ถ้าพูดถึงร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ให้เห็น และจับต้องได้ แน่นอนชนชาติขอมเป็นผู้สร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้ แต่ถ้าลองสืบลึกเข้าไปให้ถึงแก่นแท้ของผู้สร้างสรรค์ปติมากรรมที่ยิ่งใหญ่ในโลกตั้งแต่โบราณกาลมาจนถึงปัจจุบันก็จะเป็นไปตามบทเพลงที่ว่า “ประวัติศาสตร์ อาจมีในหลายด้าน แต่คนที่ทำงาน ไม่เคยจะเอ่ยออกนาม” ความหมายก็คือตามร่องรอยประวัติศาสตร์ ที่มีหลายๆด้านนั้น ด้านที่มีการจดจารึก บันทึกใว้เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์ คือชื่อของผู้นำ ผู้ครอบครอง ณ กาลเวลานั้นๆ แต่โดยความจริง การสร้างสรรค์ปติมากรรมที่ยิ่งใหญ่ในโลกมันล้วนก่อเกิดจากชนผู้ใช้แรงงานนับแสนนับล้านคน เพื่อทุ่มเทให้แต่ละชิ้นงานนั้นสำเร็จลุล่วง เช่นมหากำแพงเมืองจีน หรือ นครวัด นครธมแห่งกัมพูชา แต่ละที่กว่าจะเสร็จเป็นชิ้นงานหนึ่งๆนั้น ต้องกลืนชีวิตเหล่ากรรมกรผู้ก่อสร้างนับแสนนับล้านคน แต่กรรมกรเหล่านั้น ไม่เคยมีเลยในประวัติศาสตร์ว่าจะจารึกชื่อว่ามีกรรมกรกี่คน กี่ชื่อที่พลีชีพเซ่นสังเวยมหาปติมากรรมเหล่านั้น? เปล่าเลยไม่มีชื่อแม้แต่คนเดียว จะมีก็แต่ชื่อ จิ๋นซีฮ่องเต้ผู้ก่อสร้างมหากำแพงเมืองจีน หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่๗เป็นผู้สร้างนครวัด นครธมฯ
นั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราได้เห็น ที่เราได้อ่าน เกือบทั้งหมดในโลก จะเป็นเช่นนั้น
เราย้อนมาใกล้ๆบ้านเรา
ปราสาทนครวัด ปราสาทนครธม และอีกหลายๆปราสาทในพื้นที่ดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชาปัจจุบัน และในประเทศไทยปัจจุบันบางส่วน โดยเฉพาะย่านอีสานใต้จนถึงนครราชสีมา ซึ่งยังคงมีปราสาทน้อยใหญ่นับร้อยปราสาทกระจายอยู่เต็มพื้นที่
แน่ละ เมื่อยุคหนึ่งพันกว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือทุ่นแรง ยังไม่มีเครื่องจักร แต่มนุษย์ยุคนั้นเขาสร้างสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?
แค่ตอนที่กรุงเทพเราเปลี่ยนเสาชิงช้า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราต้องใช้ทั้งรถยก รถเครนมาช่วย กว่าจะเสร็จ ก็เหงื่อซิกๆเหมือนกัน
แล้วคนไทยเราเมื่อสองร้อยกว่าปีเขาเอาอะไรช่วยยก?
