คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตามกฎหมายจริงๆก็แค่ ๑.จดทะเบียนสมรสกับมารดาเด็ก ๒.จดทะเบียนรับรองบุตร โดยแม่และเด็กยินยอม ข้อนี้เอาตามจริงเขาไม่ได้กำหนดอายุเด็กแค่เด็กตอบคำถามได้ว่าใครเป็นพ่อ ยืนยันได้ ตอบกี่ทีก็ไม่ผิด คือให้เด็กรู้ความ เด็กรู้ความแต่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดก็ฟ้องแม่ม หุหุหุ (ไม่ต้องรอให้เด็กบรรลุนิติภาวะนะครับกฎหมายในการนี้ไม่ได้กำหนด) ๓.แต่ถ้าเด็กยังไม่รู้ความตอบไม่ได้พูดไม่ได้ต้อง ยืนคำร้องต่อศาลอนุญาตให้จดทะเบียนรับรองบุตร
.
.
สิทธิที่ฝ่ายชายจะได้รับ คือ มีสิทธิในตัวเด็กเช่นเดียวกับแม่เด็ก การทำการบางอย่างต้องได้รับความยินยอมจากสองฝ่าย เช่น พาเด็กออกนอกราชอาณาจักร ถ้าพ่อแม่ไม่ญาติดีกันต้องมาฟ้องขอเพิกถอนอำนาจปกครองกันอีกรอบ
.
ข้อดี คือ ฝ่ายชายจะเกิดหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถ้าไม่ส่งเสียฟ้องเอาได้ เด็กจะเกิดสิทธิต่างๆ เช่นพ่อโดนคนทำให้ตาย (สมมติ) เด็กสามารถเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะได้ ถ้าไม่จดรับรองเรียกไม่ได้ เพราะพ่อไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนสิทธิรับมรดกเกิดตั้งแต่การรับรองโดยพฤตินัยของบิดาอยู่แล้ว
.
.
สิทธิที่ฝ่ายชายจะได้รับ คือ มีสิทธิในตัวเด็กเช่นเดียวกับแม่เด็ก การทำการบางอย่างต้องได้รับความยินยอมจากสองฝ่าย เช่น พาเด็กออกนอกราชอาณาจักร ถ้าพ่อแม่ไม่ญาติดีกันต้องมาฟ้องขอเพิกถอนอำนาจปกครองกันอีกรอบ
.
ข้อดี คือ ฝ่ายชายจะเกิดหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถ้าไม่ส่งเสียฟ้องเอาได้ เด็กจะเกิดสิทธิต่างๆ เช่นพ่อโดนคนทำให้ตาย (สมมติ) เด็กสามารถเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะได้ ถ้าไม่จดรับรองเรียกไม่ได้ เพราะพ่อไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วนสิทธิรับมรดกเกิดตั้งแต่การรับรองโดยพฤตินัยของบิดาอยู่แล้ว
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่องการเซ็นรับรองบุตรคะ
1. ถ้าเซ็นแล้วฝ่ายชายมีสิทธิในตัวบุตรอะไรบ้างค่ะ
2. ถ้าเซ็นต้องทำอย่างไรค่ะ
3. มีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้
เพิ่มเติมคะ เราสองคนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ตอนนี้ท้องได้ 6 เดือนคะ
ขอบคุณมากคะ