ตำนานพื้นบ้าน Doppelgänger ของเยอรมัน ทำนองว่าจะมีร่างจำลองของเรามาอีกหนึ่งร่าง และมักเป็นลางร้ายบ่งบอกถึงความตาย เช่นเดียวกับใน The Double Life of Veronique ของคีโลสกี้ ว่าด้วยสองหญิงสาวต่างดินแดน ที่รูปร่างภายนอกเหมือนกันทุกประการ อีกทั้งยังมีลักษณะร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะชอบดนตรี มีปัญหาเรื่องหัวใจ (คือหมายถึงพยาธิสภาพ) แม่ทั้งคู่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร อยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ และกำลังค้นหาความหมายของความรัก
เวโรนิกา เป็นแฝดที่อยู่โปแลนด์ในยุคที่ระบบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์กำลังล้มสลาย (ในฉากแรกๆ รูปปั้นของสตาลินกำลังถูกย้ายออกจากหมู่บ้าน) เธอเหมือนจะต้องดำเนินชีวิตตามกรอบที่คนอื่นจัดวางไว้ (เช่นเดียวกับโปแลนด์ที่ถูกต่างชาติพยายามยึดครองในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง) เธอต้องย้ายที่อยู่เพื่อไปดูแลคุณป้าที่กำลังป่วยในต่างเมือง ทำให้ต้องทิ้งคนรักไป เธอถูกคนคุมวงประสานเสียงทาบทามให้ร่วมวง เธอซ้อมการประสานเสียงอย่างหนัก และเสียชีวิตในการแสดงประสานเสียงในรอบปฐมทัศน์

ในขณะที่เวโรนีค แฝดอีกคนที่อยู่ฝรั่งเศส เอาจริงๆ ทั้งคู่เคยพบกันแล้ว ที่โปแลนด์ นั่นอาจเป็นลางร้ายสำหรับเวโรนิกา เวโรนีคไปในฐานะนักท่องเที่ยว ซึ่งบังเอิญว่าโปแลนด์กำลังอยู่ในช่วงประท้วง แต่อีกครั้งที่หนังนำเสนอให้เราเห็นว่า ตัวเวโรนิกาไม่สนใจวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กำลังคุกรุ่นในประเทศของเธอเลย (ครั้งแรกรูปปั้นสตาลินเธอก็ไม่สนใจ ครั้งที่สองการประท้วงเธอก็เดินเล่นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น) นี่อาจหมายถึงความตัวหนังไม่ได้พูดถึงการเมืองหรือไม่
แต่จนแล้วจนรอดยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ เราว่าอาจจะมีการเมืองซุกซ่อนอยู่ในหนัง เพราะตัวละครจากสองประเทศ (โปแลนด์ ฝรั่งเศส) กับเรื่อง Doppelgänger ที่ดันเป็นตำนานเยอรมัน ก็ชวนให้อดคิดไม่ได้ ว่าเวโรนีค ก็เหมือนเป็นตัวแทนฝรั่งเศสที่อิสระเสรี ใช้ชีวิตอย่างมีทางเลือก (เธอเลือกที่จะลาออกจากวงดนตรีที่อาจทำลายสุขภาพของเธอ และเลือกที่จะตามหาความรัก) ในขณะที่โปแลนด์ก่อนหน้านั้นก็อยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ (เวโรนิกาต้องซ้อมดนตรีจนร่างกายไม่ไหว แถมต้องพลัดพรากจากคนรัก)

หรืออาจจะมองว่า หนังอาจะเล่นกับทฤษฎีของฟรอยด์ เพราะทั้งคู่ต่างเสียแม่ในวัยเด็ก แต่ตกอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ชายตลอด นี่อาจเป็นปมขัดแย้งภายใต้จิตสำนึกมาตลอด อย่างที่ชื่อเรื่องบอกว่านี่คือหนังของเวโรนีค เวโรนิกาอาจแทนถึงแม่ของเธอ เป็นส่วนหนึ่งของเลือดเนื้อของเธอ เพราะเธอเองก็รู้สึกอ้างว้าง (หลังจากที่เวโรนิกาตาย) นี่อาจเป็นการปะทุของปมในใจนี่ซ่อนเร้นมานาน
ส่วนประเด็นเรื่องเฟมินิสต์ในหนังก็ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคนแก่ Exhibitionism และหุ่นเชิดโดยเพศชาย บทสนทนาที่น่าสนใจ ก็คือเมื่อ เวโรนีค ถามคนรักใหม่ว่าทำไมคุณต้องทำหุ่นเชิด (ซึ่งก็มีหน้าตาเหมือนเธอ) ถึงสองตัว เขาบอกกับเธอ ว่า Because during performances I handle them a lot. They damage easily.