มาถึงเรื่องนครวัด นครธม ปราสาทพระวิหาร หรือปราสาทอื่นๆในพื้นที่สุวรรณภูมิ แต่ละปราสาทสร้างจากก้อนหินใหญ่มหึมา และแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง เอามาวางทับซ้อนได้มุม ได้ฉาก และบางอย่างประกอบจากวิศวกรรมชั้นยอด เช่นสะพานกำปงกะได(อยู่กลางทางระหว่างจังหวัดเสียมเรียบ กับกำปงธมในกัมพูชา) การก่อสร้างใช้หินวางซ้อนกันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตั้งแต่สมัยหนึ่งพันกว่าปีที่ผ่านมา แต่รถยนต์ยังสามารถวิ่งข้ามได้จนถึงปัจจุบันโดยที่สะพานไม่ยุบไม่พัง(พึ่งปิดการสัญจรไม่กี่ปีที่ผ่านมา) หรือปราสาทพระวิหารที่สร้างบนยอดเขา วิศวกรเขาคำนวณออกแบบป้องกันน้ำซึมน้ำเซาะได้อย่างไร จนถึงปัจจุบันร่วมพันกว่าปีก็ยังคงยืนตระหง่าน
ที่ว่ามาก็เพียงแค่อยากให้มองเห็นภาพความสามารถของคนโบราณที่พยายามสร้างสรรค์ด้วยหยาดเหงื่อและแรงกายล้วนๆ แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ประดิษฐ์ปติมากรรมใว้ให้เราชนรุ่นหลังได้ดู
แต่ลองสืบลึกเข้าไปใน ณ กาลเวลานั้น โดยใช้ข้อมูล หรือร่องรอยบางด้านที่หลงเหลืออยู่ และพอจับต้องได้ และนำมาวิพากษ์ และวิภาษณ์วิธี เราอาจมองเห็นความน่าจะเป็นบางอย่าง ที่อาจยังไม่มีใครมอง หรือคนอื่นยังมองข้ามไป.....
ณ ที่นี้ผมขอหยิบยกเรื่องกรรมกรที่พระเจ้าชัยวรมันที่๗ ได้เกณฑ์มาเพื่อสร้างปราสาทต่างๆ ว่ามาจากกลุ่มชนกลุ่มใดบ้าง ชนชาติ-เชื้อชาติใดบ้าง
ตามเวปhttp://www.khmerenaissance.info/resources_tools/57_lab.html ซึ่งเป็นเวปขององคกรอัปสรา(ผู้สืบค้นคว้าประวัติศาสตร์นครวัด) ได้ให้การยอมรับว่า ชนชาติกวย(ส่วย) คือชนชาติแรกในพื้นที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่รู้จักถลุงเหล็ก และนำเอาเหล็กมาใช้เป็นเครื่องทุนแรงทางการเกษตร ทำอาวุธ ทำภาชนะเครื่องใช้ โดยการเปรียบเทียบกะโหลกศรีษะที่ขุดค้นพบในบริเวณเตาถลุงเหล็ก เป็นกะโหลกศรีษะของชนชาติกวย(ส่วย) ไม่ใช่กะโหลกของชนชาติขอม(เขมรโบราณ) และพื้นที่ที่เป็นอาณาบริเวณที่มีแร่เหล็กในปัจจุบัน ในประเทศกัมพูชา อยู่ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกำปงธม กับจังหวัดพระวิหาร และก็เป็นพื้นที่ที่ชนชาติกวย(ส่วย)ครอบครองและอาศรัยอยู่จนถึงปัจจุบัน
และโดยธรรมชาติของชนชาติกวย(ส่วย) ที่เป็นชนชาติที่อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับป่าเขาลำเนาไพร ดังนั้นชนชาติกวย(ส่วย)จึงมีความชำนาญในการดัดแปลงธรรมชาติ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ตามธรรมชาติได้
ความสามารถของชนชาติกวย(ส่วย)ที่สามารถมองเห็น และจับต้องได้จนถึงปัจจุบันคือ การจับสัตว์ป่า
การจับสัตว์มามาฝึกให้เชื่อง เพื่อนำมาทำเป็นสัตว์พาหนะ หรือสัตว์ช่วยทุ่นแรงทางด้านเกษตร เช่น จับเอาช้าง ม้า วัว ควาย มาช่วยในการลาก จูง มาช่วยในด้านการเกษตร เช่นเอาวัว ควาย มาไถไร่ไถนา ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ได้ตกทอดมานับพันปีจนถึงปัจจุบัน
