คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 46
แน่ใจหรือว่าแพทย์สมัยนี่ไม่โดนจู่โจม โดนปกป้องอย่างสมเกียรติ คุณไม่เห็นข่าวสื่อทางอินเทอร์เน็ตเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์หรืออะไรก็แล้วแต่หรือที่คนไข้หรือญาติมักจะชอบถ่ายรูปแพทย์มาประจานว่าทำไม่ดีอย่างนั้นเย็บแผลไม่ดีบ้าง เล่นมือถือขณะทำงานบ้างทั้งๆที่ความจริงเค้าอาจส่งข้อมูลปรึกษาอาจารย์หมออยู่ก็เป็นได้ แต่คนทั่วไปก็มักจะไม่เข้าใจและไม่สนใจอะไรไม่ถูกใจก็พร้อมจะโพสประจานได้ทุกเมื่อ ไม่ได้คิดว่าผู้ถูกประจานจะเสียหายหรือไม่ แล้วที่คุณบอกว่าเภสัชสายคลินิกเรียนหนักกว่าแพทย์ คุณจะเอาอะไรมาวัดว่าเรียนหนักกว่ากัน ในเมื่อคุณไม่ได้เรียนในวิชาที่แพทย์เค้าเรียนและแพทย์ก็ไม่ได้เรียนในวิชาที่คุณเรียน อีกอย่างถึงคุณจะเป็นเภสัชแต่การที่แพทย์จ่ายยาก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้าเป็นเมื่อนอก พวกเภสัชที่เปิดร้านขายยาไม่มีสิทธิจ่ายยาให้แก่คนไข้ที่มาซื้อยาด้วยตัวเองโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากหมอด้วยซ้ำ แต่ที่เมืองไทยกลับขายกันโครมๆแค่เดินเข้าไปบอกอาการหรือบอกเภสัชว่าอยากได้ยาอะไรก็ซื้อได้แล้ว จริงอยู่ว่าคุณอาจจะรู้เรื่องยาดีกว่าหมอ แต่โรคบางอย่างคุณก็ไม่สามารถวินิฉัยได้อย่างถูกต้องเท่าหมอ เรื่องที่มักมีคนบอกว่าคุณทำงานไม่หนักทำไมได้เงินเดือนมากนี่ฉันเห็นด้วยกับคุณ เพราะคุณอาจจะทำงานไม่หนักในสายตาคนทั่วไปแต่คุณก็ต้องเหนื่อยเรียนหนักมาหกปีและก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมาในการทำงานจะได้เงินเดือนเยอะก็ไม่แปลก แต่การที่คุณเปรียบเทียบกับแพทย์นั้นไม่สมควร เพราะมองต่างมุม คุณไม่ใช่แพทย์และแพทย์ไม่ใช่คุณ อยากให้ปรับมุมมองเกี่ยวกะแพทย์บ้างนะคะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
อ่านแล้วมีทั้งเรื่องเห็นด้วย และที่ไม่เห็นด้วยนะครับ
1. "การเปลี่ยนแปลงจนดูราวกับว่าเป็นวิชาชีพที่ต้องพยายามผลักดันตัวเองเพื่อให้ได้มีบทบาทในสังคม"
ขออนุญาตไม่พาดพิงวิชาชีพอื่นนะครับ ผมว่าการที่เราผลักดันตัวเองออกมาในสังคมเป็นเรื่องที่ดีนะครับ สังคมจะได้รู้ว่าเราทำงานในส่วนไหนที่มากขึ้นกว่าเดิมที่เข้าใจ แล้วสิ่งที่ตามมา คือ เมื่อคนเข้าใจ คนก็จะรู้ว่าเรา เภสัชกร ทำหน้าที่อะไร สามารถช่วยเหลือเค้าในเรื่องอะไรได้บ้าง เภสัชกรแตกต่างจากคนขายยาทั่วๆ ไปอย่างไร
ซึ่งบรรทัดถัดๆ ลงมา คุณก็บอกเองว่ามุมมองคนทั่วไปมองเห็นเภสัชกรไม่ได้ครอบคลุมมาก นั่นไม่ใช่เพราะเค้ายังไม่ได้เห็นบทบาทในสังคมที่ชัดเจนหรือเปล่า?
