ตามที่ได้ดราม่ากันมาพอสมควรเรื่องแว่นกันแดดภายในหมวกใช่แผ่นกันลมหรือไม่
แล้วจะต้องเป็นสีใสเท่านั้นจึงจะถูกกฏหมาย.....ผมขอมีส่วนร่วมสักกระทู้นึงครับ
ท่านทราบกันหรือไม่ว่ามาตรฐาน มอก. ของหมวกกันน็อกฉบับใหม่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว
เปลี่ยนเป็นมาตรฐาน มอก.369-2557
http://www.tisi.go.th/images/stories/notices/pdf/a369-2557.pdf
ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 76 ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 3 เม.ย.58
รายละเอียดทั้งหมด
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/076/4.PDF
เนื้อความส่วนที่เราถกเถียงกัน และมีปัญหาถูกไม่ถูก อะไรก็แล้วแต่ตามมาตรฐานใหม่ระบุไว้ดังนี้
ข้อที่ 2 บทนิยาม
ถ้าจะตีความเรื่องที่ว่าแว่นกันแดดที่อยู่ภายในใช่แผ่นบังลมตามนิยามหรือไม่ เดี๋ยวมันจะยาววววววว
ที่ข้อนี้ผมอยากให้ดูตรงวัสดุครับ ระบุว่า "ทําด้วยวัสดุโปร่งแสง (transparent)"
ซึ่งพจนานุกรมราชบัณฑิต ได้ให้ความหมายไว้ว่า "โปร่งแสง ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้." ไม่ใช่
"โปร่งใส ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้และมองเห็นได้ตลอด."
และเมื่อเลื่อนลงไปดูข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านล่าง
ข้อที่ 6 คุณลักษณะที่ต้องการ
ก็ไม่ได้กล่าวไว้ตรงไหนว่าแผ่นบังลมหน้าจะต้องใส ไม่มีสี
และที่เด็ดสุด ที่อยากจะให้ดูก็คือ หน้า 15 ข้อ 6.9 คุณลักษณะของแผ่นกันลม (ถ้ามี)
หมายความว่า ชีลด์หมวกกันน็อกมีสีเข้มได้ครับ โดยสามารถเข้มได้มากที่สุดคือให้แสงผ่านได้ 50%
แต่ต้องมีสัญลักษณ์หรือข้อความระบุว่า "ให้ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น"
อันนี้แถมครับ วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของแผ่นบังลม
......ถึงตรงนี้สรุปเลยนะครับว่า มาตรฐานหมวกกันน็อกไทยได้เปลี่ยนแล้วครับ มีผลบังคับใช้
ตามกฏหมายมาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2558 ชีลด์หน้าสีเข้ม สามารถให้แสงผ่านได้ตั้งแต่ 50%
ไม่ผิดกฏหมายครับ
....เชิญวิพากษ์ครับ
ขอเรื่องชีลด์หน้าหมวกกันน็อกอีกสักกระทู้...มาตรฐานใหม่ถูกประกาศใช้แล้ว ทราบกันหรือยังครับ
แล้วจะต้องเป็นสีใสเท่านั้นจึงจะถูกกฏหมาย.....ผมขอมีส่วนร่วมสักกระทู้นึงครับ
ท่านทราบกันหรือไม่ว่ามาตรฐาน มอก. ของหมวกกันน็อกฉบับใหม่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว
เปลี่ยนเป็นมาตรฐาน มอก.369-2557 http://www.tisi.go.th/images/stories/notices/pdf/a369-2557.pdf
ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 76 ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 3 เม.ย.58
รายละเอียดทั้งหมด http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/076/4.PDF
เนื้อความส่วนที่เราถกเถียงกัน และมีปัญหาถูกไม่ถูก อะไรก็แล้วแต่ตามมาตรฐานใหม่ระบุไว้ดังนี้
ข้อที่ 2 บทนิยาม
ถ้าจะตีความเรื่องที่ว่าแว่นกันแดดที่อยู่ภายในใช่แผ่นบังลมตามนิยามหรือไม่ เดี๋ยวมันจะยาววววววว
ที่ข้อนี้ผมอยากให้ดูตรงวัสดุครับ ระบุว่า "ทําด้วยวัสดุโปร่งแสง (transparent)"
ซึ่งพจนานุกรมราชบัณฑิต ได้ให้ความหมายไว้ว่า "โปร่งแสง ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้." ไม่ใช่
"โปร่งใส ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้และมองเห็นได้ตลอด."
และเมื่อเลื่อนลงไปดูข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านล่าง
ข้อที่ 6 คุณลักษณะที่ต้องการ
ก็ไม่ได้กล่าวไว้ตรงไหนว่าแผ่นบังลมหน้าจะต้องใส ไม่มีสี
และที่เด็ดสุด ที่อยากจะให้ดูก็คือ หน้า 15 ข้อ 6.9 คุณลักษณะของแผ่นกันลม (ถ้ามี)
หมายความว่า ชีลด์หมวกกันน็อกมีสีเข้มได้ครับ โดยสามารถเข้มได้มากที่สุดคือให้แสงผ่านได้ 50%
แต่ต้องมีสัญลักษณ์หรือข้อความระบุว่า "ให้ใช้ในเวลากลางวันเท่านั้น"
อันนี้แถมครับ วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของแผ่นบังลม
......ถึงตรงนี้สรุปเลยนะครับว่า มาตรฐานหมวกกันน็อกไทยได้เปลี่ยนแล้วครับ มีผลบังคับใช้
ตามกฏหมายมาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2558 ชีลด์หน้าสีเข้ม สามารถให้แสงผ่านได้ตั้งแต่ 50%
ไม่ผิดกฏหมายครับ
....เชิญวิพากษ์ครับ