ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ได้ปรากฎชื่อแคว้นสำคัญแคว้นหนึ่งคือ มคธ
มคธ เป็นแคว้นทางตะวันออกของอินเดีย มีราชวงศ์ปกครองหลายราชวงศ์
ราชวงศ์ที่1 คือ ราชวงศ์หารยังกะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
1 พระเจ้าภาติกะ
2 พระเจ้าพิมพิสาร
3 พระเจ้าอชาตศัตรู
4 พระเจ้าอุทัยภัทร
5 พระเจ้าอนุรุทธะ
6 พระเจ้ามุณฑกะ
7 พระเจ้านาคทาสกะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์หารยังกะ เกิดจากอำมาตย์สุสุนาคเห็นว่า ราชวงศ์หารยังกะเป็นราชวงศ์ปิตุฆาตโดยตลอด
จึงทำรัฐประหารเพื่อมิให้เป็นเสนียดแก่อาณาจักรอีก
ราชวงศ์ที่2 คือ ราชวงศ์สุสุนาค มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยขุนนางชื่อสุสุนาค
1 พระเจ้าสุสุนาค
2 พระเจ้ากาฬาโศก
3 พระเจ้าภัทรเสน
การสิ้นสุดของราชวงศ์สุสุนาค เกิดจากมหาโจรนันทะก่อรัฐประหาร
ราชวงศ์ที่3 คือ ราชวงศ์นันทะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยมหาโจรชื่อนันทะ
1 พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
2 พระเจ้าธนนันทะ
บางตำราบอกว่ายังมีต่ออีก คือ
1 พระเจ้าปัณฑกะ
2 พระเจ้าปัณฑุกติ
3 พระเจ้าภูตปาละ
4 พระเจ้าราษฎระปาละ
5 พระเจ้าโควิสาร
6 พระเจ้าทสสิทธิกะ
7 พระเจ้าไกวารตะ
8 พระเจ้าธนะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์นันทะ เกิดจากการทำรัฐประหารของจันทรคุปต์
ภายใต้การวางแผนของพราหมณ์จาณักยะ ซึ่งไม่พอใจราชสำนักปาฏลีบุตรในขณะนั้น
ราชวงศ์ที่4 คือ ราชวงศ์เมาริยะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยจันทรคุปต์
1 พระเจ้าจันทรคุปต์
2 พระเจ้าพินทุสาร
3 พระเจ้าอโศกมหาราช
4 พระเจ้าสัมปทิ
5 พระเจ้าทศรถ
6 พระเจ้าสาลิสุกะ
7 พระเจ้าเทวธัมมะวรมนะ
8 พระเจ้าสมตะธนุ
9 พระเจ้าพฤหัสรถ
การสิ้นสุดของราชวงศ์เมาริยะ มาจากการทำรัฐประหารของพราหมณ์ปุษยมิตร ซึ่งนับเป็นผลกระทบจากนโยบายของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งผลกระทบต่อพราหมณ์โดยตรง เมื่อราชวงศ์อ่อนแอ กลุ่มอำนาจพราหมณ์จึงเข้าทำรัฐประหาร และกวาดล้างพระพุทธศาสนาในมคธครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา
ราชวงศ์ที่5 คือ ราชวงศ์สุงคะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยพราหมณ์ชื่อปุษยมิตร
1 พระเจ้าปุษยมิตร
2 พระเจ้าอัคคนิมิตร
3 พระเจ้าสุชเยษฐา
4 พระเจ้าวสุมิตร
5 พระเจ้าอรทรากะ
6 พระเจ้าปุรินทกะ
7 พระเจ้าโฆษวสุ
8 พระเจ้าวัชรมิตร
9 พระเจ้าภควตะ
10 พระเจ้าเทวภูติ
ราชวงศ์ที่6 คือ ราชวงศ์กานวะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
1 พระเจ้าวาสุเทวะ
2 พระเจ้าภูมิมิตร
3 พระเจ้านารายนะ
4 พระเจ้าสุลารมัน
หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 516 พระเจ้าศรีมุขะแห่งอันธระยึดแคว้นมคธได้เป็นอันว่าแคว้นมคธได้ล่มสลายลงเป็นครั้งแรก ก่อนจะฟื้นอีกครั้งในราชวงศ์คุปตะ
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักรมคธก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้งในนามของราชวงศ์คุปตะ อันเป็นยุคคลาสสิกของอินเดีย ราชอาณาจักรมคธในยุคนี้ก็อยู่สืบต่อมา แต่มิใช่ศูนย์อำนาจอีกหลังคุปตะล่มสลาย จนกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดอินเดียเหนือได้ทั้งหมด จึงเป็นจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของราชอาณาจักรมคธ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซีดอน หรือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ลูกศิษย์ของอริสโตเติล ทรงรวบรวมกรีกเป็นหนึ่งเดียวหลังสงครามสงครามเพโลปอนเนเชียน ระหว่างฝ่ายเอเธสน์กับฝ่ายสปาร์ต้า ซึ่งฝ่ายสปาร์ต้าชนะแต่ปกครองไม่เป็น แล้วนำทัพกรีกบุกเปอร์เซียยึดดินแดนต่างๆได้มากมาย เช่น อียิปต์ ปาเลนสไตน์ อนาโตเลีย เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย จนมาถึงอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อ พ.