ผมเป็นพนักงานเอกชนคนหนึ่ง ไม่มีบ้านและรถเป็นส่วนตัว มีพ่อ แม่ น้องชาย และผม อาศัยอยู่บ้านญาติ(น้องสาวพ่อ) มีผม น้องชายและพ่อ หาเงินมาเลี้ยงชีพ ให้แม่เป็นคนจัดสรรค่าใช้จ่ายในบ้านในแต่ละเดือน ส่วนผมชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทุกๆเดือนจะต้องนำเงินไปหาความสุขหรรษา เป็นเศรษฐีต้นเดือนไปแล้ว ทำให้กลางๆ-ปลายเดือน ไม่ค่อยมีเงินใช้เท่าไหร่ แต่ปีนี้จะวางแผนการเงินใหม่ โดยผมจะวางแผนการออมเงินอย่างนี้ครับ
ผมได้เงินเดือนๆละ 12,000 บาทโดยประมาณ หักค่าประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เหลือเงินสุทธิ 11,3XX บาท ผมจะแบ่งเงินจัดสรรดังนี้
1.ให้แม่ เป็นค่าใช้จ่ายทางบ้า 7,000 บาท 2.ให้แม่ เป็นนเงินออมคร่าวๆของผม 1,000 บาท แต่จะตั้งเป็นเงินออมในครอบครัว (ผม 1,000 แม่ 2,000 น้องชาย 3,000 รวม 6,000 บาท ฝากธนาคารทุกเดือน) เผื่อฉุกเฉิน เหตุยามจำเป็น หรือ ดาวน์บ้าน ดาวน์รถ ในอนาคต
3. เหลือประมาณ 3 พันกว่าบาทต่อเดือน ผมจะไปลงทุนหุ้น 1,200 บาท โดยลงทุนหุ้นที่ผมชอบ และมีพื้นฐานดีในอนาคต 4 ตัว จะได้งบแต่ละตัว 300 บาทโดยเงินเดือนออกทุกวันที่ 29 จะโอนบัญชีเงินเดือนไปบัญชีหลักทรัพย์(หุ้น) 1,200 บาท โดยจะซื้อหุ้นสะสมไปเรื่อย วิธีการซื้อผมจะดูกราฟในแต่ละหุ้น รอให้กราฟ RSI ต่ำกว่า 40 ผมจึงจะเข้าซื้อ 50 %ของงบในแต่ละหุ้น อีก 50%จะซื้อตอนที่RSI ตกมาอีก ถ้าได้เงินปันผลจะไม่นำมาใช้ จะลงทุนหุ้นเดิมเข้าไปใหม่ ให้พอร์ตลงทุนมันโตไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการทบต้นไป ผมจะลงทุนแบบนี้เรื่อยๆตลอดชีพ ไม่มีวันขายเด็ดขาดถ้าไม่จำเป็น
4.ลงทุนในกองทุนรวม ประมาณ 900 บาทต่อเดือน ผมจะลงทุนในกองทุน TMB SET50 (จะซื้อทุกวันพุธ สัปดาห์ละ 200 บาท)
5.จะเหลือพันกว่าบาท จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ AIS ประมาณ 300 บาท จะเหลือเงินแต่ละเดือนประมาณ 700-800 บาท
6.เงินที่เหลือ 700-800 บาท จะเข้าMEBYTMB เป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของผม มีค่าเทอมราม ค่าหนังสือ ค่าเดินทางไปราม ค่าซ่อมโทรศัพท์ ฯลฯ
7.ผมจะมีเงินประจำวัน โดยแม่จัดสรรให้พ่อเป็นคชจ.ประจำวัน 400 บาท พ่อให้ผมวันทำงาน 70 บาท วันหยุดอยู่บ้าน 50 บาทเป็นค่าอาหาร ค่าเดินทางประจำวัน ก่อนทำงานเก็บ 20 บาทก่อนเข้ากระปุก ถ้าเงินเหลือในแต่ละวัน จะเก็บกระปุกเอาไว้เป็นเศษเงิน ส่วนนี้เป็นเงินสำหรับบริจาค ซื้อของถวายสังฆทาน เงินสำหรับเที่ยว(นานๆครั้ง)หรรษา แต่ละวันผมใช้แค่ 30-40 บาทเป็นอาหารมื้อกลางวันหรือเย็น มื้ออื่นๆ ทุกเช้าทานกล้วยน้ำว้าเพื่อสุขภาพ ถ้าวันไหนเบื่อทานนมและขนมปังแทน และอีกมื้อ พ่อหาซื้ออาหารให้ผมทานเองหรือทำอาหารเอง