ทำให้อันนี้ผมไม่ได้รู้สึกตลก ขบขันเหมือนเจัาของกระทู้ครับ
2. "สภา...ออก พรบ ยา มหาประลัย"
พรบ ยา ฉบับที่มีปัญหาออกโดยกระทรวงสาธารณสุขครับ ซึ่งมีหลายข้อที่เป็นอย่างที่คุณบอก แต่ทางสภาเภสัชกรรม ร่วมกับอีกหลายองค์กร ก็ออกมาคัดค้าน ทำให้ พรบ ยา นี้อยู่ในช่วงการแก้ไขครับ ยังไงถ้ามีเวลาอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ตาม link ด้านล่างครับ
https://www.scribd.com/doc/254984514
ส่วน พรบ ที่สภาเภสัชกรรมเป็นคนรับผิดชอบโดยตรง คือ พรบ วิชาชีพเภสัชกรรม ครับ คนละส่วนกัน
3. "เภสัชกรโรงพยาบาลที่เรียนสายคลินิก...ว่าไปแล้วก็เรียนหนักกว่าแพทย์ด้วยซ้ำ"
ผมเป็นเภสัชกรโรงพยาบาล เรียนสายคลินิก และเรียนต่อสายคลินิกอยู่ ผมไม่เคยคิดว่าใครเรียนหนักกว่าใครเลยครับ ความหนักของแต่ละคน แต่ละวิชาชีพไม่เท่ากันครับ ไม่ควรจะพาดพิง ผมคิดว่าคุณคงไม่ได้ตั้งใจที่จะสื่อออกมาเช่นนี้
3. "สภาควบคุมการเปิดร้านยาใหม่ เป็นการแก้ปัญหาที่ห่วยแตกมาก"
ผมเห็นด้วยกับที่บอกว่าควรควบคุมร้านยาเก่านะครับ อาจจะต้องเพิ่มความเข้มงวดกว่านี้ ทำงานให้หนักมากกว่านี้ รวมถึงปัญหาเรื่องแขวนป้ายด้วย ที่ควรจะจัดการให้เด็ดขาด
แต่การจัดการร้ายยาใหม่ไปด้วยเลย ก็ไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ ควรที่จะทำไปพร้อมๆ กัน ไม่งั้นสุดท้ายอนาคตเราก็ต้องมาจัดการร้านยาใหม่เหล่านี้อีกอยู่ดี วนกันเป็นวัฎจักรเลย
4. "อย่าให้ 7-11 มีร้านยาเป็นของตัวเอง เสียภาพลักษณ์วิชาชีพ"
ครับ การให้คนหยิบยามั่วๆ โดยคนที่ไม่ใช่เภสัชกร ไม่ว่าจะร้านเชนไทย เชนต่างชาติ หรือร้านยาที่แขวนป้าย ผมว่าเสียภาพลักษณ์กันหมดแหละครับ ควรที่จะเข้มงวดกวดขันทั้งหมด และเพิ่มบทลงโทษครับ
5. ส่วนเรื่องนิติกรของสภาเภสัช อันนี้ผมเห็นด้วยนะครับ เวลามีปัญหา หรือมีเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยา เกี่ยวข้องกับเภสัชกร สภาเภสัช ควรจะออกมามีบทบาทมากกว่านี้ครับ
สุดท้ายสำหรับน้องๆ ที่ยังเรียน สำหรับเภสัชกรที่แวะเวียนเข้ามาอ่าน ผมคิดว่าสิ่งที่พูดมาทั้งหมด แม้ว่าจะเขียนไปเสนอองค์กรอะไรต่างๆ สิ่งสำคัญเราคงต้องร่วมมือร่วมใจกันทำให้เป็นตัวอย่างที่ดี
อย่าเพิ่งท้อแท้ อย่าเพิ่งหดหู่กันนะครับ ช่วยกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพครับ
ปล.1 ขอบคุณเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่มาแลกเปลี่บนความคิดเห็น^^
ปล.2 อันนี้ผมยืม log in น้องชายมานะครับ
1. "การเปลี่ยนแปลงจนดูราวกับว่าเป็นวิชาชีพที่ต้องพยายามผลักดันตัวเองเพื่อให้ได้มีบทบาทในสังคม"
ขออนุญาตไม่พาดพิงวิชาชีพอื่นนะครับ ผมว่าการที่เราผลักดันตัวเองออกมาในสังคมเป็นเรื่องที่ดีนะครับ สังคมจะได้รู้ว่าเราทำงานในส่วนไหนที่มากขึ้นกว่าเดิมที่เข้าใจ แล้วสิ่งที่ตามมา คือ เมื่อคนเข้าใจ คนก็จะรู้ว่าเรา เภสัชกร ทำหน้าที่อะไร สามารถช่วยเหลือเค้าในเรื่องอะไรได้บ้าง เภสัชกรแตกต่างจากคนขายยาทั่วๆ ไปอย่างไร
ซึ่งบรรทัดถัดๆ ลงมา คุณก็บอกเองว่ามุมมองคนทั่วไปมองเห็นเภสัชกรไม่ได้ครอบคลุมมาก นั่นไม่ใช่เพราะเค้ายังไม่ได้เห็นบทบาทในสังคมที่ชัดเจนหรือเปล่า?
