คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของโลก กำเนิดขึ้นในสมัยกรีก ขอบเขตที่กว้างขวางของภูมิศาสต์ ที่ศึกษากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดบนผิวโลก (ภูมิ หมายถึง ดิน) คลอบคุมทั้งวิทยาศาสต์และสังคมศาสตร์ จนกล่าวว่าเป็นแม่แห่งสรรพศาสตร์ (Mother of all sciences)
ในระดับปริญญาตรี ของประเทศไทยในอดีตจะเน้นการศึกษากว้างๆ คลอบคลุมทุกแขนงของภูมิศาสต์ (มนุษย์ กายภาพ เทคนิค และภูมิภาค)
แต่ปัจจุบันในหลายมหาวิทยาลัยนิยมเน้นให้ นศ เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวกับเทคนิคฯ หรือปรับหลักสูตรเป็นด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
(จากสาขาวิชาภูมิศาสต์เปลี่ยนไปเป็น สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาภูมิศาสต์และภูมิสารสนเทศ)
4 แขนงหลักๆ ของภูมิศาสต์
1. ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการประยุกต์องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ไปศึกษากับกิจกรรมของมนุษ์ เช่น เมือง ชนบท ผังเมือง การเมือง
การแพทย์ การพัฒนา การใช้ที่ดิน การขนส่ง เศรษฐกิจ ฯลฯ
2. ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นการประยุกต์องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ไปศึกษากับสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น
ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ทรัพยากรต่างๆ ภัยพิบัติ ธรณีสัณฐาน ฯลฯ
3. เทคนิคทางภูมิศาสตร์ เป็นการประยุกต์เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ เช่น แผนที่
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ภาพจากดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ GPS สถิติ ฯลฯ นำไปเป็นเครื่องมือในการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นใน
2 แขนงข้างต้น
ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือในแขนงนี้ยังเป็นที่นิยมของศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบนพื้นผิวโลกเช่น ป่าไม้ การเกตร ดิน หิน น้ำ อากาศ สาธารณสุข เป็นต้น จนเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการของสายงานในปัจจุบันจนทำให้หลายๆ สถาบันเน้นพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางด้านนี้โดยตรง
4. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค แขนงที่ว่าด้วยเรื่องของการวิเคราะความเด่นเฉพาะของพื้นที่หนึ่งๆ ออกมา อธิบายให้เห็นภาพจะคล้ายๆ
กับความรู้ภูมิศาสตร์ที่เราเคยเรียนมาในสมัยนักเรียนที่ต้องรู้จักสถานที่โดดเด่น หรือเอกลักษณ์ของภูมิภาคนั้นๆ ในปัจจุบันเป็นแขนงที่ไม่ได้เน้น
ในการศึกษาหากแต่ยังมีความสำคัญเพราะเป็นวิธีการหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ได้
กล่าวโดยสรุปภูมิศาสตร์จะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์(ภูมิศาสตร์มนุษย์) กับสิ่งแวดล้อม (ภูมิศาสตร์กายภาพ)
โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ (เทคนิคทางภูมิศาสตร์) ที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการศึกษานั่นเอง
ไม่ทราบว่าต้องเก่งอะไรบ้าง? ต้องรู้อะไรบ้างค่ะ?
