สำหรับผมในนี้ มันคือโลกออนไลน์
การมีความคิดเห็นที่ต่างกัน มันไม่ใช่เรื่องใหญ่
แต่เรื่องใหญ่คือความดีชั่วต่างหาก
และความจริง ยังไงมันก็เป็นความจริงในที่สุด
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของใคร
"คนใดคนหนึ่ง"
ในความคิดส่วนตัว ผมไม่ชอบพระที่หละหลวม
ไม่จริงจัง ไม่สนใจ ในพระธรรมวินัย
และโดยเฉพาะ "พระชอบเงิน"
ที่เลวร้ายหนัก คือพระผู้มีอำนาจเช่น "มหาเถระ"
ปล่อยให้พระในปกครองละเมิด พระวินัย นี่ซิ
"รับไม่ได้เลย"
ผมเจอบทความหนึ่ง น่าสนใจ
เลยเอามาให้อ่านกัน
มาเร่ิมกันเลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง
"มหาเถรสมาคม" ขึ้นมา
เพื่อเป็นรัฐบาลคณะสงฆ์ปกครองและบริหาร
กิจการพระศาสนา ต่างพระเนตรพระกรรณ
แต่ทุกวันนี้แทบไม่เห็นมีบทบาทอะไร
มหาเถรสมาคม หรือ มส. หากจะเปรียบเทียบ
กับการปกครองทางโลกก็คือ
คณะรัฐมนตรีของคณะสงฆ์นั่นเอง
มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์
มีอำนาจ หน้าที่ ปกครองคณะสงฆ์ทั้งประเทศ
ให้อยู่ในพระธรรมวินัย ตามที่บัญญัติไว้
ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
ซึ่งเป็นฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมจาก
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
และมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
โดยอำนาจหน้าที่สำคัญของมหาเถรสมาคม คือ
ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา
การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ
และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์
รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตามรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 70)
โดยมีเจตนารมณ์ เพื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่
ของบุคคลทุกคนในการพิทักษ์รักษา
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
แม้มหาเถรสมาคมจะปฏิบัติหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด
แต่เกือบทุกครั้งที่เกิดปัญหา
และเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระสงฆ์
หรือคณะสงฆ์
โดยเฉพาะเรื่องที่สังคมสนใจ เช่น
"พระสงฆ์ทำผิดพระธรรมวินัย"
รวมถึงการคิดโครงการใหม่ๆ
เพื่อนำไปพัฒนากิจการของคณะสงฆ์
คำถามที่เกิดขึ้นเสมอ คือ
ความล่าช้าในการพิจารณา
ตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความกระจ่าง
หากมองกันด้วยความเป็นธรรม
และตามความเป็นจริงแล้ว
คงต้องยอมรับว่า
ต้นตอแห่งความล่าช้าทั้งปวง
เกิดจากการประชุมมหาเถรสมาคมแต่ละครั้ง
จะมีการพิจารณาในทุกเรื่อง
ที่อยู่ในอำนาจ หน้าที่
โดยที่ปราศจากการกลั่นกรองก่อน
นั่นหมายถึง มหาเถรสมาคม
ต้องพิจารณาแต่ละเรื่องตั้งแต่ต้น
หรือเรียกกันว่า นับหนึ่งเลยทีเดียว
ทั้งที่ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ในมาตราที่ 19 ระบุไว้ว่า
สมเด็จพระสังฆราชทรง แต่งตั้งคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
ตามมติมหาเถรสมาคม
ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอื่นจำนวนหนึ่ง
โดยมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอ
ต่อ มหาเถรสมาคม และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย
โดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคม
นั่นหมายถึงการแต่งตั้งคณะสงฆ์
เพื่อเป็นคณะกรรมการช่วยกลั่นกรอง
แบ่งเบาภาระงานมหาเถรสมาคม
แน่นอน มหาเถรสมาคมเอง
ก็ไม่ได้ลืมตรงจุดนี้ ทั้งยังแต่งตั้งคณะกรรมการ
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
โดยแบ่งออกเป็น 6 ชุด ดูแลงาน 6 ด้าน
1. ฝ่ายปกครอง
2. ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์
3. ฝ่ายศาสนศึกษา
4. ฝ่ายสาธารณูปการ
5. ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์
6. ฝ่ายเผยแผ่
แต่น่าเสียดายที่จนถึงปัจจุบัน
คณะกรรมการทั้ง 6 ชุด
ยังไม่มีชุดไหนได้ทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
แม้แต่ครั้งเดียว
พระธรรมกิตติเมธี โฆษกมหาเถรสมาคม
ยอมรับว่า
ตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดมา
ยังไม่เคยมีการประชุมกันเลย
ผลงานก็ยังไม่มี
หากคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดดังกล่าว
ทำงานตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์
จะเกิดผลดี
ทั้งต่อมหาเถรสมาคมและพระพุทธศาสนา
โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีอำนาจพิจารณา
เรื่องที่ดูแลอยู่ได้ทันที
และ นำแจ้งมหาเถรสมาคมเพื่อทราบเท่านั้น
จะส่งผลให้งานคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน
สามารถดำเนินการได้ อย่างมีประ-สิทธิภาพ
และรวดเร็วขึ้น
ที่เป็นผลดีกว่านั้นคือ งานที่คั่งค้าง
จ่อคิวรอเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม
จะลดน้อยลง
เรื่องที่จะเข้าสู่การพิจารณาก็จะเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะเกิดผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในภาพรวม
"เป็นหลัก"
“มหาเถรสมาคมก็ทราบปัญหาดังกล่าว
และได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด
โดยมี พระพรหมเมธี เป็นประธาน
เพื่อติดตามและปรับปรุง
คณะกรรมการทุกชุด
ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งขึ้น
รวมถึงคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดที่จะต้องทำหน้าที่
คอยกลั่นกรองเรื่องเสนอมหาเถรสมาคมด้วย
ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาปรับปรุงเสร็จแล้ว
กำลังเตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณา
ของมหาเถรสมาคม
เพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดดังกล่าว
เมื่อปรับปรุงแล้ว จะทำงานตามที่ระบุไว้
ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์
ก็จะมีการเสนอต่อมหาเถรสมาคม
เพื่อออกเป็นระเบียบมหาเถรสมาคม
ให้กรรมการทั้ง 6 ชุดปฏิบัติตาม
และที่สำคัญจะคัดเลือกพระสงฆ์
ที่เป็นพระทำงานเข้ามาเป็นกรรมการ
ให้กับกรรมการทั้ง 6 ชุด
สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่”
โฆษกมหาเถรสมาคมกล่าว
ทีมข่าวศาสนา เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่เกือบทุกเรื่องราว
ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
การมีข้อมูลที่เจาะลึกและถูกต้อง
จึงนับเป็นหัวใจสำคัญในการตัดสินใจ
ได้อย่างถูกต้อง หลายเรื่อง เช่น
การตั้งวัด การเปลี่ยนชื่อวัด
การตั้งสำนักปฏิบัติธรรม
จึงไม่น่าจะต้องขึ้นมาถึง
ระดับมหาเถรสมาคมพิจารณา
โดยน่าจะตัดสินและจบได้ด้วยการพิจารณา
ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว
งานของมหาเถรสมาคมก็จะรวดเร็วขึ้น
ทันกับสถานการณ์และเหตุการณ์ปัจจุบัน
ทั้งเรายังมองด้วยว่า การให้ความสำคัญ
ต่อคณะกรรมการของทั้ง 6 ชุด เท่ากับ
มหาเถรสมาคม เปิดโอกาสให้พระรุ่นใหม่ๆ
ซึ่งรวมไปถึงพระอาจารย์
จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง
ได้แสดงฝีมือและความสามารถ
เพราะการสร้างพระรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถ
คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พระพุทธศาสนา
ดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคง.
ผู้เขียน: ทีมข่าวศาสนา
ที่มา: ไทยรัฐ
มติมหาเถร !