ทำให้อันนี้ผมไม่ได้รู้สึกตลก ขบขันเหมือนเจัาของกระทู้ครับ
2. "สภา...ออก พรบ ยา มหาประลัย"
พรบ ยา ฉบับที่มีปัญหาออกโดยกระทรวงสาธารณสุขครับ ซึ่งมีหลายข้อที่เป็นอย่างที่คุณบอก แต่ทางสภาเภสัชกรรม ร่วมกับอีกหลายองค์กร ก็ออกมาคัดค้าน ทำให้ พรบ ยา นี้อยู่ในช่วงการแก้ไขครับ ยังไงถ้ามีเวลาอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ตาม link ด้านล่างครับ
https://www.scribd.com/doc/254984514
ส่วน พรบ ที่สภาเภสัชกรรมเป็นคนรับผิดชอบโดยตรง คือ พรบ วิชาชีพเภสัชกรรม ครับ คนละส่วนกัน
3. "เภสัชกรโรงพยาบาลที่เรียนสายคลินิก...ว่าไปแล้วก็เรียนหนักกว่าแพทย์ด้วยซ้ำ"
ผมเป็นเภสัชกรโรงพยาบาล เรียนสายคลินิก และเรียนต่อสายคลินิกอยู่ ผมไม่เคยคิดว่าใครเรียนหนักกว่าใครเลยครับ ความหนักของแต่ละคน แต่ละวิชาชีพไม่เท่ากันครับ ไม่ควรจะพาดพิง ผมคิดว่าคุณคงไม่ได้ตั้งใจที่จะสื่อออกมาเช่นนี้
3. "สภาควบคุมการเปิดร้านยาใหม่ เป็นการแก้ปัญหาที่ห่วยแตกมาก"
ผมเห็นด้วยกับที่บอกว่าควรควบคุมร้านยาเก่านะครับ อาจจะต้องเพิ่มความเข้มงวดกว่านี้ ทำงานให้หนักมากกว่านี้ รวมถึงปัญหาเรื่องแขวนป้ายด้วย ที่ควรจะจัดการให้เด็ดขาด
แต่การจัดการร้ายยาใหม่ไปด้วยเลย ก็ไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ ควรที่จะทำไปพร้อมๆ กัน ไม่งั้นสุดท้ายอนาคตเราก็ต้องมาจัดการร้านยาใหม่เหล่านี้อีกอยู่ดี วนกันเป็นวัฎจักรเลย
4. "อย่าให้ 7-11 มีร้านยาเป็นของตัวเอง เสียภาพลักษณ์วิชาชีพ"
ครับ การให้คนหยิบยามั่วๆ โดยคนที่ไม่ใช่เภสัชกร ไม่ว่าจะร้านเชนไทย เชนต่างชาติ หรือร้านยาที่แขวนป้าย ผมว่าเสียภาพลักษณ์กันหมดแหละครับ ควรที่จะเข้มงวดกวดขันทั้งหมด และเพิ่มบทลงโทษครับ
5. ส่วนเรื่องนิติกรของสภาเภสัช อันนี้ผมเห็นด้วยนะครับ เวลามีปัญหา หรือมีเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยา เกี่ยวข้องกับเภสัชกร สภาเภสัช ควรจะออกมามีบทบาทมากกว่านี้ครับ
สุดท้ายสำหรับน้องๆ ที่ยังเรียน สำหรับเภสัชกรที่แวะเวียนเข้ามาอ่าน ผมคิดว่าสิ่งที่พูดมาทั้งหมด แม้ว่าจะเขียนไปเสนอองค์กรอะไรต่างๆ สิ่งสำคัญเราคงต้องร่วมมือร่วมใจกันทำให้เป็นตัวอย่างที่ดี
อย่าเพิ่งท้อแท้ อย่าเพิ่งหดหู่กันนะครับ ช่วยกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพครับ
ปล.1 ขอบคุณเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่มาแลกเปลี่บนความคิดเห็น^^
ปล.2 อันนี้ผมยืม log in น้องชายมานะครับ
ความคิดเห็นที่ 14
วันไหนที่คุณกินยาที่ซื้อมาจากร้านยาที่กะเหรี่ยงขาย เพียงแค่หยิบยาให้ แล้วไม่ถามสุขภาพคุณซ้ากกกคำ แล้วคุณเกิดแพ้ยาจนปางตาย
หรือว่า วันไหนที่เมียคุณท้องแล้วกินยาซื้อมาจากร้านชำแถวบ้านแล้ววทำให้ลูกของคุณออกมาพิการ
หรือว่าวันไหน ที่ผู้สูงอายุในบ้านคุณ ลูกคุณ กินยาแล้วตับไตพัง เพราะซื้อยากินเอง กินยาตามแบบคนอื่นๆๆ โดยไม่ถามหมอหรือเภสัช
หรือว่าวันไหน ที่คุณกินยาประจำตัวคุนเป็นปกติ แล้ววันหนึ่ง หมอสั่งเพิ่มยา เพราะป่วยเพิ่มขึ้น แล้ว ยามันตีกัน เล่นเอาคุนถึงเกือบบบตายย
แล้วคุณณณณจะรู้ว่า พวกเราาททำเพื่อใครรรรร~~~~~
#อยากให้ทุกคนใช้ยาอย่างปลอดภัยยน้าาาาา

หรือว่า วันไหนที่เมียคุณท้องแล้วกินยาซื้อมาจากร้านชำแถวบ้านแล้ววทำให้ลูกของคุณออกมาพิการ
หรือว่าวันไหน ที่ผู้สูงอายุในบ้านคุณ ลูกคุณ กินยาแล้วตับไตพัง เพราะซื้อยากินเอง กินยาตามแบบคนอื่นๆๆ โดยไม่ถามหมอหรือเภสัช
หรือว่าวันไหน ที่คุณกินยาประจำตัวคุนเป็นปกติ แล้ววันหนึ่ง หมอสั่งเพิ่มยา เพราะป่วยเพิ่มขึ้น แล้ว ยามันตีกัน เล่นเอาคุนถึงเกือบบบตายย