ศ. 216 พระพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้มาถึงกรุงตักกศิลา แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ ณ ที่นี่พระเจ้าอัมพิราชา ไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่าตัวเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็งพอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ ๕,๐๐๐ คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม
ในปี พ.ศ. 217 พระพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพเข้าสู่อินเดีย โดยเข้าสู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุแล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกียแคว้นปัญจาบ พระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าเปารวะหรือพระเจ้าพอรุสได้ยกทัพเข้าทำสงครามกับทัพกรีก ฝ่ายอินเดียมี40000คน ทหารม้ 4,000 รถศึก500 ช้างศึก500 ฝ่ายกรีกมีทหาร+ทหารตักกศิลามี17000คน การรบเกิดในตอนกลางคืนการรบครั้งนี้เป็นความพินาศทั้งคู่ กองทัพฟาแลงถูกช้างศึกโจมตีจนแตกกระจาย แต่ช้างศึกอาละวาดไล่เหยียบทหารไม่เลือกฝ่าย ผลของสงครามจึงเสียหายหนักทั้ง2ฝ่าย แต่พระเจ้าเปารวะต้องลูกศรอาการสาหัส และถูกทหารกรีกจับมาเป็นเชลยสงคราม เมื่อพระเจ้าเปารวะถูกจับมาเผชิญพระพักตร์กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชตรัสถามว่า
"พระองค์ต้องการจะให้เราปฏิบัติอย่างไร?" พระเจ้าเปารวะตรัสตอบอย่างองอาจว่า
"ต้องการให้ปฏิบัติเราอย่างกษัตริย์" แทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะพิโรธกลับตรัสถามต่อไปว่า
"ทรงประสงค์จะขออะไรอีก?" พระเจ้าเปารวะจึงตรัสตอบว่า
"คำว่า "กษัตริย์" นั้นครอบคลุมไปถึงสิ่งทั้งหมดที่เราต้องการขอแล้ว"
ด้วยความกล้าหาญรักษาขัตติยเกียรติของพระเจ้าเปารวะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งมีพระทัยโปรดคนกล้าหาญ
ได้พระราชทานคืนบ้านเมืองให้แล้วแต่งตั้งพระเจ้าเปารวะให้เป็นพระราชาตามเดิม แต่ดำรงในฐานประเทศราช
เสร็จศึกในครั้งนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สดับความมั่งคั่งสมบูรณ์ของแคว้นมคธ และได้ตระเตรียมยาตราทัพมาตี แต่ทหารของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ร่วมศึกกับพระองค์มาตั้งแต่เป็นพระยุพราชเป็นเวลา 15 ปีที่ไม่ได้กลับบ้านกลับเมือง พากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแคว้นอื่นต่อไปอีกไม่มีกำหนดสิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฏไม่ยอมสู้รบอีกต่อไป พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจึงต้องจำพระทัยเลิกทัพกลับ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ที่เมืองบาบิโลน พ.ศ.220
หลายคนคงสงสัยว่าผมยกเรื่อง2เรื่องนี้มาทำไม
เรื่องแรก ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าอโศกมหาราชในฐานะที่เป็นกษัตริย์ปกครองมคธเหมือนกัน และเป็นกษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน
เรื่องที่สอง ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปมาก ทำให้ความรู้/การแลกเปลี่ยน
เริ่มแพร่กระจายไปทั่ว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออก
//ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ขอโทษด้วยนะครับ
บอกด้วยก็ดีจะได้แก้ ^ ^