โดยทั่วไปหลักสูตร 4 ปี ตามมหาวิทยาลัย จะมีหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต มีองค์ประกอบ คือ
1. วิชาบังคับพื้นฐาน (เรียนคล้ายกันทั้งมหาวิทยาลัย)
-ภาษา –คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ –กลุ่มสังคมศาสตร์ -กลุ่มมนุษยศาสตร์
2. วิชาบังคับพื้นฐานสำหรับสาขา (บังคับเฉพาะสาขาภูมิศาสตร์)
-คณิตศาสตร์หรือแคลคูลัส (ทุกมหาวิทยาลัย 1-2 ตัว)
-วิทยาศาสตร์พื้นฐาน &lab เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา (บางมหาวิทยาลัย/ 1-3 ตัว)
-ระบบคอมพิวเตอร์/ การเขียนโปรแกรม (บางมหาวิทยาลัย 1-2 ตัว)
-สถิติ (ทุกมหาวิทยาลัย 1ตัว)
3.วิชาเอกบังคับ (วิชาทางภูมิศาสตร์) โดยส่วนมากในแต่ละมหาวิทยาลัยจะคล้ายๆ กัน เนื่องจากในการร่างฯ หลักสูตรต้องใช้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ (ซึ่งมีไม่กี่คนและส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ)
3.1 สาขาภูมิศาสตร์
-แนวความคิดทางภูมิศาสตร์ -ภูมิศาสตร์มนุษย์ -ภูมิศาสตร์กายภาพ -ภูมิศาสตร์ประเทศไทย -การแผนที่/ การอ่านแผนที่และรูปถ่ายทางอากาศ -ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) -การรับรู้จากระยะไหล (RS) –เทคนิคภาคสนาม -สถิติทางภูมิศาสตร์ -วิจัย/ ปัญหาพิเศษ
3.2 สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
-ภูมิศาสตร์กายภาพ -การแผนที่/ การอ่านแผนที่และรูปถ่ายทางอากาศ-การแปลภาพถ่าย-ระบบสารสนเทศศาสตร์ (GIS) -การรับรู้จากระยะไกล (RS)-ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) -โฟโตแกรมเมตรี -แผนที่มัลติมีเดีย-การสำรวจรังวัด -เทคนิคภาคสนาม-สถิติทางภูมิศาสตร์
-วิจัย/ ปัญหาพิเศษ
จะเห็นว่าทั้งสองหลักสูตรจะมีเนื้อหาวิชาบังคับที่ใกล้เคียงกันโดย สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ จะตัดรายวิชาทางมนุษย์ออกและเพิ่ม
วิชาทางเทคนิค เช่น โฟโตแกรมเมตรี ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก และแผนที่มัลติมีเดีย เข้าไปแทน
4. วิชาเอกเลือก (เลือกวิชาทางภูมิศาสตร์ในแขนงต่างๆ ที่เหลือ) สามารถเลือกเน้นทางด้านใดด้านหนึ่งหรือผสมผสานได้ จขกท ชอบธรรมชาติแนะนำเลือกรายวิชาทางด้านกายภาพ ครับ
4.1กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ (ธรณีสัณฐานวิทยา อุทกภูมิศาสตร์และทรัพยากรน้ำ ภัยพิบัติธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ)
4.2 กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ (การใช้ที่ดิน ภูมิศาสตร์ประชากร ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม ภูมิศาสตร์การขนส่ง ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์เมือง ฯลฯ)
4.3 กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์เทคนิค (การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ฯลฯ)
5. วิชาโท (บางมหาวิทยาลัยไม่มี) เลือกเรียนจากสาขาวิชาที่สนใจ แนะนำให้ จขกท เลือกสาขาที่เอื้อต่อวิชาภูมิศาสต์ เช่น ป่าไม้ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา ปฐพี อุทกศาสต์ สิ่งแวดล้อม การเกษตร ผังเมือง พวกนี้ครับ
6. วิชาเลือกเสรี (เลือกอะไรก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย) อันนี้แล้วแต่ครับ
ในระดับปริญญาตรีจะเน้นการเรียนที่กว้าง จะเจาะลึกเฉพาะทางในระดับสูงขึ้น แต่หาก จขกท ชอบธรรมชาติน่าจะเน้นเอาดีทางกายภาพ
