"พ่อเมืองเชียงใหม่" เสนอคมนาคม รถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดินเชียงใหม่ และ รถ BRT

"พ่อเมืองเชียงใหม่" นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ เผย เสนอคมนาคม ขอ รถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดินเชียงใหม่ และ BRT
ตามข้อมูลที่มี จะเป็นรถไฟฟ้าบนดินมีต้นทางมาจากชานเมือง แต่หากเข้าสู่เขตเมืองจะมุดลงใต้ดิน เพื่อให้เส้นทางเข้าสู่ชุมชนหนาแน่นได้อย่างสะดวก เพื่อไม่ให้กระทบต่อทัศนียภาพ ตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวน 2 สาย
ส่วน BRT ยังไม่ทราบรายละเอียด...

วันที่ 6 เมษายน 2558 นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า มติคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม 2 ประเด็น คือ ขอให้มีการส่งคนมาศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ของการสร้างสนามบินแห่งที่ 2 และโครงข่ายขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วน โดยได้แจ้งสำนักนโยบายการขนส่งมวลชนไปว่า ขอให้ตัดแบ่งการพัฒนาจำนวนแสนล้านบาทที่กรุงเทพมหานครมาลงทุนที่เชียงใหม่สักหมื่นล้านจะได้หรือไม่ เพราะขณะนี้กลุ่มคนที่เคยคัดค้านมาตั้งแต่ต้นลดน้อยลงแล้ว หลังตระหนักถึงปัญหาที่สะสมของการจราจรในเชียงใหม่
"ทั้งระบบรถไฟไฮสปีดเทรน หรือระบบขนส่งมวลชนตามที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึง เป็นเรื่องที่จังหวัดนำเสนอกระทรวงคมนาคมไปอยู่แล้ว ท่านจึงเข้ามาสานต่อตาม

และคงให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างจริงในระยะสั้นๆ ถ้ารัฐบาลจะสนับสนุน"
นายสุริยะ กล่าวว่า เราเสนอกระทรวงคมนาคมไป 2 ส่วน คือ ศึกษาและนำสิ่งที่เคยศึกษามาแล้ว คือ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนอกเมืองมุดลงใต้ดินเพื่อข้ามไปฝั่งตรงข้าม เพราะเมืองไม่ได้ใหญ่มาก และในส่วนของสำนักงานพัฒนาพิงคนครที่มีการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคพายัพทำการศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องรถ BRT เน้นโครงข่ายวงแหวนที่มีพื้นผิวจราจรให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นคนละส่วนแต่ขับเคลื่อนไปด้วยกัน

"ส่วนการพัฒนาสนามบินแนวตั้งที่บอกว่าจะมีการขยายเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสาร 20 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผมยังไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเป็นแนวคิดของกระทรวงคมนาคม"

