จากข้อธรรม เพราะมีอวิชชาและตัณหา นั้นแหละสัตว์จึงเกิด หรือ อวิชชาเป็นคตินำสัตว์ไปเกิด

พอดีได้อ่านกระทู้นี้  http://pantip.com/topic/33703926

     จึงคิดตั้งกระทู้ขึ้นมา  เพราะแม้แต่การเกิดของสัตว์ชั้นต่ำ ด้วยการแบ่งเชล หรือจากชิ้นส่วนร่างกายที่โดนตัดออกไป  แล้วปฏิสนธิ เป็นสัตว์ตัวใหม่ ก็พอมีอธิบายได้ ในพระอภิธรรม

         จากอภิธรรมเล่มที่ 35

      [๒๙๐] อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ
                อวิชชาเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ
                สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
                วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
                นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
                สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
                ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
                เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
                ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
                อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
                ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
                ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
                ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
        ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้  

      ในหลักของพุทธศาสนา  สัมมาทิฏฐิ นั้นมี 2 คือ 1.สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ 2.สัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ

      จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 14 เฉพาะสาสวะ (จัดให้อ่านง่าย)
----------------------------
    [๒๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์
เป็นไฉน  คือ  ความเห็นดังนี้ว่า  
        ทานที่ให้แล้ว  มีผล  ยัญที่บูชาแล้ว  มีผล  สังเวยที่บวงสรวงแล้ว
มีผล  
        ผลวิบากของกรรมที่ทำดี  ทำชั่วแล้วมีอยู่  
        โลกนี้มี  โลกหน้ามี  
         มารดามี  บิดามี  
         สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี  
         สมณพราหมณ์ทั้งหลาย  ผู้ดำเนินชอบ  ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า
ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง  ในโลก  มีอยู่  
         นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์  ฯ
---------------------
  
         และการเวียนว่ายตายเกิดตามพุทธศาสนาก็มีกล่าวไว้มากมาย .  
พระไตรปิฏกเล่มที่ 9
-----------------
                              ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
        ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้
เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ
จากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น
แล้วจากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้
อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้นเราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น
ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืน
อย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้นมาสู่บ้าน
ของตนตามเดิม ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติ
บ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง
เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอ
ประการหนึ่ง.
                            จุตูปปาตญาณ
          ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์
ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น
สัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง
๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือน
บ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลาง
พระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน เหล่านี้สัญจรเป็นแถว
ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมด้วยประการฉะนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.
--------------------------  

     แต่ในพุทธศาสนา สัตว์ตายเวียนว่ายตายเกิดนั้น ไม่ใช่ว่า เมื่อสัตว์ตายแล้ว วิญญาณ จากสัตว์ตายนั้น ล่องลอยไปเกิดในร่างหรือในกายใหม่ที่เกิดขึ้น  แต่เกิดขึ้นเพราะสัตว์ก่อนตายนั้น ยังมีอวิชชาและตัณหา อยู่จึงมีการเหนียวนำให้เกิดใหม่ ซี่งหมายความว่าไม่มีสิ่งใดจากร่างกายก่อนกระโดดหรือล่องลอยไปเกินในร่างกายใหม่ นั้นเอง.

     พระพุทธเจ้าจึงตรัสทำนองว่า อวิชชา นั้นแหละเป็นคติ นำสัตว์ไปเกิด  

  จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 25
------------------
         [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง
โดยชอบเนืองๆ พึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม ควรตอบเขาว่า พึงมี ถ้าเขาถามว่า พึง
มีอย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด
ย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอวิชชา
นั่นเองดับไปเพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
        อวิชชานั้นเอง เป็นคติของสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงชาติมรณะและสงสาร
        อันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นบ่อยๆ
อวิชชา คือ
        ความหลงใหญ่นี้ เป็นความเที่ยงอยู่สิ้นกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้ไปด้วย
        วิชชาเท่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ ฯ
----------------------

        อธิบายให้เห็นง่ายๆ  เหมือนผมหรือท่านที่มีร่างกายและจิตใจอยู่ในปัจจุบันนี้   ไม่ได้เกิดจากจิต(วิญญาณ) ในชาติก่อนล่องลอยมาสิ่งอยู่ในชาติปัจจุบันนี้ ก็หมายความว่า ไม่มี ร่างกาย หรือ จิตวิญญาณ ในชาติก่อนมาเลย ซึ่งเป็นของใหม่ล้วนๆ ไม่ใช่ของเก่า
        แต่โดนเหนียวนำจากของเก่า เสมือนสืบทอดจากของเก่านั้นเอง  คือเปรียบเทียบได้ว่า จิตวิญญานของเก่าส่งสัญญานก็คืออวิชชา เป็นคติไป(รวมทั้งกรรมและวิบากต่างๆ) เมื่อเกิดจุติจิต(ตาย)  แล้วเหนียวนำจิตหรือวิญญาณใหม่ที่ปรากฏ หรือปฏิสนธิจิต(เกิด) เกิดขึ้นที่มีรูปแบบเหมือนของเก่านั้นเอง.

        แต่ถ้าไม่มีอวิชชา เพราะบังเกิด วิชชา การเหนียวนำจิตหรือวิญญาณใหม่ที่เป็นปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นที่มีรูปแบบเหมือนเก่าย่อมไม่ปรากฏขึ้นอีกนั้นเอง.

       กล่าวถึงตัวผมเอง ร่างกายและจิตใจ นี้เป็นของใหม่ แต่สืบทอดจากของเก่าอยู่เนื่องๆ  สามารถระลึกนึกได้ ถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เมื่อวาน เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว พอนึกได้ถึงเมื่อปีที่แล้ว หรือหลายปีมาแล้ว จนกระทั้งวัยเด็กเมื่อจำความได้ ทั้งที่ร่างกายก็ไม่ใช่ของเก่าแล้วคือเปลี่ยนไปหมดแล้วแต่สืบทอดจากของเก่า

       จนปฏิบัติธรรมสมาธิ ระลึกได้บางส่วนในชาติที่แล้ว  แล้วในชาติถัดไป และชาติถัดจากนั้น.

        ซึ่งก็คือ สุข-ทุกข์  วนเวียนอยู่เช่นนั้น  ถ้ากล่าวตามปฏิจสมุทปบาทก็ ทุกข์เท่านั้น ที่ตั้งอยู่และดับไป วนเวียนเป็นเช่นนี้อยู่เนื่องๆ เมื่อยังมีอวิชชา เป็นคติอยู่.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่