การรัฐประหารในสมัยสุโขทัยและอยุธยา

เมื่อวันก่อนดูข่าวครบรอบการทำรัฐประหาร และสำนักข่าวเขาก็สรุปว่าเรามีรัฐประหารกันบ่อยแค่ไหน นั่นทำให้ผมสงสัยว่าในช่วงสมัยก่อนที่ปกครองโดยกษัตริย์ มีการทำรัฐประหารกันบ้างไหม และบ่อยแค่ไหน  เพราะเราทราบกันหลัก ๆ แค่ช่วงเสียกรุงครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง พอได้อ่านดูจาก Wikipedia “รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย”  ก็เห็นว่ามีเยอะมาก จึงพยายามเรียบเรียงมาให้ดู และพอจะมองเห็นภาพว่าสภาพการปกครองในสมัยก่อนไม่ต่างกับกลุ่มการเมืองในปัจจุบัน มีการร่วมมือกัน มีการแตกแยกกัน  มีการสลับสับเปลี่ยนกันครองอำนาจเมื่ออีกกลุ่มเข้มแข็งกว่า  มีการร่วมมือกันกำจัดฝ่ายตรงข้าม ต่างกันก็แค่ผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ในสมัยก่อนมักต้องตาย  
ป.ล.1 ในเครื่องหมายคำพูดผมจะ COPY มาจาก Wikipedia เลย เพราะเขาอธิบายละเอียดดีแล้ว
ป.ล.2 ถ้าดูลำดับการครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ใน Wikipedia ไปด้วยก็จะเข้าใจมากขึ้น
ป.ล.3 ตัวเลขท้ายพระนามเป็นลำดับการครองราชย์ของกษัตริย์ในอาณาจักรนั้น ๆ
ดังนั้นจังขอเริ่มจาก

อาณาจักรสุโขทัย

ครั้งที่ 1  พระยางั่วนำถม(5) ใช้อิทธิพลทางการเมืองที่เหนือกว่าครองราชย์ต่อจากพระยาเลอไทย(4) ซึ่งเป็นเพียงลูกพี่ลูกน้อง (  พระยางั่วนำถมเป็นลูกของลุงพระยาเลอไทย)
ครั้งที่ 2 พระยาลิไทย(6) พระโอรสพระยาเลอไทยนำกำลังทหารเข้าควบคุมหลัง พระยางั่วนำถมสวรรคต
ครั้งที่ 3 เมื่อพระยาไสลือไทย(8)สิ้นพระชนม์ พระโอรสคือพระยาบาลเมือง(9)และพระยารามแย่งชิงราชสมบัติกัน  (ตอนนี้สุโขทัยเป็นเมืองประเทศราชแก่อยุธยาแล้ว)  เจ้านครอินทร์แห่งอยุธยาจึงต้องเสด็จขึ้นไปไกล่เกลี่ย และให้พระยาบาลเมืองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และให้พระยารามครองเมืองสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองเอก
ครั้งที่ 4 พระยายุทธิษฐิระเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยและเป็นพระโอรสพระยารามต้องการสืบอำนาจต่อจากผู้เป็นลุงของตนคือ พระยาบาลเมือง แต่กลุ่มเมืองสองแควพิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัยไม่ยอมรับ เพราะเคยพิพาทมาก่อนจึงให้เจ้าสามพระยาแห่งอยุธยามาไกล่เกลี่ย  เจ้าสามพระยาจึงส่งพระบรมไตรโลกนาถเมื่อขณะยังเป็นพระราเมศวร (คล้ายเป็นตำแหน่ง มกุฎราชกุมาร) ขึ้นไปปกครองเมืองพิษณุโลกเพราะมีทั้งเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยและราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งอยุธยา เพราะแม่เป็นราชธิดาพระยาไสลือไทยแห่งกรุงสุโขทัย  เป็นอันสิ้นกษัตริย์สุโขทัย

อาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธยานี้เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับอาณาจักรสุโขทัยนะครับ และไปบรรจบกันที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปครองเมืองพิษณุโลก
ครั้งที่ 4 ขุนหลวงพะงั่ว(3)ใช้อิทธิพลทางการเมืองที่เหนือกว่า ผลักดันสมเด็จพระราเมศวร(2)ไปครองเมืองลพบุรี  (คนละราเมศวรที่เป็นพระบรมไตรโลกนาถ )
ครั้งที่ 5 สมเด็จพระราเมศวรเอาคืน สำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน(4)โอรสของขุนหลวงพะงั่ว
ครั้งที่ 6 สมเด็จพระอินทราชา(6)หลานขุนหลวงพะงั่ว เอาคืน ยกกำลังทหารบีบ สมเด็จพระรามราชาธิราช(5) พระโอรสสมเด็จพระราเมศวร และผลักดันให้ไปครองเมืองปทาคูจาม สมเด็จพระอินทราชาผู้นี้คือเจ้านครอินทร์ที่ขึ้นไปไกล่เกลี่ยเมื่อคราวพระยาบาลเมืองและพระยารามแย่งชิงราชสมบัติกัน ที่สุโขทัย
ครั้งที่ 7 เมื่อสมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1967 เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติ จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ เป็นเหตุให้เจ้าสามพระยา(7) ได้ครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์  เจ้าสามพระยาผู้นี้คือผู้ที่ส่งพระโอรสคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปครองเมืองพิษณุโลก (เมืองหลวงแห่งอาณาจักรสุโขทัย) แทนพระยายุทธิษฐิระ
ครั้งที่ 8 ไม่ได้ใช้กำลังทหารแต่ผิดธรรมเนียมที่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางไว้  เพราะปกติอุปราช(หรือกษัตริย์องค์ที่สองเพราะบางสมัยเป็นยิ่งกว่าอุปราช เหมือนแบ่งสรรอำนาจผลประโยชน์กัน) ที่ครองเมืองพิษณุโลกจะต้องได้ครองกรุงศรีอยุธยาแต่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (11)ได้ให้พระรัษฎาธิราช(12)อายุห้าขวบครองราชย์ต่อ แทนที่จะเป็น สมเด็จพระไชยราชาธิราช ซึ่งครองเมืองพิษณุโลก
ครั้งที่ 9 สมเด็จพระไชยราชาธิราช(13)ชิงราชสมบัติพระรัษฎาธิราช(12)
ครั้งที่ 10 แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ กับ ขุนวรวงศาธิราช ชิงราชสมบัติพระยอดฟ้า(14)
ครั้งที่ 11 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(15) ชิงราชสมบัติจากขุนวรวงศาธิราช (ใช้คำพูดเหมือนไม่มีความชอบธรรม แต่เพื่อความกระชับ และสามารถหาดูได้จากภาพยนตร์)
ครั้งที่ 12 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช(17) ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี  “ในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วยโดยพระเจ้าบุเรงนองให้พระมหาธรรมราชาเป็นกองหลังดูแลคลังเสบียงจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อเดือนเก้า พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งในวันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ. 2112 ได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา”
ครั้งที่ 13  พระศรีเสาวภาคย์(20) พระโอรสสมเด็จพระเอกาทศรถ(19) ถูกพระเจ้าทรงธรรม(21)ชิงราชสมบัติ ตามความว่า “ในแผ่นดินของพระศรีเสาวภาคย์ จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับพระศรีเสาวภาคย์นำไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 (พ.ศ. 2154) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็นพระมหาอุปราช”
ครั้งที่ 14   พระโอรสของพระเจ้าทรงธรรม คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช(22)ชิงราชสมบัติกับพระพันปีศรีศิลป์ จหมื่นศรีสรรักษ์  สนับสนุน สมเด็จพระเชษฐาธิราชจับพระศรีศิลป์สำเร็จโทษ
ครั้งที่ 15 จหมื่นศรีสรรักษ์หรือเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขัดแย้งกับสมเด็จพระเชษฐาธิราช (22)จับสมเด็จพระเชษฐาธิราชไปสำเร็จโทษและ ทูลเชิญพระอาทิตยวงศ์(23) พระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อไป
ครั้งที่ 16 จหมื่นศรีสรรักษ์หรือ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (24)ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง โดยมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แต่ยังไม่ได้สำเร็จโทษ พระอาทิตยวงศ์เพียงแต่ถอดไว้  จนพระอาทิตยวงศ์พระชันษามากขึ้นและคิดขบถจึงสำเร็จโทษ
ครั้งที่ 17 พระศรีสุธรรมราชา(26) และพระนารายณ์(27) ร่วมมือกันกำจัด สมเด็จเจ้าฟ้าไชย(25) พระโอรสสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง(24) และ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ขึ้นครองราชย์
ครั้งที่ 18 สมเด็จพระนารายณ์(27)กำจัดสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (26) “พระนารายณ์ได้รับการสนับสนุนจากพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยาสุระและทหารญี่ปุ่น 40 นาย รวมทั้งชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย การต่อสู้ยึดอำนาจเกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงในตอนเย็นวันที่ 25 ตุลาคมพ.ศ. 2199 จนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น ไพร่พลของทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทั้งสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาและพระนารายณ์ต่างได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสู้ไม่ได้จึงถอยหนีไปวังหลังแต่ถูกพระนารายณ์จับกุมตัวและนำไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา”
ครั้งที่ 19 พระเพทราชา (28)ซึ่งเป็นพระยากลาโหมในแผ่นดินพระนารายณ์  หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต ได้ยึดอำนาจ และขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
ครั้งที่ 20  สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร(32)และพระเจ้าเอกทัศ (33)ร่วมมือกันกำจัด เจ้าสามกรม คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี ซึ่งได้พยายามแย่งชิงราชสมบัติ
ครั้งที่ 21 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร(32)  สละราชสมบัติให้พระเจ้าเอกทัศ(33) และสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จออกผนวช
กรุงแตกและตั้งกรุงธนบุรี


มีความคิดเห็นด้านล่างในความคิดเห็นที่ 3 ที่5 และที่6 มาเพิ่มเติมความอ่อนด้อยของผม ขอบคุณมากครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่