** ถ้าได้โบนัสประจำปี ผมจะใช้สูตรในการจัดสรร 50:20:20:10 เป็น 50%20%20% ถ้าผมได้โบนัส 20,000 บาท ผมจะให้พ่อ-แม่ 10,000(50%) 4,000 บาท(20%)เป็นค่าไปเที่ยวหรรษา บันเทิง อีก 20% ลงทุนในหุ้น 4 ตัวเพิ่มเติม 4,000 บาท อีก 10% เป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ฝากใน MEBYTMB 2,000 บาท
สรุปแล้ว ผมได้ออมเงิน เดือนละ 1,000 + 1200 + 900 = ประมาณ 3,000 กว่าบาท คิดเป็น % ของเงินเดือน ประมาณ 25-30 %ของ 12,000 ปีนึงผมจะมีเงินออมประมาณเกือบ 40,000 ขนาดแค่เงินเดือนหมื่นสองเท่านั้น ยังไม่รวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตอนนี้ถ้าลาออก ผมจะได้ประมาณ 3 หมื่นบาท แต่ละเดือนผมจะจดบัญชีรายรับ รายจ่ายคร่าวๆ ว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไป เป็นอย่างไรบ้าง จะตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยออก อย่างไรก็ดี ผมจะเริ่มวางแผนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความมั่งคั่งในชีวิต จะไม่พูดคำว่ารวย (แต่ละคน คำว่ารวยใช้ไม่เหมือนกัน) เริ่มปีนี้เป็นปีแรกที่ผมวางแผนการเงินและลงทุนตามที่ผมวางแผนไว้ และวินัยการลงทุนสำคัญที่สุด ถ้าออมและลงทุนแบบนี้เรื่อยๆ จะมีสินทรัพย์โตเรื่อยๆ ถึงวัยเกษียณ จะมี Passive Income เลี้ยงชีพ ตอนที่ผมไม่ทำงาน แน่นอน ผมก็เล่าประสบการณ์การวางแผนและการลงทุน,ออมเงิน แค่นี้นะครับ เดี๋ยวอีก 10 ปีข้างหน้าผมจะมาเล่าและสรุปผลการออมและการลงทุนของผมอีกทีครับ ว่าไปถึงไหนแล้วครับ
แชร์การวางแผน การออมเพื่อความมั่นคั่งของผมและครอบครัว
ผมได้เงินเดือนๆละ 12,000 บาทโดยประมาณ หักค่าประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เหลือเงินสุทธิ 11,3XX บาท ผมจะแบ่งเงินจัดสรรดังนี้
1.ให้แม่ เป็นค่าใช้จ่ายทางบ้า 7,000 บาท 2.ให้แม่ เป็นนเงินออมคร่าวๆของผม 1,000 บาท แต่จะตั้งเป็นเงินออมในครอบครัว (ผม 1,000 แม่ 2,000 น้องชาย 3,000 รวม 6,000 บาท ฝากธนาคารทุกเดือน) เผื่อฉุกเฉิน เหตุยามจำเป็น หรือ ดาวน์บ้าน ดาวน์รถ ในอนาคต
3. เหลือประมาณ 3 พันกว่าบาทต่อเดือน ผมจะไปลงทุนหุ้น 1,200 บาท โดยลงทุนหุ้นที่ผมชอบ และมีพื้นฐานดีในอนาคต 4 ตัว จะได้งบแต่ละตัว 300 บาทโดยเงินเดือนออกทุกวันที่ 29 จะโอนบัญชีเงินเดือนไปบัญชีหลักทรัพย์(หุ้น) 1,200 บาท โดยจะซื้อหุ้นสะสมไปเรื่อย วิธีการซื้อผมจะดูกราฟในแต่ละหุ้น รอให้กราฟ RSI ต่ำกว่า 40 ผมจึงจะเข้าซื้อ 50 %ของงบในแต่ละหุ้น อีก 50%จะซื้อตอนที่RSI ตกมาอีก ถ้าได้เงินปันผลจะไม่นำมาใช้ จะลงทุนหุ้นเดิมเข้าไปใหม่ ให้พอร์ตลงทุนมันโตไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการทบต้นไป ผมจะลงทุนแบบนี้เรื่อยๆตลอดชีพ ไม่มีวันขายเด็ดขาดถ้าไม่จำเป็น
