
สโมสรฟุตบอล บีอีซี-เทโรศาสน
(credit : sites.google.com)
ดุสิต เฉลิมแสน, เทิดศักดิ์ ใจมั่น, วรวุฒิ ศรีมะฆะ, อนุรักษ์ ศรีเกิด, สะสม พบประเสริฐ, ทนงศักดิ์ ประจักกะตา, พรรษา มีสัตย์ธรรม, ดัสกร ทองเหลา, ศักดิ์ชาย ยันตระศรี, ตะวัน ศรีปาน, วิทยา นับทอง, นิรุตต์ สุระเสียง, วุฒิญา หยองเอ่น, โกวิท ฝอยทอง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นนักเตะที่เคยสังกัดสโมสร "
มังกรไฟ" แห่งนี้ทั้งสิ้น อีกทั้งผลงานในอดีตก็นับได้ว่า ทีมนี้เป็นทีมระดับแถวหน้าของไทยอีกหนึ่งทีม ที่ควรค่าแก่การเขียนถึงเป็นอย่างยิ่ง
แรกเริ่มเดิมที
สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยคุณ
วรวีร์ มะกูดี โดยใช้ชื่อว่า
โรงเรียนศาสนวิทยา อยู่ในเขตหนองจอก และเริ่มเข้าแข่งในระดับลีกสมัครเล่นอันดับล่างสุดของประเทศไทย คือ
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง และใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ก็ได้ขึ้นมาเล่นในระดับสูงสุดของประเทศอย่าง
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก (เดิม) (
ช่วงปี 2505 - 2538 ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก เป็นฟุตบอลถ้วยที่สโมสรสมาชิกส่งเข้าร่วมแข่งขันในระดับสูงสุดของประเทศ)
โดยในปี พ.ศ. 2538 ทางสโมสรได้รับเงินสนับสนุนจาก
บริษัทบุญรอด บริวเวอรี จำกัด และ
บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อจาก "
โรงเรียนศาสนวิทยา" มาเป็น "
สิงห์-เทโรศาสน" ในปีดังกล่าว

สโมสรสิงห์-เทโรศาสน
(credit : thailandsusu.com)
ในปี พ.ศ. 2539 พวกเขาได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2539/2540 (จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก) แต่ฤดูกาลแรกพวกเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 12 รอดการตกชั้นแบบหวุดหวิด หลังจากที่คะแนนเท่ากับพนักงานยาสูบ แต่ว่าลูกได้เสียดีกว่า ทำให้รอดการตกชั้นไปเล่น ดิวิชั่น 1 ไปได้ (ปีนั้น มีทีมแข่งขัน 18 ทีม แต่ทางลีกต้องการลดจำนวนทีมให้เหลือ 12 ทีมในฤดูกาล 2540 จึงต้องคัดเอา 6 ทีมล่างจะถูกนำไปรวมกับ 4 อันดับแรกจากดิวิชั่น 2 เดิม เพื่อสร้างลีกระดับสองใหม่)
ในปี พ.ศ. 2540 ทางสโมสรได้รับการสนับสนุนกจาก
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้เข้าซื้อกิจการ
บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น "
บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)" จึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรจาก "
สโมสรสิงห์-เทโรศาสน" เป็น
สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน
โดยในฤดูกาลนี้เอง
สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ก็ทำผลงานได้ดีกว่าฤดูกาลก่อน ด้วยการจบฤดูกาลที่อันดับ 5 และเหมือน
ส้มหล่น ใส่พวกเขา เมื่อ แชมป์อย่าง "
ทหารอากาศ" และทีมลำดับต่อมาอย่าง
ธนาคารกรุงเทพ และ
การท่าเรือ ขอสละสิทธิ์ไปเล่นรายการ
เอเชียนคลับแชมเปี้ยนชิพ 1998-99 (ชื่อเดิมของรายการ AFC Champion League) ในรอบคัดเลือกรอบแรก เนื่องจากสามสโมสรดังกล่าวให้เหตุผลว่า