นะครับซึ่งต้องแน่นวิชาทางวิทยาศาสต์ให้มาก เพราะในปัจจุบันระบบการศึกษาธรรมชาติจะถูกมองแบบเป็นระบบของโลกที่มีความสัมพันธ์กัน
(โลกศาสตร์) ใน 4 ภาค คือ อุทก (ใช้ความรู้ฟิสิกส์/ เคมีของน้ำ) บรรยากาศ (ใช้ความรู้ฟิสิกส์/ เคมีของอากาศ) ธรณี (ใช้ความรู้ฟิสิกส์/
เคมีของหินและดิน) และชีว (ใช้ความรู้ชีววิทยาดีๆนี่เอง) ซึงการจะเข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจนทำให้สามารถแก้ไขได้
ก็ต้องรู้ถึงต้นตอของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างลึกซึ้งและไปต่อยอดเอาในระดับสูง (หากต้องการ)
นอกจากวิทยาศาสต์แล้วกิจกรรมของมนุษย์มักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้นก็ต้องมีองค์ความรู้ทางมนุษย์เพิ่มเข้ามาด้วย และการเลือก
ใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง เช่น การอ่านแผนที่ซึ่งต้องใช้คณิตศาสต์มาช่วยในการคำนวณระยะทาง การใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม (RS) มาวิเคราะห์
ข้อมูลด้วย GIS ซึงอาศัยหลักการทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องอ้างอิงระบบพิกัดด้วย GPS อีกทั้งแบบสอบถาม สัมภาษณ์ต่างๆ
ที่ต้องวิเคราะห์ด้วยสถิติ ซึ่งล้สนแต่สัมพันธ์กัน
เรียนยากรึป่าว? จบแล้วทำงานอะไร? คือเราเป็นคนชอบโลกอ่ะ ชอบธรรมชาติ
ผมว่าเรียนไม่ยากหรอก ยากหน่อยก็เป็นวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (แคลคูลัส) สถิติ หรือคอมพิวเตอร์ (การเขียนโปรแกรม)
ส่วนภาษานั้นเป็นวิชาบังคับของทุกหลักสูตรอยู่แล้วครับ ส่วนวิชาเอกส่วนใหญ่ต้องออกไปศึกษาภาคสนามนอกห้องเรียนหากชอบแล้วล่ะก็
รับรองไม่มีเบื่อแน่นอน
อย่างสายงานหลักในตอนนี้นี้คือการประยุกต์ใช้พวกเครื่องมือ เทคนิคคอมพิวเตอร์ทางภูมิศาสต์พวกแผนที่ โปรแกรมประยุกต์ด้านแผนที่ต่างๆ มาใช้ทำงาน ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น ในภาครัฐ (จัดทำแผนที่ภาษี แผนที่การใช้ที่ดิน การถือครองที่ดิน วิเคราะห์ระบบลุ่มน้ำและการไหล งานวิเคราะห์โครงข่าย นักวิจัยต่างๆ ครู อาจารย์) ภาคเอกชน (ทำงานในบริษัทที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนที่ การสำรวจ)
โดยส่วนตัวผมเองก็ชอบธรรมชาติ เดินทางท่องเที่ยว เรียนสภาพภูมิศาสตร์ไปตามที่ต่างๆ ตอนเรียนเลยเน้นลงรายวิชาด้านกายภาพ
แต่ก็ไม่ลืมวิชาด้านเทคนิค (ใช้หากินได้) แต่ก่อนเคยทำงานเอกชนเป็นนักเทคนิคสิ่งแวดล้อมในบริบัทที่ปรึกษา ด้าน EIA และผันตัวเองมาเป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการอยู่หลายปี ทำแผนที่ สำรวจพื้นที่เกษตร พื้นทีบุกรุกก็ได้ใช้ความรู้ที่หลากหลาย ปัจจุบันว่างงานมาเกือบปีแล้วและกำลังมองหางานในสายวิชาชีพนี้อีก เพราะเป็นคนชอบทางด้านนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนโลกของเราและภูมิศาสตร์ในชั้นมัธยมแล้วครับ ที่ผ่านมาหลังออกจากงานก็อดคิดถึงวิชาชีพนี้ไม่ได้ และตอนนี้ก็ยังเดินทางท่องเที่ยวทั้งในป่าและเมืองอยู่ตลอดครับ (หากเบื่อราชการก็ไปทำเอกชนที่ท้าทายกว่า
หรือรับงานอิสระ (freelance) อีกทั้งมูลนิธิสืบฯ ก็ต้องการคนสายงานนี้เช่นกันครับ (ทำงานกับป่า) รวมไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ (NGO)
ทังในและต่างประเทศด้วย)
ชอบอะไรที่เป็นอิสระ คิดว่าเราน่าจะเรียนทางนี้ได้รึป่าวค่ะ?
