ถ้านับเวลาที่เหลือในตอนนี้ เหลืออีกประมาณ 5 ปี ในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียว ปี 2020 และเหลือเวลาอีก 4 ปี ในการเป็นเจ้าภาพรักบี้ชิงแชมป์โลกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในปี 2019 โดยทั้งสองรายการนี้จะใช่สนามโอลิมปิกโตเกียวเป็นสนามหลัก ซึ่งในตอนนั้นจะได้ใช้สนามที่สร้างใหม่
ซึ่งในตอนนี้ได้ทำการรื้อถอนสนามเดิมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงเตรียมก่อสร้างในเดือนตุลาคมนี้ (ซึ่งเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับการรื้อถอนสนามนี้ทาง
http://pantip.com/topic/33484285)
โดยการรื้อถอนเสร็จสิ้นไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เราสงสัยแน่ๆว่าทำไมต้องสร้างเดือนตุลาคม ซึ่งห่างช่วงไป 5 เดือน
เพราะในตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าในการลดขนาดสนามอยู่
ที่เป็นแบบนี้เพราะคนญี่ปุ่นมองว่าขนาดสนามที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกนั้น
ใหญ่เกินไป แถมรูปทรงของสนาม
แปลกประหลาดเหมือนหมวกจักรยานขนาดยักษ์ ซึ่งขัดใจคนญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นหัวอนุรักษ์นิยม
รูปแบบสนามใหม่ได้รับการออกแบบโดยซาฮา ฮาดิด สถาปนิกหญิงชาวอังกฤษเชื้อสายอิรัก (ผู้ที่เคยฝากผลงานการออกแบบอาคารชื่อดังหลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าศูนย์กีฬาทางน้ำโอลิมปิกในลอนดอน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งบากู เป็นต้น) ซึ่งได้รับเลือกเป็นแบบสนามในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของญี่ปุ่นจนได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจากไอโอซีเมื่อสองปีที่แล้วนั้น...กำลังอยู่ในช่วงท้าทายมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เพราะคนญี่ปุ่นแทบส่ายหน้า เพราะรูปทรงที่แปลกประหลาด มีขนาดใหญ่ไป และเป็นการเผางบโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะปรับขนาดสนามให้เล็กลงเพื่อประหยัดงบประมาณและเพื่อไม่บดบังทัศนียภาพมหานครแห่งนี้มาตลอด และในที่สุดรัฐบาลประกาศจะลดขนาดสนามแห่งใหม่แต่จะยังคงแบบสนามที่ออกแบบไว้ เพราะเป็นแบบที่ไอโอซีอนุมัติในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอยู่แล้วซึ่งเปลี่ยนแบบไม่ได้
แล้วญี่ปุ่นจะลดขนาดสนามอย่างไร???
เอ็นเฮชเคได้รายงานว่าจะลดทอนรายละเอียดของสนามนี้ลงไม่ว่าจะเป็นระงับการสร้างหลังคาเปิดปิดได้ไว้ก่อนจนกว่าจะแข่งโอลิมปิกและพาราลิมปิกเสร็จ และจะใช้วิธีติดตั้งที่นั่งเคลื่อนย้ายได้จำนวน 15,000 ที่นั่ง (จากจำนวนความจุ 80,000 ที่นั่งของสนาม) แทนที่ระบบอัฒจรรย์ที่สามารถทับลู่วิ่งในช่วงแข่งฟุตบอล
แล้วค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างล่ะ?
แบบสนามที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกได้รับการคำนวนว่าอาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขนาดสนามลงจนเหลืองบเพียง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ยังสูงกว่างบประมาณที่คาดการณ์ไว้ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (จากการอ้างอิงของซีเอ็นเอ็น)
แล้วสนามที่อื่นๆล่ะใช้งบเท่าไหร่?
