ผมคิดอยู่หลายครั้งเหมือนกันว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่เพราะบางคนอาจนำไปใช้ในกรณีซึ่งตนเองได้ทำผิดจริง แต่คิดว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถบนท้องถนนเมืองไทยซึ่งเกือบทุกคนก็จะเคยถูกจับด้วยข้อหาพื้นฐานเช่น ขับรถเร็วเกิน กม.กำหนด ไม่ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย ซึ่งในบางครั้งก็ผิดจริง และในบางครั้งก็เกิดจากที่ ท่าน ตร.ใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลยัดเยียดให้ ซึ่งหากเหตุเกิดจากการยัดเยียดข้อกล่าวหาให้นั้น หากว่าเราไม่ได้กระทำผิดจริง เช่นเราแซงรถคันข้างหน้า หรือจกย.แล้วแซงรถเมลล์ที่จอดอยู่ ท่านเจ้าหน้าที่นอกรีตบางท่านก็จะท่องคาถาหากินคือ ไม่ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นปัญหาหนักโดยเฉพาะกับ จกย.ใน กทม. เมื่อ ตร.ใช้คาถาดังกล่าวหลายๆคนจะหมดทางต่อสู้กับท่าน แต่หากท่านอยากจะรอดจงขอหลักฐานครับ อย่าได้ยอมจำนน เมื่อท่านไม่ผิดจจงขอหลักฐานการกระทำผิดซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีภาพถ่าย หรือไม่มีก็ตาม ท่านสามารถปฏิเสธข้อกล่าวหา บอกว่าไม่รับข้อกล่าวหาและขอให้ทางเจ้าหน้าที่ ตร.นำหลักฐานดังกล่าวฟ้องศาล กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา ซึ่งผู้กล่าวหาในที่นี้คือจนท.ตร.จะต้องเป็นคนฟ้องศาลและนำสืบ หลักฐานต่างๆ ผู้ฟ้องจะต้องรวบรวมเพื่อส่งฟ้อง ท่านจะไปต่อสู้กันในชั้นศาล หลายๆคนเกรงกลัวว่าผลที่ตามหลังจะเป็นเช่นไร ผลคือเมื่อ ตร.มีหลักฐานส่งฟ้องภาพการกระทำผิดหากมีการแซงในสถานการณ์ดังกล่าวเราก็แก้ต่างได้ว่ามีสิ่งกีดขวางทำให้ไม่สามารถเดินรถในช่องทางดังกล่าวได้ ศาลก็จะพิจารณาตามจริงและตัดสิน อันนี้ก็แล้วแต่ว่าท่านจะมีคำพิพากษาเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่ส่งฟ้อง
แต่ที่ได้กล่าวมาถึงกระบวนการทั้งหมดจะเห็นว่ามีความยุ่งยากมาก แต่หากจะฟ้องกันจริงๆจะเป็นฝ่าย จนท.ซึ่งจะต้องยุ่งยากกว่าฝ่ายผู้ถูกกล่าวมาก ดังนั้นทาง จนท.จะพยายามให้เรารับข้อกล่าวหา และใช้อำนาจเปรียบเทียบปรับตรงนั้นเลย จบง่าย ได้ตังค์ ซึ่งอาจจะมีการขู่ว่าหากไม่ยอมรับก็ไปคุยกันที่ สน.ซึ่งเรามีสิทธิ์ปฏิเสธและขอให้ทาง ตร.ดำเนินการฟ้องและเราจะให้การในชั้นศาล ตามคดีปกติทั่วไป แน่นอนความยุ่งยากย่อมเกิดแก่ จนท.ตร. ส่วนท่านจะฟ้องตามกระบวนการหรือไม่ก็เป็นวิจารณญาณส่วนตัวของ จนท.อีกทีนึง
ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในกรณีซึ่งเราได้กระทำผิดจริงนะครับ เพียงแต่ในบางกรณีผมเห็นศาลเตี้ยบนท้องถนนแล้วรู้สึกไม่ชอบใจ จึงเสนอวิธีต่อสู้กับความโหดร้ายเหล่านี้ ผิดถูกขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เกี่ยวกับการปฏิเสธข้อกล่าวหาของตำรวจ
แต่ที่ได้กล่าวมาถึงกระบวนการทั้งหมดจะเห็นว่ามีความยุ่งยากมาก แต่หากจะฟ้องกันจริงๆจะเป็นฝ่าย จนท.ซึ่งจะต้องยุ่งยากกว่าฝ่ายผู้ถูกกล่าวมาก ดังนั้นทาง จนท.จะพยายามให้เรารับข้อกล่าวหา และใช้อำนาจเปรียบเทียบปรับตรงนั้นเลย จบง่าย ได้ตังค์ ซึ่งอาจจะมีการขู่ว่าหากไม่ยอมรับก็ไปคุยกันที่ สน.ซึ่งเรามีสิทธิ์ปฏิเสธและขอให้ทาง ตร.ดำเนินการฟ้องและเราจะให้การในชั้นศาล ตามคดีปกติทั่วไป แน่นอนความยุ่งยากย่อมเกิดแก่ จนท.ตร. ส่วนท่านจะฟ้องตามกระบวนการหรือไม่ก็เป็นวิจารณญาณส่วนตัวของ จนท.อีกทีนึง
ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในกรณีซึ่งเราได้กระทำผิดจริงนะครับ เพียงแต่ในบางกรณีผมเห็นศาลเตี้ยบนท้องถนนแล้วรู้สึกไม่ชอบใจ จึงเสนอวิธีต่อสู้กับความโหดร้ายเหล่านี้ ผิดถูกขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย