ข้อมูลจาก
http://www.kehakaset.com/index.php/component/content/article/79-information/1641-2014-05-15 ค่ะ
ไทยเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพ “งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12”
ประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานกล้วยไม้ครั้งยิ่งใหญ่ “งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12” หรือ The 12th Asia Pacific Orchid Conference (APOC 12) ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงศักยภาพกล้วยไม้ไทยในระดับสากล ดึงผู้ประกอบการ สมาคม และนักกล้วยไม้จากทั่วโลกเข้าร่วม เปิดโอกาสผู้ประกอบการไทยสร้างคู่ค้าใหม่ ร่วมประชุมวิชาการ จัดแสดงพันธุ์และนวัตกรรมกล้วยไม้นานาชาติ ระหว่างวันที่ 19-27 มีนาคม 2559 คาดมีผู้เข้าชมงานทั้งชาวไทยและต่างประเทศกว่า 45,000 คน
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยมีพื้นที่การปลูกกล้วยไม้ถึง 20,000 ไร่ มีเกษตรกรและผู้ประกอบการถึง 3,000 ครัวเรือน ซึ่งต่างเป็นผู้มีประสบการณ์ในวงจรธุรกิจกล้วยไม้มาไม่น้อยกว่า 50ปี และยังมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ ชมรมและสมาคมกล้วยไม้ที่เข้มแข็งจำนวนไม่น้อย อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นแหล่งพันธุกรรมกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก มีสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาประเทศ ในการผลิตและเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกและต้นกล้วยไม้เขตร้อนรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนถือเป็นตลาดส่งออกกล้วยไม้ของไทยเป็นอันดับ 1 ส่วนอินเดียเองก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“การจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 12 จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยแสดงศักยภาพความยั่งยืนด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุกรรม และความก้าวหน้าด้านวิชาการ และวงการกล้วยไม้ คาดหวังว่าจะเกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างชมรมกล้วยไม้ สมาคมกล้วยไม้ การพัฒนาด้านการตลาด เกิดการสร้างคู่ค้ารายใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ขยายตลาดส่งออกที่มีอยู่เดิมและเกิดตลาดใหม่ที่รองรับสินค้ากล้วยไม้สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไม้ในรูปแบบต่างๆ อันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.ศ. 2554-2559 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน เกิดการส่งเสริมการผลิตกล้วยไม้คุณภาพมากขึ้น มีการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างมหาศาลหลังจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AEC ในปลายปีนี้” นางพรรณพิมล กล่าว
ด้าน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Orchid Conference) จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 โดย ศ.ระพี สาคริก เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มขณะนั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ และพัฒนากล้วยไม้ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเริ่มครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2527 ที่ประเทศญี่ปุ่น และจัดให้มีการประชุมขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยประเทศสมาชิก จะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพ APOC ครั้งที่ 4 ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2535 ซึ่งความสำเร็จจากการจัดงานดังกล่าวทำให้วงการกล้วยไม้ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมีการเติบโตและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการปลูก การวิจัยและพัฒนา และด้านการตลาด ในปี 2553 ศ.ระพี สาคริก ที่ปรึกษาด้านไม้ดอกไม้ประดับของกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความเห็นว่า จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสัมมนากล้วยไม้อีกครั้งหนึ่ง กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพเห็นชอบในการจัดประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 12 โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-27 มีนาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ซึ่งนับเป็นการจัดงานกล้วยไม้ระดับนานาชาติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 20 ปี