งานด้านภาพไม่ต้องพูดถึง นี่คือหนึ่งในหนังที่ถ่ายภาพได้สวยงามที่สุด Sławomir Idziak ประดิษฐ์และสร้างจังหวะลีลาใหม่ในการถ่ายทอดอารมณ์ ณ ห่วงเวลานั้นออกมาได้อย่างมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลนส์ตาปลาตอนช่วงฉากร่วมเพศ ใช้โทนสีที่สดใส แต่ก็ดูลึกลับ สับสน และเอาจริงๆ มันน่าขนพองสยองเกล้าไปพร้อมๆ กัน
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: La double vie de Véronique {Krzysztof Kieślowski}, 1991
ตำนานพื้นบ้าน Doppelgänger ของเยอรมัน ทำนองว่าจะมีร่างจำลองของเรามาอีกหนึ่งร่าง และมักเป็นลางร้ายบ่งบอกถึงความตาย เช่นเดียวกับใน The Double Life of Veronique ของคีโลสกี้ ว่าด้วยสองหญิงสาวต่างดินแดน ที่รูปร่างภายนอกเหมือนกันทุกประการ อีกทั้งยังมีลักษณะร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะชอบดนตรี มีปัญหาเรื่องหัวใจ (คือหมายถึงพยาธิสภาพ) แม่ทั้งคู่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร อยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ และกำลังค้นหาความหมายของความรัก
เวโรนิกา เป็นแฝดที่อยู่โปแลนด์ในยุคที่ระบบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์กำลังล้มสลาย (ในฉากแรกๆ รูปปั้นของสตาลินกำลังถูกย้ายออกจากหมู่บ้าน) เธอเหมือนจะต้องดำเนินชีวิตตามกรอบที่คนอื่นจัดวางไว้ (เช่นเดียวกับโปแลนด์ที่ถูกต่างชาติพยายามยึดครองในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง) เธอต้องย้ายที่อยู่เพื่อไปดูแลคุณป้าที่กำลังป่วยในต่างเมือง ทำให้ต้องทิ้งคนรักไป เธอถูกคนคุมวงประสานเสียงทาบทามให้ร่วมวง เธอซ้อมการประสานเสียงอย่างหนัก และเสียชีวิตในการแสดงประสานเสียงในรอบปฐมทัศน์
ในขณะที่เวโรนีค แฝดอีกคนที่อยู่ฝรั่งเศส เอาจริงๆ ทั้งคู่เคยพบกันแล้ว ที่โปแลนด์ นั่นอาจเป็นลางร้ายสำหรับเวโรนิกา เวโรนีคไปในฐานะนักท่องเที่ยว ซึ่งบังเอิญว่าโปแลนด์กำลังอยู่ในช่วงประท้วง แต่อีกครั้งที่หนังนำเสนอให้เราเห็นว่า ตัวเวโรนิกาไม่สนใจวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กำลังคุกรุ่นในประเทศของเธอเลย (ครั้งแรกรูปปั้นสตาลินเธอก็ไม่สนใจ ครั้งที่สองการประท้วงเธอก็เดินเล่นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น) นี่อาจหมายถึงความตัวหนังไม่ได้พูดถึงการเมืองหรือไม่
แต่จนแล้วจนรอดยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ เราว่าอาจจะมีการเมืองซุกซ่อนอยู่ในหนัง เพราะตัวละครจากสองประเทศ (โปแลนด์ ฝรั่งเศส) กับเรื่อง Doppelgänger ที่ดันเป็นตำนานเยอรมัน ก็ชวนให้อดคิดไม่ได้ ว่าเวโรนีค ก็เหมือนเป็นตัวแทนฝรั่งเศสที่อิสระเสรี ใช้ชีวิตอย่างมีทางเลือก (เธอเลือกที่จะลาออกจากวงดนตรีที่อาจทำลายสุขภาพของเธอ และเลือกที่จะตามหาความรัก) ในขณะที่โปแลนด์ก่อนหน้านั้นก็อยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ (เวโรนิกาต้องซ้อมดนตรีจนร่างกายไม่ไหว แถมต้องพลัดพรากจากคนรัก)
หรืออาจจะมองว่า หนังอาจะเล่นกับทฤษฎีของฟรอยด์ เพราะทั้งคู่ต่างเสียแม่ในวัยเด็ก แต่ตกอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ชายตลอด นี่อาจเป็นปมขัดแย้งภายใต้จิตสำนึกมาตลอด อย่างที่ชื่อเรื่องบอกว่านี่คือหนังของเวโรนีค เวโรนิกาอาจแทนถึงแม่ของเธอ เป็นส่วนหนึ่งของเลือดเนื้อของเธอ เพราะเธอเองก็รู้สึกอ้างว้าง (หลังจากที่เวโรนิกาตาย) นี่อาจเป็นการปะทุของปมในใจนี่ซ่อนเร้นมานาน
ส่วนประเด็นเรื่องเฟมินิสต์ในหนังก็ค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคนแก่ Exhibitionism และหุ่นเชิดโดยเพศชาย บทสนทนาที่น่าสนใจ ก็คือเมื่อ เวโรนีค ถามคนรักใหม่ว่าทำไมคุณต้องทำหุ่นเชิด (ซึ่งก็มีหน้าตาเหมือนเธอ) ถึงสองตัว เขาบอกกับเธอ ว่า Because during performances I handle them a lot. They damage easily.
งานด้านภาพไม่ต้องพูดถึง นี่คือหนึ่งในหนังที่ถ่ายภาพได้สวยงามที่สุด Sławomir Idziak ประดิษฐ์และสร้างจังหวะลีลาใหม่ในการถ่ายทอดอารมณ์ ณ ห่วงเวลานั้นออกมาได้อย่างมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลนส์ตาปลาตอนช่วงฉากร่วมเพศ ใช้โทนสีที่สดใส แต่ก็ดูลึกลับ สับสน และเอาจริงๆ มันน่าขนพองสยองเกล้าไปพร้อมๆ กัน
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ https://www.facebook.com/survival.king