ที่มา:
http://news.voicetv.co.th/business/236676.html
แม้ประเทศไทยจะมีตัวเลขการว่างงานไม่ถึงร้อยละ 1 แต่ 5 เดือนแรกของปีนี้ มีพนักงานถูกเลิกจ้างแล้ว 3 หมื่นคน โดนต้องติดตามอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความเสี่ยงเลิกจ้างงานมากที่สุด
นายวรานนท์ ปีติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าเริ่มมีสัญญาณการเลิกจ้างและปลดลูกจ้างแรงงาน หลังจากบริษัท ซัมซุง ในจังหวัดนครราชสีมา เลิกจ้างพนักงานแล้ว 1,365 คน และคาดว่าจะถูกเลิกจ้างเพิ่มอีก 800 คน ในวันที่ 30 สิงหาคมนี้
โดย 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค. 2558) มีแรงงานถูกเลิกจ้างรวม 31,100 คน เทียบกับปี 2557 แรงงานถูกเลิกจ้าง 28,900 คน ซึ่งได้เฝ้าระวังกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง และอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยอดสั่งผลิตลดลงเกือบทั้งหมด
หลายบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ ให้พนักงานหยุดงาน แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 ของเงินเดือน และมีกำหนดระยะเวลาการหยุดงานจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา จึงจะให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เพื่อรักษาแรงงาน จนกว่าออร์เดอร์จะมา
ส่วนนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การปลดพนักงานบางส่วนออกจากระบบ ไม่ใช่เป็นผลจากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ และยอดจำหน่ายในช่วง 5-6 เดือนที่เติบโตลดลงไปร้อยละ 15-16 โดยคาดว่าปีนี้ จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้ 1 ล้าน 8 แสนคัน และ ปีนี้จะผลิตได้ 2 ล้านคันแน่นอน
แต่นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ระบุว่า ไทยยังขาดแรงงานอยู่ 34,717 คน ในอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องนุ่งห่ม และ อาหารและเครื่องดื่ม โดยแรงงานที่ยังขาดแคลนส่วนใหญ่เป็นแรงงานประเภทมีฝีมือ และอีก 5 ปีข้างหน้า จะขาดแรงงานฝ่ายผลิตประมาณ 3 แสนคน โดยภาคอุตสาหกรรมหันมาลงทุนใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น
ไทยยังมีคนว่างงานน้อย แต่เริ่มมีสัญญาณคนจะตกงานเพิ่มขึ้น
แม้ประเทศไทยจะมีตัวเลขการว่างงานไม่ถึงร้อยละ 1 แต่ 5 เดือนแรกของปีนี้ มีพนักงานถูกเลิกจ้างแล้ว 3 หมื่นคน โดนต้องติดตามอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความเสี่ยงเลิกจ้างงานมากที่สุด
นายวรานนท์ ปีติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าเริ่มมีสัญญาณการเลิกจ้างและปลดลูกจ้างแรงงาน หลังจากบริษัท ซัมซุง ในจังหวัดนครราชสีมา เลิกจ้างพนักงานแล้ว 1,365 คน และคาดว่าจะถูกเลิกจ้างเพิ่มอีก 800 คน ในวันที่ 30 สิงหาคมนี้
โดย 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค. 2558) มีแรงงานถูกเลิกจ้างรวม 31,100 คน เทียบกับปี 2557 แรงงานถูกเลิกจ้าง 28,900 คน ซึ่งได้เฝ้าระวังกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง และอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยอดสั่งผลิตลดลงเกือบทั้งหมด
หลายบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ ให้พนักงานหยุดงาน แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 ของเงินเดือน และมีกำหนดระยะเวลาการหยุดงานจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา จึงจะให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เพื่อรักษาแรงงาน จนกว่าออร์เดอร์จะมา
ส่วนนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การปลดพนักงานบางส่วนออกจากระบบ ไม่ใช่เป็นผลจากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ และยอดจำหน่ายในช่วง 5-6 เดือนที่เติบโตลดลงไปร้อยละ 15-16 โดยคาดว่าปีนี้ จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้ 1 ล้าน 8 แสนคัน และ ปีนี้จะผลิตได้ 2 ล้านคันแน่นอน
แต่นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ระบุว่า ไทยยังขาดแรงงานอยู่ 34,717 คน ในอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องนุ่งห่ม และ อาหารและเครื่องดื่ม โดยแรงงานที่ยังขาดแคลนส่วนใหญ่เป็นแรงงานประเภทมีฝีมือ และอีก 5 ปีข้างหน้า จะขาดแรงงานฝ่ายผลิตประมาณ 3 แสนคน โดยภาคอุตสาหกรรมหันมาลงทุนใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น