4.ลงทุนในกองทุนรวม ประมาณ 900 บาทต่อเดือน ผมจะลงทุนในกองทุน TMB SET50 (จะซื้อทุกวันพุธ สัปดาห์ละ 200 บาท)
5.จะเหลือพันกว่าบาท จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ AIS ประมาณ 300 บาท จะเหลือเงินแต่ละเดือนประมาณ 700-800 บาท
6.เงินที่เหลือ 700-800 บาท จะเข้าMEBYTMB เป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของผม มีค่าเทอมราม ค่าหนังสือ ค่าเดินทางไปราม ค่าซ่อมโทรศัพท์ ฯลฯ
7.ผมจะมีเงินประจำวัน โดยแม่จัดสรรให้พ่อเป็นคชจ.ประจำวัน 400 บาท พ่อให้ผมวันทำงาน 70 บาท วันหยุดอยู่บ้าน 50 บาทเป็นค่าอาหาร ค่าเดินทางประจำวัน ก่อนทำงานเก็บ 20 บาทก่อนเข้ากระปุก ถ้าเงินเหลือในแต่ละวัน จะเก็บกระปุกเอาไว้เป็นเศษเงิน ส่วนนี้เป็นเงินสำหรับบริจาค ซื้อของถวายสังฆทาน เงินสำหรับเที่ยว(นานๆครั้ง)หรรษา แต่ละวันผมใช้แค่ 30-40 บาทเป็นอาหารมื้อกลางวันหรือเย็น มื้ออื่นๆ ทุกเช้าทานกล้วยน้ำว้าเพื่อสุขภาพ ถ้าวันไหนเบื่อทานนมและขนมปังแทน และอีกมื้อ พ่อหาซื้ออาหารให้ผมทานเองหรือทำอาหารเอง
** ถ้าได้โบนัสประจำปี ผมจะใช้สูตรในการจัดสรร 50:20:20:10 เป็น 50%20%20% ถ้าผมได้โบนัส 20,000 บาท ผมจะให้พ่อ-แม่ 10,000(50%) 4,000 บาท(20%)เป็นค่าไปเที่ยวหรรษา บันเทิง อีก 20% ลงทุนในหุ้น 4 ตัวเพิ่มเติม 4,000 บาท อีก 10% เป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ฝากใน MEBYTMB 2,000 บาท
สรุปแล้ว ผมได้ออมเงิน เดือนละ 1,000 + 1200 + 900 = ประมาณ 3,000 กว่าบาท คิดเป็น % ของเงินเดือน ประมาณ 25-30 %ของ 12,000 ปีนึงผมจะมีเงินออมประมาณเกือบ 40,000 ขนาดแค่เงินเดือนหมื่นสองเท่านั้น ยังไม่รวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตอนนี้ถ้าลาออก ผมจะได้ประมาณ 3 หมื่นบาท แต่ละเดือนผมจะจดบัญชีรายรับ รายจ่ายคร่าวๆ ว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไป เป็นอย่างไรบ้าง จะตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยออก อย่างไรก็ดี ผมจะเริ่มวางแผนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความมั่งคั่งในชีวิต จะไม่พูดคำว่ารวย (แต่ละคน คำว่ารวยใช้ไม่เหมือนกัน) เริ่มปีนี้เป็นปีแรกที่ผมวางแผนการเงินและลงทุนตามที่ผมวางแผนไว้ และวินัยการลงทุนสำคัญที่สุด ถ้าออมและลงทุนแบบนี้เรื่อยๆ จะมีสินทรัพย์โตเรื่อยๆ ถึงวัยเกษียณ จะมี Passive Income เลี้ยงชีพ ตอนที่ผมไม่ทำงาน แน่นอน ผมก็เล่าประสบการณ์การวางแผนและการลงทุน,ออมเงิน แค่นี้นะครับ เดี๋ยวอีก 10 ปีข้างหน้าผมจะมาเล่าและสรุปผลการออมและการลงทุนของผมอีกทีครับ ว่าไปถึงไหนแล้วครับ