ดูกันว่าพุทธศาสนามองความรักเป็นเช่นไร

ความรักในนิยามของพุทธศาสนาที่มีปรากฎในพระคัมภีร์เท่าที่สรุปได้คือ จิตหลงกับวัตถุ รักคือความชอบ ความพึงพอใจ ตัวอย่างเช่น เด็กหญิงชอบเล่นตุ๊กตาตัวนี้ประจำจนเก่าและขาดเรียกได้เลยว่าน้องเน่า แม่พยายามเก็บหรือเอาไปทิ้ง เด็กหญิงก็ไม่ยอม อาการนี้เพราะเด็กหญิงรักตุ๊กตาตัวนี้มากนั้นเอง หรืออย่างกรณีความรักของรุกขเทวดากับนางโสเภณีสุลสาที่ลักพานางไปอยู่ในวิมาน เพราะในชาติก่อนรุกขเทวดาตอนเปนมนุษย์ได้หลงรักของนางสุลสา แม้ตายไปเกิดภพอื่นก็ไม่สิ้นไฟเสน่หา

ในพระสุตตันตปิฎกอันเปนคัมภีร์ที่ปรากฎตำนานและเรื่องเล่ามากมายก็แสดงให้เราเห็นประเด็นในเรื่องอิทธิฤทธิ์ของความรักว่ามันมีแรงข้ามภพภูมิกันเลยทีเดียว อย่างเช่นความรักขอบเวมานิกเปรตของหญิงชาวโลก หรือความรักของพระเจ้าพรหมทัตกับนางเวมานิกเปรต (เวมานิกเปรตคือเปรตตระกูลหนึ่งที่มีบุญเท่าเทวดาคือมีวิมานเหมือนเทวดามีรูปร่างงดงามเหมือนเทวดาในตอนเช้า พอตอนกลางคืนจักกลายเป็นเปรตและรับการชดใช้กรรม อย่างกรณีนางเวมานิกเปรตที่ตอนไปให้สุนัขปีศาจกินในตอนกลางคืนเพราะตอนมีชีวิตนางเล่นชู้และสาบานกับสามีว่าไม่ได้มีชู้ ถ้ามีชู้จริงขอให้สุนัขกินนางอย่างทรมาณ ดังนั้นเมื่อนางตายด้วยผลบุญที่เปนคนปฏิบัติธรรมจึงมีสมบัติและรูปงามเปนเทพธิดาแต่ตกกลางดึกจะถูกสุนัขกัดกินนางทั้งตัวอย่างน่าเวทนา)

ความรักเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้จิตยึดติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ดังมีความว่า ไม่มีใครเลยในสังสารวัฏฏะที่ไม่ได้เป็นแม่ พ่อ พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว และเป็นลูก ดังคาดคเณภพชาติที่ไม่สามารถจับต้นหรือปลายว่ามันเริ่มขึ้นเมื่อใดและจะำปสิ้นสุดเมื่อใด เราเกิดมาแล้วและตายแล้วเกิดและตาย เลือดจากร่างของเราที่ผ่านมาเมื่อนำมาเทรวมกันมันช่างมหาศาลยิ่งกว่ามหาสมุทรทั้งสี่ที่หนุนชมพูทวีป เมื่อเอาเถ้ากระดูกของเรามากองก็ย่อมสูงยิ่งกว่าเขาพระสุเมรุ ดังนั้นเมื่อเชื่อว่าเราไม่เคยพ้นจาดเรื่องของความรัก ในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ คือคนรัก ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก ความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้องใจเพศทั้งชายและหญิง เราผ่านสถานภาพแบบนี้มาหลายภพชาติ เราจึงสังเกตได้ว่า บางทีพระอุบลวรรณาเถรีเคยเกิดเป็นพระขนิษฐาของพระพุทธเจ้าใตอดีตพระชาติ คือ พระนางเสลากุมารี ตอนนั้นพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระจันทกุมาร (ศึกษาได้จากจันทกุมารชาดก) บางพระชาติเกิดเป็นพระธิดา คือ พระกัณหา ส่วนพระพุทธเจ้าทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร (ศึกษาได้จากมหาเวสสันชาดก) พระอุบลวรรณาเถรีผ่านสถานภาพความเป็นพี่น้องกับพระพุทธเจ้าและลูกสาวของพระพุทธเจ้ามาก่อนที่จะเป์นนางอุบลวรรณาแล้วมาบวชเป็นภิกษุณี