เห็นชอบ "ให้จัดงาน" วันมาฆบูชา ปี 55
ตามที่ "สำนักพุทธฯ" เสนอ เห็นมะ
ทีเรื่องแบบนี้ละรีบรับมุก "ประชุม-ลงมติ"
เป็นคุ้งเป็นแควเชียว ตะที"งานบวชพระบวชเณร"
ซึ่งเป็นการสร้าง "ศาสนทายาท" กลับไม่คิดทำกัน
โน่นโยนให้วัดพระธรรมกายทำ
แถมกรรมการมหาเถร "บางรูป"
ยังออกมาเชียร์ธรรมกายอีก
ขณะที่ "งานมหาเถรสมาคมของตัวเอง"
กลับทำเป็นสงวนมารยาท
ไม่ยอมออกหน้าเรียกร้องอะไรเลย
อีแบบนี้ก็ไม่รู้จะมีมหาเถรสมาคมไปทำไม
เพราะมีก็ไม่ได้ทำงานอะไร
แค่นั่งอนุมัติโน่นอนุมัตินี่ งานที่ทำก็มักง่าย
แค่นิมนต์พระมาเทศน์-สวดมนต์-ฉันเพล เสร็จพิธี
แบบนี้หลวงตาวัดไหนก็ทำได้
ตะทีงานใหญ่ระดับประเทศกลับไม่คิดทำกัน
ปีหนึ่งๆ แต่งตั้งพระอุปัชฌาย์มาเป็นร้อยเป็นพัน
แต่เวลามีงานบวชใหญ่เป็นแสนเป็นล้านรูป
กลับยกให้ธัมมชโยไปทำ
ถามว่ามหาเถรสมาคมแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์
ไว้ทำยาอะไร ?
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง
"มหาเถรสมาคม"ขึ้นมา
ก็เพื่อเป็นรัฐบาลคณะสงฆ์ปกครอง
และบริหารกิจการพระศาสนา
ต่างพระเนตรพระกรรณ
แต่ทุกวันนี้แทบไม่เห็นมีบทบาทอะไร
หรือที่มีก็ผิดฝาผิดตัวไปหมด
เขาให้ทำอย่างหนึ่ง แต่ไพร่ไปทำอีกอย่างหนึ่ง
กิจการพระศาสนาถึงทรุดต่ำลงไปทุกวัน
และสุดท้ายเมื่อไปไม่รอด
ก็ถึงกับยกกิจการพระศาสนาให้ธรรมกายเซ้งไป
สมกับที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเสียจริงเชียว !
ที่น่าเศร้าใจกว่านั้นก็คือ กรรมการมหาเถรสมาคม
ยินยอมพร้อมใจไปเป็นคณะที่ปรึกษาให้ ธรรมกาย
อย่างพร้อมเพรียงเรียงหน้า
แบบว่าถ้าเป็นเรื่อง"ธรรมกาย"ละสามัคคีกันเชียว
ตะทีงานของมหาเถรสมาคม
กลับมาร่วมงานกันกะหรอมกะแหรม
มันเกิดอะไรขึ้นหรือประเทศไทย ?
ปีหนึ่งๆ ผลิตบัณฑิตทั้งเปรียญ 7-8-9
และปริญญาตรี-โท-เอก
ออกมานับพันนับหมื่น
ตั้ง "พระครู-เจ้าคุณ" อีกเป็นพันๆ รูป
แต่คิดแก๊กทำงานพระศาสนาได้แค่นี้เองเหรอ ?
เงินก็มี อำนาจก็มี บุคคลากรก็มี แต่ไม่มีหัว
มันเป็นเรื่องน่าเศร้าใจอะไรเช่นนั้น
ถ้ามหาเถรสมาคมไร้ความสามารถจะบริหาร
คณะสงฆ์ไทย
โดยยกโครงการใหญ่ๆ ให้แก่ธรรมกาย
ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องมีมหาเถรสมาคมอีกต่อไป
ยุบทิ้งเสียเถอะครับ
แล้วยกคณะสงฆ์ไทยให้ "ท่านธัมมชโย"
ให้เขาดูแลแทนเสีย เถิดขอรับ
พระเดชพระคุณท่านจะได้สบาย...
งานสำคัญ ทำบุญตักบาตร แสดงพระธรรมเทศนา
เวียนเทียน ประกวดโต๊ะหมู่บูชาและโคมแขวน
และถวายสังฆทาน เป็นงานสำคัญระดับโลก
"มหาเถรสมาคม" ขอรับเป็นเจ้าภาพเอง
ใครอย่ายุ่งนะ
งานไม่สำคัญ : บวชพระ 100,000 รูป ทั่วแผ่นดิน
เป็นงานกระจอก ยกให้"ธรรมกาย"
เป็นเจ้าภาพไปเถอะ
พวกเราไปเวียนเทียนที่พุทธมณฑลก็พอ
รับรองว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
ถึง 5,000 ปีแน่
ช่วยแบ่งปันกันทั่งแผ่นดินครับ
สังคมมองว่า พระสงฆ์ทำผิดพระธรรมวินัย เป็นเรื่องธรรมดาหรือ ?