ผมเองก็เป็นคนที่มีอิสระสูงมากคนนึง ตอนแรกก็คิดว่าจะอยู่ทำงานในระบบกินเงินเดือนได้รึเปล่า ไปๆ มาๆ ก็อยู่ได้ มาอยู่ กทม จะ 8 ปีแล้ว ทำงานกินเงินเดือน (เอกชน/รัฐ) มา 3 ที่ 4 ปี ก็อยู่รอดมาได้ อาจเพราะเป็นคนชอบงานด้านนี้จึงสามารถทนอยู่ได้ ที่มีเบื่อบ้างก็เพื่อนร่วมงานและระบบราชการที่เฉื่อยๆ อีกอย่างในวันหยุด หรือวันลาผมเองก็ออกไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ทำให้มีความสุขที่จะมาต่อสู้กับงานได้บ้าง
ถ้าชอบธรรมชาติ แผนที่ การเดินทาง ต่างประเทศ ผมสนับสนุนสาขานี้เต็มที่นะ เพราะหากเราชอบมันแล้วเราจะทำมันได้ดี ยกตัวอย่างในระดับปริญญาตรีถ้าจะเรียนทางธรรมชาติเฉพาะก็ต้องเลือกด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่น วนศาสตร์ (ป่าไม้) ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา อุทกศาสต์
(วิศวะแหล่งน้ำ) อุตุนิยมวิทยา แต่ถ้าเป็นภูมิศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (เน้นปัญหามลพิษและนโยบายเพื่อการจัดการ ) จะเป็นการบูรณาการความรู้
ทางธรรมชาติทั้งหลายเข้าด้วยกัน
------------------------------------------------------------
สถาบันที่เปิดสอนด้านภูมิศาสตร์ ในประเทศไทย
1. จุฬาฯ
-อ.บ. (ภูมิศาสตร์),
-อ.ม. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
-วท.ม. (โลกศาสตร์)
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
- B.Sc. (Geoinfomatics) (นานาชาติร่วมกับ AIT)
-วท.ม. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์)
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
-วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
- วท.ม. (ภูมิศาสตร์)
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
- วท.ม. (ภูมิสารสนเทศ)
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
- วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์),
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม)
8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศศ.บ. (ภูมิศาสตร์)
9. มหาวิทยาลัยทักษิณ
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ)
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากร)
11. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
-วท.ม. (ภูมิศาสตร์)
12. มหาวิทยาลัยบูรพา
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
-วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
-วท.ด. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
-วท.ม. (ภูมิสารสนเทศ)
-วท.ด. (ภูมิสารสนเทศ)
14. มหาวิทยาลัยศิลปากร
-อ.บ. (ภูมิศาสตร์),
-อ.ม. (ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม)
15. มหาวิทยาลัยพะเยา
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
16. วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดังต่อไปนี้
เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ รำไพพรรณี บุรีรัมย์ สวนสุนันทา นครสวรรค์ สงขลา นครราชสีมา เป็นต้น
17. วท.บ. และ/ หรือ วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน ดังต่อไปนี้