บางพระชาติพระนางสิริมหามายามิได้ครองตำแหน่งพระมารดาโพธิสัตว์ เช่นครังที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสาม นางปาริกาดาบสินีก็กลับชาติมาเกิดในสมัยพุทธกาลเป็นพระภัททกาปิลานีเถรี (ศึกษาได้ในสุวรรณสามชาดก) แสดงว่าภิกษุณีรูปนี้เคยเป็นอดีตมารดาของพระโพธิสัตว์ แสดงให้เห็นว่าเรามีการสลับกันไปมาในสถานภาพของความเป็นพ่อ แม่ พี่น้องชายหญิงและลูก

เหตุปัจจัยที่ทำให้เราเกิดมีหลักใหญ่คือเรื่องกรรม การกระทำส่งผให้เรามาเกิดในภพภูมิใดตามแรงของผลกรรม ความรักก็เป็นเรื่องของการกระทำ(กรรม) พ่อแม่ลูกพี่น้องทำต่อกันมา ก็ส่งผลมาเกิดเปนพ่อแม่ลูกพี่น้องกันอีก มีตายายคู่หนึ่งทูลถามพระพุทธเจ้าว่า คนที่รักกันหากอยากเกิดเป็นคู่กันอีกสามารถได้พบเจอกันอีกหรือไม่ในความเร้นลับของวัฎฎสงสารนี้ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ได้พบเจอกันอย่างแน่นอน คือได้เกิดเปฺนคู่สามีภรรยากันเพราะกรรมที่ทำต่อกันมา อย่างในชาดกอันเป็นนิทานที่พุทธศาสนาใช้เป็นทฤษฎีอธิบายเรื่อวของการเวียนว่ายตายเกิดอย่างให้เข้าใจง่ายที่สุด ก็ทำให้เราแลเห็นว่า บางทีพระเจ้าสุทโทธนและพระนางาสิริมหามายามาเกิดในชาติใดก็จักมีบทบาทเปนสามีและภรรยากันเสมอ และเจ้าชายสิทธัตถะและเจ้าหญิงยโสธราก็มีบทบาทเป็นคู่กันมาตลอดเช่นกัน คงเพราะในสมัยพระพุทธเจ้านามว่า "ทีปังกรพุทธเจ้า"นางได้ขอเกิดเพื่อเกื้อหนุนโพธิสมภารของสุเมธดาบสจนกลายสุเมธดาบสจะตรัสรู้เปนพระพุทธเจ้า ดังนั้นในวัฏฏะอันยาวไกลที่หาต้นชนปลายมิได้ เจ้าหญิงยโสธราจึงติดตามเกิดเป็นคู่ของเจ้าชาขสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด ราวกับยึดตำแหน่งนี้มาตลอดกัปป์กัลป์

ในหนังสือเรื่องพิมพานิพพาน ซึ่งคิดว่าคงมาจากคัมภีร์พุทธเรื่องพิมพาพิลาป เป็นการเล่าถึงการระลึกภพชาติได้ของเจ้าหญิงยโสธรา (พระนางพิมพากับเจ้าหญิงยโสธราคือคนเดียวกัน บางทีเรียกรวมกันว่า ยโสธราพิมพา ก็มี) หลังจากได้ผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระนางจึงเข้าใจว่าในหลายพระชาติที่พระนาวได้ล่วงเกินพระพุทธเจ้า เช่น ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นดาบส พระนางเกิดเป็นหญิงชาวป่าแรกรุ่น นามว่า นทคีกุมารี ดาบสมีฤทธิ์เหาะผ่านมาเห็นเข้าก็เกิดหลงรักฤทฑธิ์เลยเสื่อมจึงได้เป็นสามีภรรยากัน หรือบางพระชาติพระนางกับพระพุทธเจ้าเกิดเป็นปลาดุก นางเกิดมีท้องแล้วอยากกินหญ้าเขียว ปลาดุกที่เป็นสามีก็ยอดขึ้นเสี่ยงภัยไปเก็บหญ้าเขียวมาให้ แต่ถูกเหลเด็กเลี้ยงวัวจับตีจนหางขาด ถึงเจ็บเพียงใดด้วยความรักก็อยากให้เมียรักได้กินหญ้าที่อยาก พอมาถึงก็ส่งหญ้าที่คาบมาให้กินแล้วตนก็สิ้นใจเพราะทนบาดแผลไม่ไหว พระนางรำลึกถึงความทุกข์ของพระพุทธเจ้าที่มีนางเป็นต้นเหตุมาหลายพระชาติ (ศึกษาได้ในพระพิมพานิพพาน ฉบับส.ธรรมาภักดี และ พระนางพิมพา ฉบับการ์ตูนของอมรินทร์ อ่านง่ายกว่า)

แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนามองความรักเป็นเรื่องกรรม อย่างที่เจ้าหญิงยโสธรามองว่าพระนางกระทำอกุศลกรรมไว้กับพระพุทธเจ้าที่ต้องให้พระองค์อดทนเพราะความรักที่มีต่อพระนาง พระนางจึงขอขมากรรมต่อพระพุทธเจ้าก่อนที่พระนางจักดับขันธ์นิพพาน ความรักที่ดีก็ส่งเสริมกันอย่างกรณีพระมโหสถกุมารกับนางอมราเทวี ที่มโหสถเป็นบัณฑิตมีความฉลาดรอบรู้ได้นางอมรามาเป็นภรรยาก็มีความฉลาดหลักแหลมเสมอเหมือนกัน ในยามที่มโหสถมีภัยนางอมราก็สามารถช่วยกู้สถานการณ์ของสามีได้ (ศึกษาได้ในมโหสถชาดก) หรือ กรณีพระนางมัทรีที่ส่งเสริมการทำทานบารมีของพระเวสสันดร (ศึกษาได้ในมหาเวสสันดรชาดก) หรือบางคู่มีกันเพื่อล้างผลาญ เช่น นางอมิตตดากับชูชกที่นางเป็นผู้ชี้แนะให้ชูชกไปข้าสองกุมารจากพระเวสสันดรมาเปนข้ารับใช้ สุดท้ายชูชกก็ไปถึงแก่ความตายด้วยการท้องแตกตาย (ศึกษาได้ในมหาเวสสันดรชาดก) เป็นต้น

ที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นว่าพุทธศาสนามองความรักออกเป็นสองเรื่อง คือ ความรักที่ดี เช่น การที่สามารถช่วยเหลือคู่ครองของเราได้ หรือ ส่งเสริมกันและกัน และความรักที่ไม่ดี เช่น การชักนำคู่ครอวไปสู่ความเสื่อมหรือเสียหาย

พระพุทธเจ้าเคยตรัสถึงการมีคู่หรือการที่จะครองคู่กันให้ตลอดรอดฝั่งคือ ต้องมีศีลเสมอกัน คือชอบอะไรเหมือนกัน ทำอะไรเหมือนกัน อย่างกรณีมโหสถกับนางอมราจะเห็นว่าตรง เพราะทั้งคู่เหมือนกันที่มึปัญญาหลักแหลมเสมอเหมือนกัน จึงครองคู่กันไปด้วยได้ ในชาดกเรื่องนี้กว่ามโหสถจะคัดกรองหาภรรยาได้ก็เล่นเอาเหนื่อย มีการทดสอบเอย ตั้งคำถามเชาว์ปัญญาเอย จนลุ้นไปกับนางอมราวจะรอดได้เป็นภรรยามโหสถไหม แต่สิ่งที่พุทธศาสนาเสนออย่างจริงจังว่าถ้าทำเช่นนี้แล้วทุกคู่อยู่รอดคือ การเป็นคนดี ในปรากฎในชาดกหลายเรื่องที่ภรรยาสรริเสริญคุณความดีขอบสามี เช่น เรื่องจันทกุมารชาดกที่พระนางจันทาเทวีประกาศว่าพระจันทกุมารผู้เป็นพระสวามีเป็นคนดี ดูแลนางไม่เคยบกพร่องทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ทันทีพระอินทร์จึงเสด็จมรขัดขวางงานบูชายัญที่พระจันทกุมารต้องถูกบูชายัญ (ศึกษาเพิ่มเติมได้ในจันทกุมารชาดก) หรืออย่างชาดกเรื่องชัยทิศชาดก เจ้าหญิงก็ประกาศคุณของพระสวามีคือเจ้าชายชัยทิศว่าเป็นคนดี ดูแลนางไม่บกพร่องเลย ยักษ์ที่จะจับเจ้าชายกินก็ปล่อยเจ้าชายเป็นอิสระ (ศึกษาได้ในชัยทิศกุมาร)เป็นต้น

การที่คนรักจะพูดสรรเสริญได้นั้นมันต้องเป็นความจริง แสดงว่าเจ้าชายจันทกุมารและเจ้าชายชัยทิศน่าจะดูแลพระชายาดีจริงๆจึงรอดพ้นจากภัยอันตรายจากการถูกบูชายัญ และการถูกยักษ์กินมาได้นั้นเอง

บางทีพุทธศาสนาอาจมองความรักเป็นเรื่องที่ไม่ดี ดังมาหลายเรื่องที่พยายามผลักไล่ เช่น พระมหาชนกออกผนวชเพราะเบื่อทางโลก พระนางสีวลีพยายามติดตามให้พระองค์กลับมาครองเมือง ในมหาชนกชาดกทำให้เรื่องของการอุปมาในลักษณะของการแยกจากกันเป็นเรื่องธรรมดาและชอบธรรม เช่น เด็กหญิงที่สวมกำไรวิ่งเล่นอยู่กำไรสองวงก็จะกระทบกันจนเกิดเสียง พระมหาชนกจึงตรัสสอนพระนางสีวลีว่า คนสองเราอยู่ร่วมกันก็จะมีการกระทบกันดุจกำไรสองวงที่เด็กน้อยผู้นี้สวมใส่ (มีอีกมากครับในเรื่องของการอุปมาแบบนี้สามารถศึกษาได้ในมหาชนกชาดก)