การมีความคิดเห็นที่ต่างกัน มันไม่ใช่เรื่องใหญ่
แต่เรื่องใหญ่คือความดีชั่วต่างหาก
และความจริง ยังไงมันก็เป็นความจริงในที่สุด
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของใคร
"คนใดคนหนึ่ง"
ในความคิดส่วนตัว ผมไม่ชอบพระที่หละหลวม
ไม่จริงจัง ไม่สนใจ ในพระธรรมวินัย
และโดยเฉพาะ "พระชอบเงิน"
ที่เลวร้ายหนัก คือพระผู้มีอำนาจเช่น "มหาเถระ"
ปล่อยให้พระในปกครองละเมิด พระวินัย นี่ซิ
"รับไม่ได้เลย"
ผมเจอบทความหนึ่ง น่าสนใจ
เลยเอามาให้อ่านกัน
มาเร่ิมกันเลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง
"มหาเถรสมาคม" ขึ้นมา
เพื่อเป็นรัฐบาลคณะสงฆ์ปกครองและบริหาร
กิจการพระศาสนา ต่างพระเนตรพระกรรณ
แต่ทุกวันนี้แทบไม่เห็นมีบทบาทอะไร
มหาเถรสมาคม หรือ มส. หากจะเปรียบเทียบ
กับการปกครองทางโลกก็คือ
คณะรัฐมนตรีของคณะสงฆ์นั่นเอง
มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์
มีอำนาจ หน้าที่ ปกครองคณะสงฆ์ทั้งประเทศ
ให้อยู่ในพระธรรมวินัย ตามที่บัญญัติไว้
ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
ซึ่งเป็นฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมจาก
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
และมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
โดยอำนาจหน้าที่สำคัญของมหาเถรสมาคม คือ
ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา
การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ
และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์
รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตามรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 70)
โดยมีเจตนารมณ์ เพื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่
ของบุคคลทุกคนในการพิทักษ์รักษา
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
แม้มหาเถรสมาคมจะปฏิบัติหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด
แต่เกือบทุกครั้งที่เกิดปัญหา
และเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระสงฆ์
หรือคณะสงฆ์
โดยเฉพาะเรื่องที่สังคมสนใจ เช่น
"พระสงฆ์ทำผิดพระธรรมวินัย"
รวมถึงการคิดโครงการใหม่ๆ
เพื่อนำไปพัฒนากิจการของคณะสงฆ์
คำถามที่เกิดขึ้นเสมอ คือ
ความล่าช้าในการพิจารณา
ตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความกระจ่าง
หากมองกันด้วยความเป็นธรรม
และตามความเป็นจริงแล้ว
คงต้องยอมรับว่า
ต้นตอแห่งความล่าช้าทั้งปวง
เกิดจากการประชุมมหาเถรสมาคมแต่ละครั้ง
จะมีการพิจารณาในทุกเรื่อง
ที่อยู่ในอำนาจ หน้าที่
โดยที่ปราศจากการกลั่นกรองก่อน
นั่นหมายถึง มหาเถรสมาคม
ต้องพิจารณาแต่ละเรื่องตั้งแต่ต้น
หรือเรียกกันว่า นับหนึ่งเลยทีเดียว
ทั้งที่ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ในมาตราที่ 19 ระบุไว้ว่า
สมเด็จพระสังฆราชทรง แต่งตั้งคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ
ตามมติมหาเถรสมาคม
ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอื่นจำนวนหนึ่ง
โดยมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอ
ต่อ มหาเถรสมาคม และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย
โดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคม
นั่นหมายถึงการแต่งตั้งคณะสงฆ์
เพื่อเป็นคณะกรรมการช่วยกลั่นกรอง
แบ่งเบาภาระงานมหาเถรสมาคม
แน่นอน มหาเถรสมาคมเอง
ก็ไม่ได้ลืมตรงจุดนี้ ทั้งยังแต่งตั้งคณะกรรมการ
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
โดยแบ่งออกเป็น 6 ชุด ดูแลงาน 6 ด้าน
1. ฝ่ายปกครอง
2. ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์
3. ฝ่ายศาสนศึกษา
4. ฝ่ายสาธารณูปการ
5. ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์
6. ฝ่ายเผยแผ่
แต่น่าเสียดายที่จนถึงปัจจุบัน
คณะกรรมการทั้ง 6 ชุด
ยังไม่มีชุดไหนได้ทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
แม้แต่ครั้งเดียว
พระธรรมกิตติเมธี โฆษกมหาเถรสมาคม
ยอมรับว่า
ตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดมา
ยังไม่เคยมีการประชุมกันเลย
ผลงานก็ยังไม่มี
หากคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดดังกล่าว
ทำงานตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์
จะเกิดผลดี
ทั้งต่อมหาเถรสมาคมและพระพุทธศาสนา
โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีอำนาจพิจารณา
เรื่องที่ดูแลอยู่ได้ทันที
และ นำแจ้งมหาเถรสมาคมเพื่อทราบเท่านั้น
จะส่งผลให้งานคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน
สามารถดำเนินการได้ อย่างมีประ-สิทธิภาพ
และรวดเร็วขึ้น
ที่เป็นผลดีกว่านั้นคือ งานที่คั่งค้าง
จ่อคิวรอเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม
จะลดน้อยลง
เรื่องที่จะเข้าสู่การพิจารณาก็จะเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะเกิดผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในภาพรวม
"เป็นหลัก"
“มหาเถรสมาคมก็ทราบปัญหาดังกล่าว
และได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด
โดยมี พระพรหมเมธี เป็นประธาน
เพื่อติดตามและปรับปรุง
คณะกรรมการทุกชุด
ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งขึ้น
รวมถึงคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดที่จะต้องทำหน้าที่
คอยกลั่นกรองเรื่องเสนอมหาเถรสมาคมด้วย
ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาปรับปรุงเสร็จแล้ว
กำลังเตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณา
ของมหาเถรสมาคม
เพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการทั้ง 6 ชุดดังกล่าว
เมื่อปรับปรุงแล้ว จะทำงานตามที่ระบุไว้
ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์
ก็จะมีการเสนอต่อมหาเถรสมาคม
เพื่อออกเป็นระเบียบมหาเถรสมาคม
ให้กรรมการทั้ง 6 ชุดปฏิบัติตาม
และที่สำคัญจะคัดเลือกพระสงฆ์
ที่เป็นพระทำงานเข้ามาเป็นกรรมการ
ให้กับกรรมการทั้ง 6 ชุด
สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่”
โฆษกมหาเถรสมาคมกล่าว
ทีมข่าวศาสนา เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่เกือบทุกเรื่องราว
ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
การมีข้อมูลที่เจาะลึกและถูกต้อง
จึงนับเป็นหัวใจสำคัญในการตัดสินใจ
ได้อย่างถูกต้อง หลายเรื่อง เช่น
การตั้งวัด การเปลี่ยนชื่อวัด
การตั้งสำนักปฏิบัติธรรม
จึงไม่น่าจะต้องขึ้นมาถึง
ระดับมหาเถรสมาคมพิจารณา
โดยน่าจะตัดสินและจบได้ด้วยการพิจารณา
ของคณะกรรมการชุดดังกล่าว
งานของมหาเถรสมาคมก็จะรวดเร็วขึ้น
ทันกับสถานการณ์และเหตุการณ์ปัจจุบัน
ทั้งเรายังมองด้วยว่า การให้ความสำคัญ
ต่อคณะกรรมการของทั้ง 6 ชุด เท่ากับ
มหาเถรสมาคม เปิดโอกาสให้พระรุ่นใหม่ๆ
ซึ่งรวมไปถึงพระอาจารย์
จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง
ได้แสดงฝีมือและความสามารถ
เพราะการสร้างพระรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถ
คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พระพุทธศาสนา
ดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคง.
ผู้เขียน: ทีมข่าวศาสนา
ที่มา: ไทยรัฐ
มติมหาเถร !