แล้วคุณณณณจะรู้ว่า พวกเราาททำเพื่อใครรรรร~~~~~
#อยากให้ทุกคนใช้ยาอย่างปลอดภัยยน้าาาาา


ความคิดเห็นที่ 20
เป็นเภสัชกรค่ะ มีหลายอย่างที่ไม่เห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้
1. เปิดบทบาทจำเป็นต้องทำค่ะ จะได้เอาสิ่งที่ร่ำเรียนมาหนักๆมาใช้ประโยชน์สูงสุด พอทำแต่เช็คจ่ายยาไปนานๆ ไม่ได้ขึ้นไปดูคนไข้ มันทำให้ลืมเลือนสิ่งที่เรียนมา ดังนั้นถ้ามีโอกาสต้อง practice สม่ำเสมอ
2. เรื่องคุมเข้มเภสัชกรร้านยา เราเห็นด้วยทุกประการ แต่ส่วนพรบ.ยาที่ช่วงแรกอยากให้ใครก็ได้จ่ายยา ไม่สมควรค่ะ (คงไม่ต้องพูดเยอะแล้วว่าเพราะอะไร)
3. การจะทำให้รู้สึกดีกับวิชาชีพ พยายามเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนค่ะ ถ้าวิชาชีพอื่นบอกว่าเราความรู้ไม่แน่น เราจะไปทบทวนมา และครั้งหน้าจะต้องตอบได้ การที่เราดูคนไข้ แรกเริ่มเราอาจจะไม่เชี่ยวชาญ แต่การเจอเคสเยอะๆ เจอซ้ำๆ และทบทวนหาคำตอบที่ถูกต้องอยู่เสมอจะทำให้เราเชี่ยวชาญขึ้นมา จนวันหนึ่งบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆเค้าจะเชื่อมั่นเราเองค่ะ ไม่ต้องไปเดือดร้อนถ้าเค้าไม่เชื่อในวันนี้ แต่พัฒนาตัวเองให้เค้าเชื่อให้ได้ในวันหน้า เราทำงานที่เจอ resident ที่ผลัดเปลี่ยนตลอด แรกๆเราความรู้ประสบการณ์อ่อนด้อย แต่พอทำไปเรื่อยๆเราจะเชี่ยวชาญ ส่วนหมอ resident ก็หมุนเวียนไป ในขณะที่เรามีโอกาสได้เจอเคสบ่อยๆเท่าที่เราต้องการเลย หลังๆความเห็นด้านยาเราก็ได้รับการยอมรับจากแพทย์
ป.ล. เราทำงานเภสัชกรรมคลินิก รพ. และไม่เคยแขวนป้าย
1. เปิดบทบาทจำเป็นต้องทำค่ะ จะได้เอาสิ่งที่ร่ำเรียนมาหนักๆมาใช้ประโยชน์สูงสุด พอทำแต่เช็คจ่ายยาไปนานๆ ไม่ได้ขึ้นไปดูคนไข้ มันทำให้ลืมเลือนสิ่งที่เรียนมา ดังนั้นถ้ามีโอกาสต้อง practice สม่ำเสมอ
2. เรื่องคุมเข้มเภสัชกรร้านยา เราเห็นด้วยทุกประการ แต่ส่วนพรบ.ยาที่ช่วงแรกอยากให้ใครก็ได้จ่ายยา ไม่สมควรค่ะ (คงไม่ต้องพูดเยอะแล้วว่าเพราะอะไร)
3. การจะทำให้รู้สึกดีกับวิชาชีพ พยายามเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนค่ะ ถ้าวิชาชีพอื่นบอกว่าเราความรู้ไม่แน่น เราจะไปทบทวนมา และครั้งหน้าจะต้องตอบได้ การที่เราดูคนไข้ แรกเริ่มเราอาจจะไม่เชี่ยวชาญ แต่การเจอเคสเยอะๆ เจอซ้ำๆ และทบทวนหาคำตอบที่ถูกต้องอยู่เสมอจะทำให้เราเชี่ยวชาญขึ้นมา จนวันหนึ่งบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆเค้าจะเชื่อมั่นเราเองค่ะ ไม่ต้องไปเดือดร้อนถ้าเค้าไม่เชื่อในวันนี้ แต่พัฒนาตัวเองให้เค้าเชื่อให้ได้ในวันหน้า เราทำงานที่เจอ resident ที่ผลัดเปลี่ยนตลอด แรกๆเราความรู้ประสบการณ์อ่อนด้อย แต่พอทำไปเรื่อยๆเราจะเชี่ยวชาญ ส่วนหมอ resident ก็หมุนเวียนไป ในขณะที่เรามีโอกาสได้เจอเคสบ่อยๆเท่าที่เราต้องการเลย หลังๆความเห็นด้านยาเราก็ได้รับการยอมรับจากแพทย์
ป.ล. เราทำงานเภสัชกรรมคลินิก รพ. และไม่เคยแขวนป้าย
ความคิดเห็นที่ 91
ดูดีมาตลอดจนถึงประโยคที่ว่าเรียนหนักกว่าแพทย์นี่แหละ
ลองเทียบแค่แพทย์ประจำบ้านกับเภสัชประจำบ้านนะ
แพทย์ประจำบ้านต้องราว 7.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดใดๆ สถิติของคณะแพทย์แห่งหนึ่งพบว่า แพทย์ประจำบ้านต้องทำงานเฉลี่ย สัปดาห์ละ 120 ชั่วโมง (ถ้าแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ ค่าเฉลี่ยจะเพิ่มเป็น 140 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
เภสัชประจำบ้านที่ผมเจอ มาถึงวอร์ด 8.30 น. ลงวอร์ดอย่างช้าสุด 18.00 น. (แพทย์ประจำบ้านไม่เคยได้ลงก่อน 19.00 น.)