งานช้างอันยิ่งใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ถือเป็นงานของชนชาติกวย(ส่วย) เพราะชนชาติที่มีความสามารถในการจับช้างคือชนชาติกวย(ส่วย) และพิธีกรรมต่างๆในงาน ล้วนเป็นพิธีกรรมของชนชาติกวย(ส่วย)ทั้งสิ้น
ความเชื่อเรื่องดาวเดือน
จากการที่ต้องเดินทางเข้าป่าลึกเพื่อจับสัตว์ป่า หัวหน้าเผ่าจึงต้องจดจำดาว เพื่อเป็นเข็มทิศในการเดินทาง ดังนั้นจึงมีการจดจำดวงดาวต่างๆ ทั้งข้างขึ้นข้างแรม การขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ประกอบกับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ และประเพณีโบราณ ที่ต้องเคร่งครัดในเรื่องจารีตประเพณี จึงเกิดเป็นการนับถือเดือน ปี แต่เนื่องจากภาษาเขียนของชาวชนชาติกวย(ส่วย)ไม่มี จึงมีแค่การบอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอดๆ แต่อย่างน้อยชื่อปีในปีนักกษัตริย์ ก็เป็นชื่อที่เกิดมาจากภาษากวย(ส่วย) ซึ่งผมขอเปรียบเทียบภาษาให้เห็นดังต่อไปนี้
ปีจอ = ปีหมา ส่วยเรียกหมาว่า จอ เขมร เรียกหมาว่า จะแก = ឆ្កែ
ปีวอก= ปีลิง ส่วยเรียกลิงว่า ว้อก เขมร เรียกลิงว่า สะวา = ស្វា
ปีมะเส็ง= ปีงู ส่วยเรียกงู ว่า กะเซ็ง(เส็ง) เขมรเรียกงูว่า ปั๊วส์ = ពស់
จากที่ยกมาเป็นตัวอย่าง มันไม่น่าจะเป็นความบังเอิญ แต่ความน่าจะเป็นที่ว่า ชาวกวย(ส่วย) น่าจะเป็นชนชาติหนึ่งที่มีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างดี จึงมีการนำเอาชื่อสัตว์เหล่านั้นมาเรียกแทนเป็นชื่อปี จากการที่เขาไม่มีภาษาเขียน ดังนั้น ร่องรอยการจารึกก็เลยไม่มี
หรือแม้แต่พิธีกรรมบางอย่างเช่น พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ច្រត់ព្រះនង្គ័ល ก็น่าจะเป็นพิธีของชนชาติกวย(ส่วย) ดังกล่าวมาข้างต้น ชนชาติกวย(ส่วย) เป็นชนชาติที่อยู่กับธรรมชาติ และการดัดแปลงธรรมชาติ ก็จะมีประเพณีพิธีกรรมที่ต้องขอโทษธรรมชาติ เช่นก่อนออกไปจับช้างในป่า ก็ต้องมีพิธีกรรมหลายๆอย่างกว่าจะออกไปป่าได้ เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะทำนาก็ต้องมีพิธีกรรมเฉกเช่นที่กล่าวมา
นังคัล ภาษากวย(ส่วย)แปลว่าคันไถ
เมื่อชนชาติกวย(ส่วย) เป็นชนชาติแรกในพื้นที่นี้ที่รู้จักถลุงเหล็กเอาเป็นเครื่องมือทางด้านการเกษตร และ
ชนชาติกวย(ส่วย) ก็เป็นชนชาติแรกที่สามารถจับเอาสัตว์ป่ามาฝึกให้เชื่องเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำ
การเกษตร ดังนั้นพิธีกรรมอันนี้จึงไม่แปลกที่ว่าน่าจะเป็นพิธีกรรมของชนชาติกวย(ส่วย)
