ช่วงเวลาถือศีลอด คือ ช่วงเวลาระหว่าง รุ่งอรุณ (อัลฟัจร์) - พลบค่ำ
หลักฐานจากอัลกุรอาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้...จงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาวจะประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นดำ เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ (อัลฟัจร์) แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ... (อัลกุรอาน 2/187)
หลักฐานจากหะดีษ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้“อัลฟัจร์มีสองชนิด สำหรับชนิดแรกไม่อนุญาตให้ละหมาดศุบฮฺ แต่อนุญาตให้กินอาหารได้ ส่วนชนิดหลังห้ามกินอาหารแต่อนุญาตให้ละหมาดศุบฮฺได้”
บันทึกโดย : อิบนคุไซมะฮฺ อัดดารุกุฎนีย์ อัลฮากิม และอัลบัยฮะกีย์
“เมื่อเวลากลางคืนคืบคลานมาทางนี้ (ทิศตะวันออก) และเวลากลางวันได้ผ่านพ้นไปทางนี้ (ทิศตะวันตก) และดวงอาทิตย์ได้ลับของฟ้าแล้ว ผู้ถือศีลอดก็จงแก้ศีลอด”
บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม
ช่วงเวลานี้มุสลิมที่ตั้งใจถือศีลอด จะงดเว้นทั้งร่างกายและจิตใจ
ทางร่างกายคืองดเว้นจากกินและการดื่ม เพศสัมพันธ์
ทางด้านทางจิตใจ ในการอดทนอดกลั้นจากสิ่งที่ไม่ดี และความชั่วร้าย เป็นการอบรมจิตใจ
ไม่แปลก ที่การถือศีลอดของมุสลิมไทย จะเป็นมีคำแสลงมุสลิมไทยเรียกว่า "ถือบวช"
ถือบวช จนกระทั่งเวลาละศีลอด (break the fast --> breakfast (ที่แปลว่า อาหารเช้า แต่ในรอมฎอน breakfast สำหรับมุสลิมถือเป็นอาหารเย็น)
เนื่องด้วยเดือนรอมฎอนเป็นเดือนในปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นปฏิทินในรูปแบบจันทรคติ มีจำนวนวันน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติอยู่ประมาณ 10 วัน
และปฏิทินอิสลามไม่ชดเชยวันให้เท่ากับปฏิทินตามฤดูกาล ทำให้เดือนในปฏิทินอิสลามหมุนเวียนไปทุกฤดูกาล
ช่วง 2-3 ปีนี้ (2015-2017) เดือนรอมฎอนจะคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ ช่วงเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน
และ 1 วันในเดือนนั้นจะตรงกับ วันครีษมายัน (Summer Solstice) ประมาณวันที่ 21-22 มิถุนายนตามปฏิทินสุริยคติ
เป็น ช่วงเวลาที่กลางวันยาวที่สุดในประเทศทางซีกโลกเหนือ
ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลยเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด
กลางวันบริเวณเส้นศูนย์สูตรยาวที่สุดในรอบปีคือ 13 ชั่วโมง และกลางคืน 11 ชั่วโมง
ยิ่งขึ้นไปทางเหนือเท่าไหร่ ช่วงเวลากลางวันจะยาวมากกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร บางพื้นที่อาทิตย์ค้างฟ้า
แต่ในขณะเดียวกัน พี่น้องมุสลิมจากซีกโลกใต้ (เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อเมริกาใต้) จะถือศีลอดสั้นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
และวัน 21-22 มิถุนายน จะกลายเป็น วันเหมายัน (Winter Solstice)
คือกลางคืนยาวที่สุด กลางวันสั้นที่สุดของภูมิภาคซีกโลกใต้ไปแทน
(แต่ทั้งหมดจะกลับกันคือ ถ้า รอมฎอน เวียนไปในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ คือ ช่วงเดือนธันวาคม)
ประเทศไทย อยู่ในซีกโลกเหนือ ปีนี้ถือศีลอด เฉลี่ยประมาณ 14 ชั่วโมง
เรามาดูประเทศอื่น ๆ กัน
ที่มา http://www.huffingtonpost.com/2015/06/16/ramadan-fasting-times-2015_n_7545158.html
<< 1 รอมฎอน >> รอมฎอนปีนี้ พี่น้องมุสลิมทางแถบขั้วโลกเหนือ จะถือศีลอดยาวนานกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
หลักฐานจากอัลกุรอาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลักฐานจากหะดีษ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ช่วงเวลานี้มุสลิมที่ตั้งใจถือศีลอด จะงดเว้นทั้งร่างกายและจิตใจ
ทางร่างกายคืองดเว้นจากกินและการดื่ม เพศสัมพันธ์
ทางด้านทางจิตใจ ในการอดทนอดกลั้นจากสิ่งที่ไม่ดี และความชั่วร้าย เป็นการอบรมจิตใจ
ไม่แปลก ที่การถือศีลอดของมุสลิมไทย จะเป็นมีคำแสลงมุสลิมไทยเรียกว่า "ถือบวช"
ถือบวช จนกระทั่งเวลาละศีลอด (break the fast --> breakfast (ที่แปลว่า อาหารเช้า แต่ในรอมฎอน breakfast สำหรับมุสลิมถือเป็นอาหารเย็น)
เนื่องด้วยเดือนรอมฎอนเป็นเดือนในปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นปฏิทินในรูปแบบจันทรคติ มีจำนวนวันน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติอยู่ประมาณ 10 วัน
และปฏิทินอิสลามไม่ชดเชยวันให้เท่ากับปฏิทินตามฤดูกาล ทำให้เดือนในปฏิทินอิสลามหมุนเวียนไปทุกฤดูกาล
ช่วง 2-3 ปีนี้ (2015-2017) เดือนรอมฎอนจะคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ ช่วงเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน
และ 1 วันในเดือนนั้นจะตรงกับ วันครีษมายัน (Summer Solstice) ประมาณวันที่ 21-22 มิถุนายนตามปฏิทินสุริยคติ
เป็น ช่วงเวลาที่กลางวันยาวที่สุดในประเทศทางซีกโลกเหนือ
ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลยเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด
กลางวันบริเวณเส้นศูนย์สูตรยาวที่สุดในรอบปีคือ 13 ชั่วโมง และกลางคืน 11 ชั่วโมง
ยิ่งขึ้นไปทางเหนือเท่าไหร่ ช่วงเวลากลางวันจะยาวมากกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร บางพื้นที่อาทิตย์ค้างฟ้า
แต่ในขณะเดียวกัน พี่น้องมุสลิมจากซีกโลกใต้ (เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อเมริกาใต้) จะถือศีลอดสั้นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
และวัน 21-22 มิถุนายน จะกลายเป็น วันเหมายัน (Winter Solstice)
คือกลางคืนยาวที่สุด กลางวันสั้นที่สุดของภูมิภาคซีกโลกใต้ไปแทน
(แต่ทั้งหมดจะกลับกันคือ ถ้า รอมฎอน เวียนไปในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ คือ ช่วงเดือนธันวาคม)
ประเทศไทย อยู่ในซีกโลกเหนือ ปีนี้ถือศีลอด เฉลี่ยประมาณ 14 ชั่วโมง
เรามาดูประเทศอื่น ๆ กัน
ที่มา http://www.huffingtonpost.com/2015/06/16/ramadan-fasting-times-2015_n_7545158.html