ติดปัญหาด้านการเงิน
อีกทั้งฤดูกาลนี้
สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ยังได้สร้าง "
เครื่องจักรถล่มประตู" อย่าง
วรวุฒิ ศรีมะฆะ ที่คว้าดาวซัลโวประจำฤดูกาลนั้นไปด้วยผลงาน 17 ประตู นับเป็นการแจ้งเกิดสโมสรบีอีซี-เทโรศาสนได้อย่างสวยงาม

วรวุฒิ ศรีมะฆะ
(credit : goal.com)
ในปี พ.ศ. 2541 พวกเขาก็ยังทำผลงานในลีกได้เป็นอย่างดี ด้วยการจบที่อันดับ 3 ของลีก เหมือนกับเป็นการบ่งบอกมาตรฐานว่า พวกเขาเป็นทีมระดับแถวหน้าของไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกกลาย ๆ ในขณะนั้น
ในรายการระดับเอเซีย อย่าง เอเชียนคลับแชมเปี้ยนชิพ 1998-99 นั้น รอบแรกพวกเขาต้องเจอกับทีม
ทรี สตาร์ คลับ (ระบบเหย้า-เยือน) จากประเทศเนปาล โดยนัดแรก
บีอีซี-เทโรศาสน เปิดบ้านถล่ม
ทรี สตาร์ คลับ ไปอย่างท่วมท้น 6 ประตู ต่อ 1 ส่วนนัดที่สองที่ต้องไปเล่นในบ้านของ
ทรี สตาร์ คลับ ไปแน่ใจว่าด้วยเหตุผลกลใด หรือ เป็นข้อตกลงระหว่างสโมสรที่จะเล่นแค่ "
เลกเดียว" และหาทีมผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 ทำให้
บีอีซี-เทโรศาสน ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบ 2 ด้วยสกอร์รวม 6 ประตู ต่อ 1
แต่พวกเขาก็ต้องหยุดเส้นทางในระดับเอเซียไว้ในรอบนี้ เมื่อพบกับ
ต้าเหลียน วันดา จากประเทศจีน โดยแพ้ไปด้วยสกอร์รวมสองนัด 3 ประตูต่อ 1
ในปี พ.ศ. 2542 พวกเขาเกือบที่จะ "
คว้าแชมป์ลีกสูงสุด" มาครองได้เป็นสมัยแรก ด้วยการเตะ 22 นัด มี 39 แต้มเท่ากัน 4 ทีม (ทหารอากาศ, การท่าเรือ และ โอสถสภา) แต่ลูกได้เสียของ ทหารอากาศ ดีกว่า (ทหารอากาศ +16, การท่าเรือ +15, บีอีซี-เทโรศาสน +12 และ โอสถสภา +11) ทำให้พวกเขาจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 3 และไม่ได้สิทธิ์ไปเล่นในรายการใด ๆ เลยในระดับเอเซีย
และในปี พ.ศ. 2543 ก็เป็นปีที่ สโมสรแห่งนี้ ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ของสโมสร ด้วยการ "
เถลิงบังลังก์แชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกสมัยแรก" ได้สำเร็จ ทิ้งทีมรักคู่แค้นอย่าง ทหารอากาศ ถึง 8 แต้ม ครองโทรฟี่สูงสุดลีกอาชีพไทยได้อย่างสวยงาม ซึ่งในฤดูกาลนี้มีสถิติสวย ๆ อย่างการบุกไปถล่ม
ธนาคารกรุงไทยคาถิ่น 0-6 หรือ เปิดบ้านถล่ม
สินธนาไป 5-0 และคว้าสิทธิ์ไปเล่นในรายการ
Asian Cup Winners's Cup 2000-01 รอบคัดเลือกรอบแรก
โดยในรายการ
Asian Cup Winners's Cup 2000-01 รอบคัดเลือกรอบแรก พวกเขาก็ผ่านเข้ารอบด้วยการเอาชนะทีม
คาฮูต้า รีเซิส เลเบอร์ลาทอลี่ จากปากีสถานไปด้วยสกอร์รวม 2 นัด 7-1 และในรอบคัดเลือกรอบสอง พวกเขาก็ยังสามารถเอาชนะ ปูปุก์ คาติม จากอินโดนีเซีย ไปด้วยสกอร์รวม 2 นัด 5-1
ก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย ก็ต้องมาเจอของแข็ง อย่าง
ชิมิสุ เอส-พัล ยอดทีมจากประเทศญี่ปุ่น โดยในนัดแรกพวกเขาทำได้ดี เมื่อเปิดบ้านเสมอไปก่อนด้วยสกอร์ 2-2 แต่เลกสองไปเล่นที่ญี่ปุ่น พวกเขาก็ต้านทานความแข็งแกรง่ไม่ไหว พ่ายไปด้วยสกอร์ 1-3 ส่งผลให้พวกเขาตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยสกอร์รวม 3-5 หยุดเส้นทางระดับเอเซียไว้ในรอบนี้