ความที่ชนชาติกวย(ส่วย)เป็นชนชาติที่อาศรัยอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร และตามหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ อันยาวนาน ชนชาติกวย(ส่วย) มีหลักแหล่งกระจายอยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิมานับพันปีโดยมีกระจัดกระจายตั้งแต่ตอนใต้ของจีน ในประเทศลาว ไทย กัมพูชา แต่ด้วยความที่เป็นชนชาติที่ชอบอิสรเสรี อยู่ตามป่าตามเขา จึงทำให้เกิดการดูถูก ดูแคลนจากชนชาติผู้ที่มีวัฒนธรรมที่สูงกว่า เช่น ลาว ขอม เสียม(เซียม) ว่าชนชาติกวย(ส่วย)เป็นพวกผีป่า ខ្មោច ព្រៃ ดังนั้นชนชาติกวย(ส่วย)จึงไม่ยอมให้ชนชาติอื่นๆว่าตัวเองเป็นพวกผีป่า ខ្មោច ព្រៃ จึงใช้ชื่อเรียกตัวเองว่า กวย ซึ่งแปลว่าคน-มนุษย์-Human และภาษาที่ตัวเองพูดคือ ภาษากวย ซึ่งแปลว่า ภาษาคน ภาษามนุษย์
วัฒนธรรมของชนชาติขอม กับชนชาติกวย(กูย ส่วย) ชนชาติใหนกันแน่เป็นผู้สร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ในย่านสุวรรณภูมิ
นั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราได้เห็น ที่เราได้อ่าน เกือบทั้งหมดในโลก จะเป็นเช่นนั้น
เราย้อนมาใกล้ๆบ้านเรา
ปราสาทนครวัด ปราสาทนครธม และอีกหลายๆปราสาทในพื้นที่ดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชาปัจจุบัน และในประเทศไทยปัจจุบันบางส่วน โดยเฉพาะย่านอีสานใต้จนถึงนครราชสีมา ซึ่งยังคงมีปราสาทน้อยใหญ่นับร้อยปราสาทกระจายอยู่เต็มพื้นที่
แน่ละ เมื่อยุคหนึ่งพันกว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือทุ่นแรง ยังไม่มีเครื่องจักร แต่มนุษย์ยุคนั้นเขาสร้างสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?
แค่ตอนที่กรุงเทพเราเปลี่ยนเสาชิงช้า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราต้องใช้ทั้งรถยก รถเครนมาช่วย กว่าจะเสร็จ ก็เหงื่อซิกๆเหมือนกัน
แล้วคนไทยเราเมื่อสองร้อยกว่าปีเขาเอาอะไรช่วยยก?
มาถึงเรื่องนครวัด นครธม ปราสาทพระวิหาร หรือปราสาทอื่นๆในพื้นที่สุวรรณภูมิ แต่ละปราสาทสร้างจากก้อนหินใหญ่มหึมา และแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง เอามาวางทับซ้อนได้มุม ได้ฉาก และบางอย่างประกอบจากวิศวกรรมชั้นยอด เช่นสะพานกำปงกะได(อยู่กลางทางระหว่างจังหวัดเสียมเรียบ กับกำปงธมในกัมพูชา) การก่อสร้างใช้หินวางซ้อนกันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตั้งแต่สมัยหนึ่งพันกว่าปีที่ผ่านมา แต่รถยนต์ยังสามารถวิ่งข้ามได้จนถึงปัจจุบันโดยที่สะพานไม่ยุบไม่พัง(พึ่งปิดการสัญจรไม่กี่ปีที่ผ่านมา) หรือปราสาทพระวิหารที่สร้างบนยอดเขา วิศวกรเขาคำนวณออกแบบป้องกันน้ำซึมน้ำเซาะได้อย่างไร จนถึงปัจจุบันร่วมพันกว่าปีก็ยังคงยืนตระหง่าน
ที่ว่ามาก็เพียงแค่อยากให้มองเห็นภาพความสามารถของคนโบราณที่พยายามสร้างสรรค์ด้วยหยาดเหงื่อและแรงกายล้วนๆ แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ประดิษฐ์ปติมากรรมใว้ให้เราชนรุ่นหลังได้ดู
แต่ลองสืบลึกเข้าไปใน ณ กาลเวลานั้น โดยใช้ข้อมูล หรือร่องรอยบางด้านที่หลงเหลืออยู่ และพอจับต้องได้ และนำมาวิพากษ์ และวิภาษณ์วิธี เราอาจมองเห็นความน่าจะเป็นบางอย่าง ที่อาจยังไม่มีใครมอง หรือคนอื่นยังมองข้ามไป.....