^o^ HS-Tear ตอนที่2 ราชวงศ์แห่งมคธ และ อเล็กซานเดอร์มหาราชกับสงครามในอินเดีย
มคธ เป็นแคว้นทางตะวันออกของอินเดีย มีราชวงศ์ปกครองหลายราชวงศ์
ราชวงศ์ที่1 คือ ราชวงศ์หารยังกะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
1 พระเจ้าภาติกะ
2 พระเจ้าพิมพิสาร
3 พระเจ้าอชาตศัตรู
4 พระเจ้าอุทัยภัทร
5 พระเจ้าอนุรุทธะ
6 พระเจ้ามุณฑกะ
7 พระเจ้านาคทาสกะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์หารยังกะ เกิดจากอำมาตย์สุสุนาคเห็นว่า ราชวงศ์หารยังกะเป็นราชวงศ์ปิตุฆาตโดยตลอด
จึงทำรัฐประหารเพื่อมิให้เป็นเสนียดแก่อาณาจักรอีก
ราชวงศ์ที่2 คือ ราชวงศ์สุสุนาค มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยขุนนางชื่อสุสุนาค
1 พระเจ้าสุสุนาค
2 พระเจ้ากาฬาโศก
3 พระเจ้าภัทรเสน
การสิ้นสุดของราชวงศ์สุสุนาค เกิดจากมหาโจรนันทะก่อรัฐประหาร
ราชวงศ์ที่3 คือ ราชวงศ์นันทะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยมหาโจรชื่อนันทะ
1 พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
2 พระเจ้าธนนันทะ
บางตำราบอกว่ายังมีต่ออีก คือ
1 พระเจ้าปัณฑกะ
2 พระเจ้าปัณฑุกติ
3 พระเจ้าภูตปาละ
4 พระเจ้าราษฎระปาละ
5 พระเจ้าโควิสาร
6 พระเจ้าทสสิทธิกะ
7 พระเจ้าไกวารตะ
8 พระเจ้าธนะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์นันทะ เกิดจากการทำรัฐประหารของจันทรคุปต์
ภายใต้การวางแผนของพราหมณ์จาณักยะ ซึ่งไม่พอใจราชสำนักปาฏลีบุตรในขณะนั้น
ราชวงศ์ที่4 คือ ราชวงศ์เมาริยะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยจันทรคุปต์
1 พระเจ้าจันทรคุปต์
2 พระเจ้าพินทุสาร
3 พระเจ้าอโศกมหาราช
4 พระเจ้าสัมปทิ
5 พระเจ้าทศรถ
6 พระเจ้าสาลิสุกะ
7 พระเจ้าเทวธัมมะวรมนะ
8 พระเจ้าสมตะธนุ
9 พระเจ้าพฤหัสรถ
การสิ้นสุดของราชวงศ์เมาริยะ มาจากการทำรัฐประหารของพราหมณ์ปุษยมิตร ซึ่งนับเป็นผลกระทบจากนโยบายของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งผลกระทบต่อพราหมณ์โดยตรง เมื่อราชวงศ์อ่อนแอ กลุ่มอำนาจพราหมณ์จึงเข้าทำรัฐประหาร และกวาดล้างพระพุทธศาสนาในมคธครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา
ราชวงศ์ที่5 คือ ราชวงศ์สุงคะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
ตั้งโดยพราหมณ์ชื่อปุษยมิตร
1 พระเจ้าปุษยมิตร
2 พระเจ้าอัคคนิมิตร
3 พระเจ้าสุชเยษฐา
4 พระเจ้าวสุมิตร
5 พระเจ้าอรทรากะ
6 พระเจ้าปุรินทกะ
7 พระเจ้าโฆษวสุ
8 พระเจ้าวัชรมิตร
9 พระเจ้าภควตะ
10 พระเจ้าเทวภูติ
ราชวงศ์ที่6 คือ ราชวงศ์กานวะ มีรายนามกษัตริย์ดังต่อไปนี้
1 พระเจ้าวาสุเทวะ
2 พระเจ้าภูมิมิตร
3 พระเจ้านารายนะ
4 พระเจ้าสุลารมัน
หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 516 พระเจ้าศรีมุขะแห่งอันธระยึดแคว้นมคธได้เป็นอันว่าแคว้นมคธได้ล่มสลายลงเป็นครั้งแรก ก่อนจะฟื้นอีกครั้งในราชวงศ์คุปตะ
ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักรมคธก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้งในนามของราชวงศ์คุปตะ อันเป็นยุคคลาสสิกของอินเดีย ราชอาณาจักรมคธในยุคนี้ก็อยู่สืบต่อมา แต่มิใช่ศูนย์อำนาจอีกหลังคุปตะล่มสลาย จนกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดอินเดียเหนือได้ทั้งหมด จึงเป็นจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของราชอาณาจักรมคธ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซีดอน หรือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ลูกศิษย์ของอริสโตเติล ทรงรวบรวมกรีกเป็นหนึ่งเดียวหลังสงครามสงครามเพโลปอนเนเชียน ระหว่างฝ่ายเอเธสน์กับฝ่ายสปาร์ต้า ซึ่งฝ่ายสปาร์ต้าชนะแต่ปกครองไม่เป็น แล้วนำทัพกรีกบุกเปอร์เซียยึดดินแดนต่างๆได้มากมาย เช่น อียิปต์ ปาเลนสไตน์ อนาโตเลีย เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย จนมาถึงอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อ พ.