เชียงใหม่เป็นจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือตอนบน ทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่เชียงใหม่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับความเจริญเติบโต อบจ.เชียงใหม่จึงมีแนวคิดจะทำรถไฟฟ้ารางเดี่ยวให้เป็นระบบขนส่งมวลชนเพื่อสอดรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมตัดถนนวงแหวนรอบที่ 4 และรอบที่ 5 เพื่อระบายการจราจรที่คับคั่งในเมือง
'บุญเลิศ บูรณุปกรณ์' นายก อบจ.เชียงใหม่ บอกว่า เชียงใหม่เป็นเมืองที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลอย่างมากซึ่งมีหลายโครงการที่เตรียมลงมือทำโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้ทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้วเชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเชียงใหม่มากขึ้นและยังเป็นการรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า
และอบจ.เชียงใหม่ มีแนวคิดที่จะทำระบบขนส่งเชียงใหม่ขึ้นโดยทำในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมูลค่าโครงการ 8,000 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างภายใน 5 ปี โดยแบ่งการเดินรถไฟฟ้าเป็น 2 เส้นทางเชื่อมต่อเขตอำเภอเมืองระยะ 28 กิโลเมตรจะเริ่มเส้นทางตั้งแต่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ปลายทางศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา โดยผ่านรอบคูเมืองเชียงใหม่และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
นายก อบจ.เชียงใหม่ บอกอีกว่า รถไฟฟ้าดังกล่าวจะให้บริการเที่ยวละ 3 โบกี้รับผู้โดยสารได้โบกี้ละ 40 คน ช่วงเวลาเร่งด่วนจะเพิ่มโบกี้อีก 2 โบกี้ ความเร็ว 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะจอดรถไฟฟ้าทุกๆ 500 เมตร ซึ่งจะกำหนดจุดจอดรถไฟฟ้าให้ชัดเจนและรถไฟฟ้าดังกล่าวจะควบคุมด้วยระบบสัญญาณจราจร โดยรูปแบบจะเป็นการร่วมลงทุนกัน 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล อบจ.เชียงใหม่และบริษัทที่ทำรถรางซึ่งรัฐบาลเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดทำวงแหวนรอบที่ 4 และวงแหวนรอบที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาจราจรชานเมืองไม่ให้เข้ามาในตัวเมือง ขณะนี้วงแหวนรอบที่ 4 ได้วางแนวทางและสำรวจเส้นทางแล้ว โดยจุดแรกจะเริ่มต้นจากอำเภอหางดง สารภี สันกำแพง ดอยสะเก็ด สันทรายและสิ้นสุดอำเภอแม่ริม ส่วนการวางแผนทำเส้นทางวงแหวนรอบที่ 5 เพิ่มเติมบริเวณอำเภอแม่แตง เพื่อเป็นการเชื่อมจังหวัดลำพูน ทั้งนี้ บริเวณอำเภอสันกำแพง มีแนวทางที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ ซึ่งวงแหวนรอบที่ 5 จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
ที่มา
http://board.postjung.com/869181.html
ขอให้ตัดแบ่งการพัฒนา แสนล้านบาท ที่กรุงเทพ มาลงทุนที่เชียงใหม่สักหมื่นล้านจะได้หรือไม่ ?
"พ่อเมืองเชียงใหม่" นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ เผย เสนอคมนาคม ขอ รถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดินเชียงใหม่ และ BRT
ตามข้อมูลที่มี จะเป็นรถไฟฟ้าบนดินมีต้นทางมาจากชานเมือง แต่หากเข้าสู่เขตเมืองจะมุดลงใต้ดิน เพื่อให้เส้นทางเข้าสู่ชุมชนหนาแน่นได้อย่างสะดวก เพื่อไม่ให้กระทบต่อทัศนียภาพ ตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวน 2 สาย
ส่วน BRT ยังไม่ทราบรายละเอียด...
วันที่ 6 เมษายน 2558 นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า มติคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม 2 ประเด็น คือ ขอให้มีการส่งคนมาศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ของการสร้างสนามบินแห่งที่ 2 และโครงข่ายขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วน โดยได้แจ้งสำนักนโยบายการขนส่งมวลชนไปว่า ขอให้ตัดแบ่งการพัฒนาจำนวนแสนล้านบาทที่กรุงเทพมหานครมาลงทุนที่เชียงใหม่สักหมื่นล้านจะได้หรือไม่ เพราะขณะนี้กลุ่มคนที่เคยคัดค้านมาตั้งแต่ต้นลดน้อยลงแล้ว หลังตระหนักถึงปัญหาที่สะสมของการจราจรในเชียงใหม่