ณ ที่นี้ผมขอหยิบยกเรื่องกรรมกรที่พระเจ้าชัยวรมันที่๗ ได้เกณฑ์มาเพื่อสร้างปราสาทต่างๆ ว่ามาจากกลุ่มชนกลุ่มใดบ้าง ชนชาติ-เชื้อชาติใดบ้าง
ตามเวปhttp://www.khmerenaissance.info/resources_tools/57_lab.html ซึ่งเป็นเวปขององคกรอัปสรา(ผู้สืบค้นคว้าประวัติศาสตร์นครวัด) ได้ให้การยอมรับว่า ชนชาติกวย(ส่วย) คือชนชาติแรกในพื้นที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่รู้จักถลุงเหล็ก และนำเอาเหล็กมาใช้เป็นเครื่องทุนแรงทางการเกษตร ทำอาวุธ ทำภาชนะเครื่องใช้ โดยการเปรียบเทียบกะโหลกศรีษะที่ขุดค้นพบในบริเวณเตาถลุงเหล็ก เป็นกะโหลกศรีษะของชนชาติกวย(ส่วย) ไม่ใช่กะโหลกของชนชาติขอม(เขมรโบราณ) และพื้นที่ที่เป็นอาณาบริเวณที่มีแร่เหล็กในปัจจุบัน ในประเทศกัมพูชา อยู่ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกำปงธม กับจังหวัดพระวิหาร และก็เป็นพื้นที่ที่ชนชาติกวย(ส่วย)ครอบครองและอาศรัยอยู่จนถึงปัจจุบัน
และโดยธรรมชาติของชนชาติกวย(ส่วย) ที่เป็นชนชาติที่อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับป่าเขาลำเนาไพร ดังนั้นชนชาติกวย(ส่วย)จึงมีความชำนาญในการดัดแปลงธรรมชาติ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ตามธรรมชาติได้
ความสามารถของชนชาติกวย(ส่วย)ที่สามารถมองเห็น และจับต้องได้จนถึงปัจจุบันคือ การจับสัตว์ป่า
การจับสัตว์มามาฝึกให้เชื่อง เพื่อนำมาทำเป็นสัตว์พาหนะ หรือสัตว์ช่วยทุ่นแรงทางด้านเกษตร เช่น จับเอาช้าง ม้า วัว ควาย มาช่วยในการลาก จูง มาช่วยในด้านการเกษตร เช่นเอาวัว ควาย มาไถไร่ไถนา ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ได้ตกทอดมานับพันปีจนถึงปัจจุบัน
งานช้างอันยิ่งใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ถือเป็นงานของชนชาติกวย(ส่วย) เพราะชนชาติที่มีความสามารถในการจับช้างคือชนชาติกวย(ส่วย) และพิธีกรรมต่างๆในงาน ล้วนเป็นพิธีกรรมของชนชาติกวย(ส่วย)ทั้งสิ้น
ความเชื่อเรื่องดาวเดือน
จากการที่ต้องเดินทางเข้าป่าลึกเพื่อจับสัตว์ป่า หัวหน้าเผ่าจึงต้องจดจำดาว เพื่อเป็นเข็มทิศในการเดินทาง ดังนั้นจึงมีการจดจำดวงดาวต่างๆ ทั้งข้างขึ้นข้างแรม การขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ประกอบกับความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ และประเพณีโบราณ ที่ต้องเคร่งครัดในเรื่องจารีตประเพณี จึงเกิดเป็นการนับถือเดือน ปี แต่เนื่องจากภาษาเขียนของชาวชนชาติกวย(ส่วย)ไม่มี จึงมีแค่การบอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอดๆ แต่อย่างน้อยชื่อปีในปีนักกษัตริย์ ก็เป็นชื่อที่เกิดมาจากภาษากวย(ส่วย) ซึ่งผมขอเปรียบเทียบภาษาให้เห็นดังต่อไปนี้
ปีจอ = ปีหมา ส่วยเรียกหมาว่า จอ เขมร เรียกหมาว่า จะแก = ឆ្កែ
ปีวอก= ปีลิง ส่วยเรียกลิงว่า ว้อก เขมร เรียกลิงว่า สะวา = ស្វា
ปีมะเส็ง= ปีงู ส่วยเรียกงู ว่า กะเซ็ง(เส็ง) เขมรเรียกงูว่า ปั๊วส์ = ពស់
จากที่ยกมาเป็นตัวอย่าง มันไม่น่าจะเป็นความบังเอิญ แต่ความน่าจะเป็นที่ว่า ชาวกวย(ส่วย) น่าจะเป็นชนชาติหนึ่งที่มีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างดี จึงมีการนำเอาชื่อสัตว์เหล่านั้นมาเรียกแทนเป็นชื่อปี จากการที่เขาไม่มีภาษาเขียน ดังนั้น ร่องรอยการจารึกก็เลยไม่มี
หรือแม้แต่พิธีกรรมบางอย่างเช่น พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ច្រត់ព្រះនង្គ័ល ก็น่าจะเป็นพิธีของชนชาติกวย(ส่วย) ดังกล่าวมาข้างต้น ชนชาติกวย(ส่วย) เป็นชนชาติที่อยู่กับธรรมชาติ และการดัดแปลงธรรมชาติ ก็จะมีประเพณีพิธีกรรมที่ต้องขอโทษธรรมชาติ เช่นก่อนออกไปจับช้างในป่า ก็ต้องมีพิธีกรรมหลายๆอย่างกว่าจะออกไปป่าได้ เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะทำนาก็ต้องมีพิธีกรรมเฉกเช่นที่กล่าวมา
นังคัล ภาษากวย(ส่วย)แปลว่าคันไถ
เมื่อชนชาติกวย(ส่วย) เป็นชนชาติแรกในพื้นที่นี้ที่รู้จักถลุงเหล็กเอาเป็นเครื่องมือทางด้านการเกษตร และ
ชนชาติกวย(ส่วย) ก็เป็นชนชาติแรกที่สามารถจับเอาสัตว์ป่ามาฝึกให้เชื่องเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำ
การเกษตร ดังนั้นพิธีกรรมอันนี้จึงไม่แปลกที่ว่าน่าจะเป็นพิธีกรรมของชนชาติกวย(ส่วย)
ความที่ชนชาติกวย(ส่วย)เป็นชนชาติที่อาศรัยอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร และตามหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ อันยาวนาน ชนชาติกวย(ส่วย) มีหลักแหล่งกระจายอยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิมานับพันปีโดยมีกระจัดกระจายตั้งแต่ตอนใต้ของจีน ในประเทศลาว ไทย กัมพูชา แต่ด้วยความที่เป็นชนชาติที่ชอบอิสรเสรี อยู่ตามป่าตามเขา จึงทำให้เกิดการดูถูก ดูแคลนจากชนชาติผู้ที่มีวัฒนธรรมที่สูงกว่า เช่น ลาว ขอม เสียม(เซียม) ว่าชนชาติกวย(ส่วย)เป็นพวกผีป่า ខ្មោច ព្រៃ ดังนั้นชนชาติกวย(ส่วย)จึงไม่ยอมให้ชนชาติอื่นๆว่าตัวเองเป็นพวกผีป่า ខ្មោច ព្រៃ จึงใช้ชื่อเรียกตัวเองว่า กวย ซึ่งแปลว่าคน-มนุษย์-Human และภาษาที่ตัวเองพูดคือ ภาษากวย ซึ่งแปลว่า ภาษาคน ภาษามนุษย์