กิจกรรมภายในงาน APOC 12 ประกอบด้วย การประชุมวิชาการกล้วยไม้นานาชาติ การประชุมวิชาการและการฝึกอบรม การแสดงนิทรรศการวิชาการ/การอนุรักษ์/นวัตกรรมกล้วยไม้ การจัดแสดงและประกวดกล้วยไม้ อาทิ การจัดสวนกล้วยไม้ /กล้วยไม้ต้น / กล้วยไม้ตัดดอก/ ศิลปะการจัดดอกไม้ / สิ่งประดิษฐ์จากกล้วยไม้ ได้แก่ กล้วยไม้อัดแห้ง พวงมาลัยกล้วยไม้ฯ และอื่นๆ การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน พืชอนุรักษ์ การจัดทัศนศึกษา และท่องเที่ยว การจัดแสดงและประกวดศิลปะจากกล้วยไม้ ภาพวาด ภาพถ่าย และประติมากรรมกล้วยไม้ การจำหน่ายกล้วยไม้นานาชนิด สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทย กิจกรรมและผลงานของเยาวชน รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ
สำหรับความพร้อมในการจัดงาน APOC 12 นั้น กรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา พร้อมกันนี้ยังมีการดำเนินการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการเชิญชวนผู้ประกอบการจากนานาประเทศให้เข้ามาร่วมงาน โดยตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย ศ.ระพี สาคริก นายกสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งงาน APOC และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของการจัดงานได้เดินทางเข้าร่วมงานแสดงกล้วยไม้ในประเทศต่างๆ อาทิ งาน Okinawa International Orchid Show 2015 เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น งาน Taiwan International Orchid Show 2015 ประเทศไต้หวัน งาน Singapore Orchid Show 2014 ณ ประเทศสิงคโปร์ งานกล้วยไม้โลกครั้งที่ 21 World Orchid Conference 2014 ณ ประเทศอัฟริกาใต้ และงาน European Orchid Show & Conference 2015 กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการ กว่า 15 ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมงาน
ขณะเดียวกันกรมฯ ยังได้เตรียมแผนประสานงานกับสมาคมกล้วยไม้ต่างๆ อาทิ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ไทย และสมาคมผู่ส่งออกกล้วยไม้ไทย เพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการไทยผนึกกำลังเข้าร่วมงาน เพื่อแสดงถึงศักยภาพของผู้ประกอบการกล้วยไม้ไทยอีกด้วย ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 12 ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือในการจัดงานจากภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ อาทิ กรมประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแสดงในงาน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0-2797-3888 ต่อ 1545 หรืออีเมลล์ apoc2016@yahoo.com โดยติดตามความเคลื่อนไหวของการจัดงานได้ทาง
http://www.apoc12.com
ไทยเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพ “งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12”
ไทยเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพ “งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12”
ประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานกล้วยไม้ครั้งยิ่งใหญ่ “งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12” หรือ The 12th Asia Pacific Orchid Conference (APOC 12) ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงศักยภาพกล้วยไม้ไทยในระดับสากล ดึงผู้ประกอบการ สมาคม และนักกล้วยไม้จากทั่วโลกเข้าร่วม เปิดโอกาสผู้ประกอบการไทยสร้างคู่ค้าใหม่ ร่วมประชุมวิชาการ จัดแสดงพันธุ์และนวัตกรรมกล้วยไม้นานาชาติ ระหว่างวันที่ 19-27 มีนาคม 2559 คาดมีผู้เข้าชมงานทั้งชาวไทยและต่างประเทศกว่า 45,000 คน
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยมีพื้นที่การปลูกกล้วยไม้ถึง 20,000 ไร่ มีเกษตรกรและผู้ประกอบการถึง 3,000 ครัวเรือน ซึ่งต่างเป็นผู้มีประสบการณ์ในวงจรธุรกิจกล้วยไม้มาไม่น้อยกว่า 50ปี และยังมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ ชมรมและสมาคมกล้วยไม้ที่เข้มแข็งจำนวนไม่น้อย อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นแหล่งพันธุกรรมกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก มีสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาประเทศ ในการผลิตและเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกและต้นกล้วยไม้เขตร้อนรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนถือเป็นตลาดส่งออกกล้วยไม้ของไทยเป็นอันดับ 1 ส่วนอินเดียเองก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“การจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 12 จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยแสดงศักยภาพความยั่งยืนด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุกรรม และความก้าวหน้าด้านวิชาการ และวงการกล้วยไม้ คาดหวังว่าจะเกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างชมรมกล้วยไม้ สมาคมกล้วยไม้ การพัฒนาด้านการตลาด เกิดการสร้างคู่ค้ารายใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ขยายตลาดส่งออกที่มีอยู่เดิมและเกิดตลาดใหม่ที่รองรับสินค้ากล้วยไม้สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไม้ในรูปแบบต่างๆ อันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.ศ. 2554-2559 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน เกิดการส่งเสริมการผลิตกล้วยไม้คุณภาพมากขึ้น มีการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างมหาศาลหลังจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AEC ในปลายปีนี้” นางพรรณพิมล กล่าว