เทียบช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เภสัชประจำบ้านได้หยุดยาว 5 วัน ไปเที่ยวต่างจังหวัดกันหมด แต่แพทย์ประจำบ้านไม่ได้หยุดเลย และไม่มีวันไหนได้นอนเกิน 6 ชม.ด้วย
วิชาชีพใครวิชาชีพมันดีกว่าครับ ผมจะไม่บอกว่าแพทย์เรียนหนัก แต่เอาเป็นว่าไม่เชื่อเรื่องที่บอกว่าเภสัชเรียนหนักกว่าแล้วกัน
ผมว่า แพทย์-เภสัชเนี่ย ปัจจุบันมีการทำงานก้าวก่ายกันมากเกินไป
ถ้าเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แพทย์มีหน้าที่วินิจฉัย สั่งยา แต่ไม่มีสิทธิ์จ่ายยา ถ้าไม่มีเภสัช
เภสัชมีหน้าที่ตรวจทาน จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ถ้าไม่มีใบสั่งยาห้ามจ่าย
แต่ปัจจุบัน คลินิกหมอก็จ่ายยาโดยไม่มีเภสัช ร้านขายยาก็วินิจฉัยแล้วจ่ายยาเสร็จสรรพ โดยไม่มีใบสั่งยา แถมคนขายส่วนมากดันไม่ใช่เภสัชด้วย
ถ้าแก้ตรงนี้ได้ผมว่าอะไรๆจะดีขึ้นเยอะครับ
ลองเทียบแค่แพทย์ประจำบ้านกับเภสัชประจำบ้านนะ
แพทย์ประจำบ้านต้องราว 7.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดใดๆ สถิติของคณะแพทย์แห่งหนึ่งพบว่า แพทย์ประจำบ้านต้องทำงานเฉลี่ย สัปดาห์ละ 120 ชั่วโมง (ถ้าแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ ค่าเฉลี่ยจะเพิ่มเป็น 140 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
เภสัชประจำบ้านที่ผมเจอ มาถึงวอร์ด 8.30 น. ลงวอร์ดอย่างช้าสุด 18.00 น. (แพทย์ประจำบ้านไม่เคยได้ลงก่อน 19.00 น.)
เทียบช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา เภสัชประจำบ้านได้หยุดยาว 5 วัน ไปเที่ยวต่างจังหวัดกันหมด แต่แพทย์ประจำบ้านไม่ได้หยุดเลย และไม่มีวันไหนได้นอนเกิน 6 ชม.ด้วย
วิชาชีพใครวิชาชีพมันดีกว่าครับ ผมจะไม่บอกว่าแพทย์เรียนหนัก แต่เอาเป็นว่าไม่เชื่อเรื่องที่บอกว่าเภสัชเรียนหนักกว่าแล้วกัน
ผมว่า แพทย์-เภสัชเนี่ย ปัจจุบันมีการทำงานก้าวก่ายกันมากเกินไป
ถ้าเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แพทย์มีหน้าที่วินิจฉัย สั่งยา แต่ไม่มีสิทธิ์จ่ายยา ถ้าไม่มีเภสัช
เภสัชมีหน้าที่ตรวจทาน จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ถ้าไม่มีใบสั่งยาห้ามจ่าย
แต่ปัจจุบัน คลินิกหมอก็จ่ายยาโดยไม่มีเภสัช ร้านขายยาก็วินิจฉัยแล้วจ่ายยาเสร็จสรรพ โดยไม่มีใบสั่งยา แถมคนขายส่วนมากดันไม่ใช่เภสัชด้วย
ถ้าแก้ตรงนี้ได้ผมว่าอะไรๆจะดีขึ้นเยอะครับ
แสดงความคิดเห็น
เภสัชกรที่สัญญาว่าถ้ามีลูกหลานจะไม่ให้เรียนแน่นอน เพราะอะไรกัน
แต่ในระยะหลังนี้ ดิฉันรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพนี้ จนดูราวกับว่าเป็นวิชาชีพที่ต้องพยายามผลักดันตัวเอง ให้มีบทบาทได้ทัดเทียมกับแพทย์และพยาบาลในสังคม ซึ่งส่วนตัวดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าตลก และขบขัน จนรู้สึกว่า ความภาคภูมิใจของก้าวแรกในการตัดสินใจเลือกวิชาชีพนี้ เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ
เริ่มต้นจากคำถามแรกที่ได้ยินจากกระทู้ที่ผ่านๆมา
เภสัชกรดูงานไม่หนัก ทำไมได้เงินเดือนสูงจัง???