ดังนั้นการมีความรักจึงกลายเป็นเรื่องของความทุกข์เหมือนที่พระมหาชนกพยายามที่จะหนีไป เพื่อหาความสงบ แต่หาดย้อนกลับมาดูพระพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงเลือกเจ้าหญิงยโสธราเป็นพระชายา แล้ววันหนึ่งพระองค์ทรงสละพระนางและพระโอรส ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่เพราะการที่สามีละทิ้งภรรยาเป็นเรื่องเสื่อมเสียที่สุดในสังคมอินเดียโบราณ พระองค์หมดรักพระนางและพระโอรสหรือเช่นไร อาจมองได้ว่าพระองค์อาจยังทรงรักแต่พระองค์ทรงรักเวไนยสัตว์อันมหาศาลที่กำลังเตือนร้อนมากกว่า ปณิธานในสมัยที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรที่จะนำสัตว์ข้ามวัฎฎะ ได้ส่งมาถึงพระชาติที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระโพธิสมภารมิได้เกิดขึ้นในตอนที่เป็นพระเวสสันดร แต่มาสัมฤทธิ์ตอนเปนเจ้าชายสิทธัตถะนี้เอง

ผมกล่าวเสมอว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันแห่งความรักเหมือนกัน แต่เป็นวันแห่งความรักที่พระพุทธเจ้าทรงแบ่งบันพระปัญญาที่ทรงศึกษาอย่างไตร่ตรองมาดีแล้วจาการประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาท คือ ความรอดของสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามวัฏฏะไปสู่ฝั่ง ไม่ต้องแหวกว่ายอีกต่อไป คำสอนของพระองค์ใช้ให้คนที่พระองค์รัก เช่น พระเจ้าสุทโธทนะ พระน้านางปชาบดีโคตมี พระนางยโสธรา พระราหุล พระอานนท์ พระนางสิริมหามายา (ทรงโปรดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จนเป็นพระโสดาบัน) และพระญาติทั้งหลาย รสมทั้งผู้ที่มีความทุกข์ที่มีโอกาสได้พบเจอกับพระองค์ได้พัฒนาจากปุถุชนเป็นอริยบุคคล และไม่ต้องเหนื่อยกับการที่ต้องว่ายในวัฏฏะเพราะพระองค์ได้สร้างเรือและต่อแพขนพวกเขาเหล่านั้นไปสู่ฝั่งแล้ว แม้พระองค์จักสวรรคตหรือปรินิพานไปแล้ว แต่พระเมตตาและความรักของพระองค์ยังคงมีการสืบต่อไว้ในรูปลักษณ์ของพระคัมภีร์ และพระภิกษุทึ่เป็นผู้ทรงจำคำสอนของพระองค์เพื่อประกาศและสอนสัตว์ทั้งหลายแทนพระองค์

ความรักในมุมมองของพุทธศาสนาอาจไม่สุดโต่งว่าปฏิเสธเลยทีเดียว คือมีทั้งการนำเสนอว่าความรักที่ดีเป็นเช่นไร ความรักที่ไม่ดีเป็นเช่นไร และความรักที่ควรเป็นเช่นไร หรือการไม่มีความรักอาจจะดีกว่า หรือสุดท้ายนี้เพราะมีความรักจึงทำให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยพิสูจน์และค้นคว้าการหาทางออก ความหลุดพ้นเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายไม่ได้ประสบกับความทุกข์อีกต่อไป คือการตัดภพชาติและกิเลสอันเปนเครื่องปรุงแต่งให้จิตหลงใหลและยอมแหวกว่ายอยู่สังสารวัฎฎ์นี้อย่างน่าที่สิ้นสุดมิได้

กระทู้นี้มิใช่กระทู้ที่ปิดกั้น แต่ท่านผู้อ่านหรือผู้รู้ท่านใดอยากเสนอเพื่อให้เกิดความรู้ที่ต่อยอดอย่างไร สามารถนำเสนอความเห็นอันเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์และทรงคุณค่าได้นะครับ จักเป็นพระคุณและเป็นธรรมทานที่ได้ประกาศความรักของพระพุทธเจ้าอีกด้วยครับ และหากข้อมูลผิดพลาดหรือก้าวข้ามอันใดที่เปนประโยชน์สามารถติเตียนและชี้แนะได้ครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่