ด้าน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Orchid Conference) จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 โดย ศ.ระพี สาคริก เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มขณะนั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ และพัฒนากล้วยไม้ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเริ่มครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2527 ที่ประเทศญี่ปุ่น และจัดให้มีการประชุมขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยประเทศสมาชิก จะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพ APOC ครั้งที่ 4 ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2535 ซึ่งความสำเร็จจากการจัดงานดังกล่าวทำให้วงการกล้วยไม้ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมีการเติบโตและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการปลูก การวิจัยและพัฒนา และด้านการตลาด ในปี 2553 ศ.ระพี สาคริก ที่ปรึกษาด้านไม้ดอกไม้ประดับของกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความเห็นว่า จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสัมมนากล้วยไม้อีกครั้งหนึ่ง กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพเห็นชอบในการจัดประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 12 โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-27 มีนาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ซึ่งนับเป็นการจัดงานกล้วยไม้ระดับนานาชาติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 20 ปี
กิจกรรมภายในงาน APOC 12 ประกอบด้วย การประชุมวิชาการกล้วยไม้นานาชาติ การประชุมวิชาการและการฝึกอบรม การแสดงนิทรรศการวิชาการ/การอนุรักษ์/นวัตกรรมกล้วยไม้ การจัดแสดงและประกวดกล้วยไม้ อาทิ การจัดสวนกล้วยไม้ /กล้วยไม้ต้น / กล้วยไม้ตัดดอก/ ศิลปะการจัดดอกไม้ / สิ่งประดิษฐ์จากกล้วยไม้ ได้แก่ กล้วยไม้อัดแห้ง พวงมาลัยกล้วยไม้ฯ และอื่นๆ การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน พืชอนุรักษ์ การจัดทัศนศึกษา และท่องเที่ยว การจัดแสดงและประกวดศิลปะจากกล้วยไม้ ภาพวาด ภาพถ่าย และประติมากรรมกล้วยไม้ การจำหน่ายกล้วยไม้นานาชนิด สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทย กิจกรรมและผลงานของเยาวชน รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ
สำหรับความพร้อมในการจัดงาน APOC 12 นั้น กรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา พร้อมกันนี้ยังมีการดำเนินการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการเชิญชวนผู้ประกอบการจากนานาประเทศให้เข้ามาร่วมงาน โดยตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย ศ.ระพี สาคริก นายกสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งงาน APOC และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของการจัดงานได้เดินทางเข้าร่วมงานแสดงกล้วยไม้ในประเทศต่างๆ อาทิ งาน Okinawa International Orchid Show 2015 เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น งาน Taiwan International Orchid Show 2015 ประเทศไต้หวัน งาน Singapore Orchid Show 2014 ณ ประเทศสิงคโปร์ งานกล้วยไม้โลกครั้งที่ 21 World Orchid Conference 2014 ณ ประเทศอัฟริกาใต้ และงาน European Orchid Show & Conference 2015 กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการ กว่า 15 ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมงาน
ขณะเดียวกันกรมฯ ยังได้เตรียมแผนประสานงานกับสมาคมกล้วยไม้ต่างๆ อาทิ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ไทย และสมาคมผู่ส่งออกกล้วยไม้ไทย เพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการไทยผนึกกำลังเข้าร่วมงาน เพื่อแสดงถึงศักยภาพของผู้ประกอบการกล้วยไม้ไทยอีกด้วย ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 12 ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือในการจัดงานจากภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ อาทิ กรมประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแสดงในงาน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0-2797-3888 ต่อ 1545 หรืออีเมลล์ apoc2016@yahoo.com โดยติดตามความเคลื่อนไหวของการจัดงานได้ทาง http://www.apoc12.com