อึ้งค่ะ ทั้งๆที่วิชาชีพเภสัชนั้นมีทางเลือกที่หลากหลาย แต่มุมมองคนทั่วไป กลับเห็นแค่ว่า เป็นเซลล์วิ่งขายยาตามโรงพยาบาลหรือไม่ก็ คนที่มีหน้าที่ตะโกนเรียกรับยา หน้าช่องสี่เหลี่ยมแคบๆ ที่ดูไม่ได้ใช้ความรู้ที่อุตส่า ร่ำเรียนมา 5-6 ปีเลย
มุมมองอีกส่วนก็เป็นเรื่องของร้านยาที่มีการเปิดกันอย่างกว้างขวาง ทั้งอาแปะอาเฮียที่ขายกันมานมนาน จนสร้างอาชีพเป็นเถ้าแก่มีหน้ามีตาในสังคม หรือแม้กระทั่งตลาดการแข่งขัน ในธุรกิจสุขภาพ เช่นร้านยา เชนสโตร์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศที่มีกันอย่างมากมายราวกับร้านสะดวกซื้อ ก็แค่เอาเด็กขายยามายืนขายๆ จ่ายยาถูกบ้างผิดบ้าง
แต่ทั้ง 2 ข้อข้างต้นโดยส่วนตัวคิดว่า มันเป็นมุมมองของคนต่างสาขาอาชีพ ซึ่งไม่ผิดหากเค้าไม่ได้เข้ามารับรู้ขั้นตอนการผลิตนักศึกษาเภสัช 1 คนนั้น ยากอย่างไร เรียนหนักแค่ไหน ปัจจุบันน่าจะประมาณ 220 หน่วยกิต สำหรับ 6 ปี ( ดิฉันเรียน 5 ปี 187 หน่วยกิต)
แต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดก็ถาโถมกับวิชาชีพเภสัชกรนี้อีก โดยคนใกล้ มิใช่ใครอื่น คือ สภา....... ที่พยายามตรากฎหมาย พรบ ยา มหาประลัย มาทำร้ายวิชาชีพที่ทำให้ตัวเองมีงานมีการทำได้อย่างเลือดเย็น โดยการออกกฎหมาย ให้ผู้ที่สามารถจ่ายยาได้ นั้นมีมากกว่าวิชาชีพเภสัชกรรม เช่น แพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เป็นต้น ทำอย่างกับไม่รู้ว่าข้อระวังใดบ้างที่ต้องมีเภสัชกรมาเป็นตัวคั่นกลางในการส่งมอบยาแก่คนไข้ทั้งๆที่แพทย์ก็เขียนใบสั่งจ่ายยาได้ .... แต่ในทางกลับกัน กลับมีมาตรการ การคุมเข้มเภสัชกร ในการปฏิบัติหน้าที่ในร้านขายยา แทบไม่ให้กระดิกตัวได้ และเรียกชี้แจง สอบสวนอย่างไม่ให้เกียรติ ราวกับว่าเป็นอาชญากร เช่น ถ่ายรูปป้ายแขวนคอ ถ่ายรูปแปะหน้าร้าน หน้าเคาต์เตอร์ยา ถ่ายรูปเต็มตัว หรือหากมีการทำงานประจำ ก็ต้องให้หัวหน้าเซ็นต์รับรอง ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุเกินไป และในมุมมองที่แอบอิจฉาวิชาชีพข้างเคียงคือ แพทย์ ที่มีการปกป้องคุ้มครองอย่างสมเกียรติโดย แพทยสภา
และทำไมดิฉันถึงต้องมาโพสต์กระทู้นี้หรือ
1.เพื่ออธิบายว่า หน้าที่ของเภสัชกร มีอะไรบ้าง
2.กว่าเภสัชกรจะผลิตมาได้ 1 คน นั้นไม่ง่ายเลย
3.การแก้ปัญหาอย่างไม่สร้างสรรค์ของสภาคือการทำร้ายวิชาชีพ เภสัชกรอย่างร้ายกาจและเลือดเย็น
ตอบข้อที่ 1 เภสัชกรมีหน้าที่อะไร
เภสัชกรว่าไปแล้วก็ถือเป็นวิชาชีพที่โชคดี เพราะมีทางเลือกที่หลากหลาย อาทิเช่น
เภสัชกรโรงพยาบาล (ที่เห็นจ่ายยาในโรงพยาบาล) ส่วนใหญ่จะเลือกเรียนสายคลินิก ซึ่งเรียนหนักมาก ต้องรู้จักอาการโรคที่หลากหลาย รู้จักยาและกลุ่มยาที่มากมาย ว่าไปแล้วก็เรียนหนักกว่าแพทย์ด้วยซ้ำ ไหนจะต้องตรวจสอบการจ่ายยาที่ถูกต้อง อธิบายหลักการบริหารยาที่ถูกต้อง รวมทั้งการประเมินการรับยาของผู้ป่วยรายคน
เภสัชกรการผลิต (ขอรวมในส่วนของ ผลิต ตรวจสอบคุณภาพ และ วิจัยผลิตภัณฑ์) เรียนหนักไม่แพ้กัน บทบาทหน้าที่ก็ตามโรงงาน