ศ. 216 พระพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้มาถึงกรุงตักกศิลา แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ ณ ที่นี่พระเจ้าอัมพิราชา ไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่าตัวเองมีกำลังอำนาจไม่เข้มแข็งพอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาซิโดเนียเท่านั้นแล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ ๕,๐๐๐ คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม
ในปี พ.ศ. 217 พระพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพเข้าสู่อินเดีย โดยเข้าสู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุแล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกียแคว้นปัญจาบ พระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าเปารวะหรือพระเจ้าพอรุสได้ยกทัพเข้าทำสงครามกับทัพกรีก ฝ่ายอินเดียมี40000คน ทหารม้ 4,000 รถศึก500 ช้างศึก500 ฝ่ายกรีกมีทหาร+ทหารตักกศิลามี17000คน การรบเกิดในตอนกลางคืนการรบครั้งนี้เป็นความพินาศทั้งคู่ กองทัพฟาแลงถูกช้างศึกโจมตีจนแตกกระจาย แต่ช้างศึกอาละวาดไล่เหยียบทหารไม่เลือกฝ่าย ผลของสงครามจึงเสียหายหนักทั้ง2ฝ่าย แต่พระเจ้าเปารวะต้องลูกศรอาการสาหัส และถูกทหารกรีกจับมาเป็นเชลยสงคราม เมื่อพระเจ้าเปารวะถูกจับมาเผชิญพระพักตร์กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชตรัสถามว่า
"พระองค์ต้องการจะให้เราปฏิบัติอย่างไร?" พระเจ้าเปารวะตรัสตอบอย่างองอาจว่า
"ต้องการให้ปฏิบัติเราอย่างกษัตริย์" แทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะพิโรธกลับตรัสถามต่อไปว่า
"ทรงประสงค์จะขออะไรอีก?" พระเจ้าเปารวะจึงตรัสตอบว่า
"คำว่า "กษัตริย์" นั้นครอบคลุมไปถึงสิ่งทั้งหมดที่เราต้องการขอแล้ว"
ด้วยความกล้าหาญรักษาขัตติยเกียรติของพระเจ้าเปารวะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งมีพระทัยโปรดคนกล้าหาญ
ได้พระราชทานคืนบ้านเมืองให้แล้วแต่งตั้งพระเจ้าเปารวะให้เป็นพระราชาตามเดิม แต่ดำรงในฐานประเทศราช
เสร็จศึกในครั้งนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สดับความมั่งคั่งสมบูรณ์ของแคว้นมคธ และได้ตระเตรียมยาตราทัพมาตี แต่ทหารของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ร่วมศึกกับพระองค์มาตั้งแต่เป็นพระยุพราชเป็นเวลา 15 ปีที่ไม่ได้กลับบ้านกลับเมือง พากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแคว้นอื่นต่อไปอีกไม่มีกำหนดสิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฏไม่ยอมสู้รบอีกต่อไป พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจึงต้องจำพระทัยเลิกทัพกลับ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ที่เมืองบาบิโลน พ.ศ.220
หลายคนคงสงสัยว่าผมยกเรื่อง2เรื่องนี้มาทำไม
เรื่องแรก ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าอโศกมหาราชในฐานะที่เป็นกษัตริย์ปกครองมคธเหมือนกัน และเป็นกษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน
เรื่องที่สอง ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปมาก ทำให้ความรู้/การแลกเปลี่ยน
เริ่มแพร่กระจายไปทั่ว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออก
//ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ขอโทษด้วยนะครับ
บอกด้วยก็ดีจะได้แก้ ^ ^