สนามโอลิมปิกในปักกิ่งที่เราเรียกมันว่าสนามรังนกนั้น ใช้งบไปเพียง 423 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซึ่งสนามนี้เคยได้รับการปรับขนาดให้เล็กลง เพราะแบบดั้งเดิมขนาดใหญ่เกินไป (นี่ขนาดลดขนาดแล้วนะยังใหญ่ขนาดนี้เลย)
ส่วนสนามโอลิมปิกในลอนดอน ใช้งบไปประมาณ 763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
(นี่ยังไม่รวมงบในการปรับปรุงสนามที่กำลังปรับปรุงอยู่ เพื่อใช้เป็นสนามเหย้าใหม่ของสโมสรฟุตบอลเวสแฮมยูไนเต็ดในปีหน้า
ซึ่งจะมีระบบอัฒจรรย์เคลื่อนย้ายทับลู่วิ่งได้)
ที่แปลกใจมากๆก็คือ สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์สนามใหม่ที่ใช้ในการจัดซีเกมส์ในปีนี้นั้น...
มีทั้งระบบหลังคาเปิดปิดได้ ระบบอัฒจรรย์เคลื่อนย้ายทับลู่วิ่งได้ มีสนามอเนกประสงค์รวมกัน มีลานกิจกรรมและศูนย์การค้า
แต่ใช้งบไปเพียง 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ซึ่งตรงกับงบประมาณที่ญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ตั้งแต่แรก
ญี่ปุ่นกำลังจะได้สนามที่จะไม่มีหลังคาเปิดปิดได้และอัฒจรรย์ทับลู่วิ่งได้แต่ราคาแพงกว่าสนามในสิงคโปร์นั่นหรือ?
นี่เป็นคำถามตัวโตๆเลยล่ะว่าญี่ปุ่นจะจัดการปัญหานี้อย่างไร....
อาราตะ อโรซากิ สถาปนิกชื่อดังของญี่ปุ่นออกมาตำหนิแบบสนามที่ซาฮาออกแบบว่า "นี่จะเป็นความเสื่อมเสียสำหรับคนรุ่นหลัง" (จากการอ้างอิงของซีเอ็นเอ็น)
ในขณะที่ ศ. เจฟ คิงสตัน อาจารย์ภาควิชาเอเชียศึกษาที่ Tokyo's Temple University ได้ออกความเห็นว่า "ผลงานของซาฮาชิ้นนี้จะสร้างภาระให้กับคนญี่ปุ่นหลายทศวรรษนับจากนี้ไป" (จากการอ้างอิงของซีเอ็นเอ็น)
ผลงานการออกแบบของซาฮาครั้งนี้จะเป็นงานฆ่าตัวตายของเธอหรือ? นี่เป็นความท้าทายของเธอที่ต้องพิสูจน์อะไรอีกมากมายเพื่อไม่ให้เสียหน้าทั้งตัวเธอเองและประเทศญี่ปุ่นด้วย และที่สำคัญสนามจะสร้างเสร็จอีก 4 ปีข้างหน้าจะมีหน้าตาอย่างไร จะคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่กับสนามใหม่ที่ถูกลดขนาดและสิ่งอำนวยความสะดวกลง ซึ่งมีข่าวว่าในเดือนนี้จะมีการสรุปแบบสนามใหม่เพื่อเตรียมก่อสร้างต่อไป
สนามนี้จะก่อสร้างในเดือนตุลาคมปีนี้ และจะเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2019 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดเดิมถึง 2 เดือน แต่จะเสร็จให้ทันในการเป็นเจ้าภาพรักบี้ชิงแชมป์โลกในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน
ข้อมูลอ้างอิงจาก
ข่าว
"Scaled-Down Stadium" ออกอากาศทาง NHK World เมื่อวานนี้ ทาง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www3.nhk.or.jp/nhkworld/english/news/japanindepth/2015063001.html
ข่าว
"Japan in twist over controversial 'bike helmet' design for Olympic stadium" จาก CNN
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://edition.cnn.com/2015/06/25/asia/japan-tokyo-olympic-stadium-debate/
ข่าว
"Cost of Tokyo’s new stadium for 2020 Olympics rises to more than £1.3bn" จากเดอะ การ์เดียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.theguardian.com/sport/2015/jun/29/tokyo-2020-olympics-stadium-cost
*** เพิ่มเติม *** ต้องขออภัยด้วยนะคะ เพราะเพิ่งมานึกออกว่าสะกดคำว่า "โอลิมปิก" เป็น "โอลิมปิค" ซึ่งหัวกระทู้ที่สะกดผิดนั้นแก้ไม่ทันแล้ว ต้องขออภัยที่อาจจะทำให้สับสนนะคพ
อนาคตของสนามโอลิมปิคโตเกียวหลังญี่ปุ่นเดินหน้าลดขนาดสนาม