ฟาร์อีสเทอร์น หาดใหญ่ เทคโนโลยีมหานคร เกษมบัณฑิต เป็นต้น
-----------------------------
ในระดับปริญญาตรี ของประเทศไทยในอดีตจะเน้นการศึกษากว้างๆ คลอบคลุมทุกแขนงของภูมิศาสต์ (มนุษย์ กายภาพ เทคนิค และภูมิภาค)
แต่ปัจจุบันในหลายมหาวิทยาลัยนิยมเน้นให้ นศ เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวกับเทคนิคฯ หรือปรับหลักสูตรเป็นด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
(จากสาขาวิชาภูมิศาสต์เปลี่ยนไปเป็น สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาภูมิศาสต์และภูมิสารสนเทศ)
4 แขนงหลักๆ ของภูมิศาสต์
1. ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการประยุกต์องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ไปศึกษากับกิจกรรมของมนุษ์ เช่น เมือง ชนบท ผังเมือง การเมือง
การแพทย์ การพัฒนา การใช้ที่ดิน การขนส่ง เศรษฐกิจ ฯลฯ
2. ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นการประยุกต์องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ไปศึกษากับสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น
ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ทรัพยากรต่างๆ ภัยพิบัติ ธรณีสัณฐาน ฯลฯ
3. เทคนิคทางภูมิศาสตร์ เป็นการประยุกต์เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ เช่น แผนที่
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ภาพจากดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ GPS สถิติ ฯลฯ นำไปเป็นเครื่องมือในการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นใน
2 แขนงข้างต้น
ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือในแขนงนี้ยังเป็นที่นิยมของศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบนพื้นผิวโลกเช่น ป่าไม้ การเกตร ดิน หิน น้ำ อากาศ สาธารณสุข เป็นต้น จนเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการของสายงานในปัจจุบันจนทำให้หลายๆ สถาบันเน้นพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางด้านนี้โดยตรง
4. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค แขนงที่ว่าด้วยเรื่องของการวิเคราะความเด่นเฉพาะของพื้นที่หนึ่งๆ ออกมา อธิบายให้เห็นภาพจะคล้ายๆ
กับความรู้ภูมิศาสตร์ที่เราเคยเรียนมาในสมัยนักเรียนที่ต้องรู้จักสถานที่โดดเด่น หรือเอกลักษณ์ของภูมิภาคนั้นๆ ในปัจจุบันเป็นแขนงที่ไม่ได้เน้น
ในการศึกษาหากแต่ยังมีความสำคัญเพราะเป็นวิธีการหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ได้
กล่าวโดยสรุปภูมิศาสตร์จะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์(ภูมิศาสตร์มนุษย์) กับสิ่งแวดล้อม (ภูมิศาสตร์กายภาพ)
โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ (เทคนิคทางภูมิศาสตร์) ที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการศึกษานั่นเอง
ไม่ทราบว่าต้องเก่งอะไรบ้าง? ต้องรู้อะไรบ้างค่ะ?
โดยทั่วไปหลักสูตร 4 ปี ตามมหาวิทยาลัย จะมีหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต มีองค์ประกอบ คือ
1. วิชาบังคับพื้นฐาน (เรียนคล้ายกันทั้งมหาวิทยาลัย)
-ภาษา –คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ –กลุ่มสังคมศาสตร์ -กลุ่มมนุษยศาสตร์