เภสัชกรการตลาด (ผู้แทนยา เภสัชกรขึ้นทะเบียนยา เภสัชกรทางด้านคลินิกในบริษัทยา(CRA) ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ และ เภสัชกรในร้านขายยา) ซึ่งกลุ่มนี้เรียนหนักไม่แพ้กัน และอาชีพเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้เล่าเรียนมาเพื่อปรับใช้ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน
ตอบข้อที่ 2 กว่าจะเป็นเภสัชกร 1 คน ต้องใช้เวลาเรียนถึง 6 ปี
วิชาที่เรียนมีอะไรบ้าง เริ่มต้นที่วิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไป ซึ่งจะเน้นหนักไปทางวิชาเคมีและชีววิทยา จากนั้นจะเริ่มเข้าเรียนในภาควิชาพื้นฐานทางเภสัช คือเรื่องเชื้อ เรื่องพืชสมุนไพร กายวิภาคศาสตร์ ต่อจากนั้นก็จะเป็นการเรียนนำพื้นฐานมาประยุกต์กับพื้นฐานทางด้านเภสัชกร จากนั้นจะเป็นเรื่องยากับตัวโรค แล้วมาสิ้นสุดในส่วนของ โครงสร้างยาต่างๆและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ยารายกลุ่ม ก่อนที่จะมีการแยกภาควิชาต่างๆในปี 5 หรือปัจจุบันจะมีการแบ่งการเรียนเป็น 2 สายคือ Pharm-D และ Pharm-science (กล่าวคร่าวๆ แต่ตอนเรียนหนักมาก)
และข้อสุดท้าย
การแก้ปัญหาอย่างไม่สร้างสรรค์ของสภาคือการทำร้ายวิชาชีพ เภสัชกรอย่างร้ายกาจและเลือดเย็น พาดหัวข้อไม่แรงไปแน่นอน
จะเห็นว่ากว่าจะผลิตเภสัชกรได้ 1 คนก็เรียนหนักมาก และยังมีการรวมถึงการสอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ที่นี้ขออ้างอิงถึงอาชีพที่กล่าวไว้ด้านบนว่าวิชาชีพใดที่ต้องการใบประกอบวิชาชีพบ้าง
เภสัชกรโรงพยาบาล ต้องใช้แน่นอน
เภสัชกรการผลิต มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าไม่มีอาจจะทำได้แต่ไม่สามารถเซ็นต์รับรองได้ โอกาสการสมัครงานก็จะน้อยกว่าคนที่มี
เภสัชกรการตลาด แทบจะเป็นทางออกสำหรับการไม่ใช้ใบประกอบ แต่เป็นกลุ่มอาชีพที่ได้รายรับสูง เมื่อเทียบกับ 2 กลุ่มด้านบน จึงทำให้เภสัชกรจบใหม่ส่วนใหญ่เลือก สาขาวิชานี้กันค่อนข้างมาก ด้วยเหตุผลทางรายได้และข้อจำกัดที่น้อยกว่า จึงมีคำถามว่า แล้วถ้าเภสัชกรที่มีใบประกอบ และไม่จำเป็นต้องใช้หล่ะ ใบประกอบจะเอาไปทำอะไรดี
1. เก็บไว้ที่บ้าน
2. ร้านขายยาใกล้บ้าน และไปในช่วงปฏิบัติการ
ทีนี้ขอโฟกัสไปที่เรื่องกฎหมายใหม่และกฎข้อบังคับใช้ของเภสัชกร ที่จำกัดจนแทบหายใจไม่ออกและดิ้นไม่ได้ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ความฝันของเภสัชกรไม่น้อยเลยที่จบใหม่อยากมีร้านยาเป็นของตัวเอง แต่เมื่อจบมาเปิดร้านตัวเองก็พบว่า มันไม่ง่ายเลย นั่นเพราะอะไรหรอ ก็เพราะว่าร้านยาที่มีมากมายราวกับ 7-11 หรือร้านยาอาแปะ อาเฮีย ที่ขายยาชุดนับเม็ด อีกทั้งยังไม่รวมถึงกลุ่มนายทุนทั้งไทย และต่างชาติที่มาเปิดร้านยาเป็นเชนสโตร์ ที่มีเงินสูงและบุคลากรหมุนเวียนมากมาย แล้วเกิดอะไรขึ้น เภสัชกรไม่น้อยต้องปิดร้านและยอมขาดทุนแล้วไปทำงานอื่น เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งงานนั้นอาจจะไม่ใช้ใบประกอบก็เป้นได้ ก็จึงกลับมาเกิดวัฏจักรแห่งการแขวนใบประกอบวิชาชีพขึ้น ทั้งที่มีกลุ่มทีมงานคนวิ่งรับจ้างเปิดร้าน หรือกลุ่มทีมงานรับจ้างหาเภสัชกร แล้วทำการกินหัวคิวกันอย่างมากมาย แล้วใบประกอบหล่ะ จะทำอะไร ก็ตามกฏหมายแจ้งว่าให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ 3 ชม ต่อวัน นั่นแปลว่า คุณมีงานประจำอื่นได้ ใช่หรือไม่ แต่กลับมาให้ทันร้านในช่วงปฏิบัติงาน นั่นจึงเป็นช่องว่างทางกฏหมายที่ทำให้เกิดการกระทำผิด และเป็นการวัดจิตสำนึกของผู้ประกอบวิชาชีพ นั่นเอง