ถ้านับเวลาที่เหลือในตอนนี้ เหลืออีกประมาณ 5 ปี ในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียว ปี 2020 และเหลือเวลาอีก 4 ปี ในการเป็นเจ้าภาพรักบี้ชิงแชมป์โลกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในปี 2019 โดยทั้งสองรายการนี้จะใช่สนามโอลิมปิกโตเกียวเป็นสนามหลัก ซึ่งในตอนนั้นจะได้ใช้สนามที่สร้างใหม่
ซึ่งในตอนนี้ได้ทำการรื้อถอนสนามเดิมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงเตรียมก่อสร้างในเดือนตุลาคมนี้ (ซึ่งเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับการรื้อถอนสนามนี้ทาง http://pantip.com/topic/33484285)
โดยการรื้อถอนเสร็จสิ้นไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เราสงสัยแน่ๆว่าทำไมต้องสร้างเดือนตุลาคม ซึ่งห่างช่วงไป 5 เดือน
เพราะในตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าในการลดขนาดสนามอยู่
ที่เป็นแบบนี้เพราะคนญี่ปุ่นมองว่าขนาดสนามที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกนั้นใหญ่เกินไป แถมรูปทรงของสนามแปลกประหลาดเหมือนหมวกจักรยานขนาดยักษ์ ซึ่งขัดใจคนญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นหัวอนุรักษ์นิยม
รูปแบบสนามใหม่ได้รับการออกแบบโดยซาฮา ฮาดิด สถาปนิกหญิงชาวอังกฤษเชื้อสายอิรัก (ผู้ที่เคยฝากผลงานการออกแบบอาคารชื่อดังหลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าศูนย์กีฬาทางน้ำโอลิมปิกในลอนดอน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งบากู เป็นต้น) ซึ่งได้รับเลือกเป็นแบบสนามในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของญี่ปุ่นจนได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจากไอโอซีเมื่อสองปีที่แล้วนั้น...กำลังอยู่ในช่วงท้าทายมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เพราะคนญี่ปุ่นแทบส่ายหน้า เพราะรูปทรงที่แปลกประหลาด มีขนาดใหญ่ไป และเป็นการเผางบโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะปรับขนาดสนามให้เล็กลงเพื่อประหยัดงบประมาณและเพื่อไม่บดบังทัศนียภาพมหานครแห่งนี้มาตลอด และในที่สุดรัฐบาลประกาศจะลดขนาดสนามแห่งใหม่แต่จะยังคงแบบสนามที่ออกแบบไว้ เพราะเป็นแบบที่ไอโอซีอนุมัติในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอยู่แล้วซึ่งเปลี่ยนแบบไม่ได้
แล้วญี่ปุ่นจะลดขนาดสนามอย่างไร???
เอ็นเฮชเคได้รายงานว่าจะลดทอนรายละเอียดของสนามนี้ลงไม่ว่าจะเป็นระงับการสร้างหลังคาเปิดปิดได้ไว้ก่อนจนกว่าจะแข่งโอลิมปิกและพาราลิมปิกเสร็จ และจะใช้วิธีติดตั้งที่นั่งเคลื่อนย้ายได้จำนวน 15,000 ที่นั่ง (จากจำนวนความจุ 80,000 ที่นั่งของสนาม) แทนที่ระบบอัฒจรรย์ที่สามารถทับลู่วิ่งในช่วงแข่งฟุตบอล
แล้วค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างล่ะ?
แบบสนามที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรกได้รับการคำนวนว่าอาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขนาดสนามลงจนเหลืองบเพียง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ยังสูงกว่างบประมาณที่คาดการณ์ไว้ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (จากการอ้างอิงของซีเอ็นเอ็น)
แล้วสนามที่อื่นๆล่ะใช้งบเท่าไหร่?