ในปี 2544 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2544/2545) พวกเขาก็ยังคงครองความยิ่งใหญ่ได้อยู่ เมื่อจบฤดูกาลด้วยการเป็น "
แชมป์" สมัยที่ 2 พร้อมกับการกลับมาระเบิดฟอร์มของ
วรวุฒิ ศรีมะฆะ ที่เป็นดาวซัลโว (ร่วมกับ ปิติพงษ์ กุลดิลก) ด้วยจำนวน 12 ประตู และคว้าสิทธิ์ไปเล่น
Asian Club Championship 2001-02 รอบคัดเลือกรอบแรก
ในรายการ
Asian Club Championship 2001-02 พวกเขาก็ไม่ทำให้แฟน ๆ ผิดหวัง เมื่อผ่านรอบแรกไปอย่างสบาย ๆ ด้วยการถล่มทีม สิงค์โปร อาร์มฟอร์ช ไปด้วยสกอร์รวมแบบถล่มทลาย 8-1 แต่พอผ่านเข้าไปรอบสอง พกเขาก็ต้องสะดุด เมื่อต้องไปเจอกับ
คาชิม่า แอทเลอร์ จากญี่ปุ่น และแพ้ไปด้วยสกอร์รวม 3-1 ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย
ในปี 2545 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2545/2546) พวกเขา
เกือบที่จะคว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แต่ก็ต้องพลาดท่าเสียแชมป์ให้กับ ธนาคารกรุงไทย ด้วยแต้มห่างกันแค่
1 คะแนน พลาดคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ยังได้สิทธิ์ไปเล่นใน
AFC Champion League 2002-03 (
ในปีนี้ Champion Asian Cup, Asian Winners's Cup และ Asia Supercup ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันให้เป็นรายการเดียวชื่อว่า AFC Champion League)
โดยในรายการ
AFC Champion League 2002-03 พวกเขาไปยืนรอรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม A โดยทีมในกลุ่มประกอบไปด้วย แทจอน ซิติเซน จากประเทศเกาหลีใต้, เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว จากประเทศจีน และ คาชิม่า แอทเลอร์ จากประเทศญี่ปุ่น และพวกเขาก็สามารถที่จะเข้ารอบต่อไปด้วยการเป็น
แชมป์กลุ่ม โดยไม่แพ้ใครเลย และรอบแบ่งกลุ่มนี้เป็นการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของ
เทอดศักดิ์ ใจมั่น

เทอดศักดิ์ ใจมั่น
(credit : goal.com)
จากนั้นในรอบ 4 ทีมสุดท้าย พวกเขาต้องมาพบกับยอดทีมจากอุซเบกิสถาน อย่าง
ปัคตากอร์ แต่พวกเขาก็ยังสร้างอภินิหารผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะ
ปัคตากอร์ ไปด้วยสกอร์รวม 3-2 โดยจะไปพบกับ
อัล ไอน์ เอฟซี ยอดทีมจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
น่าเสียดายที่พวกเขาต้องพบกับความพ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์รวม 2-1 ได้แค่
รองแชมป์ถ้วยใหญ่ชุดของเอเซีย แต่ก็ถือว่าทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม
ในปี พ.ศ. 2546 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2546/2547) พวกเขาก็ยังกลับมาทวงแชมป์ไม่สำเร็จ เมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 2
ส่วนในรายการ
