คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
การใช้ไขควงวัดไฟแบบนั้น
หลงทางกันมาเยอะครับ ตัวผมเองไม่ใช้เลยนอกใช้ไขน้อตตัวเล็ก ๆ ในบาลาสท์เท่านั้น
การทดสอบ ในนำสายที่คิดว่ามีไฟ ... ต่อผ่านโหลดเล็ก ๆ เช่นหลอดไฟศาลเจ้าที่เป็นหลอดไส้
แล้วนำสายอีกข้างหนึ่งต่อลงดินที่ไหนก็ได้ ...
ถ้าหลอดไฟติดแสดงว่าสายเส้นนั้นมีไฟจริงครับ
ถ้าไม่ติดก็เป็นการเหนี่ยวนำจากสายที่มีไฟใกล้เคียง
ในกรณีของท่าน สายไฟเป็นแบบ 3 สาย (คาดว่าน่าจะเป็น VAF) สายดินถูกปล่อยให้ปลายลอยไว้
ในขณะที่มันถูกวางขนานกันเป็นความยาวระยะหนึ่ง จึงเกิดการเหนี่ยวนำเกิดเป็นแรงดันขึ้นมา
ถ้าทดลอบตามข้างต้นแล้ว หลอดไฟติด ก็ต่อสายดินลงดินเสีย ปัญหานี้ก็จะหายไปครับ
ปล. ผมไม่ได้อยู่หน้างานตรงนั้น การทำลองต่าง ๆ ควรทำด้วยความระมัดระวังหรือให้ผู้ที่มีความชำนาญ
เป็นผู้ตรวจสอบให้ก็ได้ครับ
หลงทางกันมาเยอะครับ ตัวผมเองไม่ใช้เลยนอกใช้ไขน้อตตัวเล็ก ๆ ในบาลาสท์เท่านั้น
การทดสอบ ในนำสายที่คิดว่ามีไฟ ... ต่อผ่านโหลดเล็ก ๆ เช่นหลอดไฟศาลเจ้าที่เป็นหลอดไส้
แล้วนำสายอีกข้างหนึ่งต่อลงดินที่ไหนก็ได้ ...
ถ้าหลอดไฟติดแสดงว่าสายเส้นนั้นมีไฟจริงครับ
ถ้าไม่ติดก็เป็นการเหนี่ยวนำจากสายที่มีไฟใกล้เคียง
ในกรณีของท่าน สายไฟเป็นแบบ 3 สาย (คาดว่าน่าจะเป็น VAF) สายดินถูกปล่อยให้ปลายลอยไว้
ในขณะที่มันถูกวางขนานกันเป็นความยาวระยะหนึ่ง จึงเกิดการเหนี่ยวนำเกิดเป็นแรงดันขึ้นมา
ถ้าทดลอบตามข้างต้นแล้ว หลอดไฟติด ก็ต่อสายดินลงดินเสีย ปัญหานี้ก็จะหายไปครับ
ปล. ผมไม่ได้อยู่หน้างานตรงนั้น การทำลองต่าง ๆ ควรทำด้วยความระมัดระวังหรือให้ผู้ที่มีความชำนาญ
เป็นผู้ตรวจสอบให้ก็ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
ไฟรั่วในสายดิน 110V. แก้ไขอย่างไรครับ
แต่ปัญหาเกิดจากมีต่อเติมครัวด้านหลังออกไป จึงได้เดินเต้ารับเพิ่ม ปัญหาอยู่ที่ระบบไฟที่เดินเพิ่ม เมื่อใช้ไขควงวัดไฟวัดที่สายดิน ปรากฏว่ามีไฟรั่วที่ 110V. แต่ย้อนกลับมาวัดไฟที่สายดินของบ้านกลับไม่มีกระแส
จากภาพ
จุด A คือสายไฟเดิมของบ้าน เมื่อต่อระบบเพิ่มวัดสายดินแล้วไม่มีกระแสรั่ว
จุด B คือสายที่มาต่อเชื่อม มีกระแสรั่ว 110V.
จุด C เป็นเต้ารับ แบบ 2 ขา
จุด D เป็นพัดลทระบายอากาศ ต่อพ่วงมาจากจุด C โดยมีสวิทซ์เปิดปิดที่จุด C ใช้สายไฟแบบ 2 เส้นในการต่อ
จุด E เป็นเต้ารับแบบ 3 ขา
จุด F เป็นเต้ารับแบบ 2 ขา
จุด G เป็นเต้ารับแบบ 3 ขา
สายไฟในระบบที่ต่อใหม่เป็นแบบ 3 สายทั้งหมด เว้นแต่สายที่ต่อไปพัดลมเป็น 2 สาย
เต้ารับแบบ 2 ขา ต่อโดยทิ้งสายดินไว้ไม่ได้ต่อใดๆ
ตรงจุดเชื่อมต่อเข้ากับสายไฟบ้านเดิมเป็นเต้ารับแบบ 3 ขา เมื่อต่อสายของที่เดิมเพิ่มเข้าไป ทำให้สายดินตรงจุดนี้มีกระแส 110V. แต่เมื่อย้อนไปวัดสายดินของเต้ารับในบ้าน ตัวก่อนหน้าที่จะมาเต้ารับนี้ กลับไม่มีกระแส
ผมต้องแก้ไขอย่างไรให้ไฟที่รั่วในสายดินหายไปครับ