ช่วยกันสังเกตระวังวัตถุต้องสงสัย ???



วิธีสังเกตระเบิดแสวงเครื่อง เนื่องจากระเบิดแสวงเครื่องมีลักษณะภายนอกเหมือน กับวัสดุ หรือของใช้ทั่วไป ทำให้การสังเกตหรือการพิสูจน์ทราบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องนั้นค่อนข้างทำได้ยาก แต่จะมีข้อพิจารณาในเบื้องต้นได้ดังนี้

1. เป็นวัตถุที่ไม่มีเจ้าของหรือหาเจ้าของไม่พบ เช่นมีของแปลกปลอมมาวางอยู่ และสอบถามไม่พบเจ้าของ เช่น มีกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน แต่สอบถามไม่พบว่ามีเจ้าของ หรือมีกล่องไปวางตามตลาด แต่ไม่มีเจ้าของคอยดู เป็นต้น

2. เป็น วัตถุมีลักษณะภายนอกผิดปกติหรือผิดจากรูปเดิม ไป เช่น กล่อง มีร่องรอยเปรอะเปื้อน กล่องปิดผนึกไม่เรียบร้อย หรือมีรอยผนึกใหม่ มีรอยยับต่าง ๆ หรือมีสี ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น

3. เป็นวัตถุที่ควรจะอยู่ในที่อื่นมากกว่าจะอยู่ตรงนั้น เช่น กล่องข้าวไปวางในห้างสรรพสินค้า หรือถังขยะไปวางตรง สี่แยกไฟแดง หรือมีกระถางต้นไม้ไปวางใน ดงต้นไม้ที่ไม่มีกระถาง

4. เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่ตรงนั้นมาก่อนเลย เช่น มีถังขยะไปวางตรงทางเดินที่ไม่เคยมีถังขยะมาก่อน หรือมีกระเป๋า กล่องกระดาษ กล่องพลาสติก กล่องโฟม หรือ สิ่งแปลกปลอมไปวางในสถานที่ ที่ไม่เคยมีของไปวาง จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแค่เหตุผลในการพิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้นทุกคนควรจะหมั่นสังเกตว่ามีสิ่งแปลกปลอมอะไรเข้ามาวางในบริเวณที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน และควรจะทำและจัดข้าวของให้เป็นระเบียบ จะได้สังเกตเห็นสิ่งแปลกปลอมได้ง่าย พื้นที่สาธารณะหากอะไรที่เก็บเข้าตู้ล็อกได้ควรทำให้เรียบร้อย พื้นที่ไหนอันตรายห้ามเข้าควรจะมีป้ายบอกและตรวจตราพื้นที่ดูสิ่งแปลกปลอมตลอดเวลา ถ้ามีข้อผิดสังเกตให้นึก ไว้เสมอว่า วัตถุต้องสงสัยนั้นอาจจะเป็นระเบิดแสวงเครื่อง


เมื่อพบระเบิดแสวงเครื่องหรือวัตถุต้องสงสัยจะทำอย่างไร

1. ห้ามจับต้อง หยิบยกเคลื่อนย้าย ทำให้สั่นสะเทือน หรือเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด

2. สอบถามหาเจ้าของวัตถุต้องสงสัย หากไม่มีผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าของให้สันนิษ ฐานไว้ก่อนว่าวัตถุต้องสงสัยอาจ จะเป็นวัตถุระเบิด

3. จดจำลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัยและบริเวณพื้นที่ที่พบเห็น เพื่อเป็นข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ดังนี้

- ขนาด, รูปร่างของวัตถุต้องสงสัย

- ลักษณะบ่งบอกอื่น ๆ เช่น มีเสียงการทำงาน, มีสาย ไฟฟ้า เป็นต้น

4. รายงานให้ผู้รับผิดชอบสถานที่นั้นทราบ โดยรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองดำเนิน การต่อไป

5. อพยพผู้คนออกจากอาคารสถานที่นั้นโดยด่วนด้วยวิธีนุ่มนวล เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นกลัว

6. กำหนดเขตอันตรายและป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ให้เข้าไปในเขตอันตราย โดย ใช้การประมาณการจากขนาดของ วัตถุต้องสงสัย

- ระเบิดแสวงเครื่องขนาดเล็กปิดกั้นระยะ 100 เมตร

- ระเบิดแสวงเครื่องขนาดใหญ่, รถยนต์ระเบิดปิดกั้นระยะ 400 เมตร

7. ผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยให้รอให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เก็บกู้วัตถุระเบิด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่