AFC Champions League 2004 พวกเขาสร้างผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อจบอันดับบ๊วยของกลุ่ม E ชนะ 1 แพ้ 5 เก็บได้เพียง 3 คะแนน ตกรอบไปในปีนี้ โดยมีเพื่อนร่วมกลุ่ม อย่าง ชุนบุค ฮุนได (เกาหลีใต้), จูบิโล่ อิวาตะ (ญี่ปุ่น) และ เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว (จีน)
ในปี พ.ศ. 2547 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2547/2548) พวกเขาทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ เมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 ส่วนในรายการ
AFC Champions League 2005 พวกเขาก็ยังทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ เมื่อจบอันดับบ๊วยของตารางอีก 1 สมัย เสมอ 1 แพ้ 5 เก็บได้เพียง 1 คะแนน โดยมีเพื่อนร่วมกลุ่มอย่าง ซานตง ลูเหนิง (จีน), โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส (ญี่ปุ่น) และ เปอร์ซิตวน เซปัก โบลา มาคัซซาร์ (อินโดนีเซีย)
ในปี 2549 - 2551 พวกเขาจบด้วยอันดับที่ 3 ทั้ง 3 ฤดูกาล และไม่ได้สิทธิ์ไปเล่นในระดับเอเซียอีก แต่พวกเขาก็ได้ให้กำเนิดดาวยิงเพื่อประดับวงการฟุตบอลไทย ได้แก่
พิพัฒน์ ต้นกันยา (ดาวซัลโว ฤดูกาล 2549/ 12 ประตู) และ
อานนท์ สังสระน้อย (ฤดูกาล 2551/20 ประตู) รวมถึงสร้างสถิติหลาย ๆ อย่างเอาไว้ใน 2-3 ฤดูกาลนี้ อาทิ บุกไปชนะทีมตำรวจ ในฤดูกาล 2550 ด้วยสกอร์ 0-7 และบุกไปชนะ ทีมการท่าเรือฯ ด้วยสกอร์ 2-5 ในฤดูกาล 2551

พิพัฒน์ ต้นกันยา
(credit : siamsport.co.th)

อานนท์ สังสระน้อย
(credit : topicstock.pantip.com)
ในปี พ.ศ. 2552 เมื่อไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกยกระดับให้เข้าสู่ความเป็นอาชีพ เช่น การจดทะเบียนทีมเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์, การส่งงบการเงิน, การทำตามหลักเกณฑ์ของ AFC, การบริหารจัดการด้านธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เริ่มมีความชัดเจนในหลาย ๆ อย่างในทุกสโมสร โดย
สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ก็ได้ยึ
สนามฟุตบอลเทโรศาสนหนองจอก เป็นรังเหย้า และมีการเปลี่ยนแปลงเฮดโค้ช จากเดิม คือ
คริสตอฟ ลาร์รูห์ ที่ดันขึ้นไปนั่ง ผจก.เทคนิค มาเป็น
ตะวัน ศรีปาน อดีตยอดมิดฟิลด์ทีมชาติไทย โดยในฤดูกาลนี้ก็ยังจบอันดับที่ 4

ตะวัน ศรีปาน
(credit : wikipedia.org)
ในปี พ.ศ. 2553
สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ได้ย้ายสนามจาก
สนามหนองจอก มาเป็น
สนามเทพหัสดิน ด้วยเหตุผลทีว่า สนามหนองจอกไม่ได้มาตรฐานไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ผลงานก็ยังไม่กระเตื้องขึ้นจากปีทีแล้ว เมื่อจบด้วยอันดับ 9
ในปี พ.ศ. 2554 พวกเขาก็ยังทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 แต่ก็มีความก้าวหน้าที่ดีในเรื่องการบริหาร เมื่อสโมสรได้ลงนามในสัญญาร่วมกับ
สโมสรฟุตบอลอาร์เซน่อล ยอดทีมจากพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ก่อตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจด้านฟุตบอลโดยเฉพาะขึ้นมา โดยมีร้านขายของที่ระลึกที่เซ็นทรัลเวิลด์