เห็นชอบ "ให้จัดงาน" วันมาฆบูชา ปี 55
ตามที่ "สำนักพุทธฯ" เสนอ เห็นมะ
ทีเรื่องแบบนี้ละรีบรับมุก "ประชุม-ลงมติ"
เป็นคุ้งเป็นแควเชียว ตะที"งานบวชพระบวชเณร"
ซึ่งเป็นการสร้าง "ศาสนทายาท" กลับไม่คิดทำกัน
โน่นโยนให้วัดพระธรรมกายทำ
แถมกรรมการมหาเถร "บางรูป"
ยังออกมาเชียร์ธรรมกายอีก
ขณะที่ "งานมหาเถรสมาคมของตัวเอง"
กลับทำเป็นสงวนมารยาท
ไม่ยอมออกหน้าเรียกร้องอะไรเลย
อีแบบนี้ก็ไม่รู้จะมีมหาเถรสมาคมไปทำไม
เพราะมีก็ไม่ได้ทำงานอะไร
แค่นั่งอนุมัติโน่นอนุมัตินี่ งานที่ทำก็มักง่าย
แค่นิมนต์พระมาเทศน์-สวดมนต์-ฉันเพล เสร็จพิธี
แบบนี้หลวงตาวัดไหนก็ทำได้
ตะทีงานใหญ่ระดับประเทศกลับไม่คิดทำกัน
ปีหนึ่งๆ แต่งตั้งพระอุปัชฌาย์มาเป็นร้อยเป็นพัน
แต่เวลามีงานบวชใหญ่เป็นแสนเป็นล้านรูป
กลับยกให้ธัมมชโยไปทำ
ถามว่ามหาเถรสมาคมแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์
ไว้ทำยาอะไร ?
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง
"มหาเถรสมาคม"ขึ้นมา
ก็เพื่อเป็นรัฐบาลคณะสงฆ์ปกครอง
และบริหารกิจการพระศาสนา
ต่างพระเนตรพระกรรณ
แต่ทุกวันนี้แทบไม่เห็นมีบทบาทอะไร
หรือที่มีก็ผิดฝาผิดตัวไปหมด
เขาให้ทำอย่างหนึ่ง แต่ไพร่ไปทำอีกอย่างหนึ่ง
กิจการพระศาสนาถึงทรุดต่ำลงไปทุกวัน
และสุดท้ายเมื่อไปไม่รอด
ก็ถึงกับยกกิจการพระศาสนาให้ธรรมกายเซ้งไป
สมกับที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเสียจริงเชียว !
ที่น่าเศร้าใจกว่านั้นก็คือ กรรมการมหาเถรสมาคม
ยินยอมพร้อมใจไปเป็นคณะที่ปรึกษาให้ ธรรมกาย
อย่างพร้อมเพรียงเรียงหน้า
แบบว่าถ้าเป็นเรื่อง"ธรรมกาย"ละสามัคคีกันเชียว
ตะทีงานของมหาเถรสมาคม
กลับมาร่วมงานกันกะหรอมกะแหรม
มันเกิดอะไรขึ้นหรือประเทศไทย ?
ปีหนึ่งๆ ผลิตบัณฑิตทั้งเปรียญ 7-8-9
และปริญญาตรี-โท-เอก
ออกมานับพันนับหมื่น
ตั้ง "พระครู-เจ้าคุณ" อีกเป็นพันๆ รูป
แต่คิดแก๊กทำงานพระศาสนาได้แค่นี้เองเหรอ ?
เงินก็มี อำนาจก็มี บุคคลากรก็มี แต่ไม่มีหัว
มันเป็นเรื่องน่าเศร้าใจอะไรเช่นนั้น
ถ้ามหาเถรสมาคมไร้ความสามารถจะบริหาร
คณะสงฆ์ไทย
โดยยกโครงการใหญ่ๆ ให้แก่ธรรมกาย
ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องมีมหาเถรสมาคมอีกต่อไป
ยุบทิ้งเสียเถอะครับ
แล้วยกคณะสงฆ์ไทยให้ "ท่านธัมมชโย"
ให้เขาดูแลแทนเสีย เถิดขอรับ
พระเดชพระคุณท่านจะได้สบาย...
งานสำคัญ ทำบุญตักบาตร แสดงพระธรรมเทศนา
เวียนเทียน ประกวดโต๊ะหมู่บูชาและโคมแขวน
และถวายสังฆทาน เป็นงานสำคัญระดับโลก
"มหาเถรสมาคม" ขอรับเป็นเจ้าภาพเอง
ใครอย่ายุ่งนะ
งานไม่สำคัญ : บวชพระ 100,000 รูป ทั่วแผ่นดิน
เป็นงานกระจอก ยกให้"ธรรมกาย"
เป็นเจ้าภาพไปเถอะ
พวกเราไปเวียนเทียนที่พุทธมณฑลก็พอ
รับรองว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
ถึง 5,000 ปีแน่
ช่วยแบ่งปันกันทั่งแผ่นดินครับ