2. วิชาบังคับพื้นฐานสำหรับสาขา (บังคับเฉพาะสาขาภูมิศาสตร์)
-คณิตศาสตร์หรือแคลคูลัส (ทุกมหาวิทยาลัย 1-2 ตัว)
-วิทยาศาสตร์พื้นฐาน &lab เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา (บางมหาวิทยาลัย/ 1-3 ตัว)
-ระบบคอมพิวเตอร์/ การเขียนโปรแกรม (บางมหาวิทยาลัย 1-2 ตัว)
-สถิติ (ทุกมหาวิทยาลัย 1ตัว)
3.วิชาเอกบังคับ (วิชาทางภูมิศาสตร์) โดยส่วนมากในแต่ละมหาวิทยาลัยจะคล้ายๆ กัน เนื่องจากในการร่างฯ หลักสูตรต้องใช้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ (ซึ่งมีไม่กี่คนและส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ)
3.1 สาขาภูมิศาสตร์
-แนวความคิดทางภูมิศาสตร์ -ภูมิศาสตร์มนุษย์ -ภูมิศาสตร์กายภาพ -ภูมิศาสตร์ประเทศไทย -การแผนที่/ การอ่านแผนที่และรูปถ่ายทางอากาศ -ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) -การรับรู้จากระยะไหล (RS) –เทคนิคภาคสนาม -สถิติทางภูมิศาสตร์ -วิจัย/ ปัญหาพิเศษ
3.2 สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์
-ภูมิศาสตร์กายภาพ -การแผนที่/ การอ่านแผนที่และรูปถ่ายทางอากาศ-การแปลภาพถ่าย-ระบบสารสนเทศศาสตร์ (GIS) -การรับรู้จากระยะไกล (RS)-ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) -โฟโตแกรมเมตรี -แผนที่มัลติมีเดีย-การสำรวจรังวัด -เทคนิคภาคสนาม-สถิติทางภูมิศาสตร์
-วิจัย/ ปัญหาพิเศษ
จะเห็นว่าทั้งสองหลักสูตรจะมีเนื้อหาวิชาบังคับที่ใกล้เคียงกันโดย สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ จะตัดรายวิชาทางมนุษย์ออกและเพิ่ม
วิชาทางเทคนิค เช่น โฟโตแกรมเมตรี ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก และแผนที่มัลติมีเดีย เข้าไปแทน
4. วิชาเอกเลือก (เลือกวิชาทางภูมิศาสตร์ในแขนงต่างๆ ที่เหลือ) สามารถเลือกเน้นทางด้านใดด้านหนึ่งหรือผสมผสานได้ จขกท ชอบธรรมชาติแนะนำเลือกรายวิชาทางด้านกายภาพ ครับ
4.1กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์กายภาพ (ธรณีสัณฐานวิทยา อุทกภูมิศาสตร์และทรัพยากรน้ำ ภัยพิบัติธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ)
4.2 กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ (การใช้ที่ดิน ภูมิศาสตร์ประชากร ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม ภูมิศาสตร์การขนส่ง ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์เมือง ฯลฯ)
4.3 กลุ่มวิชาภูมิศาสตร์เทคนิค (การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ฯลฯ)
5. วิชาโท (บางมหาวิทยาลัยไม่มี) เลือกเรียนจากสาขาวิชาที่สนใจ แนะนำให้ จขกท เลือกสาขาที่เอื้อต่อวิชาภูมิศาสต์ เช่น ป่าไม้ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา ปฐพี อุทกศาสต์ สิ่งแวดล้อม การเกษตร ผังเมือง พวกนี้ครับ
6. วิชาเลือกเสรี (เลือกอะไรก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย) อันนี้แล้วแต่ครับ
ในระดับปริญญาตรีจะเน้นการเรียนที่กว้าง จะเจาะลึกเฉพาะทางในระดับสูงขึ้น แต่หาก จขกท ชอบธรรมชาติน่าจะเน้นเอาดีทางกายภาพ
นะครับซึ่งต้องแน่นวิชาทางวิทยาศาสต์ให้มาก เพราะในปัจจุบันระบบการศึกษาธรรมชาติจะถูกมองแบบเป็นระบบของโลกที่มีความสัมพันธ์กัน