** ต่อหน้า 2 **
บีอีซี-เทโรศาสน : มังกรไฟที่ยังหาทางคืนสู่บัลลังก์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก
สโมสรฟุตบอล บีอีซี-เทโรศาสน
(credit : sites.google.com)
ดุสิต เฉลิมแสน, เทิดศักดิ์ ใจมั่น, วรวุฒิ ศรีมะฆะ, อนุรักษ์ ศรีเกิด, สะสม พบประเสริฐ, ทนงศักดิ์ ประจักกะตา, พรรษา มีสัตย์ธรรม, ดัสกร ทองเหลา, ศักดิ์ชาย ยันตระศรี, ตะวัน ศรีปาน, วิทยา นับทอง, นิรุตต์ สุระเสียง, วุฒิญา หยองเอ่น, โกวิท ฝอยทอง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นนักเตะที่เคยสังกัดสโมสร "มังกรไฟ" แห่งนี้ทั้งสิ้น อีกทั้งผลงานในอดีตก็นับได้ว่า ทีมนี้เป็นทีมระดับแถวหน้าของไทยอีกหนึ่งทีม ที่ควรค่าแก่การเขียนถึงเป็นอย่างยิ่ง
แรกเริ่มเดิมที สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยคุณวรวีร์ มะกูดี โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนศาสนวิทยา อยู่ในเขตหนองจอก และเริ่มเข้าแข่งในระดับลีกสมัครเล่นอันดับล่างสุดของประเทศไทย คือ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง และใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ก็ได้ขึ้นมาเล่นในระดับสูงสุดของประเทศอย่าง ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก (เดิม) (ช่วงปี 2505 - 2538 ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก เป็นฟุตบอลถ้วยที่สโมสรสมาชิกส่งเข้าร่วมแข่งขันในระดับสูงสุดของประเทศ)
โดยในปี พ.ศ. 2538 ทางสโมสรได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัทบุญรอด บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนศาสนวิทยา" มาเป็น "สิงห์-เทโรศาสน" ในปีดังกล่าว
สโมสรสิงห์-เทโรศาสน
(credit : thailandsusu.com)
ในปี พ.ศ. 2539 พวกเขาได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นใน ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2539/2540 (จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก) แต่ฤดูกาลแรกพวกเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 12 รอดการตกชั้นแบบหวุดหวิด หลังจากที่คะแนนเท่ากับพนักงานยาสูบ แต่ว่าลูกได้เสียดีกว่า ทำให้รอดการตกชั้นไปเล่น ดิวิชั่น 1 ไปได้ (ปีนั้น มีทีมแข่งขัน 18 ทีม แต่ทางลีกต้องการลดจำนวนทีมให้เหลือ 12 ทีมในฤดูกาล 2540 จึงต้องคัดเอา 6 ทีมล่างจะถูกนำไปรวมกับ 4 อันดับแรกจากดิวิชั่น 2 เดิม เพื่อสร้างลีกระดับสองใหม่)
ในปี พ.ศ. 2540 ทางสโมสรได้รับการสนับสนุนกจาก บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)" จึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรจาก "สโมสรสิงห์-เทโรศาสน" เป็น สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน
โดยในฤดูกาลนี้เอง สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ก็ทำผลงานได้ดีกว่าฤดูกาลก่อน ด้วยการจบฤดูกาลที่อันดับ 5 และเหมือน ส้มหล่น ใส่พวกเขา เมื่อ แชมป์อย่าง "ทหารอากาศ" และทีมลำดับต่อมาอย่าง ธนาคารกรุงเทพ และ การท่าเรือ ขอสละสิทธิ์ไปเล่นรายการเอเชียนคลับแชมเปี้ยนชิพ 1998-99 (ชื่อเดิมของรายการ AFC Champion League) ในรอบคัดเลือกรอบแรก เนื่องจากสามสโมสรดังกล่าวให้เหตุผลว่า ติดปัญหาด้านการเงิน