ทีนี้จะทำอย่างไร ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
1.สภาควรควบคุมการเปิดร้านยาใหม่ เป็นการแก้ปัญหาที่ห่วยแตกมาก
2.สภาควรควบคุมร้านยาเก่าที่มี โดยเฉพาะแหล่งที่มีความชุกของร้านขายยามากเป็นพิเศษ อันนี้ดีกว่า
3.หากต้องการปิดช่องว่างทางกฏหมาย ให้ทำแบบคลินิกไปเลยคือ ขายยาเฉพาะช่วงปฏิบัติงาน ให้เภสัชกรต้องอยู่ยาวไปเลย ตลอดช่วงเวลาที่ร้านเปิด หากคุมเข้มได้จริง ร้านยาจะถูกปิดไปราว 75% เลยทีเดียว โดยเฉพาะร้านยาเชนไทยและต่างชาติ ที่มี % การกระจายตัวเทียบกับร้านยาทั้งหมด ราวๆ 20% ในส่วนของเชนยาไทย ก็ต้องถูกปิดเกือบหมดโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ อย่าให้ 7-11 มีร้านขายยาเป็นของตัวเอง เพราะเสียภาพลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกร ที่เน้นเรื่องความน่าเชื่อถือ แต่ปล่อยให้มายืนหน้าแป้น หน้าร้านสะดวกซื้อ ที่นอกช่วงปฏิบัติการ ก็มีเด็กในร้านวิ่งมาหยิบยาให้ลูกค้าอย่างมั่วๆ เก้ๆ กังๆ สภาจะพิจารณาแต่คนธรรมดาที่ไม่ใช่นักลุงทุนใช่ไหม
4.สนับสนุนให้ทุกอาชีพของเภสัชกรได้รับส่วนตอบแทนใบประกอบวิชาชีพ ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ปัจจุบันบางที่ ได้ 3000 / 5000 บาท แต่ร้านขายยาพวกเชนให้ตั้งแต่ 12000-15000 บาท ใบประกอบเหมือนกันทำไม value ต่างกัน น่าแปลกใจ แสดงว่าไม่มีมาตรฐานทางวิชาชีพ
5.มีนิติกรของสภาเภสัช คอยปกป้องการกระทำที่เหลื่อมล้ำหรือริดรอน อำนาจของเภสัชกร เป็นปากเป็นเสียงคอยช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมคุณค่าของวิชาชีพ
ปัจจุบันเภสัชกรจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะเรียนต่อในสายธุรกิจ และจำนวนไม่น้อยที่เบื่อในอาชีพของตนเอง ทั้งยังไม่รวมถึงเรื่องเงินเดือนที่แสนต่ำ เรียน 6 ปี เริ่มต้นสตาร์ทราวๆ 11,000-18,000 บาท หากอยากได้เงินมากก็วิ่งรับจ็อบพาร์ททามกันให้จ้าละหวั่น ทางสภาควรหาทางยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้เภสัชกรมีที่ยืนทางสังคม มากกว่าการกระทำตัวเป็นโปลิศจับขโมย หาเรื่องให้ผู้ประกอบวิชาชีพ กลายเป็นคนบาป ทั้งๆที่คนไม่ดีมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งจากทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นความคิดของดิฉันและกลุ่มเพื่อนเภสัชกร ที่อยู่เฉยไม่ได้ ที่มองเห็นความตกต่ำของวิชาชีพเภสัชกร ที่ถูก ริดรอน ลดบทบาทลงโดยคนในวิชาชีพเดียวกัน จึงขอโพสต์ทิ้งไว้ และ เชิญแสดงความคิดเห็น เพื่อหาทางออกให้แก่ กลุ่มวิชาชีพของเราไม่ให้ถูกทำร้าย โดยกลุ่มคนที่มีอำนาจ และเพื่อโพสต์นี้จะเป็นทางออกและแหล่งรวมข้อมูลเพื่อส่งต่อความต้องการและความคิดเห็นของเภสัชกร ต่อการทำงานที่ไม่เป็นธรรม และกฏต่างๆที่เลวร้าย เพื่อสร้างวิชาชีพที่ดีงามของคำว่า หมอยา กลับมาอีกครั้ง ขอบคุณค่ะ