โดยปกติเวลาเราเรียนเรื่องพายุ จะไล่ตามลำดับความแรงว่า <61 km/h เรียกดีเปรสชั่น 61-119 km/h เรียกโซนร้อน และ >119 km/h เรียกไต้ฝุ่น
แล้วในระดับสูงสุดคือไต้ฝุ่น ก็เรียกต่างไปตามแหล่งกำเนิด เป็นเฮอริเคน ไซโคลน หรือแม้แต่ชื่อแปลกๆอย่าง วิลลี วิลลี่ หรือบาเกียว(ซึ่งยังไม่เคยได้ยินตามรายงานข่าวเลย) ซึ่งมีแค่นี้แหละ
แต่พอผมไปหาข้อมูลของไซโคลนโกเมน ที่เพิ่งถล่มพม่าแล้วทำน้ำท่วมไปแล้ว กับพบว่า

ใช่แล้ว พายุนี้มีความเร็วศูนย์กลางแค่ 75 km/h นั่นหมายความว่าหากพายุนี้เกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิก จะกลายเป็นแค่พายุโซนร้อน(Tropical storm) ที่ความเร็วเดียวกัน
ผมเลยลองไปหาข้อมูลชื่อพายุ ตามความเร็วลม ตามที่ต่างๆในวิกิตามตารางข้างล่าง

กรอบสีแดงคือโซนพายุที่รู้จักกันดีคือ แอตแลนติก(เฮอริเคน) แปซิฟิก(ไต้ฝุ่น) และอินเดียเหนือ(ไซโคลน)
เริ่มที่ฝั่งแอตแลนติก เรียงตามบทเรียนเลย คือดีเปรสชั่น โซนร้อน และเฮอริเคน โดยเฮอริเคนก็แบ่งเป็น 5 ระดับตามความแรง
ส่วนแปซิฟิกนี่มี 2 เจ้าเลยครับคือ ของ JTWC แบ่งเหมือนเฮอริเคนเป๊ะ เพราะเจ้าของเดียวกันคือสหรัฐอเมริกา แต่ตรงไต้ฝุ่นแบ่งแค่ 2 ระดับคือ ไต้ฝุ่น และ ซุเปอร์ไต้ฝุ่น
อีกเจ้าคือ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น หรือ JMA จะแบ่งต่างกันนิดหน่อย และพายุโซนร้อนแบ่งเป็น 2 ระดับคือ โซนร้อน และโซนร้อนรุนแรง แต่ไต้ฝุ่นเรียกแบบเดียว ไม่มีระดับใดๆ
ส่วนทางมหาสมุทรอินเดีย ดำเนินโดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย IMD รายนี้แบ่งดีเปรสชั่นเป็น 2 ระดับ แล้วข้ามไปไซโคลนเลยและแบ่งมันเป็น 4 ระดับ
อีกสองช่องที่เหลือคือมหาสมุทรอินเดียใต้ ซึ่งจะเกิดในชายฝั่งแอฟริกา และโซนออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองที่ก็ใช้ไซโคลนเช่นกัน
ตอนแรกคิดว่าพายุแบ่งกันง่ายๆ 3ระดับ แต่แบบนี้คงต้องไปอัพเดทข้อมูลกันใหม่ เพราะแต่ละที่ก็กำหนดชื่อ และระดับความแรงไม่เท่ากันอีก อย่างเช่นมีพายุความเร็ว 110 km/h ที่แปซิฟิก อาจเป็นได้ทั้งโซนร้อนรุนแรง และไต้ฝุ่นเลย เพราะมีสองเจ้าคือ JMA และ JTWC
การแบ่งระดับพายุในแต่ละที่ ช่างมึนหัวดีแท้
แล้วในระดับสูงสุดคือไต้ฝุ่น ก็เรียกต่างไปตามแหล่งกำเนิด เป็นเฮอริเคน ไซโคลน หรือแม้แต่ชื่อแปลกๆอย่าง วิลลี วิลลี่ หรือบาเกียว(ซึ่งยังไม่เคยได้ยินตามรายงานข่าวเลย) ซึ่งมีแค่นี้แหละ
แต่พอผมไปหาข้อมูลของไซโคลนโกเมน ที่เพิ่งถล่มพม่าแล้วทำน้ำท่วมไปแล้ว กับพบว่า
ใช่แล้ว พายุนี้มีความเร็วศูนย์กลางแค่ 75 km/h นั่นหมายความว่าหากพายุนี้เกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิก จะกลายเป็นแค่พายุโซนร้อน(Tropical storm) ที่ความเร็วเดียวกัน
ผมเลยลองไปหาข้อมูลชื่อพายุ ตามความเร็วลม ตามที่ต่างๆในวิกิตามตารางข้างล่าง
กรอบสีแดงคือโซนพายุที่รู้จักกันดีคือ แอตแลนติก(เฮอริเคน) แปซิฟิก(ไต้ฝุ่น) และอินเดียเหนือ(ไซโคลน)
เริ่มที่ฝั่งแอตแลนติก เรียงตามบทเรียนเลย คือดีเปรสชั่น โซนร้อน และเฮอริเคน โดยเฮอริเคนก็แบ่งเป็น 5 ระดับตามความแรง
ส่วนแปซิฟิกนี่มี 2 เจ้าเลยครับคือ ของ JTWC แบ่งเหมือนเฮอริเคนเป๊ะ เพราะเจ้าของเดียวกันคือสหรัฐอเมริกา แต่ตรงไต้ฝุ่นแบ่งแค่ 2 ระดับคือ ไต้ฝุ่น และ ซุเปอร์ไต้ฝุ่น
อีกเจ้าคือ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น หรือ JMA จะแบ่งต่างกันนิดหน่อย และพายุโซนร้อนแบ่งเป็น 2 ระดับคือ โซนร้อน และโซนร้อนรุนแรง แต่ไต้ฝุ่นเรียกแบบเดียว ไม่มีระดับใดๆ
ส่วนทางมหาสมุทรอินเดีย ดำเนินโดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย IMD รายนี้แบ่งดีเปรสชั่นเป็น 2 ระดับ แล้วข้ามไปไซโคลนเลยและแบ่งมันเป็น 4 ระดับ
อีกสองช่องที่เหลือคือมหาสมุทรอินเดียใต้ ซึ่งจะเกิดในชายฝั่งแอฟริกา และโซนออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองที่ก็ใช้ไซโคลนเช่นกัน
ตอนแรกคิดว่าพายุแบ่งกันง่ายๆ 3ระดับ แต่แบบนี้คงต้องไปอัพเดทข้อมูลกันใหม่ เพราะแต่ละที่ก็กำหนดชื่อ และระดับความแรงไม่เท่ากันอีก อย่างเช่นมีพายุความเร็ว 110 km/h ที่แปซิฟิก อาจเป็นได้ทั้งโซนร้อนรุนแรง และไต้ฝุ่นเลย เพราะมีสองเจ้าคือ JMA และ JTWC