อีกทั้งฤดูกาลนี้ สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ยังได้สร้าง "เครื่องจักรถล่มประตู" อย่าง วรวุฒิ ศรีมะฆะ ที่คว้าดาวซัลโวประจำฤดูกาลนั้นไปด้วยผลงาน 17 ประตู นับเป็นการแจ้งเกิดสโมสรบีอีซี-เทโรศาสนได้อย่างสวยงาม
วรวุฒิ ศรีมะฆะ
(credit : goal.com)
ในปี พ.ศ. 2541 พวกเขาก็ยังทำผลงานในลีกได้เป็นอย่างดี ด้วยการจบที่อันดับ 3 ของลีก เหมือนกับเป็นการบ่งบอกมาตรฐานว่า พวกเขาเป็นทีมระดับแถวหน้าของไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกกลาย ๆ ในขณะนั้น
ในรายการระดับเอเซีย อย่าง เอเชียนคลับแชมเปี้ยนชิพ 1998-99 นั้น รอบแรกพวกเขาต้องเจอกับทีม ทรี สตาร์ คลับ (ระบบเหย้า-เยือน) จากประเทศเนปาล โดยนัดแรก บีอีซี-เทโรศาสน เปิดบ้านถล่ม ทรี สตาร์ คลับ ไปอย่างท่วมท้น 6 ประตู ต่อ 1 ส่วนนัดที่สองที่ต้องไปเล่นในบ้านของ ทรี สตาร์ คลับ ไปแน่ใจว่าด้วยเหตุผลกลใด หรือ เป็นข้อตกลงระหว่างสโมสรที่จะเล่นแค่ "เลกเดียว" และหาทีมผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 ทำให้ บีอีซี-เทโรศาสน ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบ 2 ด้วยสกอร์รวม 6 ประตู ต่อ 1
แต่พวกเขาก็ต้องหยุดเส้นทางในระดับเอเซียไว้ในรอบนี้ เมื่อพบกับ ต้าเหลียน วันดา จากประเทศจีน โดยแพ้ไปด้วยสกอร์รวมสองนัด 3 ประตูต่อ 1
ในปี พ.ศ. 2542 พวกเขาเกือบที่จะ "คว้าแชมป์ลีกสูงสุด" มาครองได้เป็นสมัยแรก ด้วยการเตะ 22 นัด มี 39 แต้มเท่ากัน 4 ทีม (ทหารอากาศ, การท่าเรือ และ โอสถสภา) แต่ลูกได้เสียของ ทหารอากาศ ดีกว่า (ทหารอากาศ +16, การท่าเรือ +15, บีอีซี-เทโรศาสน +12 และ โอสถสภา +11) ทำให้พวกเขาจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 3 และไม่ได้สิทธิ์ไปเล่นในรายการใด ๆ เลยในระดับเอเซีย
และในปี พ.ศ. 2543 ก็เป็นปีที่ สโมสรแห่งนี้ ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ของสโมสร ด้วยการ "เถลิงบังลังก์แชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกสมัยแรก" ได้สำเร็จ ทิ้งทีมรักคู่แค้นอย่าง ทหารอากาศ ถึง 8 แต้ม ครองโทรฟี่สูงสุดลีกอาชีพไทยได้อย่างสวยงาม ซึ่งในฤดูกาลนี้มีสถิติสวย ๆ อย่างการบุกไปถล่ม ธนาคารกรุงไทยคาถิ่น 0-6 หรือ เปิดบ้านถล่มสินธนาไป 5-0 และคว้าสิทธิ์ไปเล่นในรายการ Asian Cup Winners's Cup 2000-01 รอบคัดเลือกรอบแรก
โดยในรายการ Asian Cup Winners's Cup 2000-01 รอบคัดเลือกรอบแรก พวกเขาก็ผ่านเข้ารอบด้วยการเอาชนะทีม คาฮูต้า รีเซิส เลเบอร์ลาทอลี่ จากปากีสถานไปด้วยสกอร์รวม 2 นัด 7-1 และในรอบคัดเลือกรอบสอง พวกเขาก็ยังสามารถเอาชนะ ปูปุก์ คาติม จากอินโดนีเซีย ไปด้วยสกอร์รวม 2 นัด 5-1
ก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย ก็ต้องมาเจอของแข็ง อย่าง ชิมิสุ เอส-พัล ยอดทีมจากประเทศญี่ปุ่น โดยในนัดแรกพวกเขาทำได้ดี เมื่อเปิดบ้านเสมอไปก่อนด้วยสกอร์ 2-2 แต่เลกสองไปเล่นที่ญี่ปุ่น พวกเขาก็ต้านทานความแข็งแกรง่ไม่ไหว พ่ายไปด้วยสกอร์ 1-3 ส่งผลให้พวกเขาตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยสกอร์รวม 3-5 หยุดเส้นทางระดับเอเซียไว้ในรอบนี้