(โลกศาสตร์) ใน 4 ภาค คือ อุทก (ใช้ความรู้ฟิสิกส์/ เคมีของน้ำ) บรรยากาศ (ใช้ความรู้ฟิสิกส์/ เคมีของอากาศ) ธรณี (ใช้ความรู้ฟิสิกส์/
เคมีของหินและดิน) และชีว (ใช้ความรู้ชีววิทยาดีๆนี่เอง) ซึงการจะเข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจนทำให้สามารถแก้ไขได้
ก็ต้องรู้ถึงต้นตอของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างลึกซึ้งและไปต่อยอดเอาในระดับสูง (หากต้องการ)
นอกจากวิทยาศาสต์แล้วกิจกรรมของมนุษย์มักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้นก็ต้องมีองค์ความรู้ทางมนุษย์เพิ่มเข้ามาด้วย และการเลือก
ใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง เช่น การอ่านแผนที่ซึ่งต้องใช้คณิตศาสต์มาช่วยในการคำนวณระยะทาง การใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม (RS) มาวิเคราะห์
ข้อมูลด้วย GIS ซึงอาศัยหลักการทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องอ้างอิงระบบพิกัดด้วย GPS อีกทั้งแบบสอบถาม สัมภาษณ์ต่างๆ
ที่ต้องวิเคราะห์ด้วยสถิติ ซึ่งล้สนแต่สัมพันธ์กัน
เรียนยากรึป่าว? จบแล้วทำงานอะไร? คือเราเป็นคนชอบโลกอ่ะ ชอบธรรมชาติ
ผมว่าเรียนไม่ยากหรอก ยากหน่อยก็เป็นวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (แคลคูลัส) สถิติ หรือคอมพิวเตอร์ (การเขียนโปรแกรม)
ส่วนภาษานั้นเป็นวิชาบังคับของทุกหลักสูตรอยู่แล้วครับ ส่วนวิชาเอกส่วนใหญ่ต้องออกไปศึกษาภาคสนามนอกห้องเรียนหากชอบแล้วล่ะก็
รับรองไม่มีเบื่อแน่นอน
อย่างสายงานหลักในตอนนี้นี้คือการประยุกต์ใช้พวกเครื่องมือ เทคนิคคอมพิวเตอร์ทางภูมิศาสต์พวกแผนที่ โปรแกรมประยุกต์ด้านแผนที่ต่างๆ มาใช้ทำงาน ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น ในภาครัฐ (จัดทำแผนที่ภาษี แผนที่การใช้ที่ดิน การถือครองที่ดิน วิเคราะห์ระบบลุ่มน้ำและการไหล งานวิเคราะห์โครงข่าย นักวิจัยต่างๆ ครู อาจารย์) ภาคเอกชน (ทำงานในบริษัทที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนที่ การสำรวจ)
โดยส่วนตัวผมเองก็ชอบธรรมชาติ เดินทางท่องเที่ยว เรียนสภาพภูมิศาสตร์ไปตามที่ต่างๆ ตอนเรียนเลยเน้นลงรายวิชาด้านกายภาพ
แต่ก็ไม่ลืมวิชาด้านเทคนิค (ใช้หากินได้) แต่ก่อนเคยทำงานเอกชนเป็นนักเทคนิคสิ่งแวดล้อมในบริบัทที่ปรึกษา ด้าน EIA และผันตัวเองมาเป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการอยู่หลายปี ทำแผนที่ สำรวจพื้นที่เกษตร พื้นทีบุกรุกก็ได้ใช้ความรู้ที่หลากหลาย ปัจจุบันว่างงานมาเกือบปีแล้วและกำลังมองหางานในสายวิชาชีพนี้อีก เพราะเป็นคนชอบทางด้านนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนโลกของเราและภูมิศาสตร์ในชั้นมัธยมแล้วครับ ที่ผ่านมาหลังออกจากงานก็อดคิดถึงวิชาชีพนี้ไม่ได้ และตอนนี้ก็ยังเดินทางท่องเที่ยวทั้งในป่าและเมืองอยู่ตลอดครับ (หากเบื่อราชการก็ไปทำเอกชนที่ท้าทายกว่า
หรือรับงานอิสระ (freelance) อีกทั้งมูลนิธิสืบฯ ก็ต้องการคนสายงานนี้เช่นกันครับ (ทำงานกับป่า) รวมไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ (NGO)
ทังในและต่างประเทศด้วย)
ชอบอะไรที่เป็นอิสระ คิดว่าเราน่าจะเรียนทางนี้ได้รึป่าวค่ะ?