สนามโอลิมปิกในปักกิ่งที่เราเรียกมันว่าสนามรังนกนั้น ใช้งบไปเพียง 423 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซึ่งสนามนี้เคยได้รับการปรับขนาดให้เล็กลง เพราะแบบดั้งเดิมขนาดใหญ่เกินไป (นี่ขนาดลดขนาดแล้วนะยังใหญ่ขนาดนี้เลย)
ส่วนสนามโอลิมปิกในลอนดอน ใช้งบไปประมาณ 763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
(นี่ยังไม่รวมงบในการปรับปรุงสนามที่กำลังปรับปรุงอยู่ เพื่อใช้เป็นสนามเหย้าใหม่ของสโมสรฟุตบอลเวสแฮมยูไนเต็ดในปีหน้า
ซึ่งจะมีระบบอัฒจรรย์เคลื่อนย้ายทับลู่วิ่งได้)
ที่แปลกใจมากๆก็คือ สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์สนามใหม่ที่ใช้ในการจัดซีเกมส์ในปีนี้นั้น...
มีทั้งระบบหลังคาเปิดปิดได้ ระบบอัฒจรรย์เคลื่อนย้ายทับลู่วิ่งได้ มีสนามอเนกประสงค์รวมกัน มีลานกิจกรรมและศูนย์การค้า
แต่ใช้งบไปเพียง 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ซึ่งตรงกับงบประมาณที่ญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ตั้งแต่แรก
ญี่ปุ่นกำลังจะได้สนามที่จะไม่มีหลังคาเปิดปิดได้และอัฒจรรย์ทับลู่วิ่งได้แต่ราคาแพงกว่าสนามในสิงคโปร์นั่นหรือ?
นี่เป็นคำถามตัวโตๆเลยล่ะว่าญี่ปุ่นจะจัดการปัญหานี้อย่างไร....
อาราตะ อโรซากิ สถาปนิกชื่อดังของญี่ปุ่นออกมาตำหนิแบบสนามที่ซาฮาออกแบบว่า "นี่จะเป็นความเสื่อมเสียสำหรับคนรุ่นหลัง" (จากการอ้างอิงของซีเอ็นเอ็น)
ในขณะที่ ศ. เจฟ คิงสตัน อาจารย์ภาควิชาเอเชียศึกษาที่ Tokyo's Temple University ได้ออกความเห็นว่า "ผลงานของซาฮาชิ้นนี้จะสร้างภาระให้กับคนญี่ปุ่นหลายทศวรรษนับจากนี้ไป" (จากการอ้างอิงของซีเอ็นเอ็น)
ผลงานการออกแบบของซาฮาครั้งนี้จะเป็นงานฆ่าตัวตายของเธอหรือ? นี่เป็นความท้าทายของเธอที่ต้องพิสูจน์อะไรอีกมากมายเพื่อไม่ให้เสียหน้าทั้งตัวเธอเองและประเทศญี่ปุ่นด้วย และที่สำคัญสนามจะสร้างเสร็จอีก 4 ปีข้างหน้าจะมีหน้าตาอย่างไร จะคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่กับสนามใหม่ที่ถูกลดขนาดและสิ่งอำนวยความสะดวกลง ซึ่งมีข่าวว่าในเดือนนี้จะมีการสรุปแบบสนามใหม่เพื่อเตรียมก่อสร้างต่อไป
สนามนี้จะก่อสร้างในเดือนตุลาคมปีนี้ และจะเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2019 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดเดิมถึง 2 เดือน แต่จะเสร็จให้ทันในการเป็นเจ้าภาพรักบี้ชิงแชมป์โลกในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน
ข้อมูลอ้างอิงจาก
ข่าว "Scaled-Down Stadium" ออกอากาศทาง NHK World เมื่อวานนี้ ทาง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข่าว "Japan in twist over controversial 'bike helmet' design for Olympic stadium" จาก CNN
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข่าว "Cost of Tokyo’s new stadium for 2020 Olympics rises to more than £1.3bn" จากเดอะ การ์เดียน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
*** เพิ่มเติม *** ต้องขออภัยด้วยนะคะ เพราะเพิ่งมานึกออกว่าสะกดคำว่า "โอลิมปิก" เป็น "โอลิมปิค" ซึ่งหัวกระทู้ที่สะกดผิดนั้นแก้ไม่ทันแล้ว ต้องขออภัยที่อาจจะทำให้สับสนนะคพ