ในปี 2544 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2544/2545) พวกเขาก็ยังคงครองความยิ่งใหญ่ได้อยู่ เมื่อจบฤดูกาลด้วยการเป็น "แชมป์" สมัยที่ 2 พร้อมกับการกลับมาระเบิดฟอร์มของ วรวุฒิ ศรีมะฆะ ที่เป็นดาวซัลโว (ร่วมกับ ปิติพงษ์ กุลดิลก) ด้วยจำนวน 12 ประตู และคว้าสิทธิ์ไปเล่น Asian Club Championship 2001-02 รอบคัดเลือกรอบแรก
ในรายการ Asian Club Championship 2001-02 พวกเขาก็ไม่ทำให้แฟน ๆ ผิดหวัง เมื่อผ่านรอบแรกไปอย่างสบาย ๆ ด้วยการถล่มทีม สิงค์โปร อาร์มฟอร์ช ไปด้วยสกอร์รวมแบบถล่มทลาย 8-1 แต่พอผ่านเข้าไปรอบสอง พกเขาก็ต้องสะดุด เมื่อต้องไปเจอกับ คาชิม่า แอทเลอร์ จากญี่ปุ่น และแพ้ไปด้วยสกอร์รวม 3-1 ตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย
ในปี 2545 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2545/2546) พวกเขาเกือบที่จะคว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แต่ก็ต้องพลาดท่าเสียแชมป์ให้กับ ธนาคารกรุงไทย ด้วยแต้มห่างกันแค่ 1 คะแนน พลาดคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ยังได้สิทธิ์ไปเล่นใน AFC Champion League 2002-03 (ในปีนี้ Champion Asian Cup, Asian Winners's Cup และ Asia Supercup ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันให้เป็นรายการเดียวชื่อว่า AFC Champion League)
โดยในรายการ AFC Champion League 2002-03 พวกเขาไปยืนรอรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม A โดยทีมในกลุ่มประกอบไปด้วย แทจอน ซิติเซน จากประเทศเกาหลีใต้, เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว จากประเทศจีน และ คาชิม่า แอทเลอร์ จากประเทศญี่ปุ่น และพวกเขาก็สามารถที่จะเข้ารอบต่อไปด้วยการเป็น แชมป์กลุ่ม โดยไม่แพ้ใครเลย และรอบแบ่งกลุ่มนี้เป็นการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของ เทอดศักดิ์ ใจมั่น
เทอดศักดิ์ ใจมั่น
(credit : goal.com)
จากนั้นในรอบ 4 ทีมสุดท้าย พวกเขาต้องมาพบกับยอดทีมจากอุซเบกิสถาน อย่าง ปัคตากอร์ แต่พวกเขาก็ยังสร้างอภินิหารผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะ ปัคตากอร์ ไปด้วยสกอร์รวม 3-2 โดยจะไปพบกับ อัล ไอน์ เอฟซี ยอดทีมจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
น่าเสียดายที่พวกเขาต้องพบกับความพ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์รวม 2-1 ได้แค่รองแชมป์ถ้วยใหญ่ชุดของเอเซีย แต่ก็ถือว่าทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม
ในปี พ.ศ. 2546 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2546/2547) พวกเขาก็ยังกลับมาทวงแชมป์ไม่สำเร็จ เมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 2