"ทั้งระบบรถไฟไฮสปีดเทรน หรือระบบขนส่งมวลชนตามที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึง เป็นเรื่องที่จังหวัดนำเสนอกระทรวงคมนาคมไปอยู่แล้ว ท่านจึงเข้ามาสานต่อตาม
นายสุริยะ กล่าวว่า เราเสนอกระทรวงคมนาคมไป 2 ส่วน คือ ศึกษาและนำสิ่งที่เคยศึกษามาแล้ว คือ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนอกเมืองมุดลงใต้ดินเพื่อข้ามไปฝั่งตรงข้าม เพราะเมืองไม่ได้ใหญ่มาก และในส่วนของสำนักงานพัฒนาพิงคนครที่มีการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคพายัพทำการศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องรถ BRT เน้นโครงข่ายวงแหวนที่มีพื้นผิวจราจรให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นคนละส่วนแต่ขับเคลื่อนไปด้วยกัน
"ส่วนการพัฒนาสนามบินแนวตั้งที่บอกว่าจะมีการขยายเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสาร 20 ล้านคน ภายใน 5 ปี ผมยังไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเป็นแนวคิดของกระทรวงคมนาคม"
เชียงใหม่เป็นจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของภาคเหนือตอนบน ทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่เชียงใหม่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับความเจริญเติบโต อบจ.เชียงใหม่จึงมีแนวคิดจะทำรถไฟฟ้ารางเดี่ยวให้เป็นระบบขนส่งมวลชนเพื่อสอดรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ พร้อมตัดถนนวงแหวนรอบที่ 4 และรอบที่ 5 เพื่อระบายการจราจรที่คับคั่งในเมือง
'บุญเลิศ บูรณุปกรณ์' นายก อบจ.เชียงใหม่ บอกว่า เชียงใหม่เป็นเมืองที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลอย่างมากซึ่งมีหลายโครงการที่เตรียมลงมือทำโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้ทำประชาพิจารณ์เรียบร้อยแล้วเชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเชียงใหม่มากขึ้นและยังเป็นการรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า
และอบจ.เชียงใหม่ มีแนวคิดที่จะทำระบบขนส่งเชียงใหม่ขึ้นโดยทำในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวมูลค่าโครงการ 8,000 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างภายใน 5 ปี โดยแบ่งการเดินรถไฟฟ้าเป็น 2 เส้นทางเชื่อมต่อเขตอำเภอเมืองระยะ 28 กิโลเมตรจะเริ่มเส้นทางตั้งแต่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ปลายทางศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา โดยผ่านรอบคูเมืองเชียงใหม่และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
นายก อบจ.เชียงใหม่ บอกอีกว่า รถไฟฟ้าดังกล่าวจะให้บริการเที่ยวละ 3 โบกี้รับผู้โดยสารได้โบกี้ละ 40 คน ช่วงเวลาเร่งด่วนจะเพิ่มโบกี้อีก 2 โบกี้ ความเร็ว 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะจอดรถไฟฟ้าทุกๆ 500 เมตร ซึ่งจะกำหนดจุดจอดรถไฟฟ้าให้ชัดเจนและรถไฟฟ้าดังกล่าวจะควบคุมด้วยระบบสัญญาณจราจร โดยรูปแบบจะเป็นการร่วมลงทุนกัน 3 ฝ่าย คือ รัฐบาล อบจ.เชียงใหม่และบริษัทที่ทำรถรางซึ่งรัฐบาลเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดทำวงแหวนรอบที่ 4 และวงแหวนรอบที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาจราจรชานเมืองไม่ให้เข้ามาในตัวเมือง ขณะนี้วงแหวนรอบที่ 4 ได้วางแนวทางและสำรวจเส้นทางแล้ว โดยจุดแรกจะเริ่มต้นจากอำเภอหางดง สารภี สันกำแพง ดอยสะเก็ด สันทรายและสิ้นสุดอำเภอแม่ริม ส่วนการวางแผนทำเส้นทางวงแหวนรอบที่ 5 เพิ่มเติมบริเวณอำเภอแม่แตง เพื่อเป็นการเชื่อมจังหวัดลำพูน ทั้งนี้ บริเวณอำเภอสันกำแพง มีแนวทางที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ ซึ่งวงแหวนรอบที่ 5 จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
ที่มา http://board.postjung.com/869181.html