ผมเองก็เป็นคนที่มีอิสระสูงมากคนนึง ตอนแรกก็คิดว่าจะอยู่ทำงานในระบบกินเงินเดือนได้รึเปล่า ไปๆ มาๆ ก็อยู่ได้ มาอยู่ กทม จะ 8 ปีแล้ว ทำงานกินเงินเดือน (เอกชน/รัฐ) มา 3 ที่ 4 ปี ก็อยู่รอดมาได้ อาจเพราะเป็นคนชอบงานด้านนี้จึงสามารถทนอยู่ได้ ที่มีเบื่อบ้างก็เพื่อนร่วมงานและระบบราชการที่เฉื่อยๆ อีกอย่างในวันหยุด หรือวันลาผมเองก็ออกไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ทำให้มีความสุขที่จะมาต่อสู้กับงานได้บ้าง
ถ้าชอบธรรมชาติ แผนที่ การเดินทาง ต่างประเทศ ผมสนับสนุนสาขานี้เต็มที่นะ เพราะหากเราชอบมันแล้วเราจะทำมันได้ดี ยกตัวอย่างในระดับปริญญาตรีถ้าจะเรียนทางธรรมชาติเฉพาะก็ต้องเลือกด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เช่น วนศาสตร์ (ป่าไม้) ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา อุทกศาสต์
(วิศวะแหล่งน้ำ) อุตุนิยมวิทยา แต่ถ้าเป็นภูมิศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (เน้นปัญหามลพิษและนโยบายเพื่อการจัดการ ) จะเป็นการบูรณาการความรู้
ทางธรรมชาติทั้งหลายเข้าด้วยกัน
------------------------------------------------------------
สถาบันที่เปิดสอนด้านภูมิศาสตร์ ในประเทศไทย
1. จุฬาฯ
-อ.บ. (ภูมิศาสตร์),
-อ.ม. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
-วท.ม. (โลกศาสตร์)
2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
- B.Sc. (Geoinfomatics) (นานาชาติร่วมกับ AIT)
-วท.ม. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์)
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
-วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
- วท.ม. (ภูมิศาสตร์)
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
- วท.ม. (ภูมิสารสนเทศ)
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
- วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์),
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อม)
8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศศ.บ. (ภูมิศาสตร์)
9. มหาวิทยาลัยทักษิณ
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ)
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากร)
11. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- วท.บ. (ภูมิศาสตร์)
-วท.ม. (ภูมิศาสตร์)
12. มหาวิทยาลัยบูรพา
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
-วท.ม. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
-วท.ด. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
-วท.ม. (ภูมิสารสนเทศ)
-วท.ด. (ภูมิสารสนเทศ)
14. มหาวิทยาลัยศิลปากร
-อ.บ. (ภูมิศาสตร์),
-อ.ม. (ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม)
15. มหาวิทยาลัยพะเยา
- วท.บ. (ภูมิสารสนเทศศาสตร์)
16. วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดังต่อไปนี้
เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ รำไพพรรณี บุรีรัมย์ สวนสุนันทา นครสวรรค์ สงขลา นครราชสีมา เป็นต้น
17. วท.บ. และ/ หรือ วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน ดังต่อไปนี้
ฟาร์อีสเทอร์น หาดใหญ่ เทคโนโลยีมหานคร เกษมบัณฑิต เป็นต้น
-----------------------------
หากยังข้องใจตรงไหนสอบถามได้เลยครับ ทั้ง pm หรือ inbox ได้ทั้งนั้น ยินดีตอบคำถาม
(ดีใจมากที่มีคนสนใจอยากจะเรียนทางนี้จริงๆ)
(ดีใจมากที่มีคนสนใจอยากจะเรียนทางนี้จริงๆ)
แสดงความคิดเห็น
อยากเรียนภูมิศาสตร์.
เรียนยากรึป่าว? จบแล้วทำงานอะไร? คือเราเป็นคนชอบโลกอ่ะ ชอบธรรมชาติ
ชอบอะไรที่เป็นอิสระ คิดว่าเราน่าจะเรียนทางนี้ได้รึป่าวค่ะ?