ส่วนในรายการ AFC Champions League 2004 พวกเขาสร้างผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อจบอันดับบ๊วยของกลุ่ม E ชนะ 1 แพ้ 5 เก็บได้เพียง 3 คะแนน ตกรอบไปในปีนี้ โดยมีเพื่อนร่วมกลุ่ม อย่าง ชุนบุค ฮุนได (เกาหลีใต้), จูบิโล่ อิวาตะ (ญี่ปุ่น) และ เซี่ยงไฮ้ เซิ่นหัว (จีน)
ในปี พ.ศ. 2547 (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2547/2548) พวกเขาทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ เมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 ส่วนในรายการ AFC Champions League 2005 พวกเขาก็ยังทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ เมื่อจบอันดับบ๊วยของตารางอีก 1 สมัย เสมอ 1 แพ้ 5 เก็บได้เพียง 1 คะแนน โดยมีเพื่อนร่วมกลุ่มอย่าง ซานตง ลูเหนิง (จีน), โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส (ญี่ปุ่น) และ เปอร์ซิตวน เซปัก โบลา มาคัซซาร์ (อินโดนีเซีย)
ในปี 2549 - 2551 พวกเขาจบด้วยอันดับที่ 3 ทั้ง 3 ฤดูกาล และไม่ได้สิทธิ์ไปเล่นในระดับเอเซียอีก แต่พวกเขาก็ได้ให้กำเนิดดาวยิงเพื่อประดับวงการฟุตบอลไทย ได้แก่ พิพัฒน์ ต้นกันยา (ดาวซัลโว ฤดูกาล 2549/ 12 ประตู) และ อานนท์ สังสระน้อย (ฤดูกาล 2551/20 ประตู) รวมถึงสร้างสถิติหลาย ๆ อย่างเอาไว้ใน 2-3 ฤดูกาลนี้ อาทิ บุกไปชนะทีมตำรวจ ในฤดูกาล 2550 ด้วยสกอร์ 0-7 และบุกไปชนะ ทีมการท่าเรือฯ ด้วยสกอร์ 2-5 ในฤดูกาล 2551
พิพัฒน์ ต้นกันยา
(credit : siamsport.co.th)
อานนท์ สังสระน้อย
(credit : topicstock.pantip.com)
ในปี พ.ศ. 2552 เมื่อไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกยกระดับให้เข้าสู่ความเป็นอาชีพ เช่น การจดทะเบียนทีมเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์, การส่งงบการเงิน, การทำตามหลักเกณฑ์ของ AFC, การบริหารจัดการด้านธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เริ่มมีความชัดเจนในหลาย ๆ อย่างในทุกสโมสร โดย สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ก็ได้ยึ สนามฟุตบอลเทโรศาสนหนองจอก เป็นรังเหย้า และมีการเปลี่ยนแปลงเฮดโค้ช จากเดิม คือ คริสตอฟ ลาร์รูห์ ที่ดันขึ้นไปนั่ง ผจก.เทคนิค มาเป็น ตะวัน ศรีปาน อดีตยอดมิดฟิลด์ทีมชาติไทย โดยในฤดูกาลนี้ก็ยังจบอันดับที่ 4
ตะวัน ศรีปาน
(credit : wikipedia.org)
ในปี พ.ศ. 2553 สโมสรบีอีซี-เทโรศาสน ได้ย้ายสนามจาก สนามหนองจอก มาเป็น สนามเทพหัสดิน ด้วยเหตุผลทีว่า สนามหนองจอกไม่ได้มาตรฐานไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ผลงานก็ยังไม่กระเตื้องขึ้นจากปีทีแล้ว เมื่อจบด้วยอันดับ 9
ในปี พ.ศ. 2554 พวกเขาก็ยังทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เมื่อจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 แต่ก็มีความก้าวหน้าที่ดีในเรื่องการบริหาร เมื่อสโมสรได้ลงนามในสัญญาร่วมกับสโมสรฟุตบอลอาร์เซน่อล ยอดทีมจากพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ก่อตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจด้านฟุตบอลโดยเฉพาะขึ้นมา โดยมีร้านขายของที่ระลึกที่เซ็นทรัลเวิลด์
** ต่อหน้า 2 **