยกับชาวบ้าน ผมรู้สึกประทับใจกับสิ่งที่พวกเขา (ชาวบ้าน) ตอบรับกลับมาอย่างเกินคาด
Q : ทริปแรกที่ได้ไปเยือน ?
จำได้ว่าเป็นทุ่งใหญ่นเรศวร ที่หมู่บ้านสะแก ติดชายแดนพม่าเข้าไปลึกสุดเลย ถ้าฝนฟ้าเป็นใจอากาศดีหน่อย ก็ใช้เวลาเดินทางเข้าไป 2-3 วัน ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรได้ แต่การเดินทางค่อนข้างลำบากมาก ต้องไปนอนกลางทางก่อน (กลางเต็นท์นอน) แล้วก็เดินทางต่ออีกประมาณหนึ่งวัน ซึ่งจากตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า การแพทย์เขาขาดแคลนมาก ทั้งเส้นทางที่ไกลและยากลำบาก รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนคาดเดาไม่ได้ พอผมไปถึงได้ไปตรวจชาวบ้าน ผมวางแผนต่อได้เลยว่าครั้งหน้าที่ผมจะเข้ามา ผมต้องเอายาตัวไหนมารักษา หรือช่วยเหลือพวกเขาบ้าง เพราะบางทีผมไปตรวจแล้วเจอโรคที่ยังไม่มีหมอมารักษา หรือยายังเข้าไม่ถึง
ผมจะวางแผนสเต็ปที่ 2 คือ ถ้าครั้งหน้ากลับมาผมจะต้องทำอะไร ต้องเตรียมอะไร หรือยาตัวไหนมาให้พวกชาวบ้านอีกบ้าง เวลาออกทริปแต่ละครั้ง มันก็เลยกลับมาเป็นการบ้านว่า ผมจะกลับไปต่อยอดให้การรักษาสมบูรณ์ขึ้น มันเป็นโจทย์ที่สำคัญเลย จะรักษาชาวบ้านอย่างไรให้ต่อเนื่องมากที่สุด
Q : ได้ออกทริปช่วยเหลือชาวบ้านบ่อยไหม ?
ไปปีละ 1 หนนะ แต่อย่างทุ่งใหญ่นเรศวรที่ผมไป มันค่อนข้างลึกพอสมควร ทำให้บางที 1 วันถึงบ้าง หรือบางทีก็กินเวลา 2-3 วันเลย ทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นอะไรที่เข้ายาก และดูจะลำบากที่สุดแล้ว ไป-กลับ ตกประมาณ 3-4 วันเห็นจะได้ ยิ่งถ้าอยู่ๆ เกิดฝนตกระหว่างทางแน่นอนเลยว่าเกิน 5 วันและมันจะคาดไม่ได้ว่าจะกลับออกมาได้รึเปล่าด้วย
Q : อุดมการณ์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการออกเดินทางแต่ละครั้ง ?
ผมตั้งเป้าไว้แค่ว่า พอเข้าไปถึงแล้วสามารถบริจาคยาเวชภัณฑ์ต่างๆ และตรวจรักษาคนไข้ได้ในระดับหนึ่งเบื้องต้น จากนั้นจะเริ่มเสต็ป 2 วางแพลนต่อว่า คราวหน้าผมจะต้องกลับมาอีกทีหนึ่งเพื่อเอาอะไรๆ มาให้พวกเขาบ้าง มันจะไม่มีทริปครั้งเดียวจบ มันจะต้องมีเรื่อยๆ ครั้งที่ 2 ที่ 3 เพราะกว่าจะเข้าไปถึงครั้งแรกครั้งเดียว มันก็ยากลำบากมากอยู่แล้ว ทั้งไม่ชินทาง แถมยังไม่รู้ว่าที่นั่นเขาขาดแคลนอะไรบ้าง ฉะนั้นครั้งแรกมันไม่ได้พร้อมไปซะทุกอย่าง มันจะต้องขาดตกบกพร่องอะไรสักอย่างหนึ่งแน่นอน ยิ่งการรักษาที่ไม่รู้ว่าชาวบ้านป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง มันจึงต้องมีครั้งที่ 2 เพื่อกลับมาเก็บงานซ้ำอีกที เจออะไรเพิ่มเติมก็จะได้จัดเตรียมมาให้พวกเขาพร้อมในครั้งหน้า ตลอดจนของใช้จำเป็นให้กับชาวบ้าน และเด็กๆ ด้วย
Q : ออกทริปรักษาชาวบ้านแต่ละครั้ง มีเลือกสถานที่ไหม หรือไปได้ทุกที่ที่ขาดแคลนจริงๆ ?
สถานที่ส่วนใหญ่จะเป็นการทราบข่าว หรือส่งข่าวต่อกันมามากกว่า อย่างมีข่าวชุมชนถิ่นห่างไกลตามหน้าหนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ว่ามีที่ไหนเดือดร้อนบ้าง ถ้าพวกเขาเดินทางลำบาก ต้องการแพทย์จริงๆ และความช่วยเหลือดูแลต่างๆ (โดยเฉพาะทางการแพทย์) ผมก็ยินดีจะไป และวางแผนติดต่อประสานงานไปในพื้นที่ทางนั้นให้เดินทางเข้าไปถึงได้ ช่วยในเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้กันและกัน ทุกครั้งที่ไปจะไปกับแฟนผม 2 คนเป็นหลัก แต่บางทีก็จะมีเพื่อน หรือน้องผมที่เป็นหมอเหมือนกันไปด้วย ถ้ามีเวลาก็จะเข้ามาช่วยกัน
มีทริปที่ผมไปใกล้ๆ เหมือนกัน อยู่แค่นครปฐมเอง เป็นบ้านพักหญิงคนชรา ตอนนั้นมีกลุ่มน้องๆ ใจบุญที่ขี่มอเตอร์ไซค์เหมือนกัน เขาจัดกิจกรรมที่นั่น ก็เลยมาชวนให้ผมไปช่วยตรวจคุณยาย ถึงมันจะอยู่แค่นครปฐม แต่ผมก็แฮปปี้มาก และพวกเขาเองก็มีความสุขมากเช่นกัน เพราะปกติจะมีแต่คนเอาของไปบริจาค แต่ไม่เคยมีใครเข้าไปนั่งคุย นั่งตรวจอย่างจริงจัง รวมไปถึงเรือนพักของคุณยายบางท่านที่ไม่สามารถเดินออกมาตรวจกับผมได้ ด้วยเพราะเขาอาจจะป่วย เรื่องของความพิการอะไรต่างๆ เดินไม่ไหว ผมก็เข้าไปเยี่ยมตรวจถึงเตียงเลย เหมือนทำงานโรงพยาบาลเลย เข้าไปดูคุณยายทีละเตียงๆ แล้วเอาของไปให้ ผมมีความสุขมากนะ ถึงแม้มันจะเป็นสถานที่ใกล้ๆ ก็ตาม เรื่องการเดินทางไม่ใช่ปัญหาว่า ผมจะต้องเดินทางไกลแล้วถึงจะมีความสุข มันไม่เกี่ยวเลย แค่ได้ไปตรวจ ได้ช่วยเหลือคนอื่น มันก็ทำให้ผมมีความสุขมากแล้ว
Q : มีอะไรบ้างทางการแพทย์ที่ชาวบ้านยังขาดแคลน ?
หลักๆ เลยคือยา และบุคลากร นอกจากขาดแคลนเวชภัณฑ์แล้ว ชาวบ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้อง บางอย่างผมเอายาไปให้พวกเขาแต่พวกเขาใช้ไม่เป็น บางคนก็พูด-เขียนภาษาไทยไม่ได้ อ่านไม่ออก ยิ่งยาบางตัวเป็นภาษาอังกฤษยิ่งแล้วใหญ่ ผมก็อาจจะต้องเอายาไปฝากไว้จุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน ไว้กับผู้ใหญ่บ้าน ใครเป็นอะไรเจ็บป่วยก็ให้มารับยาจากผู้ใหญ่บ้านแทน โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนอธิบายการใช้ บางทีผมให้กับคนไข้เลยไม่ได้ เพราะพวกเขาจะไม่เข้าใจวิธีการใช้ยา ผมก็ต้องอธิบายให้ผู้ใหญ่บ้านฟังอีกทีหนึ่ง
Q : ความประทับใจ และผลตอบรับจากชาวบ้านเป็นอย่างไร ?
ผมประทับใจ 'รอยยิ้ม' นะ ทุกครั้งทุกที่จะเหมือนกันหมด รอยยิ้มที่มีความสุข และเต็มไปด้วยความหวัง ถามว่าผมขี่บิ๊กไบค์เข้าไปเหนื่อยไหม เหนื่อย เตรียมของเตรียมทุกอย่างเหนื่อยไหม เหนื่อย บางทีพอเข้าไปถึงก็ไม่มีแรงจะตรวจ รู้สึกอยากพักผ่อน แต่พอเห็นชาวบ้านมายืนรอกันเต็มด้วยความหวัง หลังได้พูดคุยกับชาวบ้าน เห็นพวกเขาเฮฮาตื่นเต้น รอยยิ้มที่เป็นมิตร และต้อนรับ นั่นก็ทำให้ผมหายเหนื่อย ผมประสานงานให้ชาวบ้านมารับยา มาตรวจ พวกเขาก็ยิ้มแย้มสนุกสนาน มันทำให้ผมมีแรงฮึดทำต่อได้ทันที พวกผมตั้งโต๊ะยา จัดหน่วย แล้วก็คุยกับชาวบ้านไปเรื่อยๆ มันเป็นบรรยากาศที่สนุกสนานมาก และเป็นอีกหนึ่งความประทับใจแสนวิเศษ ผมเห็นพวกเขาตื่นเต้น ทุกคนมีแววตาเป็นประกายที่เต็มไปด้วยความหวัง
Q : คุณสมบัติของคุณหมอที่ดีต้องมีอะไรบ้าง ?
ในฐานะที่ผมเป็นหมอ ผมคิดว่าลึกๆ ของหมอจะต้องเป็นคนมีน้ำใจ เอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ คอยให้ผู้อื่นเสมอๆ ไม่งั้นจะทำอาชีพนี้ไม่ได้ อาชีพนี้จริงๆ ต้องเป็นผู้ให้นะ รู้จักให้ หลายๆ อย่างมันก็ปิดทองหลังพระ อย่างที่ผมไปช่วยเหลือชาวบ้านในที่ต่างๆ ผมทำไม่ได้คิดว่าจะต้องมีเสียงตอบรับหรืออะไร ผมแค่ลงเฟซบุ๊ก สื่อโซเชียลนิดหน่อย แต่คือคนเขาแชร์กัน เห็นจากในพันทิปบ้าง บล็อกบ้าง และชื่นชมในสิ่งที่ผมทำ ซึ่งผมก็ขอขอบคุณมากในตรงนั้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ครับ
http://www.thairath.co.th/content/513929
http://bit.ly/เพจข่าวดี